ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาความท้าทายในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้นไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก แต่ยังรวมถึงระบบการศึกษาซึ่งเด็ก ๆ หลายคนที่พ่อแม่ต้องเผชิญกับปัญหาทางการเงินทั้งถูกจ้างออก ไม่มีงาน หรือตัวเด็ก ๆ พึ่งจบการศึกษาแต่ไม่มีงาน แต่มีภาระในการผ่อนหนี้กยศ. รัฐบาลจึงได้มีการช่วยเหลือผ่านการขอปรับโครงสร้างหนี้กยศ. เพื่อช่วยให้เด็ก ๆ ยังคงได้รับการศึกษาซึ่งมาล้วงลึกกันสิว่า การปรับโครงสร้างหนี้ครั้งนี้ส่งผลดีอย่างไรบ้างและต้องดำเนินการอย่างไร

กยศ. ย่อมาจาก กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นหน่วยงานของรัฐที่อยู่ในกำกับการดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาด้วยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาในลักษณะต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560

สำหรับกลุ่มนักเรียน นักศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับอาชีวศึกษา ระดับปริญญาตรีและเมื่อไม่นานมานี้ได้เพิ่มระดับปริญญาโทเข้ามาที่อยากเรียนต่อแต่ไม่มีทุนสนับสนุนค่าเล่าเรียน หรือค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีโอกาสได้ศึกษาต่อ

เงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้กยศ. มีอะไรบ้าง

https://img.moneyduck.com/article_attachment/1669623921-traveler-asian-woman-traveling-walking-beijing-china.jpg

จากข้างต้นที่ได้กล่าวถึงการเผชิญสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมาทำให้หลายคนประสบปัญหาในการผ่อนจ่ายชำระค่างวดการกู้ยืมกยศ. จากมติเห็นชอบของคณะกรรมการกองทุนฯ ถึงแนวทางในการขอปรับโครงสร้างหนี้ กยศ.

โดยการปรับเปลี่ยนลำดับตัดชำระหนี้และเปลี่ยนเงื่อนไขการผ่อนชำระสำหรับผู้กู้ยืมกลุ่มก่อนฟ้องคดีเพื่อช่วยเหลือผู้กู้ยืมที่ค้างชำระและลดปัญหาหนี้ค้างชำระของกองทุนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้

  1. การปรับโครงสร้างหนี้

    สำหรับผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระหนี้ที่ยังไม่ถูกฟ้องคดี

    กรณีไม่สามารถผ่อนชำระเงินคืนตามเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ยืมเดิมได้ โดยในการปรับโครงสร้างหนี้ ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันรายเดิมทุกรายตามสัญญากู้ยืมเงินต้องมาลงนามในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ตามแบบที่กองทุนกำหนด

    เงื่อนไข

    • สามารถผ่อนได้สูงสุด 30 ปี แต่ในการชำระเงินงวดสุดท้ายผู้กู้ยืมต้องมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
    • กองทุนจะให้ผู้กู้ยืมมาตกลงขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการผ่อนชำระเงินคืน โดยทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เงื่อนไขการผ่อนชำระเป็นรายเดือนในอัตราเท่ากันทุกเดือน
    • กองทุนจะคำนวณยอดหนี้คงเหลือใหม่ โดยนำเงินที่ผู้กู้ยืมชำระหนี้เงินกู้ยืมคืนมาแล้วทั้งหมดมาปรับเปลี่ยนลำดับการตัดชำระใหม่ โดยตัดชำระดอกเบี้ยและเงินต้นตามงวดครบกำหนดชำระหนี้ จนครบจำนวนเงินที่ผู้กู้ยืมเงินชำระมาเท่านั้น สำหรับเบี้ยปรับในอดีตที่ตัดชำระไปแล้ว ถือว่าผู้กู้ยืมได้ชำระครบถ้วนแล้ว
    • จากนั้นกองทุนจะนำเงินต้นคงเหลือและดอกเบี้ยคงเหลือใช้เป็นยอดหนี้ในการปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนเบี้ยปรับคงค้างที่สะสมอยู่ในระบบจนถึงปัจจุบัน กองทุนจะให้ส่วนลดเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 80 และให้ชำระเบี้ยปรับคงเหลือร้อยละ 20 ในงวดสุดท้าย

    วิธีการ

    • ผู้กู้ยืมสามารถแจ้งความประสงค์ขอปรับโครงสร้างหนี้ได้ที่แอปพลิเคชัน กยศ.Connect หรือทางเว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป โดยผู้กู้ยืมต้องตรวจสอบข้อมูลของตนเองและผู้ค้ำประกัน และ Update ข้อมูลต่างๆให้เป็นปัจจุบัน เช่น เบอร์โทรศัพท์ e-mail ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ สถานที่ทำงาน โดยมีขั้นตอนการแจ้งความประสงค์เพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ ดังนี้
      • ลงชื่อเข้าใช้งาน กรอกเลขประจำตัวประชาชน และรหัสผ่าน
      • เลือกเมนูขอปรับโครงสร้างหนี้ “ยื่นคำขอปรับโครงสร้างหนี้”
      • เข้าสู่หน้ายืนยันข้อมูล ระบบจะให้ตรวจสอบข้อมูลที่ปรากฏ
        • พร้อมให้ระบุ “เบอร์โทรศัพท์มือถือ (เบอร์ปัจจุบันที่ติดต่อได้)
        • พร้อมทำเครื่องหมายถูกหน้าช่อง “ข้าพเจ้ายืนยันข้อมูลฯ”
        • จากนั้นกดปุ่ม “ยืนยัน”
      • หากสำเร็จระบบจะแสดงข้อความว่า “ระบบได้ส่งคำขอปรับโครงสร้างหนี้แล้ว ท่านมีหน้าที่ตรวจสอบและบันทึกข้อมูล

    เพิ่มเติมเมื่อได้รับแจ้งจากกองทุน

    • ขั้นตอนการตรวจสอบคำขอปรับโครงสร้างหนี้ กยศ.
      • กลับมาที่หน้าหลัก กดเลือก “ตรวจสอบรายละเอียดคำขอ”
      • ระบบจะแสดงหน้ารายละเอียดข้อมูลคำขอ จากนั้นให้ตรวจสอบตรงช่องสถานะ ระบบจะขึ้นข้อความว่า “ลงทะเบียน/รอตรวจสอบและบันทึกข้อมูล”
  2. การปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการผ่อนชำระเงินคืน

    สำหรับผู้กู้ยืมรายใหม่ และผู้กู้ยืมที่ยังไม่ครบกำหนดชำระเงินคืน ลักษณะที่ 1 ลักษณะที่ 2 และลักษณะที่ 3

    เงื่อนไข

    • จากเดิมกองทุนมีวิธีการตัดลำดับการชำระหนี้ โดยตัดชำระเบี้ยปรับค้างชำระสะสม ดอกเบี้ยค้างชำระสะสม แล้วจึงตัดเงินต้นค้างชำระของงวดที่ค้างนานที่สุดก่อนตามลำดับ กองทุนจะปรับเปลี่ยนลำดับการตัดชำระใหม่ โดยจะนำเงินที่ได้รับชำระหนี้ไปตัดชำระเงินต้น และดอกเบี้ยของแต่ละงวด เริ่มจากงวดที่นานสุดก่อนแล้วจึงค่อยตัดชำระยอดหนี้ที่ค้างชำระนานรองลงมาตามลำดับ จนถึงงวดปัจจุบัน หากมีเบี้ยปรับให้นำมาชำระในงวดสุดท้าย
  3. การปรับเปลี่ยนลำดับการตัดชำระหนี้ใหม่

    สำหรับผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระเงินคืนกองทุนที่ยังไม่ถูกฟ้องคดี

    เงื่อนไข

    • จากเดิมกองทุนมีวิธีการตัดลำดับการชำระหนี้ โดยตัดชำระเบี้
    • จากเดิมต้องผ่อนงวดชำระเป็นรายปี กองทุนจะปรับให้ผู้กู้ยืมผ่อนงวดชำระเป็นรายเดือนในอัตราเท่ากันทุกเดือน โดยกำหนดชำระทุกวันที่ 5 ของทุกเดือน
    • เพิ่มระยะเวลาการผ่อนชำระเงินคืนจากเดิมไม่เกิน 15 ปี ปรับเป็นไม่เกิน 30 ปี ขึ้นอยู่กับยอดหนี้เงินกู้ยืมของผู้กู้ยืมแต่ละราย
    • ชำระเงินงวดสุดท้ายผู้กู้ยืมต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์

ช่องทางในการติดต่อสอบถาม

  1. ผ่านเว็บไซต์ www.studentload.or.th
  2. ผ่านเบอร์มือถือ 02-016-4888
  3. ผ่านแอพลิเคชั่น กยศ. Connect ที่รองรับทั้งระบบ IOS และ Andriod
  4. ผ่านไลน์ กยศ. โดยการScan QR code ด้านล่างนี้

การขอปรับโครงสร้างหนี้กยศ. ในครั้งนี้ถือเป็นการช่วยเหลือกลุ่มผู้กู้ยืมอีกครั้งเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินและเพิ่มโอกาสในการชำระหนี้มากขึ้นเนื่องจากในปัจจุบันมีจำนวนผู้กู้ยืมไม่น้อยที่ไม่ชำระเงินคืนจึงเกิดการฟ้องร้องและลดโอกาสของผู้เรียนคนอื่น ๆ ที่รอคอยทุนจากส่วนนี้ในการนำไปศึกษาเล่าเรียน

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ปรับโครงสร้างหนี้กยศ ตัวช่วยในภาวะวิกฤต ที่นี่

https://img.moneyduck.com/article_attachment/1669623902-women-carrying-backpack-searching-books-library.jpg

ผู้กู้ยืมจึงควรตระหนักถึงความสำคัญผ่านโอกาสที่ตนเองนั้นเคยได้รับเพื่อส่งต่อโอกาสเหล่านี้สู่รุ่นต่อ ๆ ไปผ่านการยื่นขอปรับโครงสร้างหนี้กยศ. ชำระเงินตรงเวลาผ่านการหักจากระบบเงินเดือนซึ่งสำหรับท่านใดที่กำลังขาดสภาพคล่องทางการเงิน หรือยังบริหารจัดการทางการเงินไม่เก่งนักก็สามารถขอรับคำปรึกษาทางการเงินกับ MoneyDuck ได้ฟรีแบบไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อร่วมเป้นส่วนหนึ่งในการส่งต่อสิ่งดี ๆ เหล่านี้ให้แก่ผู้อื่นและสร้างวินัยทางการเงินของคุณไปพร้อมกัน