ในภาวะปัจจุบันสังคมไทยได้เผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เนื่องจากการบริหารภายในประเทศ วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกตกต่ำ รวมถึงผลสืบเนื่องมาจากวิกฤตโควิด 19 จึงทำให้สภาพการดำเนินชีวิตของประชาชนโดยทั่วไป เกิดสภาวะลำบาก การจ้างงานในภาคเอกชนน้อยลงและไม่มั่นคง ค่าจ้างเงินเดือนไม่สูงแต่ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดช่วงว่างให้มิจฉาชีพเข้าไปหลอกลวงเงินประชาชนได้มากขึ้น

9 กลโกงมิจฉาชีพ ที่ควรระวัง

https://img.moneyduck.com/article_attachment/1678244988-white-notebook-black-data-firewall.jpg

มาดูกันว่ากลโกงที่เหล่ามิจฉาชีพนิยมใช้กันมีอะไรบ้างและเราสามารถป้องกันตัวเองได้อย่างไร ไม่ให้ต้องสูญเงินไปกับคนเหล่านี้ ไปดูกันเลย

1. เชิญชวนให้ติดตั้งมัลแวร์ในคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ

มีมิจฉาชีพที่แฝงตัวในหลากหลายอาชีพ ทั้งตำรวจ พนักงานธนาคาร เป็นต้น โดยหลอกและเชิญชวนให้เหยื่อคลิกลิงค์ เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรมที่แฝงไปด้วยมัลแวร์ที่ถูกติดตั้งลงในคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ โดยเมื่อเหยื่อทำการใส่ Username และ Password ข้อมูลการใช้งานธนาคารออนไลน์ของเหยื่อจะถูกบันทึก โดยจะถูกนำไปปลอมแปลงคำขอโอนเงิน โดยเสมือนเป็นการทำธุรกรรมของเหยื่อ หลังจากนั้นธนาคารก็จะส่ง Password ชั่วคราวผ่านระบบ SMS โดยโปรแกรมของมิจฉาชีพจะขึ้น pop-up เพื่อหลอกให้เหยื่อใส่รหัสผ่านชั่วคราว จึงทำให้เหยื่อสูญเสียเงินในบัญชีโดยไม่รู้เท่าไม่ถึงการณ์

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วิธีตั้ง Pasword ให้ปลอดภัย ที่นี่

ข้อควรระวัง

ไม่ควรคลิกลิงค์ที่ดูไม่น่าเชื่อถือ ถ้าไม่น่าใจ ควรจะโทรสอบถามแหล่งที่มาของลิงค์ เช่น ธนาคาร สถานีตำรวจ เป็นต้น

2. สร้างอีเมลหรือเว็บไซต์ปลอม เพื่อหลอกขอข้อมูล

มิจฉาชีพมักแอบอ้างปลอมอีเมล เพื่อแอบอ้างว่าเป็นอีเมลของธนาคาร แล้วหลอกให้เหยื่อยืนยันการใช้งานในบัญชีธนาคารออนไลน์ หรือหลอกให้คลิกลิงค์เป็นยังเว็บไซต์ธนาคารปลอม เพื่อหลอกให้เหยื่อกรอก Username และ Password เพื่อมิจฉาชีพจะนำข้อมูลไปแอบอ้างเป็นเจ้าของบัญชีและทำการโอนเงินแทนเหยื่อ

ข้อควรระวัง

ในการกรอกข้อมูลผ่านอีเมลควรสังเกตดังนี้

  • มักใช้อีเมล์แอบอ้างลงท้ายด้วยชื่อองค์กร แต่ไม่ใช่อีเมลที่ลงท้ายด้วยตัวย่อของสถาบันการเงินนั้น ๆ จริง จึงควรตรวจสอบอีเมลที่ลงท้ายขององค์กรนั้น ๆ ว่าถูกต้องไหม

ในการกรอกข้อมูลผ่านเว็บไซต์ควรสังเกตดังนี้

  • เว็บไซต์สถาบันการเงินที่ปลอดภัยมักจะขึ้นต้นด้วย https://

3. หลอกขายสินค้าในออนไลน์โดยให้ลูกค้าโอนเงินก่อน

มิจฉาชีพทำการโฆษณาขายสินค้า โดยหลอกขายสินค้าตามโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ โดยให้ลูกค้าโอนเงินก่อน แต่ไม่ได้รับสินค้า หรือได้รับสินค้าแต่ไม่ตรงตามลงโฆษณาจริง

ข้อควรระวัง

ก่อนโอนเงินให้ร้านค้าออนไลน์ ผู้ซื้อควรเข้าไปตรวจสอบรายชื่อผู้ขายโกงได้ที่ https://www.blacklistseller.com

  • เลือกเมนู ตรวจสอบบัญชี/ผู้ขาย

  • กรอกข้อมูลเลขที่บัญชีธนาคาร ชื่อ นามสกุล หรือเลขที่บัตรประชาชนของผู้ขายลงไป

  • กดปุ่ม ค้นหา

4. โฆษณา เชิญชวนให้ทำงานเสริมออนไลน์

หลอกผู้สมัครงานให้ทำงานเสริมออนไลน์ โดยชักชวนทำงานออนไลน์ผ่านการกด Like กด Share บน Social Media และเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ อาทิเช่น Facebook, TikTok, Youtube, Lazada, Shopee เพื่อเพิ่มยอดวิว แต่สุดท้ายก็ใช้กลลวงหลอกเอาเงินค้ำประกันจากผู้สมัครงาน เมื่อผู้สมัครหลงเชื่อ ก็จะทำให้เสียเงินเป็นจำนวนมาก โดยไม่ได้รับค่าจ้างทำงาน

ข้อควรระวัง

ไม่ควรหลงเชื่องานที่ต้องจ่ายเงินก่อนทำงานในทุกกรณี เพราะโดยปกติผู้สมัครไม่ต้องเสียเงิน ไม่ว่าจะเป็นงานประจำ งานสัญญาจ้าง หรืองานพาร์ทไทม์ นอกจากงานบางตำแหน่ง เมื่อได้รับการตอบรับเข้าทำงานแล้ว อาจจะต้องมีการเสียเงินค้ำประกัน เช่น ตำแหน่งพนักงานการเงิน เป็นต้น

5. หลอกให้รักแล้วให้โอนเงินหรือขอยืมเงิน

มีมิจฉาชีพบางคนหลอกเหยื่อให้รักแล้วให้โอนเงินหรือขอยืมเงิน โดยแอบอ้างหรือปลอม Profile เป็นคนหน้าตาดี เพื่อตีสนิทและทำความรู้จักกับเหยื่อทางโซเชียลมีเดีย โดยหลอกให้รัก และหลอกให้โอนเงินหรือขอยืมเงิน โดยอ้างว่าจะคืนให้หลายเท่าตัว

ข้อควรระวัง

ก่อนจะคบใครหรือแต่งงานกับใคร ควรจะตรวจสอบประวัติส่วนตัว ประวัติทางบ้าน อาชีพ และฐานะการเงิน หากแฟนมีปัญหาเรื่องเงินเป็นประจำ และขอยืมเงินจำนวนมาก ไม่ควรให้ยืม ให้ตั้งข้อสงสัยว่าอาจจะเป็นมิจฉาชีพได้

6. หลอกให้สมัครและทำงานคีย์ข้อมูล Work from Home

มิจฉาชีพจะโพสต์ประกาศรับสมัครงานคีย์ข้อมูล Work from Home โดยชักจูงผู้สมัครงานด้วยข้อความรายได้วันละ 500 – 800 บาทต่อวัน จึงทำให้มีผู้หลงเชื่อไปสมัครงานจำนวนมาก และให้ข้อมูลติดต่อทางไลน์ ถ้าผู้สมัครสนใจก็ให้ผู้สมัครเสียค่าลงทะเบียนหรือเสียเงินลงทุน

ข้อควรระวัง

โดยปกติผู้สมัครงานทุกประเภทไม่ต้องเสียเงิน ถ้าต้องจ่ายเงินลงทุน เพื่อให้ได้งานทำ ให้สันนิษฐานไว้ว่างานนี้แปลก ๆ อาจจะเป็นมิจฉาชีพมาหลอกลวงเงินก็ได้

7. หลอกให้ลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ

มิจฉาชีพทำการเข้ามาผูกมิตร เพื่อทำการหลอกลวงเหยื่อให้ลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ โดยมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน ชักชวนให้ลงทุนในธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูง สร้างภาพให้ดูน่าเชื่อถือ แต่ในความเป็นจริงเป็นธุรกิจที่ไม่มีอยู่จริง เช่น ลงทุนตลาดหุ้น Forex ลงทุนในธุรกิจน้ำมัน พลังงาน ทองคำ เงินดิจิทัล ตลาดหลักทรัพย์ต่างชาติ เป็นต้น

ข้อควรระวัง

ก่อนลงทุน ควรศึกษาหาข้อมูลให้ดี โดยการตรวจสอบธุรกิจและคณะผู้บริหารในกิจการที่จะลงทุนเสียก่อน

8. หลอกให้เล่นแชร์ลูกโซ่

มิจฉาชีพมักจะลวงหลอกเหยื่อให้ร่วมลงทุนในธุรกิจที่ไม่มีอยู่จริง โดยให้จูงใจให้เหยื่อหาเครือข่าย เพื่อสร้างรายได้จากการเพิ่มสมาชิก

ข้อควรระวัง

ไม่ควรลงทุนกับการเล่นแชร์ลูกโซ่ เพราะมีโอกาสถูกหลอกลวงสูง

9. หลอกให้เล่นพนันออนไลน์

มิจฉาชีพทำการโฆษณาชวนเชื่อ ให้เล่นพนันออนไลน์ โดยการหว่านล้อมด้วยวิธีการต่าง ๆ  และให้ค่าเสียเวลาคืนแก่ผู้เล่น โดยแจกสูตรการันตีผลตอบแทนที่ไม่มีอยู่จริง

ข้อควรระวัง

อย่าหลงเล่นการพนันออนไลน์ เพราะจะทำให้เสียเงินไม่คุ้มกับผลตอบแทนที่ได้รับ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ รู้ทันมิจฉาชีพยุค IT ก่อนจะสูญเสียเงินจำนวนมาก ที่นี่

วิธีป้องกันกลโกงมิจฉาชีพ

วิธีป้องกันกลโกงมิจฉาชีพ

หลังจากทราบ 9 วิธีที่กลโกงมิจฉาชีพใช้ในการหลอกเอาเงินจากเราแล้ว ต่อมาเราก็มาดูกันว่ามีวิธีอะไรบ้างที่เราจะสามารถป้องกันตัวเองจากการถูกเหล่ามิจฉาชีพพวกนี้ได้ ดังนี้

  1. มีสติทุกครั้งเมื่อรับสายโทรศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย หรือหากมีการอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานใด ไม่แน่ใจ ให้รีบวางสาย แล้วติดต่อไปยังหน่วยงานที่อ้างถึง อ้างถึงใครให้สอบถามคนนั้น (ควรค้นหาเบอร์โทรติดต่อกลับเอง)

  2. ไม่โลภ หากมีคนบอกว่าเราได้รับรางวัล หรือได้ส่วนลดพิเศษเกินจริง ควรเอะใจไว้ก่อนว่าเป็นไปได้หรือไม่

  3. ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญ แม้ผู้ติดต่อจะอ้างว่าเป็นหน่วยงานราชการหรือสถาบันการเงิน

  4. ติดตามข่าวสารกลโกงเป็นประจำ เพื่อรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมกลโกง

  5. ควรสอบถาม Call Center หรือสาขาของธนาคาร ที่เรามีบัญชีอยู่ให้ดําเนินการตรวจสอบรายละเอียด หากตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ธนาคารแล้วเป็นเงินที่โอนผิดบัญชีมาจริง ให้เรายินยอมให้ธนาคารดําเนินการโอนกลับไปยังบัญชีต้นทางต่อไป

  6. ขอชื่อผู้โทรเข้ามา และสอบถามหน่วยงานที่ติดต่อมาให้ชัดเจน การมีข้อมูลไว้เพื่อแจ้งความ อาจเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ ดังนั้น ให้คุณขอข้อมูลพวกเค้ากลับบ้าง เช่นผู้ติดต่อเข้ามา หน่วยงานที่ติดต่อ และเรื่องที่ติดต่อ

การระวังตัว มีสติก่อนทำการโอนเงิน และติดตามข่าวสารอยู่สม่ำเสมอ ก็ต้องทำให้เราปลอดภัยจากมิจฉาชีพได้มากขึ้น เราจะได้ไม่เป็นเหยื่อของกลโกงมิจฉาชีพ นอกจากนี้ หากใครมีปัญหาหรือต้องการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องราวแบบนี้ สามารถสอบถามเพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuck ได้ฟรี ที่ลิงก์ด้านล่าง