เมื่อก้าวสู่การทำงาน แต่ละเดือนก็จะมีการหักค่าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษีหัก ณ ที่จ่าย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือประกันสังคม ซึ่งเคยสงสัยกันไหมว่าทำไมถึงต้องหักโดยเฉพาะในส่วนของประกันสังคมซึ่งเราจะพาทุกท่านมาไขข้อสงสัยจากการ เช็คประกันสังคม แต่ละสิทธิ์มีข้อดีอย่างไร พร้อมอัตราการจ่ายเงินสมทบและการตรวจสอบสิทธิ์ในการเลือกโรงพยาบาลแต่ละปี

เช็คประกันสังคม คืออะไร

https://img.moneyduck.com/article_attachment/1664937586-service-statistics-concepts-lifestyle-charts-plan.jpg

ประกันสังคม (Social Security) จะเป็นรูปแบบการออมเงินภาคบังคับจากภาครัฐที่ต้องการสนับสนุนให้ทุกคนมีหลกประกันในการใช้ชีวิตผ่านการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในแต่ละเดือนเพื่อรับผิดชอบความเสี่ยงเฉลี่ยที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ชราภาพ เสียชีวิต คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร หรือว่างงานและเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัว รวมถึงการมีเงินเก็บส่วนหนึ่งไว้ใช้ยามเกษียณ

เช็คประกันสังคม แต่ละมาตรา พร้อมข้อดี - ข้อเสีย

ถัดมาจะเป็นการพูดถึงการประกันสังคมในแต่ละมาตราว่าครอบคลุมสิทธิประโยชน์ด้านใดบ้าง ดังนี้

เช็คประกันสังคม ผู้ประกันตน มาตรา 33

เงื่อนไข กลุ่มลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันเข้าทำงานและทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป อัตราการส่งเงินสมทบ นายจ้างและลูกจ้าง หรือผู้ประกันตน จะต้องส่งเงินสมทบในอัตรา 5% ของค่าจ้างลูกจ้าง ต่ำสุด 83 บาทสูงสุดไม่เกิน 750 บาท **สิทธิประโยชน์ **ครอบคลุม 7 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย, คลอดบุตร, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, ชราภาพ, สงเคราะห์บุตรและว่างงาน

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สิทธิประกันสังคมมาตรา 33 ที่นี่

เช็คประกันสังคม ผู้ประกันตน มาตรา 39 (สมัครใจ)

เงื่อนไข กลุ่มบุคคลที่เคยทำงานและเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาก่อน แล้วออกจากงานแต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม อัตราการส่งเงินสมทบ อัตราการส่งเงินสมทบ ลูกจ้าง หรือผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินสมทบ 432 บาท/เดือนครบทุกเดือนต่อเนื่องกันซึ่งหากไม่ส่ง 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายใน 12 เดือนให้สิ้นสุดสภาพการเป็นผู้ประกันตน **สิทธิประโยชน์ **ครอบคลุม 6 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย, คลอดบุตร, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, ชราภาพและสงเคราะห์บุตร (ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับ ม.33)

เช็คประกันสังคม ผู้ประกันตน มาตรา 40 (อาชีพอิสระ)

เงื่อนไข กลุ่มบุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ โดยไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 อัตราการส่งเงินสมทบลูกจ้าง หรือผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินสมทบโดยแบ่งออกเป็น 3 ทางเลือกคือ จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน, จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน และจ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน **สิทธิประโยชน์ ** **กรณีที่ 1 **จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน: เจ็บป่วย, ทุพพลภาพและเสียชีวิต
กรณีที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน: เจ็บป่วย, ทุพพลภาพ, เสียชีวิตและชราภาพ
กรณีที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน: เจ็บป่วย, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, ชราภาพและสงเคราะห์บุตร

สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สิทธิประโยชน์ประกันสังคม

เช็คประกันสังคม ได้ที่ไหนบ้าง

https://img.moneyduck.com/article_attachment/1664937594-happy-young-asian-couple-realtor-agent%20%286%29.jpg

ต่อมาจะเป็นวิธีการเช็คประกันสังคมว่าสิทธิของคุณอยู่ที่ใดซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ ไม่กี่ขั้นตอน

  1. เข้าสู่เว็บไซต์ประกันสังคมออนไลน์ได้ที่ www.sso.go.th
  2. จากนั้นให้เข้าสู่หน้าระบบสมาชิกผู้ประกันตน โดยให้กดปุ่ม “สมัครสมาชิก” สำหรับท่านที่ยังไม่เคยเข้าระบบส่วนที่มีการ Login แล้วให้เข้าสู่ระบบด้วยการป้อน Username และรหัสผ่าน

กรณีที่ยังไม่เคยลงทะเบียน

  1. โดยให้กดยอมรับข้อตกลงการให้บริการ แล้วค่อยกดปุ่มถัดไป (Next)
  2. แล้วกรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบทุกช่อง แล้วกดถัดไป
  3. หลังจากนั้นให้กดปุ่ม “คลิกที่นี่ เพื่อขอรับรหัส OTP” เพื่อนำเลข OTP ที่ส่งไปยัง SMS บนมือถือมากรอกในช่องรหัสแล้วกดปุ่มยืนยัน
  4. หากลงทะเบียนเสร็จสิ้น หน้าจอจะแสดงรายละเอียดว่า “การลงทะเบียนเสร็จสมบูรณ์ กรุณาล็อคอินเข้าสู่ระบบ”
  5. จากนั้นให้เข้าสู่ระบบด้วยการป้อน Username และรหัสผ่านตามที่ได้ลงทะเบียนไว้

เพียงเท่านี้คุณก็สามารถตรวจสอบข้อมูลสิทธิประกันสังคมออนไลน์ได้เรียบร้อย โดยไม่ต้องเดินทางไปตรวจสอบสิทธิถึงสำนักงานประกันสังคม

วิธีเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคม

ทิ้งท้ายด้วยการยื่นสิทธิขอเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมซึ่งสามารถกระทำได้ในทุก ๆ ปีตามช่วงวันเวลาที่กำหนดไว้ โดยเริ่มขั้นตอนเพียงง่าย ๆ แค่

  • ดาวน์โหลดแอพลิเคชั่น SSO Connect ซึ่งรองรับทั้งระบบปฏิบัติการ IOS และ Android หรือเข้าสู่เว็บไซต์ประกันสังคมออนไลน์ได้ที่ www.sso.go.th
  • เมื่อเข้าสู่ระบบ ให้ คลิก ให้้กรอกข้อมูลส่วนตัวและระบุสาเหตุการเปลี่ยนโรงพยาบาล
  • จากนั้นให้เลือกโรงพยาบาลที่ต้องการตามเขตพื้นที่การรับผิดชอบซึ่งบางโรงพยาบาลไม่สามารถเปลี่ยนได้เนื่องจากให้บริการเต็มจึงต้องดูรายละเอียดแต่ละโรงพยาบาลให้ดีก่อนเลือก
  • เมื่อได้โรงพยาบาลที่ต้องการและมีที่ว่างรองรับให้คลิกยอมรับเงื่อนไขและเลือกยืนยัน

การ เช็คประกันสังคม จึงค่อนข้างทำได้ง่ายไม่กี่ขั้นตอนซึ่งในปัจจุบันก็สามารถทำได้ผ่านระบบออนไลน์ที่ง่ายและสะดวกมากขึ้นเพียงมีมือถือเครื่องเดียวและที่สำคัญอย่าลืมดาวน์โหลด SSO Connect เพื่อช่วยให้คุณเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ ได้ทันที ซึ่งหากใครที่อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประกันสังคม หรือการลงทุนอื่น ๆ สามารถติดต่อรับคำปรึกษาฟรีได้ที่ MoneyDuck