ใกล้จะสิ้นปีเรื่องของ ภาษี ก็เป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องรีบวางแผน เรื่องที่ใกล้ตัวของทุกคนที่หลายคนอาจจะไม่รู้ โดยเฉพาะคนที่เพิ่งทำงานหรือักศึกษาจบใหม่ อาจจะยังไม่รู้ว่าทุกวันเราก็ต้องจ่ายภาษีด้วยนะ ซึ่ง MoneyDuck จะพาคุณผู้อ่านไปไขข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องภาษีให้กระจ่าง ว่าจริง ๆ แล้วคำว่าภาษี คืออะไร ทำไมถึงต้องเสีย พร้อมพาไปรู้จักกับประเภทของภาษีนั้นมีอะไรบ้างและแต่ละประเภทภาษีจัดเก็บมาจากส่วนใด

ภาษี คืออะไร

https://img.moneyduck.com/article_attachment/1664855736-tax-report-concept-with-wooden-blocks-with-words-it-side-view.jpg

ภาษี (Tax) คือ เงินที่รัฐจัดเก็บจากประชาชนและผู้ประการเพื่อนำรายได้มาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยจะมีสรรพกรซึ่งเป็นหน่วยงานในกระทรวงการคลังทำหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีอากรต่าง ๆ จากประชาชนและนำส่งไปเป็นรายได้ของแผ่นดิน

ทำไมถึงต้องเสียภาษี

รัฐมีความจำเป็นในการนำเอาเงินที่ได้จากการจัดเก็บประเภทของภาษีทุกประเภทไปใช้ในการพัฒนาประเทศและกิจการอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาทิ การสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล ถนน ไฟฟ้า ระบบสาธารณูปโภคและการป้องกันประเทศ เป็นต้น

ใครบ้างต้องเสียภาษี

ทุกคนที่มีรายได้ เช่น ข้าราชการ ลูกจ้างชั่วคราว พนักงาน พ่อค้าแม่ค้า บริษัท ห้างร้าน หรือกิจการต่าง ๆ ที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่รัฐกำหนด หรือเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายได้ระบุไว้ว่าเข้าหลักเกณฑ์ผู้ที่ต้องชำระภาษี

โครงสร้างประเภทของภาษี

ไม่ว่าจะเป็นภาษีประเภทใดก็จะมีองค์ประกอบพื้นฐานจาก 6 โครงสร้างภาษีซึ่งจะมีรายละเอียดในแต่ละโครงสร้างแตกต่างกัน ดังนี้

  1. ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี
    • ผู้ที่มีเงินได้ ซึ่งจะทำหน้าที่เสียภาษีเงินได้
    • ผู้ประกอบ ซึ่งจะทำหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น
  2. ฐานภาษี
    • ภาษีเงินได้ กำหนดฐานภาษีจะมาจาก รายได้ (Income)
    • ภาษีมูลค่าเพิ่ม กำหนดฐานภาษีจะมาจาก สินค้า (Product)และบริการ (Service) ซึ่งจะใช้เป็นตัวตั้งในการคำนวณภาษีต่อไป
  3. อัตราภาษี ซึ่งเราจะเสียภาษีมาก หรือน้อยลงขึ้นอยู่กับอัตราของภาษีซึ่งมีหลายแบบได้แก่
    • อัตราภาษีแบบก้าวหน้า (แบบขั้นบันได คือ ภาษีสูงขึ้นเมื่อฐานภาษีเพิ่มขึ้น)
    • อัตราภาษีแบบถดถอย (ฐานภาษีสูง อัตราภาษีต่ำ)
    • อัตราภาษีแบบคงที่ (ไม่แปรผันขึ้นลงตามฐานภาษี)
    • อัตราภาษีแบบเหมาจ่าย (มีจำนวนเงินที่จ่ายแน่นอน)
  4. วิธีการเสียภาษี ซึ่งจะอ้างอิงวิธีการเสียภาษีตามกฎหมายกำหนดซึ่งจะมีแบบฟอร์ม หรือเอกสารสำหรับกรอกรายละเอียดและคำนวณยอดเงินการเสียภาษีซึ่งถ้าหากไม่รู้ว่าต้องจ่ายภาษีเท่าไร่อาจจะใช้วฺะีประเมินภาษีโดยพนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก็ได้
  5. การระงับข้อพิพาท ก็คือสิทธิ์ในการโต้แย้งหากมีความเห็นไม่ตรงกัน เช่น การคำนวณภาษีที่ผิดพลาดอันเกิดจากฝั่งผู้เสียภาษี หรือกรมสรรพากร
  6. การบังคับคดี จะใช้ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษี แต่ไม่เสียภาษีตามกฎหมาย เช่น มีการหลบเลี่ยงภาษี ชี้แจงบัญชีไม่ครบ

ประเภทของภาษีมีอะไรบ้าง

https://img.moneyduck.com/article_attachment/1664855759-account-assets-audit-bank-bookkeeping-finance-concept%20%281%29.jpg

ประเภทของภาษีหลัก ๆ จะแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม ซึ่งมีรายละเอียดแต่ละประเภท ดังนี้

  1. ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องจ่ายภาษีเอง หรือภาษีที่เรียกเก็บโดยตรงจากผู้มีเงินได้ ได้แก่
    • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไปที่มีเงินได้ ไม่ว่าประเภทใด ชนิดใด ถ้าไม่มีกฎหมายยกเว้นให้แล้วก็อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีซึ่งจะต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.91) ช่วงมกราคม - มีนาคมของทุกปีซึ่งสามารถไปยื่นได้ด้วยตนเองที่สำนักงาน หรือผ่านระบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร
    • ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรที่จะมีการจัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลโดยจะประเมินรายได้จากฐานภาษีกำไรสุทธิ ฐานภาษียอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย ฐานภาษีเงินได้ที่จ่ายจาก หรือในประเทศไทยและฐานภาษีการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย
  2. ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ต้องจ่ายภาษีเอง แต่จะเรียกเก็บจากผู้บริโภค หรือบริการต่าง ๆ โดยได้มีการคิดรวมกับราคาสินค้าไว้แล้ว
    • ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ(Value Added Tax - VAT) จะเป็นการจัดเก็บภาษีมาจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิตและจำหน่ายสินค้าหรือบริการทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งจะจ่ายอยู่ที่ 7% ซึ่งเรามักจะเห็นตามท้ายบิลหรือใบเสร็จที่ระบุค่า VAT 7% ทุกครั้งที่มีการชำระค่าสินค้า
    • ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จะเป็นการจัดเก็บภาษีล่วงหน้าที่กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับทุกครั้งที่จ่ายซึ่งการหักภาษีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด หลังจากนั้นให้นำเงินส่งกรมสรรพากร
    • ภาษีธุรกิจเฉพาะ จะเป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่งที่มีการจัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิกซึ่งภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ.2535 พร้อมกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • อากรแสตมป์ คือ ภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่งที่มีการจัดเก็บจากการกระทำตราสาร 28 ลักษณะตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์

นอกจากนี้ยังมีภาษีอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้กล่าวถึงเช่น ภาษีการรับมรดก, มูลนิธิ หรือสมาคม, อนุสัญญาภาษีซ้อนซึ่งสามารถหาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีได้ที่กรมสรรพากร

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี ที่นี่

แม้เรื่องภาษีจะเป็นเรื่องที่น่าจะปวดหัวสักหน่อยเพราะประเภทของภาษีที่มีก็ค่อนข้างเยอะและบางครั้งผู้เสียภาษีก็ไม่รู้ว่าตนเองนั้นต้องชำระภาษีตามเงื่อนไขใด การมีผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับภาษีจึงอาจเป็นอีกหนึ่งหนทางซึ่ง MoneyDuck มีความพร้อมในการให้คำปรึกษาทุกปัญหาด้านผลิตภัณฑ์ทางการเงินซึ่งรวมถึงการจัดการภาษีที่คุณสามารถเข้ามารับคำปรึกษาได้ฟรีแบบไม่มีค่าใช้จ่าย