เมื่อทำงานไปสักระยะหนึ่งหลายคนเริ่มฝันอยากมีบ้านมีรถเป็นของตนเองโดยไม่อยากเช่าอีกต่อไปจึงตัดสินใจเก็บเงินดาวน์บ้านซึ่งก็ทราบกันดีว่าเมื่อซื้อบ้านแล้วภาระต่าง ๆ ก็จะตามมารวมถึงดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายรวมในค่างวดซึ่งถือเป็นหนี้ระยะยาว โดยหากใครที่ผ่อนไปได้สักปีสองปีพอเข้าปีที่ 3 ก็เริ่มจะมีแบงก์ติดต่อเข้ามาเรื่องรีไฟแนนซ์ซึ่งชาว Money แบบเรา ๆ จะพาไปคลายข้อสงสัยว่าจำเป็นต้องรีไฟแนนซ์บ้านทุก 3 ปีไหม ?

รีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร

รีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร

แต่ก่อนจะไปรู้ว่าเราจำเป็นต้องรีไฟแนนซ์บ้านทุก 3 ปีไหม ? ก็ต้องมาทำความเข้าใจกับคำว่า รีไฟแนนซ์บ้าน กันเสียก่อนซึ่งหากจะให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ การขอกู้เงินจากธนาคารใหม่เพื่อลดภาระหนี้และภาระผ่อนต่อเดือนจากธนาคารเก่าช่วยให้เราผ่อนบ้านได้เร็วขึ้น

ตัวอย่าง
นางสาว A ได้ขอสินเชื่อผ่อนบ้านกับธนาคารเดิมเดือนละ 20,000 บาท แต่ในสัญญาเดิมมีการหักดอกเบี้ย 13,000 บาทและหักเงินต้นเพียง 7,000 บาทเท่านั้น ต่อมานางสาว A ได้ยื่นขอสินรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ซึ่งยังต้องผ่อนเดือนละ 20,000 บาทเช่นเคย แต่กลับหักดอกเบี้ยครั้งละ 8,000 บาทและหักเงินต้นเพิ่มขึ้นเป็น 12,000 บาทซึ่งจะช่วยให้นางสาว A ได้อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงทำให้สามารถผ่อนบ้านหมดได้เร็วขึ้น

รีไฟแนนซ์บ้าน Vs ไม่รีไฟแนนซ์บ้าน

ถัดมาจะเป็นการเปรียบเทียบความแตกต่างที่คุณจะได้รับระหว่างการรีไฟแนนซ์ Vs การไม่รีไฟแนนซ์ว่าแบบไหนจะเหมาะกับคุณมากกว่ากัน

รีไฟแนนซ์ (Refinance) ข้อดีที่เห็นได้ชัดของการนำบ้านเข้ารีไฟแนนซ์โดยปกติจะอยู่ในช่วงผ่อนชำระ 3 ปีแรก โดยแบ่งออกเป็น 3 ข้อ ดังนี้

  1. ลดภาระดอกเบี้ย เนื่องจากในช่วง 3 ปีแรกที่มายื่นขอรีไฟแนนซ์ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยแบบอัตราคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง แต่หากขึ้นปีที่ 4 เป็นต้นไป เปรียบเสมือนระยะหมดโปร ธนาคารก็จะเปลี่ยนมาคิดดอกเบี้ยแบบลอยตัวซึ่งจะแปรผันตามดอกเบี้ย MRR ที่ไม่ว่าจะสูงแค่ไหนก็ลูกหนี้ก็ต้องกัดฟันจ่ายทำให้ต้องมองหาตัวเลือกในการรีไฟแนนซ์กับธนาคารเจ้าใหม่ที่พร้อมจะเสนออัตราดอกเบี้ยมราคุ้มกว่า รวมถึงโปรโมชั่นที่แตกต่างทำให้ช่วยลดภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากธนาคารเก่า (แต่ก็ต้องศึกษารายละเอียดเงื่อนไขต่าง ๆ ดี ๆ )
  2. ให้เงินก้อน ช่วยเสริมสภาพคล่อง เพราะการรีไฟแนนซ์ถือเป็นหนึ่งในการสร้างโอกาสจากความสามารถในการ “ขอวงเงินเพิ่ม” จากการนำยอดคงเหนือทั้งหมดไปคำนวณวงเงินสินเชื่ออเนกประงสงค์ตามหลักเกณฑ์ของธนาคารนั้น ๆ ทำให้มักจะมีเงินส่วนต่างซึ่งเป็นเงินที่ลูกค้าจะตัดสินใจ รับหรือไม่รับก็ได้ แต่ถ้าหากใครต้องการเพิ่มสภาพคล่องการรีไฟแนนซ์ พร้อมรับเงินส่วนต่างอาจเป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน
  3. ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก เพราะหลายคนอาจเข้าใจว่าต้องใช้เวลาเตรียมเอกสารหลายขั้นตอน แต่จริง ๆ แล้วหากคุณตกลงว่าจะรีไฟแนนซ์แล้วก็สามารถขอสเตทเมนต์สรุปยอดหนี้เงินกู้ธนาคารเดิมเพื่อนำมาใช้ยื่นขอรีไฟแนนซ์บ้านโดยจะมีขั้นตอนเช่นเดียวกับการยื่นกู้ขอสินเชื่อบ้านใหม่ทุกประการึ่งถ้าหากผ่านประสบการณ์นี้มาแล้วก็คงไม่ใช่เรื่องยาก

ไม่รีไฟแนนซ์บ้าน (Refinance)จะเป็นอีกหนึ่งวิธีสำหรับคนที่ไม่อยากเปลี่ยนสินเชื่อธนาคารใหม่ซึ่งมีข้อ 3 ข้อที่ควรรู้หากคุณไม่อยากรีไฟแนนซ์บ้าน ดังนี้

  1. อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น เพราะส่วนใหญ่ 3 ปีแรกจะมีอัตราคงที่ แต่เข้าสู่ปีที่ 4 จะเป็นดอกเบี้ยแบบลอยตัวซึ่งทำให้คุณต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในขณะเดียวกันเงินต้นที่หักก็มีจำนวนน้อยลงทำให้ผ่อนบ้านได้ช้าลง
  2. ไม่ต้องเตรียมเอกสาร เพราะไม่ได้มีการขอยื่นรีไฟแนนซ์ใหม่ทำให้ไม่ต้องดำเนินการเตรียมเอกสารใด ๆ รวมถึงไม่ต้องไปหาการเปรียบเทียบกับธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อเจ้าอื่น ๆ
  3. ไม่มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากการยื่นรีไฟแนนซ์ ที่อาจจะมีค่าดำเนินการกับธนาคารเจ้าใหม่ที่ยื่นสินเชื่อเพื่อรีไฟแนนซ์ อาทิ ค่าประเมินราคา ค่าจดจำนอง หรือค่าอากรแสตมป์

เช็คให้ชัวร์ เราจำเป็นต้องรีไฟแนนซ์บ้านทุก 3 ปีไหม?

เช็คให้ชัวร์ เราจำเป็นต้องรีไฟแนนซ์บ้านทุก 3 ปีไหม?

มาถึงตรงนี้ หากทบทวนเนื้อหาข้างต้นคงจะพอเข้าใจเกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์มากขึ้นซึ่งหากถามว่าจำเป็นต้องรีไฟแนนซ์บ้านทุก 3 ปีไหม? คงตอบว่า “จำเป็น” สำหรับคนที่ต้องการลดภาระดอกเบี้ยจากธนาคารเจ้าเดิม รวมถึงคนที่ต้องการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินจากเงินส่วนต่างที่อาจจะได้จากการคำนวณเมื่อรีไฟแนนซ์กับธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อแห่งใหม่ ทั้งนี้ หากคุณยอมรับดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นในปีที่ 4 ได้และมั่นใจว่าไม่ได้ติดปัญหาใด ๆ ทางการเงินและไม่ต้องการวุ่นวายในการเตรียมเอกสารเพื่อยื่นรีไฟแนนซ์ใหม่ รวมถึงไม่ต้องการจ่ายค่าดำเนินการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นหากยื่นขอรีไฟแนนซ์กับเจ้าไม่ก็ “ไม่จำเป็นต้องรีไฟแนนซ์” แค่จ่ายค่างวดบ้านเหมือนเดิมต่อไป

แล้วทำอย่างไรให้รีไฟแนนซ์บ้านให้คุ้ม ?

ส่วนใครที่กำลังต้องการอยากรีไฟแนนซ์เพื่อลดภาระค่างวดผ่อนเพื่อปิดบ้านในระยะเวลาที่เร็วขึ้นก่อนยื่นกู้รีไฟแนนซ์ควรทำ 3 ข้อดังนี้

  1. เปรียบเทียบเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร เนื่องจากแต่ละธนาคารมีเงื่อนไขที่ต้องพิจารณาอัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสินเชื่อที่จะรีไฟแนนซ์ไม่เท่ากัน โดยควรเลือกธนาคารที่ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสินเชื่อเดิม รวมถึงเงื่อนไขเรื่องจำนวนเงินในการผ่อนและระยะเวลาการผ่อนเพื่อนำไปเปรียบเทียบว่าเจ้าไหนคุ้มค่ามากกว่ากัน
  2. สำรวจค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เนื่องจากกากรีไฟแนนซ์เหมือนการยื่นขอสินเชื่อใหม่ซึ่งเราจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมต่าง ๆ อาทิ การจดจำนองหลักประกัน 1% ของวงเงินกู้ การประเมินหลักประกัน การทำประกันอัคคีภัยต่าง ไ ซึ่งหลายธนาคารมักจะยื่นข้อเสนอประเภทฟฟรีค่าธรรมเนียมเพื่อจูงใจ แต่อย่างไรให้ต้องทำการตรวจสอบเงื่อนไขการไถ่ถอนสินเชื่อธนาคารเดิมว่าสามารถรีไฟแนนซ์ได้ตั้งแต่ปีที่เท่าไรเพราะอาจจะทำให้เราผิดเงื่อนไข ต้องจ้่ายค่าปรับไถ่ถอนก่อนกำหนดนั่นเอง
  3. ตัดสินใจว่าจะรีไฟแนนซ์หรือไม่ เมื่อได้ข้อมูลสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ย รวมถึงเงื่อนไขในค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่อาจจะมีเพิ่มเติมจนเป็นที่พึงพอใจแล้วก็ลองมาชั่งใจว่าคุ้มค่าที่รีไฟแนนซ์หรือไม่ (โดยอาจจะพิจารณาเทียบกับธนาคารเดิมว่าหากขอรีไฟแนนซ์เจ้าใหม่ค่าใช้จ่ายทั้งหมดต้องถูกกว่า) แล้วจึงค่อยตัดสินใจรีไฟแนนซ์

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ทำไมควรรีไฟแนนซ์บ้าน ที่นี่

หากใครสงสัยว่า “จำเป็นต้องรีไฟแนนซ์บ้านทุก 3 ปีไหม ?” คงจะได้คำตอบแล้วว่า “จำเป็น” หากต้องการลดภาระเงินผ่อนแต่ละงวด แต่ต้องมั่นใจว่าธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อเจ้าใหม่คุ้มค่ากว่า (จากการคิดคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมด) แต่สำหรับใครที่เห็นว่าไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย หรือค่าเสียเวลา รวมถึงไม่อยากยุ่งวุ่นวายกับเอกสารและยังมีความสามารถในการผ่อนค่างวดที่เพิ่มขึ้นก็ไม่จำเป็นต้องรีไฟแนนซ์และใช้ธนาคารเจ้าเดิมต่อไป ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน จาก**MoneyDuck ฟรี! **ไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ที่ลิงก์ด้านล่างเลย