เมื่อไม่นานมานี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศถึงวิกฤตเศรษฐกิจเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อที่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งแตกต่างจากภาวะเงินฝืด แต่ส่งผลกระทบต่อมิติของเศรษฐกิจเช่นเดียวกันด้วยการไขข้อสงสัยว่า ภาวะเงินเฟ้อ คืออะไร ต่างกันอย่างไร จะส่งผลกระทบต่อใครบ้างและแนวทางในการรับมือเมื่อเกิดวิกฤต

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับมือภาวะเงินเฟ้อ ที่นี่

https://img.moneyduck.com/article_attachment/1656933721-pexels-photomix-company-868110.jpg

รู้จักกับภาวะเงินเฟ้อ คืออะไร

รู้จักกับภาวะเงินเฟ้อ คืออะไร

เริ่มกันที่การทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด คืออะไร พร้อมตัวอย่างและสาเหตุสำคัญ

ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) ต่างจากเงินฝืด (Deflation) อย่างไร

เงินฝืด (Inflation) ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการแพงขึ้น โดยเงินหนึ่งหน่วยสามารถซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง

ตัวอย่าง นำเงิน 100 บาทไปซื้อก๋วยเตี๋ยวได้แค่ 1-2 ชามเนื่องจากราคา 50-60 บาท/ชามแต่ 10 ปีที่แล้วสามารถซื้อก๋วยเตี๋ยวได้ 3-5 ชามเนื่องจากราคาชามละ 20 -30 บาท/ชาม

สาเหตุ

  1. ประชาชนต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น (Demand–Pull Inflation) แต่สินค้าและบริการไม่เพียงพอทำให้ต้องปรับราคาเพิ่มสูงขึ้น
  2. ต้นทุนการผลิตเพิ่ม (Cost–Push Inflation) ผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้จึงจำเป็นต้องปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้น

เงินฝืด (Deflation) ภาวะที่ความต้องการสินค้าและบริการลดลงเนื่องจากความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจทำให้ราคาสินค้าและบริการโดยรวมลดลงอย่างต่อเนื่อง

ตัวอย่าง เมื่อก่อนเคยซื้อข้าวสาร 1 กระสอบในราคา 1,600 บาท เมื่อเกิดภาวะเงินฝืดผู้ผลิตลดราคาสินค้าลงมาเหลือกระสอบละ 1,200 บาทเพื่อให้สินค้าและบริการนั้นขายได้

สาเหตุ

  1. ความเชื่อมั่นของผู้ซื้อลดลง ไม่กล้าใช้เงินเนื่องจากมีปัจจัยเข้ามากระทบ อาทิเช่น ภัยธรรมชาติ หรือแนวโน้มของเศรษฐกิจที่หดตัวอย่างต่อเนื่อง
  2. ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจที่ไม่เพียงพอ เช่น เงินตราในประเทศประเทศไหลออกนอกประเทศมากเกินไป

ภาวะเงินเฟ้อ เงินเฟ้อ คืออะไร? คือ เมื่อเรากำลังประสบกับราคาสินค้าและบริการนั้นมีแนวโน้มราคาเพิ่มสูงขึ้นทำให้ได้สินค้าต่อหน่วยลดลง เรียกว่า “ภาวะเงินเฟ้อ” แต่หากความต้องการซื้อลดลง ทำให้ราคาสินค้าและบริการมีแนวโน้มลดลง เพื่อให้ขายได้ เรียก “ภาวะเงินฝืด”

เงินเฟ้อ คืออะไร ส่งผลกระทบต่อใครบ้าง

ทราบกันไปแล้วว่า ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด คืออะไร ต่อมาจะพูดถึงส่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืดซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ระบบเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการและประชาชน ดังนี้

ผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อ

  • ผู้ประกอบการ/ผู้ผลิต: เมื่อต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจึงต้องปรับราคาสินค้าซึ่งส่งผลให้ขายได้น้อยลง ในผู้ประกอบการบางรายจึงจำเป็นต้องชะลอการผลิต ลดต้นทุนและการจ้างงานทำให้มีคนตกงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลต่อความสามารถในการแข่งทางธุรกิจในการส่งผลเนื่องจากราคาสินค้าสูงขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ
  • ประชาชน: รายจ่ายและค่าครองชีพสูงขึ้น แต่อำนาจในการซื้อลดลงซึ่งอาจส่งผลให้รายได้ที่ไม่เพียงพอต่อค่ายังชีพและอาจได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้างของผู้ประกอบเนื่องจากต้องการลดต้นทุน
  • ระบบเศรษฐกิจ: เมื่อประชาชนมีซื้อของน้อยลง ผู้ผลิตก็ไม่สามารถขายกันเองได้ทำให้ลดการลงทุนในการผลิตซึ่งทำให้การพัฒนาประเทศในระยะยาวอาจชะลอตามไปด้วยและอาจส่งผลกระทบจากภาวะหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น

ผลกระทบของภาวะเงินฝืด

  • ผู้ประกอบการ/ผู้ผลิต: ต้นทุนการผลิตเท่าเดิม แต่ต้องลดราคาสินค้าเพื่อให้ขายได้และลดการผลิตเนื่องจากความต้องการลดลงทำให้อัตราการจ้างลดลงตามไป
  • ประชาชน: อัตราการว่างงานสูงขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบการผลิตและขายสินค้าบริการได้ลดลงทำให้ต้องลดอัตราการผลิตและลดจำนวนพนักงานเพื่อประคองธุรกิจให้อยู่รอด
  • ระบบเศรษฐกิจ: หากสินค้าลดราคาอย่างต่อเนื่องและความต้องการของประชาชนลดลง คนไม่ซื้อ ผู้ผลิตก็ขายสินค้าไม่ได้ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นเวลานานก็จะกระทบทั้งการจ้างงานและการผลิตแบบไม่รู้จบจนทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งส่งผลต่อเสียต่อเศรษฐกิจประเทศ

ตาราง สรุปผลกระทบภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืดต่อมิติเศรษฐกิจ ดังนี้

แนวทางการรับมือเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ คืออะไร

ในสภาวะเงินฝืด เงินเฟ้อ รัฐบาลจะออกมาตรการเพื่อเป็นแนวทางในการนำมาใช้ปัญหาโดยแบ่งออกเป็น 2 นโยบาย ดังนี้

  1. ใช้นโยบายทางการเงิน คือ มาตรการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท) ที่นำมาใช้ในการควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ได้แก่
    • การซื้อพันธบัตร
      • เงินเฟ้อ: นำพันธบัตรออกจำหน่ายเพื่อลดปริมาณหมุนเวียนในระบบตลาดให้น้อยลง
      • เงินฝืด: ซื้อพันธบัตรคืนจากประชาชนเพื่อให้เพิ่มในระบบตลาดมากขึ้น
    • อัตราเงินสำรองตามกฎหมาย
      • เงินเฟ้อ: เพิ่มอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายเพื่อเพิ่มปริมาณเงินที่นำไปใช้ให้ประชาชนกู้ยืมได้น้อยลง
      • เงินฝืด: ลดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายโดยให้ธนาคารนำเงินฝากส่วนเงินไปให้ประชาชนกู้เพิ่มได้มากขึ้น
    • อัตราดอกเบี้ย
      • เงินเฟ้อ: เพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อจูงใจให้เกิดการออมเงินมากขึ้น
      • เงินฝืด: ลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนออกมาใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น
    • สินเชื่อธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ
      • เงินเฟ้อ: ลดปริมาณการให้สินเชื่อลดลง แต่เพิ่มอัตราดอกเบี้ยกู้เงินให้สูงขึ้น
      • เงินฝืด: เพิ่มปริมาณการให้สินเชื่อมากขึ้น ลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนใช้จ่ายมากขึ้น
  2. ใช้นโยบายทางการคลัง คือ วิธีการในการจัดการรายได้และรายจ่ายของภาครัฐเพื่อนำมาควบคุมภาวะเงินฝืดและเงินเฟ้อ
    • ควบคุมรายจ่ายของรัฐบาล
      • เงินเฟ้อ: ลดรายจ่ายต่าง ๆ เพื่อให้เงินออกมาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้น้อยลง
      • เงินฝืด: เพิ่มรายจ่ายและส่งเสริมการพัฒนากรมกองต่าง ๆ ให้มากขึ้น รวมถึงการขยายงานด้านต่าง ๆ ให้เพิ่มมากขึ้น
    • การจัดเก็บภาษี
      • เงินเฟ้อ: หากประชาชนมีรายได้มากเกินไป รัฐบาลจะจัดเก็บภาษีด้านต่าง ๆ ให้สูงขึ้น
      • เงินฝืด: ลดอัตราภาษีต่าง ๆ เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีการส่งออก เพื่อให้มีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เงินเฟ้อ เงินฝืด การว่างงาน และการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมหภาค (cvc.ac.th)

คงจะพอเข้าใจกันแล้วว่าภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด คืออะไร ซึ่งหลักการจำง่าย ๆ คือหากเกิดเงินเฟ้อเราจะซื้อสินค้าในราคาที่แพงขึ้น แต่หากเงินฝืดเราจะซื้อราคาในสินค้าที่ถูกลงโดยทั้ง 2 สถานการณ์จะส่งผลต่อ 3 ส่วน ได้แก่ ผู้ประกอบการ ประชาชนและระบบเศรษฐกิจ โดยมีรัฐบาลเป็นผู้ทำหน้าที่แก้ปัญหาจากการออกนโยบายทางการเงินและการคลัง

นโยบายเหล่านี้ไม่ได้การันตีว่าช่วยทำให้ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืดสำเร็จในทันที แต่ต้องอาศัยเวลาเพื่อช่วยให้ผู้ผลิตสามารถกลับมามีกำลังในการผลิตสินค้าและบริการได้เพียงพอต่อความต้องการ โดยไม่ต้องลด หรือเพิ่มต้นทุน ส่วนประชาชนก็สามารถซื้อของในราคาที่เหมาะสมซึ่งเมื่อระบบสมดุลก็ทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากคุณอยากเข้าใจเรื่องการเงินและการลงทุนมากขึ้น สามารถรับคำปรึกษาทางการเงินผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuck ฟรี! ที่ลิงก์ด้านล่าง