เชื่อว่าคนใช้รถหลายคนจะรู้กันดีว่านอกจากภาษีทะเบียนรถที่จำเป็นจะต้องจ่ายในทุกๆปีก็ยังมีสิ่งหนึ่งที่คนมีรถจำเป็นต้องทำนั่นก็คือพรบรถยนต์แต่หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจว่าพ.ร.บรถยนต์คุ้มครองอะไรบ้างมีความแตกต่างยังไงกับประกันรถยนต์ แล้วจำเป็นต้องทำไหม วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจทั้งหมดไปด้วยกัน

พรบ รถยนต์ คืออะไร

https://img.moneyduck.com/article_attachment/1662958212-young-woman-testing-car-car-showroom%20%281%29.jpg

คำว่า พรบ ที่เราพูดกันติดปาก ที่จริงแล้วคืออะไรกันแน่ เคยสงสัยกันบ้างไหม พ.ร.บ. รถยนต์ คือ การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งกฏหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำประกัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่กฎหมายกำหนดให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ต้องทำประกันภัยประเภทนี้เพื่อให้ความคุ้มครองกับตัวบุคคลที่ได้รับผลจากอุบัติเหตุ โดยไม่คำนึงถึงว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุเหล่านั้นจะเป็นผู้ที่กระทำความผิดหรือไม่ ซึ่งกฎหมายจะให้ความคุ้มครองต่อตัวคู่กรณีและผู้เอาประกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุในรูปแบบของเงินชดเชยและค่ารักษาพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนด

พรบ รถยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง

ซึ่งวงเงินคุ้มครองที่ผู้ขับขี่จะได้รับจาก พรบ รถยนต์นั้น มีการกำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนตามกฎหมายแล้ว โดยมีการจ่าย 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. ค่าเสียหายเบื้องต้น ได้รับโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
  • ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร 35,000 บาท
  1. ค่าเสียหายส่วนเกิน กรณีพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิด
  • ค่ารักษาพยาบาล สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือพิการถาวร สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท
  • เงินชดเชยรายวัน 200 บาทต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน
  • จำนวนเงินรวมทั้งหมดที่จ่ายได้ รวมกันสูงสุดไม่เกิน 304,000 บาท หมายความว่าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วคุณเป็นฝ่ายผิด จะได้เงินคุ้มครองจากค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหรือ ข้อ 1 เท่านั้น

จำเป็นต้องทำ พรบ รถยนต์ไหม

เพื่อน ๆ เคยสงสัยเหมือนกันไหมว่า แล้วถ้าไม่ซื้อ พรบ รถยนต์จะได้ไหม คำตอบ คือ ไม่สามารถไม่ทำหรือหลีกเลี่ยงได้ เพราะเป็นสิ่งที่บังคับทางกฎหมาย เพราะต้องใช้ประกอบการต่อทะเบียนรถยนต์ หรือ การต่อภาษีรถยนต์ประจำปี ตามที่กฏหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำ โดยสามารถต่อก่อนล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน

หากรถยนต์ของเราไม่มี พ.ร.บ. มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และเจ้าของรถต้องเก็บรักษาหลักฐานการมีประกันนี้ไว้พร้อมแสดงต่อเจ้าหน้าที่ทุกเวลาที่ใช้รถยนต์ด้วย

พรบ รถยนต์กับประกันรถยนต์ ต่างกันยังไง

หลายคนอาจจะสงสัยว่า แล้วประกันรถยนต์ ต่างอะไรกับ พรบ รถยนต์ไหม หรือเป็นสิ่งเดียวกันแค่เรียกคนละชื่อ คำต่อก็คือ แตกต่างกัน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

พรบ รถยนต์ เป็นประกันรถยนต์ภาคบังคับที่กฎหมายกำหนดให้รถยนต์ทุกคันต้องมีเพื่อเป็นหลักประกันให้กับผู้ขับขี่ว่าจะได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยจะให้ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่เกิดในสภานการณ์ แต่ ประกันรถยนต์ เป็นประกันภาคสมัครใจ เราสามารถเลือกทำหรือไม่ทำก็ได้ และจะให้ความคุ้มทั้งรถและบุคคล สามารถเลือกซื้อความคุ้มครอง ค่าเบี้ย บริษัทประกันได้ตามความต้องการแต่ละคน

ทำ พรบ รถยนต์แล้วต้องมี ประกันรถยนต์อีกไหม

การทำ พรบ รถยนต์ เป็นสิ่งที่เราจำเป็นต้องทำ บังคับทำ แต่ถ้าหากอยากได้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากขึ้นการสามารถเลือกทำประกันรถยนต์เพิ่มเข้ามาได้ อยากได้วงเงินที่สูงขึ้น อยากให้คุ้มครองรถด้วย คนด้วย ประกันรถยนต์ก็สามารถช่วยได้

เรียกเคลม พ.ร.บ. ต้องทำอย่างไร? บริษัทกลางประกันภัยเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวกลางในการเบิกจ่ายค่าสินไหมต่างๆ ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา และมีสาขาอยู่ทั่วประเทศไทยเพื่อความสะดวกในการติดต่อของประชาชนทั่วประเทศ ส่วนในปี 2542 เป็นต้นมาก็สามารถรับประกันภัยเฉพาะรถมอเตอร์ไซค์ได้ รวมถึงเป็นสำนักงานประกันภัยรถผ่านแดนแห่งชาติในกรณีที่รถทะเบียนต่างประเทศต้องการนำมาขับขี่ในประเทศไทยด้วย (Thai National Bureau of Insurance)

เข้าเรื่องขั้นตอนการเคลม พ.ร.บ.รถยนต์ เมื่อเราเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลให้แจ้งสิทธิ์ที่เราต้องการใช้ ในกรณีที่สำรองจ่ายไปก่อนให้ติดต่อที่บริษัทกลางประกันภัย ซึ่งจะต้องเตรียมเอกสารต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • ใบแจ้งความ (บันทึกประวัน) ที่สถานีตำรวจไว้เป็นหลักฐาน
  • ใบรับรองแพทย์พร้อมใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ที่ประสบเหตุ หรือใบมรณะบัตร
  • สำเนาบัตรประชนชนของทายาท

แล้วติดต่อที่บริษัทกลางประกันภัยโดยเราจะได้รับเงินชดเชยตามสิทธิ์ภายใน 7 วันทำการ เมื่อยื่นเอกสารให้ครบถ้วนกรณีถ้าค่ารักษาเกินวงเงินก็จะมีการหักค่าใช้จ่ายจากสิทธิอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น สิทธิประกันสังคม สิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค, สิทธิบัตรทอง หรือแม้แต่ประกันสุขภาพและประกันชีวิตตามลำดับที่เราแจ้งครับ อย่าลืมว่าระยะเวลาในการขอใช้สิทธิ์ พ.ร.บ.ของเรา ภายใน 180 วันหลังจากวันที่เกิดเหตุ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ บทลงโทษ พรบ. ขาด ที่นี่

https://img.moneyduck.com/article_attachment/1662958180-well-dressed-couple-sensual-smiling-woman-bearded-male-sitting-front-seats-luxury-car.jpg

และทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของการทำ พรบ รถยนต์ทั้งหมด ทั้ง พรบ รถยนต์คุ้มครองอะไร พรบ รถยนต์ต่างกับประกันยังไง ที่สำคัญอย่าปล่อยให้ พรบ ขาด เพราะจะทำให้การใช้รถใช้ถนนของเราลำบากขึ้น หากอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถาม ผู้เชี่ยวชาญ จาก MoneyDuck ได้ฟรี ที่ลิงก์ด้านล่าง