ให้การจัดการเรื่องเงินเป็นเรื่องง่ายโดย MoneyDuck จะพาคุณทำความรู้จักกับประเภทบัญชีธนาคารที่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าไม่ได้มีแค่บัญชีออมทรัพย์สำหรับฝากเงินเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายประเภทเงินฝากที่คุณสามารถเลือกใช้บริการให้ตรงตามความต้องการผ่านการสร้างผลตอบแทนที่ไม่ต้องแบกรับความเสี่ยง เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ตัวอื่น ๆ ซึ่งประเภทบัญชีธนาคารจะมีประเภทใดบ้างและธนาคารไหนน่าสนใจไปลุยกันเลย
รู้จักกับประเภทบัญชีธนาคาร
การเข้าใจว่าการออมเงินเป็นสิ่งที่ดี แต่จะดียิ่งกว่าหากคุณเข้าใจลักษณะบัญชีเงินฝากแต่ละประเภทซึ่งจะเป็นตัวช่วยที่จะทำให้คุณเลือกฝากเงินได้อย่างเหมาะสม
-
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์
เงินฝากออมทรัพย์ หรือ Saving Deposit Account เป็นบัญชีที่เหมาะกับผู้ฝากรายย่อย ไม่กำหนดขั้นต่ำ ไม่มีการกำหนดระยะเวลารับฝาก มีความคล่องตัวในการเบิกถอนแต่จะคิดอัตราดอกเบี้ยแบบรายวันซึ่งจะสะสมยอดไว้และจ่ายให้กับผู้ฝากปีละ 2 ครั้ง (ช่วงมิถุนายนและธันวาคมของทุกปี)
ข้อควรรู้: กรณีเป็นบุคคลธรรมดาที่มียอดฝากเงินในบัญชีสูงมากและได้รับยอดดอกเบี้ยเกิน 20,000 บาทโดยรวมจากทุกธนาคาร ผู้ฝากต้องเสียภาษีร้อยละ 15 ต่อปี
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ บัญชีออมทรัพย์ที่ดีที่สุด ที่นี่
-
ประเภทบัญชีธนาคาร บัญชีเงินฝากประจำ
บัญชีเงินฝากประจำ หรือ Fixed Deposit Account จะเป็นบัญชีที่มีการกำหนดระยะเวลาแน่นอน เช่น ระยะเวลาออม 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี หรือ 5 ปีเป็นต้นซึ่งส่วนใหญ่ธนาคารจะมีการกำหนดจำนวนเงินฝากขั้นต่ำไว้ประมาณ 1,000 - 5,000 บาท โดยจะได้รับดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เนื่องจากมีระยะการฝากที่ยาวนาน ส่วนการถอนเงิน ส่วนใหญ่จะมีระยะเวลากำหนดว่าถอนได้ช่วงใด หากถอนก่อนอาจจะไม่ได้รับดอกเบี้ย
ข้อควรรู้: กรณีเป็นบุคคลธรรมกดา หากมีการฝากเงินแบบเงินฝากประจำจะต้องเสียภาษีร้อยละ 15% เมื่อได้รับดอกเบี้ยจากธนาคาร เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นของธนาคาร
-
ประเภทบัญชีธนาคาร เงินฝากแบบกระแสรายวัน
เงินฝากแบบกระแสรายวัน หรือ Current Account เป็นบัญชีที่มีความคล่องตัวสูงสามารถเบิกถอนสั่งจ่ายเช็คได้สะดวกซึ่งเหมาะกับธุรกิจที่ต้องการความรวดเร็ว สะดวก แต่จะไม่ได้รับดอกเบี้ย
นอกจากนี้ยังสามารถขอเปิดวงเงินเบิกเกินบัญชี หรือที่เรียกกันว่าวงเงิน O/D บนบัญชีนี้ได้ โดยผู้กู้จะใช้เงินเมื่อใดก็ได้และธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเฉพาะส่วนที่เจ้าของบัญชีเบิกเกินบัญชีเท่านั้น
-
สลากออมทรัพย์
สลากออมทรัพย์ หรือ Savings Lottery อีกหนึ่งรูปแบบเงินฝากยอดนิยมเพราะนอกจากได้รับเงินดอกเบี้ยตามกำหนดแล้วยังมีสิทธิ์ลุ้นรางวัลทุกเดือนตามที่ธนาคารนั้น ๆ กำหนดจนกว่าจะครบอายุสลากซึ่งปกติจะมีอายุสลากประมาณ 3-5 ปี
ข้อควรรู้: มีเพียงธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเท่านั้นที่ให้บริการ
-
เงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศ
เงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศ หรือ Foreign Currency Deposit Account จะเหมาะกับลูกค้าที่ต้องการโอนเงินตราต่างประเทศไปให้บุคคลอื่นในระยะเวลาอันใกล้ซึ่งสามารถทำธุรกรรมนำฝากได้ด้วยเช็ค ดราฟท์ เช็คเดินทางต่างประเทศ คำสั่งโอนเงินจากต่างประเทศผ่าน SWIFT/Telex เป็นต้น
กรณีที่มีการฝาก-ถอนตั้งแต่ 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือเทียบเท่า ผู้ฝากจะต้องกรอกแบบฟอร์มแบบในการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดซึ่งจะต้องดำเนินการที่สาขาที่เปิดบัญชีไว้เท่านั้น
-
ตั๋วแลกเงิน
ตั๋วแลกเงิน หรือ Bill of Exchange คือ การฝากเงินในรูปแบบที่ให้ธนาคารกู้โดยเรา (ในฐานะเจ้าหนี้) โดยการซื้อตั๋วแลกเงินของธนาคารพาณิชย์ โดยปกติจะออกมาเพื่อระดมเงินฝากจากประชาชนทั่วไป จากนักลงทุนสถาบัน หรือจากผู้ลงทุนรายใหญ่
แต่จะต้องเปิดบัญชีออมทรัพย์ควบคู่ไปด้วยเพื่อรับโอนเงินต้นและดอกเบี้ยจากบัญชีตั๋วแลกเงินเมื่อถึงวันครบกำหนด ส่วนการจ่ายดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่กำหนด แต่ได้รับความนิยมน้อยลงในปัจจุบันด้วยเงื่อนไขการควบคุมและการคุ้มครองที่มีข้อจำกัดหลายอย่าง
เลือกประเภทบัญชีธนาคารกับธนาคารไหนดี
กับ 8 ธนาคารที่เหมาะกับการฝากทุกประเภท
- ธนาคารยูโอบี (UOB) ประเภทบัญชีเงินฝาก TMRW Saving ให้ดอกเบี้ยเงินฝากสูงสุด 1.30% ต่อปีโดยมีเงินฝากเริ่มต้นที่ 5,000 บาท
- เงินฝากไม่เกิน 1 ล้านให้ดอกเบี้ย 1.3% ต่อปี
- ส่วนเกิน 1 ล้านบาทให้ดอกเบี้ย 0.25% ต่อปี
- ธนาคารซีไอเอ็มบี (CIMB) กับประเภทบัญชีเงินฝาก Chill D ที่ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 2%
- เงินฝากไม่เกิน 10,000 บาทให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.50% ต่อปี
- เงินฝากเกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 50,000 บาทให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 2% ต่อปี
- เงินฝากเกิน 50,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาทให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 1% ต่อปี
- เงินฝากไม่เกิน 100,000 บาทให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.20% ต่อปี
- ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP) ประเภทบัญชี Savvy ที่ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 1.60% ต่อปี
- เงินฝากไม่เกิน 10,000 บาทให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.50% ต่อปี
- เงินฝากไม่เกิน 1,000,000 บาทให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.50% ต่อปี
- เงินฝากไม่เกิน 2,000,000 บาทให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.60% ต่อปี
- เงินฝากเกิน 2,000,000 บาทให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.50% ต่อปี
- ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LH) ประเภทบัญชีออมทรัพย์ดิจิทัล Pro-Fit ที่ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 1.50% ต่อปี
- เงินฝากไม่เกิน 5,000,000 บาทให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.50% ต่อปี
- เงินฝากเกิน 5,000,000 บาทให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.25% ต่อปี
- ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) บัญชีออมทรัพย์ อีซี่ ผ่าน Application SCB EASY ที่ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 1.50% ต่อปี
- เงินฝากไม่เกิน 1,000,000 บาทให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.50% ต่อปี
- เงินฝากเกิน 1,000,000 บาทให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.50% ต่อปี
- ธนาคารกรุงไทย (KrungThai) บัญชีเงินฝาก Next Saving ที่ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 1.50% ต่อปี
- เงินฝากไม่เกิน 1,000,000 บาทให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.50% ต่อปี
- เงินฝากเกิน 1,000,000 บาทให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.50% ต่อปี
- ธนาคารกสิกรไทย (KBank) บัญชีเงินฝาก K-eSavings ที่ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 1.50% ต่อปี
- เงินฝากไม่เกิน 100,000 บาทให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.50% ต่อปี
- เงินฝากเกิน 100,000 บาทให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.50% ต่อปี
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (Krungsri) บัญชีเงินฝากออมทรัพย์มีแต่ได้ ออนไลน์ที่ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 1.50% ต่อปี
- เงินฝากไม่เกิน 10,000 บาทให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.50% ต่อปี
- เงินฝากไม่เกิน 5,000,000 บาทให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.00% ต่อปี
- เงินฝากไม่เกิน 25,000,000 บาทให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.70% ต่อปี
- เงินฝากไม่เกิน 50,000,000 บาทให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.50% ต่อปี
- เงินฝากเกิน 50,000,000 บาทให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.25% ต่อปี
จะเห็นได้ชัดว่าประเภทบัญชีธนาคารนั้นมีหลายประเภทให้ผู้ฝากสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสม แต่ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของแต่ละธนาคารจะมีการแข่งขันกันเรื่องดอกเบี้ยเพื่อจูงใจกลุ่มนักลงทุนให้มาฝากเงินกับธนาคาร
แม้จะรู้กันดีว่าดอกเบี้ยเงินฝากนั้นได้ดอกเบี้ยเพียงน้อยนิดหากเทียบกับสินทรัพย์การลงทุนกลุ่มอื่น ๆ อาทิ พันธบัตร หุ้นสามัญ หุ้นกู้ กองทุนรวมต่าง ๆ คริปโทเคอเรนซี ที่ให้ผลตอบแทนสูงแต่แลกมาด้วยความเสี่ยงที่สุงมากเช่นกันซึ่งต่างจากเงินฝากออมทรัพย์ที่เพียงนำเงินมากฝากก็ได้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยซึ่งแทบไม่มีความเสี่ยงใด ๆ เลย
สำหรับใครที่ยังมีข้อสงสัย หรือกำลังมองหาช่องทางลงทุนแต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร MoneyDuck! เว็บไซต์ทางการเงินที่พร้อมให้คำปรึกษาที่คุณสามารถค้นหาผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านเพื่อให้เหมาะสมกับตัวคุณแบบฟรี ๆ
บอกเล่าความคิดเห็นและสิ่งที่คุณรู้ที่นี่