ในยุคที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วแทบทุกด้าน การวางแผนการเงิน ในแต่ละวัยอาจะเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อซึ่งสามารถทำได้ในทุกวัยผ่านแผนการเก็บเงินที่จะช่วยเป็นแนวทางให้กับทุกเพศวัยได้มีแผนทางการเงินอย่างเหมาะสม ไม่กระทบกับชีวิตประจำวันและเหมาะกับท่านที่ต้องการมีเงินเก็บระยะยาวไปจนถึงเกษียณ
ทำไมถึงต้องมีการวางแผนการเงิน ในแต่ละวัย
เพราะการวางแผนการเงินเป็นทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับทุกคน เราจึงควรมีความรู้มีความเข้าใจในการวางแผนทางการเงินอย่างรอบด้านทั้งในการหาเงิน การเก็บออม หรือเพิ่มพูลมูลค่าสินทรัพย์ที่มีอย่างชาญฉลาดโดยต้องอาศัยการลงมือและปฏิบัติอย่างมีวินัยซึ่งก็คือ การสร้างนิสัยทางการเงินที่ดี เพื่อให้วันนี้และวันข้างหน้าไม่ลำบากในการใช้จ่าย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเหตุผลว่าทำไมต้องวางแผนการเงิน
1. การฝากเงินธนาคารสู้เงินเฟ้อไม่ได้
ปัจจุบันการฝากเงินธนาคารเพียงอย่างเดียวไม่สามารถตอบโจทย์เป้าหมายทางการเงินได้เหมือนก่อน ทั้งหมดเป็นเพราะดอกเบี้ยที่ต่ำมาก แต่ในทางกลับกันชีวิตประจำวันของเรากลับมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ข้าวของแพงขึ้น การฝากเงินจึงไม่ใช่ช่องทางการลงทุนที่คุ้มค่าอย่างเช่นอดีตอีกต่อไป
2. สุขอนามัยที่ดีทำให้อายุยืนขึ้น
อายุคนเรามีแนวโน้มยืนยาวขึ้นทุกปีเนื่องจากวิวัฒนาการทางการแพทย์ อายุเฉลี่ยที่นานขึ้นก็เท่ากับเงินที่ต้องใช้มากขึ้น ทั้งค่าชีวิตประจำวัน ค่ารักษาพยาบาล และยิ่งครอบครัวปัจจุบันมีแนวโน้มจะมีลูกช้าลง และจำนวนน้อยคนกว่าสมัยก่อนด้วย ทำให้สัดส่วนรายได้ของรัฐบาลไม่สมดุล ประกันสังคม ประกันผู้สูงอายุที่หลายคนวาดฝันไว้อาจะไม่เกิดขึ้นจริงกับคุณ
3. ความเสี่ยงรอบตัวมีมากขึ้น
ต่อให้ระมัดระวังแค่ไหน ความเสี่ยงก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ การป้องกันความเสี่ยงทางการเงินถึงได้สำคัญ เรื่องนี้ไม่ได้พูดถึงแค่เฉพาะประกัน แต่เหมารวมถึงวิธีการลงทุนทุกรูปแบบที่จะสามารถปกป้องทรัพย์สินของคุณไว้ได้ อย่าลืมบว่าคนเรามีความสบายใจเกี่ยวกับเรื่องเงินได้เมื่อเรารู้สึกปลอดภัย ไม่ได้ขึ้นอยู่จำนวนเงินเยอะๆ เพราะฉะนั้นการมีรายได้สูงๆ อย่างเดียวจึงไม่ใช่คำตอบ
4. หากเป็นหนี้ ช่วยปลดหนี้ได้
คนอื่นอาจจะพูดได้ว่าการไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ แต่บางครั้งคนเราก็ไม่สามารถเลี่ยงการเป็นหนี้ได้ อย่างน้อยก็มี ผ่อนรถ ผ่อนบ้าน หรือหนี้บัตรเครดิต หากคุณมีแผนการทางการเงินที่ดี มีวินัยในการใช้จ่าย การปลดหนี้ลดหนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยาก และยังมีเงินเก็บเงินใช้โดยไม่ต้องลำบากด้วยครับ
พฤติกรรมที่ควรต้องรีบวางแผนการเงิน
ถ้าหากใครยังลังเลว่าการวางแผนการเงินมันสำคัญจริง ๆ หรือไม่ เรามาลองเช็กลิสต์พฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำให้การเงินของคุณล้มเหลวไม่ว่ามันใดก็วันหนึ่ง มาดูกันว่าจะมีพฤติกรรมอะไรบ้าง หากมีมากกว่า 2 - 3 ข้อ ก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างด่วน !
- ของมันต้องมี กดโอนทันที ไม่ถามซ้ำว่าสิ่งของที่ต้องการซื้อนั้นจำเป็นต่อการใช้งานหรือไม่
- เน้นจ่ายไม่เน้นจำ เพราะไม่เคยบันทึกรายรับรายจ่ายในแต่ละเดือน
- ใช้ไปก่อน เดี่ยวผ่อนตามทีหลัง
- ไม่เคยรู้ว่าใช้เงินเดือนละเท่าไร ไม่รู้ว่าใช้จ่ายเป็นค่าอะไรบ้าง
- เน้นจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ ไม่สนใจดอกเบี้ย ค่าปรับหรือค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่าย
- ลงทุนแบบไม่มีความรู้ เน้นลงทุนตามข่าว หรือตามกระแส
- ไม่มีการจัดสรรสินทรัพย์หรือ Asset Allocation
ลองทบทวนและพิจารณาถึงพฤติกรรมข้างต้นกันสักครู่เพื่อเป็นการทำความเข้าใจพฤติกรรมการใช้จ่ายของตนเองและตอบคำถามเพื่อเข้าสู่หัวข้อถัดไป
แนวทางการวางแผนการเงิน ในแต่ละวัย
จากข้างต้นหากคุณมีพฤติกรรมเหล่านี้! แล้วเริ่มมีความคิดอยากวางแผนชีวิต จัดการการบริหารทางการเงินให้ดีมากขึ้น เรามีแนวทางที่จะแนะนำเพื่อนำไปปรับใช้ที่สามารถนำไปใช้ได้ทุกเพศวัยซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ช่วงดังนี้
1. ช่วงอายุ 20-30 ปี
สิ่งที่อยากจะบอกในกลุ่มคนวัยนี้ หรือกลุ่ม First Jobber คือ การให้ความสำคัญกัยการรู้จักตนเอง รู้ใจตัวเอง และควรเริ่มสร้างวินัยทางการเงินให้ดี
เพราะคงปฎิเสธไม่ได้ว่าวัยนี้เป็นวัยที่พึ่งจบจากมหาลัยและพึ่งเริ่มต้นสู่ชีวิตการทำงาน หรือทำงานมาแล้วไม่กี่ปีซึ่งเมื่อพอเริ่มหาเงินได้และต้องพึ่งพาตนเองจึงเริ่มจะหมดเงินไปกับการสังสรรค์ หรือค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะการกิน เที่ยว ช้อปปิ้ง และอื่น ๆ รวมถึงจ่ายตาม lifestyle ที่ตนเองชื่นชอบแต่ต้องอยู่ในค่าตอบแทน (เงินเดือน) ที่ได้ไม่กระทบชีวิตประจำวัน เพราะไม่งั้นคุณจะต้องเริ่มแบกรับภาระที่หนักอึ้งเจากทุกข์และหนี้บริโภค เช่น หนี้จากบัตรเครดิต ที่สะสมเพิ่มขึ้นในทุกเดือน
และเมื่อผ่านไปสักช่วงระยะเวลาหนึ่งจะเริ่มใจร้อนอยากมีบ้าน มีรถ เหมือนกับคนอื่น ๆ ส่วนหนึ่งมาลักษณะสังคมปัจจุบันที่เร่งสำเร็จ ยิ่งอายุน้อยรวยเร็วยิ่งดีทำให้เกิดความอยากมี อยากได้โดยไม่คำนึงถึงความจำเป็นซึ่งอาจส่งผลต่อภาระการผ่อนเพราะรถขั้นต่ำก็ 4-7 ปี ยิ่งถ้าบ้านยิ่งเป็นหนี้ระยะยาว 10 - 30 ปีเลยทีเดียว
การวางแผนของคนในกลุ่มนี้! จึงควรเริ่มมากจากการรู้จักตัวเอง รู้จักรายได้ที่มี ลดของที่อยากได้จากการถามความจำเป็นว่าซื้อไปแล้วจะได้ใช้ไหม ใช้ทำอะไร หรือซื้อไปแล้วจะขาดทุนไหม แล้วแบ่งเก็บเงินเดือนก่อนใช้สัก 5-10% ตามความสามารถที่มี รวมถึงบัตรเครดิตที่ไม่ควรผ่อนชำระขั้นต่ำ แต่ควรจ่ายเต็มจำนวนทุกครั้งและอยากเน้นย้ำ คือ คิดก่อนรูดทุกครั้งเพราะจะเท่ากับเราต้องผ่อนจ่ายบวกดอกเบี้ยแก่ธนาคาร
2. ช่วงอายุ 30-40 ปี
ต่อมาคนช่วงนี้จะเริ่มมีค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนตัวเท่านั้น เพราะภาระหน้าที่ทางการเงินจะเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากเริ่มเข้าสู่วัยที่อยากมีครอบครัวซึ่งจะตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการดูแล
สำหรับใครที่อยู่ในวัยนี้และคิดอยากแต่งงาน การจัดงานแต่งหนึ่งครั้งไม่มีได้การเชิญแขกมาร่วมยินดีแต่ยังมีรายจ่ายที่ตามมากมาย ไม่ว่าจะค่าจัดงาน ค่าของชำร่วย ค่าแหวนหมั้น ค่าสินสอดทำให้ต้องวางแผนมีเงินเก็บสักก้อนก่อนแต่งงาน
ต่อมาหลังจากแต่งงานอยากมีลูกก็จะต้องเริ่มวางแผนทั้งค่าคลอด ค่าฝากครรภ์ ค่าเลี้ยงดู รวมถึงการวางแผนการศึกษาให้กับลูก เพื่อที่จะได้เรียนโรงเรียนดี ๆ ที่ไม่ได้มีเพียงแค่ค่าเทอมแต่พ่วงมาด้วยค่าจิปาถะอีกมากมาย
ย์สำคัญในการวางแผนของคนในวัยนี้ คือ ต้องมีการวางแผนทางการเงิน จัดสรรปันส่วนค่าใช้จ่ายให้ชัดเจน รวมถึงการแบ่งเก็บที่กำหนดระยะเวลาเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายจำนวนเงินที่วางไว้ทำให้จำเป็นต้องตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อให้มีเงินเหลือเก็บมากขึ้น
3. ช่วงอายุ 40-50 ปี
ถัดมาคนช่วงวัยนี้จะเป็นวัยที่ค่อนข้างมีความมั่นคงทางการเงินมากขึ้นหากมีการวางแผนชีวิตมาดีก็ย่อมส่งผลต่อดีต่ออนาคต
โดยลักษณะของคนวัยนี้จะมีประสบการณ์ที่สูง หน้าที่การงานมั่นคง รายได้สูงสวนทางกับภาระทางการเงินที่ค่อย ๆ ลดลง ลูก ๆ อาจจะใกล้เรียนจบแล้ว บ้านที่ผ่อนมาใกล้จะหมด รถก็ไม่ได้ซื้อใหม่ทำให้เป็นวัยที่มีเงินเก็บมากกว่าวัยอื่น ๆ
การจัดการทางการเงินของคนในวัยนี้ จึงควรเน้นไปที่การลงทุนให้งอกเงยอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เงินมาทำงานแทนเราและเตรียมตัวเกษียณ แต่ทั้งนี้ก็จะเริ่มมีปัญหาสุขภาพตามมาจึงต้องคำนึงถึงสวัสดิการที่ครอบคลุมซึ่งมีการทำประกันไว้แล้วหรือยัง ซึ่งหากวางแผนไม่มีดี อาจจะต้องควักเงินเก็บออกมาเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลจึงควรวางแผนเรื่องสุขภาพไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
4. ช่วงอายุ 50 ขึ้นไป
สำหรับวัยนี้จะเป็นวัยที่มีความมั่นคงมากที่สุดและกำลังเป็นวัยที่กำลังถึงวัยเกษียณจึงต้องคำนึงว่าเงินเก็บ ณ ปัจจุบันมีพอหลังเกษียณแล้วหรือยัง ?
โดยอาจจะตั้งเป้ามาตั้งแต่เนิ่น ๆ ว่า แผนการเงินหลังที่จะเอาไว้ใช้ให้เพียงพอให้นานที่สุดเท่าไร เช่น หลังเกษียณอยากมีเงินใช้ต่อเดือน 15,000 บาทไปจนถึง 90 ปีซึ่งจะต้องวางแผนเริ่มเก็บตั้งแต่อายุเท่าไหร่? และควรเก็บต่อเดือนเท่าไหร่? ถึงจะมีเงินพอหลังเกษียณและในวัยนี้โอกาสในการเกิดการเจ็บป่วยมากกว่าวัยอื่น ๆ รวมถึงเวลาว่างที่มากขึ้นยิ่งใครโสดอาจจะรู้สึกเหงา ว้าเหว่
การวางแผนของคนในวัยนี้! จึงไม่เพียงแต่ให้มีเงินพอใช้หลังจากเกษียณ แต่ยังรวมถึงค่ารักษาพยาบาลที่อาจเกิดขึ้นและการรับมือกับเวลาที่ว่างมากขึ้นด้วยการดูแลจิตใจ หากิจกรรมอย่างอื่นทำ รวมถึงการขยับร่างกายเพื่อให้ชีวิตไม่เงียบเหงาจนเกินไป
โดยหากดูภาพรวมการวางแผนการเงิน ในแต่ละวัยมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าพฤติกรรมการวางแผนทางการเงินจะดีจะต้องมีการเริ่มฝึกมาตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยเฉพาะเมื่อเริ่มทำงานเพราะหากไปเริ่มเก็บในช่วงวัยที่ใกล้เกษียณอาจจะไม่ทัน ซ้ำยังมีปัญหาสุขภาพ ค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลอื่น ๆ ตามมามากมาย การวางแผนทางการเงินหากรู้แล้วก็สามารถลงมือทำได้เลยโดยการคลายปมที่ละปัญหา หากไม่รู้ว่าจะเริ่มแก้ปัญหาทางการเงินที่ประสบอยู่อย่างไรก็สามารถทักมาขอคำปรึกษาได้ที่ MoneyDuck Thailand
บอกเล่าความคิดเห็นและสิ่งที่คุณรู้ที่นี่