เงินทองเป็นของหายาก บางคนต้องทำงานแทบตายกว่าจะมีเงินเก็บหอมรอมริบให้ได้ชื่นใจ แต่ในปัจจุบันกลับมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ใช้ทางลัดด้วยการเป็นมิจฉาชีพหลอกเอาเงินผู้อื่นไปแบบง่ายๆ ด้วยสารพัดวิธี ยิ่งนับวันอุปกรณ์เทคโนโลยีที่เหล่ามิจฉาชีพใช้ก็ยิ่งไฮเทคมากขึ้นกว่าเดิมจนยากจะระวังตัว ล่าสุดมีสิ่งที่เรียกว่า ภัยการเงินปลากระเบน ซึ่งภัยการเงินปลากระเบน คืออะไร เราจะพามารู้จักกันเอาไว้ ก่อนที่คุณจะตกเป็นเหยื่อของกลุ่มผู้ไม่หวังดี
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กลดกงมิจฉาชีพในปัจจุบัน มีอะไรบ้าง ที่นี่
ทำความรู้จักกับภัยการเงินปลากระเบน คืออะไร
ภัยการเงินปลากระเบน คืออะไร เกิดมาจากการที่ผู้คนถูกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีชื่อว่าปลากระเบนที่เหล่ามิจฉาชีพนำเอามาใช้หลอกเอาเงินไปจนหมด ชื่อฟังอาจไม่คุ้นหูเนื่องจากมันเป็นคำศัพท์เอาไว้ใช้เรียกภัยการเงินในยุคใหม่ที่ถูกตั้งขึ้นมาเป็นฉายาให้จำง่าย มันเป็นภัยคุกคามทางการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยถึงขั้นจับตามองกันเลยทีเดียว
“ปลากระเบน” เป็นชื่อเล่นของอุปกรณ์ส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือปลอม มักถูกเหล่ามิจฉาชีพหรือผู้ไม่ประสงค์ดีนำมาใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีไม่ให้โทรศัพท์สามารถใช้สัญญาณได้ การทำให้โทรศัพท์ไม่สามารถรับสัญญาณได้ เพื่อให้บุคคลเหล่านี้สามารถแทรกหรือส่งบริการของตนเองเข้าสู่โทรศัพท์มือถือที่อยู่ในละแวกใกล้เคียง เอาไว้ใช้สอดแนมข้อมูลของคนอื่น อย่างเช่น ในอดีตเคยมีการใช้สอดแนมข้อมูลกับหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติ ส่วนการนำเอามาใช้ในการหลอกดูดเงินเริ่มต้นขึ้นในปี 2014 ที่ผ่านมา และเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ก็เริ่มแพร่กระจายเข้าสู่ประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ฟังดูเป็นอุปกรณ์ที่ร้ายกาจ แต่ความจริงแล้วปลากระเบนก็มีประโยชน์ในแง่บวกเช่นเดียวกัน เพราะมันสามารถใช้ส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ภัยพิบัติหรือภัยธรรมชาติรุนแรง ที่ทำให้ผู้คนไม่สามารถใช้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือได้แบบสถานการณ์ปกติ
เปิดวิธีการปลอมสัญญาณ
การจะใช้ปลากระเบนในการปลอมสัญญาณได้จำเป็นจะต้องมีอุปกรณ์ 4 อย่าง ประกอบไปด้วย
- เสาอากาศ
- แบตเตอรี่
- คอมพิวเตอร์พกพาหรือโน้ตบุ๊ค
- Stingray หรือ IMSI-Catcher
จากนั้นก็ทำการปลอมสัญญาณด้วยวิธีการ FBS โดยยิงสัญญาณที่มีคลื่นแรงมากกว่าเสาสัญญาณจริง ทำให้โทรศัพท์มือถือที่อยู่ในระแวกใกล้เคียงถูกเชื่อมต่อกับเสาสัญญาณปลอม จากนั้นอุปกรณ์ก็จะดักจับหมายเลขประจำตัวซิมหรือหมายเลข IMSI หลังจากนั้นก็จะสามารถทำได้ทั้งการดักจับและการโจมตีการรับสัญญาณของโทรศัพท์มือถือเครื่องนั้น สามารถส่งบริการหรือข้อความไปที่เหลือได้ อย่างเช่นการส่งข้อความ SMS ปลอมเพื่อให้เหยื่อกรอกข้อมูลส่วนตัว แล้วนำเอาข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ดูดเงินในธนาคารจนหมด ที่น่ากลัวไปกว่านั้นก็คือในปัจจุบันคนร้ายจะนำเอาเครื่องจำลองสถานีฐานใส่เอาไว้ภายในรถของตนเอง จากนั้นก็ทำการขับรถไปในสถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน ส่งสัญญาณไปถึงโทรศัพท์มือถือที่อยู่ในระแวกใกล้เคียงประมาณ 2-5 กิโลเมตร
จากนั้นก็ทำการส่ง SMS ปลอมอ้างตัวว่าเป็นหน่วยงานหรือธนาคารต่างๆ หากประชาชนหลงเชื่อและกดคลิกลิงก์ปลอมก็จะโดนติดตั้งแอปพลิเคชันจากระยะไกลได้ และคนร้ายก็จะสามารถโอนเงินออกจากแอปพลิเคชันธนาคารที่ถูกติดตั้งอยู่ในโทรศัพท์มือถือเครื่องนั้นไปจนหมด ทำให้ความเสียหายรวมตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2022 จนถึงปัจจุบัน รวมแล้วมูลค่าสูงกว่า 1,152 ล้านบาทเลยทีเดียว
วิธีป้องกันภัยการเงินปลากระเบน
หากคุณอยากปลอดภัยจากภัยการเงินปลากระเบน เราก็มีวิธีการป้องกันเพื่อให้เราไม่ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มมิจฉาชีพที่มาพร้อมกับภัยการเงินทุกรูปแบบจากโลกออนไลน์หรือผ่านโทรศัพท์มือถือมาแนะนำกัน ดังนี้
1. ไม่กดลิงก์ที่ไม่น่าเชื่อถือ
เป็นที่อยู่เว็บไซต์ที่ส่งมากับข้อความ SMS หรือผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ ไม่ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่มีที่มาที่ไป เนื่องจากมันอาจจะเป็นการดักจับข้อมูลหรือเป็นการฝังมัลแวร์ของเหล่ามิจฉาชีพที่สามารถใช้ดูดเงินจากแอปพลิเคชันธนาคารของเราได้ ยิ่งเป็นข้อความที่มาในลักษณะข่มขู่ ทำให้ตกใจ รู้สึกกังวล ยิ่งต้องสันนิษฐานว่าเป็นข้อความจากมิจฉาชีพ
2. ห้ามให้ข้อมูลส่วนตัวกับหมายเชขที่น่าสงสัย
กรณีได้รับโทรศัพท์จากหมายเลขต่างประเทศหรือหมายเลขที่ไม่รู้จัก มีการแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐหรือสถาบันการเงิน ห้ามให้ข้อมูลส่วนตัวโดยเด็ดขาดและห้ามทำตามขั้นตอนที่ปลายสายแนะนำ ให้ขอชื่อนามสกุลเอาไว้และหมายเลขติดต่อกลับ จากนั้นให้ตรวจสอบหรือโทรถามหน่วยงานนั้นๆ ว่ามีการโทรศัพท์เข้ามาหาเราจริงหรือไม่
3. ระมัดระวังบัญชี LINE ปลอม
ระมัดระวัง Line Official Account ที่ไม่ใช่ของจริง ให้สังเกตว่าบัญชีที่ทาง Line รับรองเป็นที่เรียบร้อยแล้วจะมีสัญลักษณ์เป็นรูปโล่สีเขียว หรือไม่ก็โล่สีน้ำเงิน หากเป็นโล่สีเทาหรือไม่มีโล่ หมายความว่าเป็นบัญชีธรรมดาทั่วไปที่ยังไม่ได้การรับรองแต่อย่างใด
กรณีที่เผลอแอปพลิเคชันต้องสงสัยไปแล้ว ให้ทำการ Force Reset หรือการกดบังคับให้เครื่อง Restart ในทันที หากอุปกรณ์ไม่ตอบสนองให้เปิดโหมดเครื่องบินหรือปิดเครื่องไปเลย เพื่อเป็นการตัดสัญญาณไม่ให้โทรศัพท์ของเราสามารถเชื่อมต่อกับสัญญาณอินเตอร์เน็ตได้ จากนั้นทำการถอดซิมการ์ด หากใช้ WIFI ให้ปิด WIFI Router ไปเลย
สรุปแล้ว ภัยการเงินปลากระเบน คืออะไร คำตอบก็คือเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มิจฉาชีพใช้ในการสอบแดนด้วยการปล่อยคลื่นสัญญาณรบกวนหรือคลื่นสัญญาณที่แรงกว่า ทำให้โทรศัพท์มือถือของเราทำงานผิดปกติ สามารถใช้ในการส่งข้อมูลหรือแทรกแซงข้อมูลผ่านทาง SMS ปลอมได้ เมื่อเราเผลอคลิกลิงก์และกรอกข้อมูลส่วนตัวลงไป มิจฉาชีพก็สามารถนำเอาข้อมูลเหล่านั้นทำการดูดเงินในโทรศัพท์มือถือของเราได้นั่นเอง หากอยากได้ความรู้เกี่ยวกับภัยการเงินหรือสแกรมเมอร์ต่าง ๆ มากขึ้น สามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuck ได้ฟรีที่ลิงก์ด้านล่าง
บอกเล่าความคิดเห็นและสิ่งที่คุณรู้ที่นี่