กยศ.หรือกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเป็นกองทุนที่เปิดให้โอกาสนักเรียนนักศึกษาที่มีความขาดแคลนทุนทรัพย์ในการเรียนได้กู้ยืมเงินเพื่อใช้จ่ายในการเรียนเพื่อให้นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือมีเงื่อนไขในการใช้จ่ายเงินในการเรียนการสอนได้รับโอกาสเข้าถึงการศึกษามากขึ้นกว่าเดิม ล่าสุดได้ประกาศให้สามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้

โดยคุณสมบัติของผู้กู้ยืมเงินนั้นจะประกอบไปด้วย 4 ลักษณะประกอบไปด้วยขาดแคลนทุนทรัพย์ เรียนในสาขาวิชาที่มีความจำเป็นในการพัฒนาประเทศ เรียนในสาขาวิชาที่ขาดแคลนหรือทางกองทุนต้องการจะส่งเสริมเป็นพิเศษ และสุดท้ายคือผู้ที่มีผลการเรียนดีและสร้างความเป็นเลิศในการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท

โดยเงินที่สามารถกู้ยืมได้นั้นจะประกอบไปด้วยค่าเล่าเรียนหรือค่าเทอม ค่าครองชีพเดือนละ 3,000 บาท ระยะเวลาการชำระเงินคืนนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 10 ถึง 15 ปี ระยะเวลาปลอดหนี้เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาได้มีเวลาในการทำงานหาเงินก่อนจะอยู่ที่ประมาณ 1-2 ปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 0.5 เปอร์เซ็นต์ต่อปีไปจนถึง 1 เปอร์เซ็นต์ต่อปีเลยทีเดียว

เป็นเงินทุนที่มีดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำจึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับนักเรียนที่เข้าเงื่อนไขการกู้ยืม ตามสถานการณ์ปกติทั่วไปสิ่งที่น่าตกใจก็คือมีผู้กู้ยืมหลายคนเลยทีเดียวที่ไม่ได้ผ่อนชำระหนี้ตรงตามเวลากรอบที่กำหนดเอาไว้

ยิ่งเป็นสถานการณ์ในช่วงเวลานี้ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส covid-19 ยิ่งทำให้มีผู้กู้ยืมหลายคนประสบปัญหาในการหาเงินมาผ่อนชำระหนี้ ด้วยเหตุนี้ทางหน่วยงานจึงได้มีการเปิดโอกาสให้ผู้กู้สามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้ เงื่อนไขจะมีอะไรบ้าง เราจะพาทุกคนไปดูกัน

เปิดเงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้กยศ.หลังยุค Covid-19

https://img.moneyduck.com/article_attachment/1668410425-child-student-learning-school.jpg

ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาหรือกยศ.ได้ออกมาเปิดเผยว่าทางคณะกรรมการได้มีมติเห็นชอบในการเปิดโอกาสให้ผู้กู้ยืมได้ปรับโครงสร้างหนี้ โดยมีการปรับเปลี่ยนทั้งเงื่อนไขการผ่อนชำระและลำดับตัดชำระหนี้สำหรับผู้กู้ยืมในกลุ่มที่ยังไม่ถูกฟ้องคดีเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 จนทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ที่มีอยู่ได้ และยังเป็นการลดภาระหนี้ค้างชำระของกองทุนจากสถานการณ์ดังกล่าวด้วย โดยวิธีการนั้นจะประกอบไปด้วย 3 วิธีด้วยกัน ดังนี้

  • การปรับโครงสร้างหนี้ เป็นวิธีการผ่อนผันการชำระหนี้กองทุนกู้ยืมสำหรับผู้กู้ที่อยู่ในระหว่างการผ่อนชำระหนี้และยังไม่ถูกฟ้องร้องเป็นคดีความ หากไม่สามารถทำการผ่อนชำระเงินได้ตามสัญญา ทางกองทุนจะเปิดโอกาสให้ผู้กู้สามารถทำสัญญาในการปรับโครงสร้างหนี้ฉบับใหม่ได้

เป็นการยืดระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้และมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขให้สามารถผ่อนชำระหนี้ในระยะเวลาที่มากขึ้นกว่าเดิมได้ จากเดิมทีที่ระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้สูงสุดจะอยู่ที่ 15 ปี ปรับเปลี่ยนเป็น 30 ปีแทน แต่อย่างไรก็ตามเงื่อนไขก็คือการชำระเงินงวดสุดท้ายนั้น ผู้กู้จะต้องมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ และยังมีการลดเบี้ยปรับการชำระหนี้ในงวดสุดท้ายอีกด้วย สำหรับใครที่สนใจก็สามารถยื่นความประสงค์ขอปรับโครงสร้างหนี้ได้ผ่านทางแอปพลิเคชันกยศ. connect

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานแอป กยศ. connect ที่นี่

  • การปรับเปลี่ยนลำดับตัดชำระหนี้ เป็นวิธีการผ่อนผันการชําระหนี้สำหรับผู้กู้ที่ยังไม่ถูกฟ้องเป็นคดีความเช่นเดียวกัน จากเดิมทีที่มีวิธีการตัดเบี้ยปรับ เงินต้น และดอกเบี้ย กองทุนจะมีการเปลี่ยนลำดับการตัดชำระหนี้ในรูปแบบใหม่ โดยจะนำเอาเงินที่ได้รับชำระหนี้มาตัดเงินต้นก่อน จากนั้นตัดดอกเบี้ย แล้วค่อยตัดเบี้ยปรับแทน
  • การเปลี่ยนเงื่อนไขการผ่อนชำระหนี้สิน เป็นวิธีการผ่อนผันการชําระหนี้สำหรับผู้กู้รายใหม่รวมไปถึงผู้ที่อยู่ในช่วงปลอดหนี้ 1-2 ปี ยังไม่ครบกำหนดการชำระหนี้แต่อย่างใด จากเดิมทีที่ต้องผ่อนชำระหนี้เป็นรายปี ทางกองทุนจะมีการปรับเปลี่ยนวิธีการให้ผ่อนชำระเป็นรายเดือนแทนในอัตราที่เท่ากันเป็นประจำทุกเดือน

และเพิ่มระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้จากที่ไม่เกิน 15 ปีเป็นไม่เกิน 30 ปีแทน โดยจะพิจารณาจากยอดหนี้ของผู้กู้ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล โดยนี่งวดสุดท้ายที่จะถูกชำระผู้กู้จะต้องมีอายุรวมไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์เท่านั้น

ไม่เพียงเท่านั้นทางกองทุนยังพยายามออกแนวทางเพื่อแบ่งเบาภาระหนี้สินของผู้กู้ที่ถูกหักจากเงินเดือนอีกด้วย โดยผู้กู้สามารถขอผ่อนผันปรับจำนวนเงินหักชำระหนี้เหลือได้ต่ำสุดเพียงแค่ 10 บาทต่อเดือนเท่านั้น สำหรับผู้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ กองทุนจะมีการลดเบี้ยปรับเหลืออยู่ที่ 0.5 เปอร์เซ็นต์ และมีแนวทางชะลอการฟ้องร้องเป็นคดีความและการบังคับคดี ยกเว้นผู้กู้ที่คดีกำลังจะขาดอายุความ และจะมีการงดขายทรัพย์สินทอดตลาดจนถึงสิ้นปี 2565 นี้

กลุ่มเป้าหมายและเงื่อนไขในการปรับโครงสร้างหนี้กยศ.

https://img.moneyduck.com/article_attachment/1668410465-smiling-asian-girl-student-woman-sitting-with-laptop-home-kitchen-browing-smartphone-social-media.jpg

  1. การปรับโครงสร้างหนี้ กลุ่มเป้าหมายจะเป็นผู้ที่กู้ยืมและกำลังอยู่ในระหว่างการผ่อนชำระ ยังไม่ถูกฟ้องเป็นคดีความแต่ไม่สามารถผ่อนชำระเงินคืนได้ตามเงื่อนไขที่ระบุเอาไว้ในสัญญา เงื่อนไขจะประกอบไปด้วย

    • สามารถเปลี่ยนระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดจาก 15 ปีเป็น 30 ปี โดยการชำระเงินงวดสุดท้ายอายุของผู้กู้จะต้องไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
    • กองทุนจะมีการตกลงเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการผ่อนชำระหนี้ด้วยการทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้โดยเปลี่ยนเป็นชำระรายเดือนในอัตราที่เท่ากันทุกเดือนแทน
    • กองทุนจะมีการคำนวณยอดคงค้างหนี้สินใหม่ โดยคำนวณจากเงินที่ทางผู้กู้ยืมได้ชำระมาทั้งหมด ปรับเปลี่ยนลำดับการตัดชำระโดยจะตัดชำระเงินต้นและดอกเบี้ยตามงวดที่ครบกำหนดชำระหนี้ก่อน สำหรับเบี้ยปรับในอดีตที่ตัดชำระไปแล้วก็ถือว่าผู้นั้นได้ชำระเป็นจำนวนที่ครบถ้วนแล้วเช่นเดียวกัน
    • กองทุนจะนำเอาเงินต้นและดอกเบี้ยคงเหลือมาใช้เป็นยอดในการคำนวณหาหนทางในการปรับโครงสร้างหสำหรับใครที่มีเบี้ยปรับคงค้างสะสมจนถึงปัจจุบัน กองทุนจะลดให้ในอัตรา 80 เปอร์เซ็นต์ และอนุญาตให้ชำระเบี้ยปรับคงเหลือ 20 เปอร์เซ็นต์ในงวดสุดท้ายแทน
  2. วิธีการเปลี่ยนลำดับการตัดชำระหนี้ใหม่ กลุ่มเป้าหมายคือผู้กู้ยืมที่กำลังอยู่ในระหว่างการผ่อนชำระหนี้และยังไม่ถูกฟ้องเป็นคดีความ เงื่อนไขประกอบไปด้วย

    • จะต้องเป็นผู้กู้ที่ผ่อนชำระค่างวดเป็นรายปี ทางกองทุนจะมีการปรับเปลี่ยนให้ชำระเป็นรายเดือนแทนในอัตราที่เท่ากันเป็นประจำทุกเดือน กำหนดชำระหนี้ในวันที่ 5 ของทุกเดือนแทน
    • ทางกองทุนจะเพิ่มระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้จากเดิมที่สูงสุด 15 ปีเป็นสูงสุด 30 ปีแทนขึ้นอยู่กับว่ายอดหนี้ของผู้กู้แต่ละรายเหลือเป็นจำนวนเท่าไหร่
    • โดยการชำระเงินงวดสุดท้ายนั้นอายุของผู้กู้ยืมจะต้องไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์เท่านั้น

    หากใครอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถาม**ผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuck ได้ฟรี ที่ลิงก์ด้านล่าง