การมีรถยนต์เป็นของตนเองนั้นมาพร้อมกับความรับผิดชอบมากมาย เพราะมันไม่จบแค่การผ่อนค่างวดรถอย่างเดียวแต่อย่างใด แต่มันยังมีค่าใช้จ่ายอีกมากมายที่ตามมา ไม่ว่าจะเป็นค่าตรวจสภาพ ค่าเข้าศูนย์ประจำปี ค่าประกัน พ.ร.บ และที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้นั่นก็ภาษี รถยนต์ ที่ควรรู้นั่นเอง มันคือการต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปีที่เวลาต่อแล้วเราจะได้แผ่นป้ายทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสจากกรมขนส่งทางบกที่บอกว่าทะเบียนรถของเราได้รับการต่อภาษีไปจนถึงวันที่เท่าไหร่ ดังนั้นในบทความนี้เราได้รวมเรื่องภาษี รถยนต์ ที่ควรรู้ เพราะหากเราไม่ต่อภาษีก็จะผิดกฎหมายและอาจถูกจับปรับได้เลยทีเดียว จะมีอะไรบ้างที่เราควรรู้ไปดูกัน

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สิ่งที่ควรรู้ก่อนออกรถ ที่นี่

เปิดความสำคัญของภาษี รถยนต์ ที่ควรรู้

เปิดความสำคัญของภาษี รถยนต์ ที่ควรรู้

เรื่องแรกเกี่ยวกับภาษี รถยนต์ ที่ควรรู้ก็คือการต่อภาษีรถยนต์นั้นเป็นการทำตามกฎหมาย เนื่องจากการใช้รถทุกวันของทุกคนทำให้ถนนเกิดความเสื่อมสภาพ มีความจำเป็นต้องสร้างถนนใหม่ การซ่อมแซมถนนให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย การที่เราเสียภาษีรถยนต์จึงนับว่าเป็นการสนับสนุนให้หน่วยงานขนส่งสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ช่วยปรับปรุงถนนให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และช่วยให้การคมนาคมของประเทศเราดีขึ้นกว่าเดิม

วิธีการต่อภาษีรถยนต์

วิธีการต่อภาษีรถยนต์

เมื่อรู้ถึงความสำคัญภาษีรถยนต์แล้ว เราจะพาทุกคนมาดูกันว่าวิธีการต่อภาษีรถยนต์จะต้องทำอย่างไร สำหรับขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์แบบง่ายๆ สำหรับมือใหม่ก็สามารถทำได้ มีขั้นตอนดังนี้

1. เตรียมเอกสาร

เอกสารที่ใช้ในการต่อภาษีรถยนต์จะประกอบไปด้วยสมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ จะใช้เป็นตัวจริงหรือสำเนาก็ได้เช่นเดียวกัน เอกสารพ.ร.บรถยนต์ที่ยังไม่หมดอายุ สำหรับของใครที่หมดอายุแล้วต้องไปทำการต่อพ.ร.บก่อนจึงจะสามารถต่อภาษีได้ ใบรับรองการตรวจสภาพรถในกรณีรถที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป ทั้งรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล

2. การต่อพ.ร.บ

จะแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี ดังนี้ - รถยนต์อายุไม่เกิน 7 ปี หากเป็นรถที่ออกใหม่อายุรวมยังไม่เกิน 7 ปี เราสามารถนำเอาเอกสารสำเนาทะเบียนรถ บัตรประชาชน ไปซื้อพ.ร.บรถยนต์กับบริษัทตัวแทนจำหน่ายประกันหรือธนาคารได้เลย - รถยนต์อายุเกิน 7 ปี หากเป็นรถยนต์ที่อายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปจะต้องนำรถไปตรวจสภาพก่อน สามารถนำเอาไปตรวจได้ที่ตรอ.หรือสถานตรวจสภาพรถเอกชนได้ทุกแห่งที่ผ่านการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก หรือจะต่อที่กรมขนส่งทางบกก็ได้เช่นเดียวกัน

3. ยื่นต่อภาษี

เราสามารถยื่นต่อภาษีรถยนต์ได้ทั้งกรมขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งทั่วทั้งประเทศไทย ที่ทำการไปรษณีย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ห้างสรรพสินค้าในโครงการช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี เคาน์เตอร์เซอร์วิส แอปพลิเคชัน Truemoney Wallet Mpay และ DLT Vehicle Tax หรือบนเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ต่อาษีรถยนต์ ราคาเท่าไร ที่นี่

ขั้นตอนการยื่นชำระภาษีรถยนต์ผ่านเว็บไซต์ของกรมขนส่งทางบก

ขั้นตอนการยื่นชำระภาษีรถยนต์ผ่านเว็บไซต์ของกรมขนส่งทางบก

  1. เข้าสู่เว็บไซต์ของกรมขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th/ ในกรณีที่ยื่นออนไลน์เป็นครั้งแรกให้ทำการลงทะเบียนเพื่อเข้าไปใช้งาน
  2. เลือกเมนูยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี
  3. กรอกรายละเอียดของรถยนต์และกดยื่นชำระภาษี
  4. กรอกรายละเอียดพื้นฐานพ.ร.บ หรือซื้อจากระบบก็ได้เช่นเดียวกัน
  5. เลือกช่องทางการชำระเงิน สามารถเลือกได้ทั้งหักบัญชี จ่ายผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต จ่ายผ่านเคาน์เตอร์บริการ และตู้ ATM ของธนาคารที่ร่วมโครงการ
  6. หลังจากที่เราชำระเงินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กรมการขนส่งทางบกจะมีการส่งใบเสร็จรับเงินให้กับเราและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีให้กับเราทางไปรษณีย์

จะเป็นอย่างไรหากเราไม่ต่อภาษีรถยนต์

จะเป็นอย่างไรหากเราไม่ต่อภาษีรถยนต์

หากคุณไม่ต่อภาษีรถยนต์เท่ากับกระทำความผิดตามกฎหมาย ดังนั้น สิ่งที่จะตามมาจากการไม่ต่อภาษีรถยนต์จึงมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น

เสียค่าปรับ

การต่อภาษีสามารถทำได้ล่วงหน้าก่อนที่ทะเบียนรถยนต์ของเราจะหมดอายุไม่เกิน 90 วันหรือ 3 เดือน หากเราต่อภาษีช้าจะถูกปรับเป็นจำนวนเงิน 1% จากภาษีรถยนต์ต่อเดือน ที่เราปล่อยนานเท่าไหร่ก็ยิ่งต้องจ่ายค่าปรับมากขึ้นเท่านั้น หากคุณกลัวลืมจะต่อทะเบียนรถยนต์ล่วงหน้าก่อนก็ได้เช่นเดียวกัน

ถูกระงับทะเบียน

หากรถยนต์ของเราไม่มีการต่อทะเบียนเป็นระยะเวลาเกิน 3 ปีขึ้นไป ขนส่งจะมีการระงับทะเบียนในทันที ถึงเราจะใช้รถคันเดิมก็ต้องไปดำเนินการขอจดทะเบียนรถใหม่และต้องคืนป้ายทะเบียนด้วย ต้องชำระภาษีย้อนหลัง แต่ในกรณีที่รถจอดไว้โดยไม่ได้ใช้งาน มีปัญหาจนต้องซ่อมเป็นเวลานาน เราสามารถยื่นเอกสารแสดงการระงับใช้รถยนต์ชั่วคราวที่ขนส่งล่วงหน้าได้เช่นเดียวกัน เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องเสียภาษีในช่วงเวลาที่เราไม่ได้ใช้รถยนต์

ค่าใช้จ่ายจิปาถะ

หากเราไม่ต่อภาษี นอกจากจะโดนค่าปรับยังมีค่าใช้จ่ายอื่นตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นค่าป้ายทะเบียนรถยนต์อันใหม่ ค่าตรวจสภาพรถยนต์ ค่าเดินทางไปมาหากเราเตรียมเอกสารไม่ครบหรือทางขนส่งมีการขอเอกสารเพิ่มเติม

สรุปแล้ว ภาษี รถยนต์ ที่ควรรู้ ที่เรามาแนะนำกันในวันนี้มีตั้งแต่ภาษีรถยนต์คืออะไร เอกสารที่ใช้มีอะไรบ้าง ขั้นตอนการเตรียมตัวและเอกสาร รวมไปถึงวิธีการสมัครพ.ร.บรวมไปถึงการต่อภาษีรถยนต์ มันเป็นสิ่งที่ผู้ใช้รถยนต์ควรรู้ไว้และปฏิบัติตาม เพื่อไม่ให้ตนเองกระทำความผิดตามกฎหมายซึ่งจะตามมาด้วยข้อเสียมากมาย สำหรับใครที่ยังไม่ได้ไปต่อทะเบียนเราขอแนะนำให้รีบไปทำโดยด่วน ก่อนที่คุณจะโดนค่าปรับจนอ่วมและต้องเสียเวลา หากใครอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuck ได้ฟรี ที่ลิงก์ด้านล่าง