เชื่อว่าหลายคนมีปัญหาและเกิดคำถามคาใจมากมายจากประวัติหนี้เสียกับสถาบันการเงินที่เรียกว่า ติดเครดิตบูโร จะกู้สินเชื่อหรือทำธุรกรรมอะไรก็ไม่มั่นใจไปหมด หากคุณเป็นคนหนึ่งที่วางแผนจะทำธุรกรรม ไม่แน่ใจว่าตัวเองติดเครดินบูโรหรือเปล่า วันนี้เราจะพามาไขข้อข้องใจว่าติดเครดิตทำธุรกรรมได้ไหม มีวิธีตรวจสอบยังไง และต้องทำอย่างไรบ้าง ตามไปอ่านในบทความได้เลย

ติด เครดิตบูโร คือ อะไร ?

https://img.moneyduck.com/article_attachment/1661325076-pexels-tima-miroshnichenko-6693646.jpg

เริ่มแรกเลยควรทำความเข้าใจกับการติดเครดิตบูโรว่าคืออะไรก่อน เพราะเชื่อว่าหลายคนก็อาจจะติดเครดิตบูโรโดยไม่รู้ตัวหรือไม่ตั้งใจและไม่รู้ว่าเกิดจากอะไรด้วย

การติดเครดิตบูโร คือ การมีประวัติการผิดนัดหรือค้างชำระหนี้กับสถาบันการเงิน เกินกว่า 90 วัน หรือ 3 เดือน และบริษัทนำส่งข้อมูลสินเชื่อให้กับบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ซึ่งจะมีการบันทึกข้อมูลไว้ เพื่อให้ผู้ประกอบการหรือสถาบันการเงินอื่น ๆ สามารถนำข้อมูลกลางที่มีไปพิจารณาก่อนทำธุรกรรมต่าง ๆ ร่วมกับผู้ขอสินเชื่อ

ความสำคัญของ เครดิตบูโร คือ อะไร

https://img.moneyduck.com/article_attachment/1661325087-pexels-artem-podrez-8512133.jpg

เครดิตบูโร มีส่วนช่วยให้การทำธุรกรรมต่าง ๆ ง่ายขึ้น เป็นตัวบ่งบอก พฤติกรรมการชำระหนี้ โดยบูโรจะมีข้อมูลประวัติรายเดือนย้อนหลังเป็นเวลา 3 ปี แสดงถึงความมีวินัยในการชำระหนี้หากเราผิดนัดชำระหนี้บ่อยครั้ง หรือไม่ชำระหนี้เลยก็จะตืดเครดิตบูโร

ข้อมูลเครดิตบูโร จะมีจัวเลขแสดง สถานะบัญชี ระบุในรายงานข้อมูลเครดิตบูโร แบ่งเป็น 5 ประเภท ดังนี้

  • 10 หมายถึง สถานะปกติ จ่ายตรง จ่ายครบ ไม่มีหนี้ค้าง
  • 11 หมายถึง ปิดบัญชี จากการค้างชำระหนี้แล้ว
  • 12 หมายถึง เคยมีการชำระหนี้ และได้รับพักชำระหนี้ตามนโยบายรัฐ
  • 20 หมายถึง มีหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน

เมื่อมีเครดิตที่ดี ก็จะมีโอกาสที่จะได้รับการอนุมัติสินเชื่อ บัตรเครดิต หรือได้ลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้ผู้กู้ที่มีประวัติผ่อนชำระดี

ทำไมควรตรวจ เครดิตบูโร อยู่เสมอ

ทำไมควรตรวจ เครดิตบูโร อยู่เสมอ

นอกจากตรวจเครดิตบูโรเพื่อขอสินเชื่อแล้ว เราก็ควรหมั่นตรวจเครดิตบูโรของเราเป็นประจำเหมือนการตรวจสุขภาพนั่นเอง เพราะเราจะได้ตรวจเช็กข้อมูลส่วนบุคคลในการด้านการเงินของเราว่าถูกต้องไหม ประวัติการขอสินเชื่อ การชำระหนี้ที่ผ่านมา ยอดชำระหนี้คงเหลือ รวมถึงช่วยตรวจสอบได้ด้วยว่าเอกสารสำคัญของเราถูกปลอมแปลงหรือแอบอ้างไปขอสินเชื่อหรืออะไรต่าง ๆ ที่เราไม่ทราบหรือไม่ เป็นการช่วยป้องกันความปลอดภัยให้กับประวัติการเงินของเราด้วย

สถานที่ตรวจเครดิตบูโร

สถานที่ตรวจเครดิตบูโร

หากเราต้องการทราบข้อมูลเครดิตบูโรสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ ศูนย์บริการตรวจเครดิตบูโร บริการเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (ค่าบริการ 100 บาท) สามารถรอรับได้ภายใน 15 นาที

  • ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (สำนักงานใหญ่)
  • เครดิตบูโรคาเฟ่ อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 (บริเวณธนาคาร)
  • ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง
  • ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร สถานีรถไฟฟ้า BTS อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • Bureau Lab (บูโรแล็บ) ท่าเรือวังหลัง (บริเวณโรงพยาบาลศิริราช)
  • Bureau Lab (บูโรแล็บ) สถานีรถไฟฟ้า BTS ชิดลม
  • Bureau Lab (บูโรแล็บ) สถานีรถไฟฟ้า BTS หมอชิต
  • ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ห้างเจ-เวนิว (นวนคร)
  • โดยยื่นขอผ่าน Mobile Applications ธนาคารต่าง ๆ

แบบสามารถรับได้ทันที

  • แอปพลิเคชัน KKP Mobile (ธนาคารเกียรตินาคินภัทร)
  • แอปพลิเคชัน Bureau OK

สามารถรับได้ภายใน 24 ชั่วโมง

  • แอปพลิเคชัน Krungthai NEXT (ธนาคารกรุงไทย)
  • แอปพลิเคชัน MyMo (ธนาคารออมสิน)

เอกสารที่ใช้ในการตรวจเครดิตบูโร

อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องเตรียมหากอยากตรวจเครดิตบูโร เป็นเอกสารทั่ว ๆ ไป ที่เราใช้ในการทำธุรกรรม ดังนี้

  • บัตรประชาชนตัวจริง และสำเนาบัตรประชาชน พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง ในกรณีมอบอำนาจ
  • บัตรประชาชนตัวจริง และสำเนาบัตรประชาชน พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องของผู้มอบอำนาจ
  • บัตรประชาชนตัวจริง และสำเนาบัตรประชาชน พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องของผู้รับมอบอำนาจ
  • หนังสือมอบอำนาจตรวจสอบข้อมูลเครดิต สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ www.ncb.co.th

เงื่อนไขในการกู้สินเชื่อเมื่อคิดเครดิตบูโร

นอกจากเงื่อนไขในการขอสินเชื่อทั่ว ๆ ไป หากติดเครดิตบูโรก็จะมีเงื่อนไขและคุณสมบัติที่ซับซ้อนขึ้นมาอีกเล็กน้อย เช่น

  • ต้องมีการใช้เงินดาวน์ที่สูงขึ้น 30 - 35% จากปกติ 5 - 10% เพื่อลดยอดเงินคงเหลือในสินเชื่อให้น้อยลง เป็นการลดภาระในการจ่ายค่างวดไปในตัวด้วย
  • ต้องเป็นผู้ถือครองบ้านหรือที่ดิน เพื่อเป็นหลักประกันที่มั่นคงให้กับสถาบันการเงิน หากไม่มีการชำระหนี้ทรัพย์สินส่วนนี้ก็จะถูกยึดไป
  • ต้องมีผู้ค้ำประกันที่เชื่อถือได้ เพื่อมาช่วยรับรองการเป็นหนี้และจะรับผิดชอบชำระหนี้แทนในกรณีค้างชำระค่างวด
  • ต้องมีรายได้ที่มั่นคงและสม่ำเสมอ สถาบันการเงินจะมีการตรวจสอบกระแสเงินในบัญชี การมีรายได้ที่สม่ำเสมอ จะช่วยให้สถาบันการเงินเห็นความสามารถและประเมินการชำระหนี้ในระยะยาวของเราได้

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เครดิตบูโรกับสินเชื่อส่วนุคคล ที่นี่

หลังจากอ่านบทความนี้ หลายคนคงได้คำตอบแล้วว่า เครดิตบูโรคือ อะไร ถ้าติดแล้วทำธุรกรรมได้ไหม คำตอบคือ ได้ แต่อาจจะมีเงื่อนไขหรือคุณสมบัติบางข้อที่นอกเหนือจากกรณีทั่วไปในการกู้สินเชื่อ ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะได้รับการอนุมัติสินเชื่อแล้ว แต่ทางที่ดี เราควรรักษาวินัยในการชำระหนี้กับสถาบันการเงินให้ดีเพื่อให้เรามีเครดิตที่ดีอยู่ตลอด เท่านี้เราจะทำธุรกรรมอะไรก็ไม่มีสะดุด อนุมัติง่ายหายห่วงอย่างแน่นอน หากอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuck ได้ฟรี ที่ลิงก์ด้านล่างเลย