สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่าทำไมยังต้องเสียภาษีรถยนต์ ในเมื่อเราต่างก็มีการจ่ายพ.ร.บ.กันอยู่แล้วในแต่ละปี แล้วถ้ายังไม่ได้ต่อภาษีตามกำหนดจะเป็นอะไรหรือไม่

ในบทความนี้เราจะมาตอบคำถามให้ครบทุกข้อเกี่ยวกับ “ภาษีรถยนต์”

ภาษีรถยนต์ คืออะไร สำคัญอย่างไรบ้าง

ภาษีรถยนต์ คืออะไร สำคัญอย่างไรบ้าง

ภาษีรถยนต์ คืออะไร ?? ภาษีรถยนต์ก็คือ อัตราดอกเบี้ยที่เจ้าของรถยนต์ทุกคันจะต้องจ่ายให้กับกรมขนส่งทางบก ในกรณีที่ได้ออกป้ายภาษีไว้ให้ ซึ่งก็คือป้ายสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่จะต้องติดเอาไว้ตรงกระจกหน้ารถนั่นเอง ซึ่งบนป้ายภาษีดังกล่าวจะกรอกรายละเอียดของทะเบียนวันที่ขอภาษีและวันที่ภาษีหมดอายุ

ส่วนความสำคัญของการต่อภาษีป้ายรถยนต์นั้น คือ เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย ให้เงินสนับสนุนหน่วยงานคมนาคมให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ในกรณีที่ถนนเสื่อมสภาพหรือชำรุด เรียกง่าย ๆ ว่าเป็นเหมือนการจ่ายค่าบริการรูปแบบหนึ่งนั่นเอง

ภาษีรถยนต์แต่ละประเภท

ข้อมูลอีกประเภทหนึ่งที่คุณจะต้องทำความเข้าใจ ในการต่อภาษีรถยนต์นั่นคือ เงื่อนไขที่แตกต่างกันไปตามประเภทของรถยนต์และอื่น ๆ อย่างประเภทของป้าย มีดังนี้

  1. ป้ายดำ (พื้นสีขาว ตัวอักษรสีดำ )

รถยนต์ที่มีป้ายประเภทนี้จะเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลมีที่นั่งไม่คืน 7 คน เช่น รถกระบะแบบ 4 ประตู และ รถเก๋ง

  1. ป้ายเขียว (อักษรสีเขียว พื้นขาว)

ป้ายประเภทนี้จะเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ( ไม่รวมรถบรรทุกแบบ 4 ประตู ) ที่มีทั้งรถกระบะแบบแค็ป , รถกระบะตอนเดียว

  1. ป้ายฟ้า (พื้นขาว ตัวอักษรสีฟ้า )

ป้ายประเภทนี้จัดอยู่ในกลุ่มรถยนต์ประเภทนั่งส่วนตัวเกิน 7 คน เช่น รถตู้ , MPV11 ที่นั่ง ที่จะมีการจ่ายอัตราการจ่ายตามน้ำหนักของตัวรถเพิ่มเติมด้วย

  1. รถยนต์ไฟฟ้า

จะเป็นรถส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งโดยอัตราการจ่ายภาษีของรถประเภทนี้จะแบ่งไปตามน้ำหนักของตัวรถด้วยเช่นเดียวกัน

ต่อภาษีรถยนต์ราคาเท่าไหร่ ต้องทำตอนไหน และจำเป็นต้องต่อไหม

ต่อภาษีรถยนต์ราคาเท่าไหร่ ต้องทำตอนไหน และจำเป็นต้องต่อไหม

จากข้อมูลเบื้องต้นของราคาการต่อภาษีรถยนต์นั้น จะมีราคาที่แตกต่างกันออกไป แม้จะเป็นรถยนต์ประเภทเดียวกัน แต่ก็ต้องคำนวณ จากน้ำหนักของตัวรถเป็นหลักด้วย โดยราคาที่ได้ก็จะสรุปออกมาจากการคำนวณตามนี้

การคำนวณอัตราค่าภาษีจากน้ำหนัก ของตัวรถยนต์ที่เป็น cc และนอกเหนือจากนั้นจะคำนวณการจ่ายค่าภาษีที่มีการลดเปอร์เซ็นต์ลงไปตามอายุรถเกิน 5 ปี  เช่น

  • จะได้ส่วนลด 10% ในปีที่ 6
  • จะได้ส่วนลด 20% ปีที่ 7
  • จะ ได้ส่วนลด 30% ปีที่ 8
  • จะได้ส่วนลด 40% ปีที่ 9
  • และจะได้ส่วนลด 50% ปีที่ 10

ต้องต่อภาษีรถยนต์เมื่อไร

การจะกำหนดได้ว่าเวลาไหนที่คุณควรไปต่อภาษีรถยนต์ สามารถเช็คข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำได้จากการใส่รายละเอียดลงบนป้ายภาษีเดิมที่ติดอยู่ซึ่งป้ายตัวนั้นจะบอกถึงวันที่มีการต่อภาษีครั้งล่าสุดและกำหนดวันหมดอายุ

และถ้าหากว่ากลัวจะหลงลืมวันตามกำหนด ก็สามารถเลือกวิธีการจ่ายภาษีก่อนล่วงหน้า 90 วันได้ เพื่อความรอบคอบ

จำเป็นต้องต่อภาษีรถยนต์หรือไม่

สิ่งที่เป็นข้อบังคับทางกฎหมายที่มีผลประโยชน์ ร่วมด้วยนั้นถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งการต่อภาษีก็เช่นเดียวกัน อย่างแรกที่จะมีผลกระทบต่อผู้ขับขี่ที่ยังไม่ได้เสียภาษีรถยนต์ หรือที่เรียกกันว่าภาษีขาด ก็จะต้องได้รับการสั่งปรับจากจุดการตั้งด่านตรวจรถเป็นอับดับแรก

นอกจากจะเสียเวลาในการต้องไปจ่ายค่าปรับตามใบสั่งแล้วนั้น ก็ยังจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่ไม่คุ้มกับค่าภาษีที่จะต้องเสียเลย

ต่อภาษีรถยนต์ได้ที่ไหนบ้าง

สำหรับช่องทางการต่อภาษีรถยนต์ นอกจากจะเป็นสำนักงานขนส่งที่สามารถขอภาษีได้ในทุกๆ ที่ทั่วประเทศไทยโดยไม่จำกัดว่าตัวรถจะจดทะเบียนที่จังหวัดไหน และช่องทางอื่น ๆ เช่น

  • ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์

เพื่อความสะดวก และรวดเร็ว ตอนนี้คุณสามารถก็เลือกช่องทางผ่านระบบออนไลน์ได้แล้วในระบบของกรมขนส่งทางบกผ่านทาง e-sevice

  • ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ
  • จุดให้บริการของเคาน์เตอร์เซอร์วิส
  • จุดให้บริการรับต่อภาษีตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป

เอกสารและขั้นตอนในการต่อภาษีรถยนต์

เอกสารและขั้นตอนในการต่อภาษีรถยนต์

เอกสารต่อภาษีรถยนต์

การต่อภาษีรถยนต์เอกสารสำหรับการนำไปต่อภาษีรถยนต์ ที่คุณจะต้องเตรียมนั่นคือ

  1. คู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ตัวจริงหรือสำเนา
  2. หลักฐานการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ซึ่งเงื่อนไขนี้จะหมายถึงคุณจะต้องมีการต่อพ.ร.บ.ก่อนที่จะเลือกต่อภาษีรถยนต์ โดยเอกสารประกอบ
  3. ใบรับรองการตรวจสภาพรถจากศูนย์ตรวจสภาพรถ (ตรอ) ในกรณีที่รถยนต์มีอายุเกิน 7 ปี
  4. ข้อมูลทะเบียนรถ ( กรณีการต่อภาษีรถยนต์ทางออนไลน์ )

ขั้นตอนในการต่อภาษีรถยนต์ผ่านทางออนไลน์

ขั้นตอนในการต่อภาษีรถยนต์ผ่านทางออนไลน์

  1. เลือกเข้าเว็บไซต์ของกรมขนส่งทางบกที่นี่ https://eservice.dlt.go.th/
  2. หากคุณเพิ่งลงทะเบียนการใช้งานเป็นครั้งแรกให้เลือกที่ " ลงทะเบียนสมาชิกใหม่ "
  3. ทำการกรอกข้อมูลให้ครบ แล้วหลังจากนั้น หลังจากนั้นให้เลือกตรงคำว่า "บันทึก"
  4. เมื่อทำการลงทะเบียนข้อมูลสมาชิกใหม่ เสร็จเรียบร้อยแล้วให้เลือกหัวข้อ " ชำระภาษีรถยนต์ประจำปีผ่านอินเทอร์เน็ต”
  5. ภายในระบบจะมีการให้กรอกที่อยู่อีเมล ซึ่งแนะนำให้กรอกที่อยู่ ที่สามารถรับการแจ้งเตือนข้อมูลต่าง ๆ จากกรมขนส่งทางบกได้ง่าย ๆ
  6. กรอกข้อมูลทางการเงิน ในส่วนของช่อง" ชำระเงิน"

หลังจากทำรายการเสร็จสิ้นทั้งหมดแล้ว สามารถรอรับป้ายสี่เหลี่ยมหรือป้ายภาษีรถยนต์ใหม่ได้ผ่านทางไปรษณีย์ โดยกรมขนส่งทางบกจะจัดส่งมาให้ในระยะเวลาไม่เกิน 7 วันหลังจากมีการชำระยอดเงินเรียบร้อยแล้ว อ่านมาถึงตรงนี้หากท่านไหนต้องการข้อมูลต่อภาษีรถยนต์เพิ่มเติมก็สามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน จาก MoneyDuck ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ที่ลิงก์ด้านล่าง