หลายคนอาจจะยังไม่รู้ “พันธบัตรรัฐบาล” อีกทางเลือกด้านการลงทุนที่ได้รับความสนใจค่อนข้างมากในกลุ่มคนที่ต้องการต่อยอดเงินแต่รับความเสี่ยงได้น้อย หรือต้องการความปลอดภัยในระดับที่สูงให้กับเงินต้น

แม้อาจจะได้ผลตอบแทนที่น้อย แต่ก็มีความสนใจไม่แพ้รูปแบบการลงทุนชนิดอื่น แล้วความน่าสนใจขอการลงทุนในตราสารหนี้หรือพันธบัตรรัฐบาลอยู่ที่จุดไหน เดี๋ยวเรามาดูกัน

พันธบัตรรัฐบาล คืออะไร

https://img.moneyduck.com/article_attachment/1669955192-male-broker-using-forex-trade-exchange-statistics-multiple-monitors-working-with-market-charts-real-time-stocks-sales-hedge-fund-profit-share-buy-sell-money-tripod-shot.jpg

ความหมายของ พันธบัตรรัฐบาลหรือ (Government Bond) คือรัฐบาลจะออกตราสารหนี้ขึ้นมาโดยผ่านกระทรวงการคลัง ทำขึ้นเพื่อเป็นสินทรัพย์ให้สำหรับกลุ่มนักลงทุน

มีจุดประสงค์เพื่อนำเงินทุนที่ได้ไปใช้ในการบริหารประเทศ ซึ่งสำหรับนักลงทุนเอง ก็มีจุดประสงค์ในการเลือกซื้อตราสารเพื่อผลตอบแทนที่เป็นดอกเบี้ยจากทางรัฐบาล

และไม่ว่าอัตราดอกเบี้ยจะเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ก็ตามแต่ต้นทุนเดิมนั้นยังคงมีจำนวนคงที่ แต่อีกทางเลือกสำหรับการเก็งกำไรก็มีอยู่หลายประเภท และมีกำหนดอายุของพันธบัตรเอาไว้ทั้งในแบบระยะสั้นและระยะยาว ตามความต้องการและวัตถุประสงค์ของนักลงทุนเองด้วย

จุดเด่น-จุดด้อย ของพันธบัตรรัฐบาล

จุดเด่น-จุดด้อย ของพันธบัตรรัฐบาล

ข้อเด่นของ พันธบัตรรัฐบาล คือ

  • เป็นตราสารหนี้ที่จัดอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงน้อย เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ลดความแน่นอน จากเงื่อนไขของการผูกขาดดอกเบี้ยเอาไว้แล้ว
  • สามารถมั่นใจได้ว่า นี่เป็นสินทรัพย์ปลอดความเสี่ยงที่สุด นั่นคือ นักลงทุนไม่พบเจอกับปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ เพราะเป็นการลงทุนโดยตรงกับทางรัฐบาล ที่มีความมั่นคงและน่าเชื่อถือที่สุด

จุดด้อยของพันธบัตรรัฐบาล คือ

  • ด้วยรูปแบบที่มีการผูกขาดดอกเบี้ย ในเปอร์เซ็นต์คงที่ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ที่เมื่ออัตราดอกเบี้ยมีเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้นในหลายเท่าตัว โอกาสที่จะเก็งกำไรและได้รับเปอร์เซ็นต์ที่ดี แบบนี้จึงไม่สามารถทำได้กับตราสารชนิดนี้
  • หากเลือกเงินฝากในระยะสั้น จะมีการลงทุนที่สูงกว่า พันธบัตรประเภทอื่น ๆ
  • การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล จะได้รับค่าตอบแทนเป็นดอกเบี้ย ซึ่งก่อนการตัดจ่ายรัฐจะต้องมีการ หักภาษี ณ ที่จ่ายออก 15 %

ประเภทของพันธบัตรรัฐบาล

ประเภทของพันธบัตรรัฐบาล

การจัดประเภทของ พันธบัตรรัฐบาลนั้น แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทคือ

1. พันธบัตรออมทรัพย์

ถือเป็นตราสารที่ออกขึ้นมาเพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้ลงทุนเป็นประชาชนทั่วไปอย่างแท้จริง ด้วยเงื่อนไขและข้อกำหนดต่าง ๆ เช่น ผู้ที่มีสิทธิ์ซื้อจะต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น หรือ ข้อห้ามในการเปลี่ยนมือในช่วงระยะเวลา 1 ปีแรก และการกำหนด รูปแบบการลงทุนที่สามารถเข้าสู่พันธบัติได้ในวงเงินที่ไม่เกิน 5 แสนบาท โดยดอกเบี้บที่กำหนดไว้จะมีอัตราที่สูงกว่าประเภทอื่น ๆ อีกด้วย

2. พันธบัตรรัฐบาลแบบดอกเบี้ยคงที่

เป็นพันธบัตรที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีจนถึง 50 ปี มึงมีดอกเบี้ยคงที่และมีกำหนดจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง

3. ตั๋วเงินคลัง หรือ Treasury Bill

เหมาะสำหรับนักลงทุน ที่ต้องการการลงทุนในระยะสั้น เพราะพันธบัตรรัฐบาลในรูปแบบนี้จะมีอายุอยู่ที่ 3 ถึง 6 เดือน ซึ่งเป็นจุดประสงค์ของทางรัฐบาลที่ต้องการบริหารการเงินในระยะสั้น

4. พันธบัตรรัฐบาลอัตราดอกเบี้ยลอยตัว

เป็นพันธบัตรรัฐบาล ที่มีอายุมากกว่า 1 ปี เป็น พันธบัตรรัฐบาลที่มีระยะยาว โดยให้อัตราดอกเบี้ยที่คงที่ จัดทำขึ้นเพื่อ เป็นการชดเชยการขาดดุลงบประมาณแผ่นดิน

5. พันธบัตรรัฐบาลชดเชยเงินเฟ้อ

เป็นตราสารหนี้ที่มีดอกเบี้ยไม่คงที่เราสามารถปรับขึ้นและลดลงได้ โดยยึดจากดัชนีของค่าเงินเฟ้อ หรือ Headline inflation ผลตอบแทนจึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยมีการจ่ายดอกเบี้ยให้ในทุกๆ 6 เดือน

พันธบัตรรัฐบาลให้ผลตอบแทนมากไหม เสี่ยงหรือไม่

หากมีการวิเคราะห์ถึงผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอาจจะต้องวิเคราะห์ตามประเภท และเงื่อนไขของ อัตราดอกเบี้ย และระยะเวลาสั้นและระยะเวลายาว การเลือกประเภทที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่อาจจะมีข้อดีอยู่ที่การได้รับ ดอกเบี้ยตามกำหนดโดยมีความเสี่ยงน้อยมีรูปแบบของการขาดทุนที่ต่ำมากแต่ก็หมดโอกาสสำหรับการเก็งกำไรในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นแต่

ในทางกลับกันหากเลือกประเภทที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวความเสี่ยง ก็จะมีเพิ่มมากขึ้นรวมไปถึงโอกาสที่จะได้รับผลกำไรจากอัตราดอกเบี้ยที่สูง ก็จะถือว่าคุ้มค่ากว่าประเภทอื่นๆความเสี่ยงจึงมักมาจากกันขาดความรู้และความเข้าใจความการลงทุนนั่นเอง

ช่องทางการซื้อพันธบัตรรัฐบาล อัปเดตล่าสุด 2565

ช่องทางของการเลือกซื้อพันธบัตรรัฐบาล ที่ได้มีการอัปเดตล่าสุดในปี 2565 นี้ นักลงทุนสามารถเลือกซื้อได้ผ่านช่องทางดังนี้

  • สามารถเข้าเลือกสั่งซื้อได้ผ่านทาง Mobile Banking จากธนาคารหลักที่ใช้งานอยู่โดยปกติ และเป็นตัวแทนของทางรัฐ มี 4 สถาบันดังนี้
  1. ธนาคารกรุงไทย
  2. ธนาคารกรุงเทพ
  3. ธนาคารกสิกรไทย
  4. ธนาคารไทยพาณิชย์
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส ที่เป็นตัวแทนของธนาคารทั้งนั้น

และทั้งหมดนี้คือรายละเอียดเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นหนึ่งในช่องทางการลงทุนที่น่าสนใจมาก ๆ ทั้งนี้ การลงทุนมีความเสี่ยงพันธบัตรรัฐบาลก็อาจจะมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้กว่าหุ้นกู้ เราก็สามารถเลือกลงทุนตามความเสี่ยงได้เลย หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuck ได้ฟรี ที่ลิงก์ด้านล่าง