ตลอดหลายปีที่ผ่านมา คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า กระแสการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินรูปแบบต่างๆ ได้รับความสนใจจากผู้คนทุกเพศทุกวัยและทุกระดับฐานะมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความพยายามลดข้อจำกัดเรื่องเงื่อนไขการลงทุนลงเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น แต่อีกนัยหนึ่งก็อาจสันนิษฐานได้ว่า เป็นผลมาจากความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ช่วยทำให้การสื่อสารระหว่างกันทำได้ง่ายขึ้นและไร้พรมแดน จึงไม่น่าแปลกใจ หากมุมมองและพฤติกรรมของประชาชนในฐานะผู้เล่นรายหนึ่งของระบบเศรษฐกิจจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่า นักลงทุนจำนวนมากได้พยายามปรับตัวให้สอดรับกับความเปิดกว้างของตลาดเงินมากยิ่งขึ้น อันจะเห็นได้จากลักษณะการกระจายความเสี่ยงการลงทุนที่เริ่มหันเหไปยังสินทรัพย์ทางการเงินหลากหลายรูปแบบที่มีความเสี่ยงมากกว่า เพื่อผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงินไว้กับธนาคารเป็นเท่าทวีคูณ ยกตัวอย่างเช่น “ตราสารหนี้” หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ “หุ้นกู้” และ “พันธบัตรรัฐบาล”

ตราสารหนี้ คือ อะไร

https://img.moneyduck.com/article_attachment/1661143002-finances-saveing-economy-concept-female-accountant-banker-use-calculator.jpg

หากพิจารณาตามลักษณะของตราสารหนี้ที่วางจำหน่ายอยู่ในตลาด จะพบว่า ตราสารหนี้เป็นสินทรัพย์ทางการเงินรูปแบบหนึ่งที่ถูกจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์การขอกู้ยืมเงินจากภาคประชาชน ทำให้ผู้ที่ครอบครองสินทรัพย์ชนิดนี้ จะได้รับ “ดอกเบี้ย” ราว 2 – 5% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากอย่างมีนัยสำคัญ เป็นผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่กำหนด ในฐานะเจ้าหนี้ของผู้ออกสินทรัพย์นั้น ภายใต้เงื่อนไขการได้รับ “เงินต้น” คืน หลังจากที่ตราสารหนี้ครบกำหนดเวลา โดยไม่สนใจความผันผวนที่เกิดขึ้นตลอดเวลาของภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลโดยตรงต่อตลาดการเงิน ด้วยเหตุนี้ ตราสารหนี้จึงเป็นเครื่องมือทำเงินชั้นดีในมุมมองของเหล่านักลงทุน เพราะอย่างไรเสีย เงินก็ยังมีให้เห็นว่างอกเงย แม้จะมีปัจจัยอื่นๆที่เข้ามาทำให้ระบบเศรษฐกิจสั่นคลอนก็ตาม

อะไรบ้างที่เป็น “ตราสารหนี้”

ตราสารหนี้มีอยู่มากมายหลายประเภท แต่ในที่นี้ ทาง MoneyDuck จะขอใช้ลักษณะผู้ออกตราสารหนี้เป็นเกณฑ์ เพื่อความสะดวกในการทำความเข้าใจและการยกตัวอย่างสินทรัพย์ทางการเงินในชีวิตประจำวัน ทำให้เราสามารถแบ่งประเภทของตราสารหนี้ได้ออกเป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาล

ตั๋วเงินคลัง

ตราสารหนี้ที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี โดยจะออกจำหน่ายแก่ภาคประชาชนด้วยวิธีการประมูลในราคาที่ต่ำกว่าราคาที่ระบุไว้หน้าตั๋ว ซึ่งเมื่อครบกำหนดไถ่ถอนตามระยะเวลาที่กำหนดแล้ว (ส่วนใหญ่จะมีอายุอยู่ที่ 28 วัน 91 วัน และ 182 วัน แล้วแต่จำนวนเงินที่ต้องการและความสามารถในการคืนเงินของภาครัฐ) ผู้ถือตราสารหนี้ชนิดนี้จะได้รับเงินเต็มจำนวนตามราคาที่ระบุไว้ ณ หน้าตั๋วที่ตนครอบครอง

พันธบัตรรัฐบาล

ตราสารหนี้ของภาครัฐที่มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ อันได้แก่ การปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ หรือการชดเชยส่วนที่ขาดทุน ในกรณีที่ภาครัฐมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยทั่วไป ตราสารหนี้ชนิดนี้จะมีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ซึ่งทางภาครัฐมักจะจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือครองในรูปดอกเบี้ย ปีละ 2 งวด และเมื่อพันธบัตรดังกล่าวครบกำหนดตามระยะเวลาของตน ผู้ถือครองจะได้รับผลตอบแทนในงวดสุดท้ายพร้อมกับเงินตนที่ได้ลงทุนไปเมื่อเริ่มแรกเลย ถือเป็นอันหมดอายุของสินทรัพย์ทางการเงิน

พันธบัตรออมทรัพย์

ตราสารหนี้ที่มีเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทนและการคืนเงินต้นเช่นเดียวกับพันธบัตรรัฐบาล แต่ถูกจำกัดให้ออกขายเฉพาะแก่บุคคลธรรมดา และสถาบันที่ไม่มุ่งหวังกำไร เช่น มูลนิธิ สภากาชาดไทย และสมาคมสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เท่านั้น เพื่อเป็นทางเลือกในการอมและการลงทุนของคนกลุ่มดังกล่าว

2. ตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ

พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ

ตราสารหนี้ที่มีเงื่อนไขด้านอายุของสินทรัพย์และการจ่ายค่าตอบแทน รวมไปถึงการคืนเงินต้นเช่นเดียวกับพันธบัตรรัฐบาล แต่ผู้ที่ออก คือ บรรดารัฐวิสาหกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของภาครัฐ ทำให้พันธบัตรชนิดนี้ จึงมีกระทรวงการคลัง เป็นผู้ดำเนินการจัดหาสถาบันผู้จัดจำหน่ายและประกันการจำหน่ายด้วยวิธีการประมูลแต่ถึงกระนั้น กระทรวงการคลังก็ไม่ได้ดำเนินการค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ยให้กับพันธบัตรรัฐวิสาหกิจทุกชนิดที่ออกจำหน่าย ทำให้ความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนต้องเผชิญ จึงมีความแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขการค้ำประกันจากทางรัฐบาล และความมั่นคงทางการเงินขององค์กรผู้ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้จัดจำหน่ายพันธบัตรจากการชนะการประมูลด้วยอัตราค่าใช้จ่ายที่รวมต่ำที่สุดในการเข้าร่วมการประมูล

พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ออกตราสารหนี้ชนิดนี้ ภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงินและดูแลสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยในระบบเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมสำหรับการกระตุ้นให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ โดยในปัจจุบันพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยมีอยู่มากมายหลายประเภท แตกต่างกันไปตามกำหนดเวลาและลักษณะการจ่ายค่าตอบแทนที่อยู่ในรูปของดอกเบี้ย ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bot.or.th/Thai/DebtSecurities/IntroToGovtDebtSecurities/Pages/Type.aspx

3. ตราสารหนี้ภาคเอกชน หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปในนาม “หุ้นกู้”

ตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชนภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อระดมทุนไปใช้สำหรับการดำเนินกิจการ ทำให้ความเสี่ยงของผู้ถือครองสินทรัพย์ทางการเงินประเภทนี้ขึ้นอยู่กับความมั่นคงทางการเงินของกิจการผู้ออกตราสารหนี้ดังกล่าวโดยตรง ด้วยเหตุนี้ ตราสารหนี้ของภาคเอกชนจึงถูกเสนอขายในตลาดด้วยอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า เพื่อจูงใจในประชานเข้ามาลงทุน ผ่านการแสร้งว่าชดเชยความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนมีแนวโน้มจะเผชิญในอนาคต https://img.moneyduck.com/article_attachment/1661143009-stack-money-coin-with-trading-graph%20%281%29.jpg

แม้ว่าการลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่การลงทุนในตราสารหนี้ถือได้ว่าเป็นตัวเลือกการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับบรรดาสินทรัพย์ทางการเงินรูปแบบอื่นๆ ซึ่งถ้าหากท่านใดสนใจการลงทุนในตราสารหนี้ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.setinvestnow.com/th/bond หรือเลือกปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนจาก MoneyDuck ได้ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย เพียงเท่านี้ การเติบโตทุกบาทแห่งการลงทุนก็จะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว