การผ่อนรถยนต์ถือเป็นภาระผูกพันระยะยาว บางคนอาจเผชิญปัญหาการเงินจะทำให้ผ่อนต่อไม่ไหว การคืนรถจึงถือเป็นอีกหนึ่งทางออกที่น่าสนใจ แต่การคืนรถ ไฟแนนซ์ ต้องทำยังไง เมื่อเริ่มผ่อนไม่ไหว มันเป็นวิธีที่ดีจริงหรือ และในกรณีของเราสามารถคืนรถให้กับไฟแนนซ์ได้หรือไม่ เราจะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน

คืนรถ ไฟแนนซ์ ต้องทำยังไง เมื่อเริ่มผ่อนไม่ไหว รวมเรื่องน่ารู้ก่อนตัดสินใจ

คืนรถ ไฟแนนซ์ ต้องทำยังไง เมื่อเริ่มผ่อนไม่ไหว รวมเรื่องน่ารู้ก่อนตัดสินใจ

การซื้อรถยนต์ด้วยไฟแนนซ์เป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมสำหรับคนอยากมีรถยนต์ แต่เมื่อเวลาผ่านไป และสถานการณ์ทางการเงินเปลี่ยนแปลงไป อาจมีช่วงเวลาที่เราไม่สามารถรับมือกับหนี้สินที่มีได้ไหว การคืนรถ ไฟแนนซ์ ต้องทำยังไง เมื่อเริ่มผ่อนไม่ไหวก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจเลยทีเดียว

เพราะวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เราไม่ต้องแบกรับภาระหนี้สินอีกต่อไป ที่สำคัญ การคืนรถนับเป็นการยกเลิกสัญญา มันจึงไม่ทำให้เราเสียประวัติบนเครดิตบูโรด้วย ดีกว่าปล่อยเบลอไม่ยอมชำระหนี้จนไฟแนนซ์มายึดรถ แบบนั้นจะเสียประวัติเครดิตบูโรอย่างแน่นอน สำหรับใครที่กำลังตัดสินใจอยู่ว่าควรคืนรถให้ไฟแนนซ์ดีหรือไม่ คำตอบจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี ประกอบไปด้วย

1. กรณีประวัติดี

สำหรับคนที่มีการผ่อนชำระค่างวดรถเต็มจำนวน ตรงเวลามาโดยตลอด แต่วันหนึ่งเกิดปัญหาทางการเงินจะทำให้ผ่อนรถต่อไม่ไหว เราสามารถทำการคืนรถให้กับไฟแนนซ์ได้เลย ไม่ต้องเสียส่วนต่าง แค่เข้าไปติดต่อกับไฟแนนซ์ จากนั้นก็ทำเรื่องคืนรถได้ในทันที ทางเจ้าหน้าที่จะดำเนินการยกเลิกสัญญาให้กับเรา เราก็จะไม่มีภาระหนี้สินอีกต่อไป ส่วนรถยนต์ก็ทำเรื่องคืนให้กับไฟแนนซ์ไปตามปกติ

2. กรณีประวัติไม่ดี

กรณีที่เราประสบปัญหาการเงินจนไม่สามารถผ่อนชำระค่างวดเกิน 3 เดือนติดต่อกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือคุณอาจโดนยึดรถ สุดท้ายก็จะมีภาระหนี้สินผูกพันตามมาอีกต่างหาก เพราะในสัญญามีการระบุว่าผู้ให้เช่ายินยอมที่จะให้ผู้เช่าซื้อยกเลิกสัญญา และส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืน พร้อมทั้งเคลียร์ค่างวดที่ค้างชำระทั้งหมด รวมถึงยินยอมรับผิดในการนำรถออกมาขายขาดราคาอีกด้วย หากเราปล่อยให้มีค่างวดค้างชำระ เวลาจะคืนรถเราก็ต้องชำระหนี้สินส่วนที่เราค้างชำระเอาไว้ ในขณะเดียวกันเอง หากเราทิ้งปัญหาคาราคาซังไว้นาน มันอาจจะไม่ได้เป็นการที่เราคืนรถให้กับไฟแนนซ์ แต่กลายเป็นไฟแนนซ์ที่มายึดรถเราแทนเหมือนกัน เวลาที่เรามีปัญหาทางการเงินจนส่งผลกระทบต่อการชำระค่างวดรถ ทางเลือกที่ดีที่สุดจึงเป็นการเข้าไปพูดคุยเจรจาไกล่เกลี่ยกับเจ้าหนี้ตรงๆ นั่นเอง

ประเมินอย่างไรว่าเราเหมาะสำหรับการคืนรถยนต์เมื่อผ่อนไฟแนนซ์ไม่ไหว

ประเมินอย่างไรว่าเราเหมาะสำหรับการคืนรถยนต์เมื่อผ่อนไฟแนนซ์ไม่ไหว

สำหรับใครที่ยังไม่มั่นใจว่าตัวเองควรคืนรถไฟแนนซ์เมื่อผ่อนไม่ไหวหรือไม่ เพราะความจริงแล้วมันยังมีทางออกอื่นๆ ที่คุณสามารถเลือกได้นอกเหนือจากแค่การคืนรถเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หรือมีความจำเป็นที่จะยังต้องใช้รถยนต์ต่อไป เราจะพาทุกคนไปดูกันว่าวิธีการประเมินความเหมาะสม มีอะไรที่เราต้องพิจารณาบ้าง

1. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

ค่าใช้จ่ายที่มาพร้อมกับรถยนต์อย่างค่าจอดรถ ค่าน้ำมัน ค่าประกันอุบัติเหตุ ค่าตรวจสภาพ ค่าต่อภาษี เป็นค่าใช้จ่ายที่เราสามารถแบกรับต่อได้ไหวหรือไม่ และมันจะส่งผลกระทบทางการเงินของเราให้ยิ่งแย่ลงในอนาคตหรือเปล่า

2. คำนวณรายได้ปัจจุบัน

หลายคนมองว่าตอนนี้ผ่อนไม่ไหว แต่ในอนาคตจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจนรับมือกับหนี้สินได้ ในความเป็นจริงที่เราต้องประเมินจะต้องดูแค่รายได้ในปัจจุบันเท่านั้น หากพิจารณาแล้วว่าในอีก 3 เดือนเราก็ยังคงไม่สามารถหาเงินมาชำระค่างวดได้ การคืนรถดูเหมือนจะเป็นทางเลือกที่ตัดปัญหา และป้องกันไฟลามทุ่งได้รวดเร็วที่สุด

3. พิจารณาความจำเป็น

ให้ลองพิจารณาดูก่อนว่ารถยนต์เป็นยานพาหนะที่จำเป็นสำหรับการเดินทางของเราจริงหรือไม่ อย่างเช่น หากคุณอยู่ในกรุงเทพฯ ที่พัก และที่ทำงานมีรถไฟฟ้า รถเมล์ หรือขนส่งสาธารณะอื่นๆ วิ่งผ่าน รถยนต์ก็อาจจะไม่ได้จำเป็นกับเราถึงขนาดนั้น หรือจะลองคำนวณดูก็ได้ว่าในแต่ละเดือนเราใช้รถกี่วัน คุ้มค่ากับเงินที่เสียไปมากน้อยแค่ไหน

4. สรุปผลประเมิน

สำหรับใครที่ประเมินทั้งหมดทั้งมวลมาแล้ว และพบว่าทิศทางการเงินในอนาคตดูท่าว่าจะแบกรับค่างวดรถต่อไปไม่ไหว เราขอแนะนำว่าให้รีบคืนรถไปก่อนจะดีกว่า เพราะดีกว่าเราปล่อยค่างวดให้ค้างชำระไปเรื่อยๆ ตอนสุดท้ายถูกยึดรถ เสียเครดิตบูโร มีค่างวดค้างชำระต้องจ่าย แถมยังอาจโดนค่าใช้จ่ายอื่นๆ อย่างดอกเบี้ย ค่าปรับ รวมถึงค่าติดตามทวงถามหนี้อีกต่างหาก

รวมทางออกในการจัดการหนี้สินที่น่าสนใจสำหรับคนผ่อนรถไม่ไหว

รวมทางออกในการจัดการหนี้สินที่น่าสนใจสำหรับคนผ่อนรถไม่ไหว

เพื่อนๆ ที่กำลังเจอปัญหาทางการเงินจนไม่สามารถชำระค่างวดรถได้ตามปกติ แต่ไม่อยากคืนรถให้ไฟแนนซ์ไปเลยฟรีๆ เพราะมันจะเท่ากับว่าเราต้องเสียค่าเช่ารถเดือนละหลายพันบาทติดกันมาหลายเดือนแล้วโดยที่ไม่ได้อะไรคืนเลย ความจริงแล้วก็ยังมีวิธีอื่นที่ช่วยให้เราสามารถจัดการปัญหาหนี้สินได้เหมือนกัน ดังนี้

1. ขอปรับโครงสร้างหนี้

วิธีการคือเข้าไปติดต่อไฟแนนซ์ว่าเรากำลังมีปัญหาการเงิน ต้องการปรับโครงสร้างหนี้ ไฟแนนซ์จะมีหนทางที่ช่วยเหลือลูกหนี้ที่กำลังประสบปัญหาทางการเงินอยู่แล้ว อาจมีการปรับลดค่างวดให้เราชั่วคราว ยืดระยะเวลาการผ่อนชำระให้นานขึ้น เพื่อให้ค่างวดแต่ละเดือนน้อยลงกว่าเดิม หรืออาจจะมีการผ่อนชำระแบบขั้นบันได ให้เราผ่อนน้อยในช่วงที่มีปัญหาการเงิน พอสถานการณ์เงินกลับมาปกติก็ผ่อนตามเดิมอีกครั้ง

2. รีไฟแนนซ์

วิธีการดังกล่าวจะเหมาะสำหรับคนที่ผ่อนรถมาเป็นระยะเวลาเกินกว่าครึ่งหนึ่งของระยะเวลาทั้งหมดแล้ว วิธีการดังกล่าวคือการที่เราไปกู้เงินอีกเจ้าหนึ่ง มาโปะหนี้เจ้าเก่า จากนั้นก็ผ่อนชำระหนี้กับธนาคารแห่งใหม่ มันจะช่วยให้ดอกเบี้ยถูกลงกว่าเดิม ค่างวดน้อยลง ช่วยให้เราผ่อนสบายมากขึ้น

3. เปลี่ยนสัญญากู้ยืม

หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือการขายรถนั่นเอง อย่างน้อยมันก็ช่วยให้เราได้ค่างวดที่เคยผ่อนชำระไปคืนมาบ้าง ไม่ต้องจ่ายเงินฟรี แม้ว่าเงินที่เราได้มาจากการขายรถอาจขาดทุนไปบ้างก็ตาม เราสามารถให้คนซื้อเลือกได้ว่าจะเอาเงินก้อนไปปิดหนี้กับไฟแนนซ์ทันที หรือว่าจะผ่อนชำระต่อก็ได้

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผ่อนรถไม่ไหว ต้องคืนรถ ทำยังไง ที่นี่

เมื่อเราขายลดได้แล้ว หากคนซื้อต้องการปิดหนี้ทันที เราก็เอาเงินที่ได้จากคนซื้อไปปิดหนี้กับไฟแนนซ์ได้เลย จากนั้นก็ให้ไปนั้นทำการโอนกรรมสิทธิ์ให้กับลูกค้าของเรา แต่สำหรับลูกค้าที่อยากผ่อนต่อ เราก็สามารถพาลูกค้าไปเปลี่ยนสัญญากับไฟแนนซ์ได้เลย สรุปแล้ว คืนรถ ไฟแนนซ์ ต้องทำยังไง เมื่อเริ่มผ่อนไม่ไหว ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่กำลังประสบปัญหาทางการเงิน และไม่อยากมีประวัติเครดิตบูโรติดตัวในอนาคต แต่วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่เราต้องเสียเงินค่างวดรถไปแบบฟรีๆ มันจึงถือเป็นการตัดจบปัญหาที่เหมาะสำหรับลูกหนี้ประวัติดี ผ่อนชำระมาได้ไม่นาน แต่สำหรับคนที่ผ่านมานานแล้ว ทางเลือกอื่นดูเหมือนจะคุ้มค่ามากกว่า หากต้องการสอบถามข้อมูลสามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuckได้เลย