เมื่อชีวิตได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจ หรือภาระที่มีอยู่จนเริ่มแบกรับไม่ไหว เช่น ผ่อนรถ ผ่อนบ้านไปพร้อมกันทั้ง ๆ ที่พยายามหารายได้ต่าง ๆ มาอุดรอยรั่วที่เกิดขึ้น แต่หามาเท่าไรก็ไม่พอสักที ยิ่งชักหน้าก็ไปไม่ถึงหลังทำให้ต้องค้างชำระค่างวดรถยนต์เพื่อได้มีเงินก้อนนั้นไปใช้หมุนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งช่วง 1-3 เดือนแรกไม่เป็นไรแต่หากเกิน 3 - 4 งวดติดต่อกันก็จะต้องถูกยึดรถ แล้วหากโดนไฟแนนซ์ยึดรถ ต้องทำยังไง ซึ่งจะเผยทุกขั้นตอน พร้อมข้อควรรู้หากถูกยึดรถ

7 ข้อควรรู้เมื่อโดนไฟแนนซ์ยึดรถ ต้องทำยังไง

7 ข้อควรรู้เมื่อโดนไฟแนนซ์ยึดรถ ต้องทำยังไง

รู้ได้อย่างไร ? ว่าเมื่อไหร่จะโดนไฟแนนซ์มายึดพร้อม 7 ข้อควรรู้เมื่อไฟแนนซ์มายึดรถจะต้องเตรียม หรือดำเนินการอย่างไรที่จะช่วยให้คุณเสียประโยชน์น้อยที่สุด

1. ค้างค่างวดรวม 4 งวดถึงโดนยึด

เป็นข้อที่หลายคนสงสัยว่าต้องค้างเท่าไรถึงโดนไฟแนนซ์ยึด คำตอบคือเมื่อมีการค้างชำระค่างวดหนี้รวม 3 งวดติดต่อกัน รวมก่อนยึดรถอีกเดือน 1 เดือนรวมเป็น 4 เดือนซึ่งบางครั้งอาจจะนานกว่านี้ แต่ถ้าหากไฟแนนซ์มายึดรถก่อนระยะเวลาที่กำหนดจะมีความผิดพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 (คุ้มครองเกี่ยวกับสัญญา) ดังนั้นผู้เช่าซื้อต้องอย่ายอมให้ยึดรถ โดยให้เรียกตำรวจมาเป็นพยานเพราะหากเราไม่ยินยอมให้ยึดรถ ไฟแนนซ์ก็ไม่สามารถบังคับ หรือข่มขู่ได้

2. ไฟแนนซ์เรียกค่าเสียหายได้ตามจริงเท่านั้น

เพราะบางครั้งไฟแนนซ์มักจะถูกข่มขู่เรียกค่าเสียหายสูง ๆ ซึ่งขอเน้นย้ำอีกทีว่าจริง ๆ แล้วไม่สามารถเรียกค่าใช้จ่ายได้ตามอำเภอใจเพราะ ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่สามารถเรียกค่าใช้จ่ายได้ ตามอำเภอใจซึ่งเรียกค่าเสียหายได้ตามค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้นจึงไม่ต้องวิตกกังวล

3. เราไม่ยินยอมไฟแนนซ์ยึดรถไม่ได้

สิ่งที่อยากเน้นย้ำ ถ้าหากมีการบังคับขู่เข็ญ หรือไล่ให้ผู้เช่าซื้อลงจากรถ หรืแกระชากกุญแจรถ หรือขับรถหนีไปไม่ถือว่าทำความผิดเป็นคดีอาญาได้เลย ตามประมวลกฎหมายอาญาในมาตรา 309 และถ้ากระทำมีอาวุธ หรือร่วมกระทำความผิดด้วยกันกับผู้อื่นตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับซึ่งให้เราถ่ายรูป หรือวีดิโอ รวมถึงการบันทึกเสียงเพื่อเป็นหลักฐาน หากถูกกระทำโดนถูกบังคับ หรือยึดรถด้วยวิธีที่เราไม่สมัครใจ

4. อย่าปล่อยให้ถูกยึดรถ จะหมดอำนาจต่อรองทันที

หากคุณไม่ได้แคร์การติดแบล็คลิสต์ หรือเครดิตบูโรก็ไม่ควรปล่อยให้ไฟแนนซ์ยึดรถไม่ว่าจะกรณีใด ๆ เพราะถ้าหากถูกยึดรถแล้วจะทำให้เราไม่มีอำนาจต่อรองและส่วนใหญ่รถก็จะนำไปขายทอดตลาดในราคาต่ำกว่าท้องตลาดซึ่งก็มักจะไม่พอจ่ายหนี้เราและไฟแนนซเองก็ยังเรียกส่วนที่เหลือจากเราซึ่งถ้าพูดง่าย ๆ คือไม่มีรถแล้ว แต่ก็ยังมีหนี้อยู่

5. เรียกค่าเสียหายสูง หาทนายสู้คดีได้

ซึ่งจะใช้ในกรณีที่รถถูกยึดไปแล้วและไฟแนนซ์มีการส่งหนังสือเรียกชำระหนี้ส่วนที่เหลือซึ่งหากมองดูยอดแล้วสูงเกินไป ก็อย่าตกใจแต่ให้ตั้งสติแล้วหาทนายมาสู้คดีแทนซึ่งในปัจจุบันเราสามารถหาทนายอาสามาช่วยได้ในกรณีที่เราไม่มีกำลังจ้างทนายเพื่อมาช่วยต่อสู้คดีซึ่งจากคดีส่วนใหญ่ศาลมักพิพากษาให้จ่ายเพียง 30% (หากยอดที่เรียกเว่อร์ไป) หรือไม่ก็ครึ่งหนึ่งและไม่ต้องกังวลว่าจะติดคุกเพราะเป็นแค่คดีที่แพ่งเท่านั้น

6. แพ้คดี ไม่มีใครเดือดร้อนเพราะเรา

หากแพ้คดีขึ้นมา ไฟแนนซ์ก็จะทำได้แค่มายึดทรัพย์ของเราที่ถือครองในนามลูกหนี้เพื่อชดใช้ค่าเสียหาย แต่ถ้าหากเราไม่มีก็จะไม่สามารถไปเรียกร้องจากญาติ พี่น้อง หรือคนในอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้

7. เป็นหนี้ไฟแนนซ์ ไม่ต้องลาออกจากงาน

เพราะถือว่าไม่ได้มีผลกระทบต่อหน้าที่การงานเพราะเป็นเรื่องส่วนตัวซึ่งไฟแนนซ์ไม่สามารถนำเรื่องส่วนตัวไปประจานกับเพื่อนร่วมงาน หรือผู้บังคับบัญชาให้รับรู้เรื่องนี้เพราะหากมีการนำไปประจานกับก็ให้ถือว่าเป็นการหมิ่นประมาทซึ่งเราสามารถฟ้องร้องได้

แล้วถ้าหากไม่อยากให้รถยนต์โดนยึดต้องทำอย่างไร

แล้วถ้าหากไม่อยากให้รถยนต์โดนยึดต้องทำอย่างไร

แล้วจะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อช่วยให้รถยนต์ของเรานั้นไม่ถูกไฟแนนซ์ยึดไปขายทอดตลาด หรือฟ้องร้องให้บังคับชำระหนี้ส่วนที่เหลือที่มักจะสูงเกินจริง

1. ให้เจรจากับสถาบันการเงินที่จัดไฟแนนซ์ หรือลิสซิ่ง

เนื่องจากในปัจจุบันด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งการพึ่งกลับมาฟื้นตัวจากพิษโควิด หรือเรื่องอัตราเงินเฟ้อทำให้สถาบันไฟแนนซ์ หรือลิสซิ่งก็ได้มีมาตรการออกมาเพื่อช่วยเหลือลูกค้าในการชำระหนี้จึงหากเห็นว่าผ่อนไม่ไหว ไม่มีความสามารถจ่ายได้ให้ทำการเจรจาเพราะอาจจะให้การหยุดพักจ่ายค่างวด หรือชำระเฉพาะดอกเบี้ยเพื่อที่คุณได้มีเวลาในการหาเงินมาผ่อนชำระได้ต่อ

2. ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ อีกวิธีที่ไม่อยากให้มองข้าม

ซึ่งการปรับโครงสร้างหนี้ หรือที่เราคุ้นหูกันว่าการรีไฟแนนซ์นั่นเองซึ่งจะเป็นวิธีการนำเอาหนี้ที่ค้างชำระทั้งหมดมาคำนวณใหม่เพื่อขยายระยะเวลาการผ่อนในแต่ละเดือนให้น้อยลง

3. ขาย - เปลี่ยนสัญญาขายดาวน์

เป็นอีกวิธีสำหรับคนที่ไม่ต้องการชำระหนี้แล้วก็สามารถขายรถต่อให้กับผู้อื่นที่สนใจเพื่อให้นำไปผ่อนต่อซึ่งราคาก็ขึ้นอยู่กับราคาตลาด ณ ตอนนั้นซึ่งอาจมากกว่า หรือน้อยกว่ายอดหนี้ที่เหลืออยู่

ดังนั้น หากเริ่มมีปัญหาในผิดนัดชำระค่างวดรถติดต่อ2 - 3 ควรเจรจาเพื่อรับมาตรการช่วยเหลือกับทางไฟแนนซ์ หรือลิสซิ่งไม่ว่าจะเป็นวิธีการใดเพราะอย่างน้อยก็จะได้มีเงินผ่อนรถต่อและได้มีรถใช้ หรือจะได้จบปัญหาได้ราคารถที่ถูกกว่า

หากโดนไฟแนนซ์ยึดรถ ต้องทำยังไง เริ่มแรกเลยให้ตั้งสติก่อนว่าเราผิดนัดชำระค้างค่างวดมาแล้วกี่เดือน ครบ 4 งวดแล้วหรือไม่ ? ซึ่งถ้าหากใช่แล้วไฟแนนซ์มาขอเจรจาด้วยวิธีการที่ดีไม่ได้มีการบังคุบขู่เข็ญใด ๆ แนะนำว่าให้เจรจาเพื่อหาทางออกที่เหมาะสมร่วมกันไม่ว่าจะขอพักชำระหนี้สักระยะ จ่ายแค่ดอกเบี้ย เข้ารีไฟแนนซ์ใหม่ หรือขาย - เปลี่ยนสัญญาเพื่อจะได้จบหนี้ได้น้อยที่สุด หรือยังมีรถใช้ต่อด้วยการผ่อนรถที่ค่างวดลดลงแต่ระยะเวลาผ่อนอาจจะนานขึ้น แต่ถ้าหากไม่เกินงวดที่ผิดนัดชำระ มีการขู่เข็ญ บังคับ หรือฟ้องร้องให้ชำระหนี้คงเหลือสูงเว่อร์เกินจริงแนะนำให้ฟาทนายเพื่อต่อสู้คดีและพยายามอย่าปล่อยให้รถถูกยึดไปเด็ดขาด จากข้างต้นทุกปัญหาการเงินมีทางออกเสมอ โดยหากผ่อนรถคู่ใจไม่ไหว รีไฟแนนซ์รถ ช่วยได้ หรือจะเข้ามาขอรับคำปรึกษาทางการเงินเพื่อหาทางออกในการปลดหนี้ได้ที่ MoneyDuck Thailand