ใกล้ปลายปี หลายคนเตรียมวางแผนกลับบ้าน หรือหาสถานที่ไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจหลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานมาตลอดทั้งปี แต่จะยิ่งคุ้มค่าหากคุณยังพอมีเวลาว่างระหว่างวางแพลน โดยการเพิ่มแผนเรื่องภาษีที่เปิดต้นปีอาจจะวุ่นเรื่องงานจนลืมสนิทซึ่งเราได้สรุปวิธีลดหย่อนภาษีแบบถูกกฎหมาย เข้าใจง่าย ตรงประเด็นไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาก็สามารถเซฟเงินได้ง่ายแค่รู้วิธีดังนี้

ใครบ้างต้องเสียภาษี

ใครบ้างต้องเสียภาษี

เรื่องใกล้ตัว ที่อาจจะไกลตัวสำหรับหลาย ๆ ที่อาจจะยังไม่รู้ว่าตัวเองเข้าข่ายต้องเสียภาษีหรือไม่ ? ซึ่งจะเช็คได้อย่างไร ง่าย ๆ เลยว่าการเสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดาจะขึ้นอยู่กับรายได้ต่อปีของแต่ละบุคคลซึ่งจะมีเกณฑ์และอัตราการเสียภาษีที่เป็นขั้นบันได โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ต่ำกว่า 150,000 บาท/ปี ต้องเสียภาษี 0% หรือก็คือได้รับการงดเว้นไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง
  • สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีรายได้มากกว่า 150,000 - 300,000 บาท/ปี จะต้องเสียภาษีอัตรา 5% ของจำนวนรายได้
  • สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีรายได้มากกว่า 300,001 - 500,000 บาท/ปี จะต้องเสียภาษีอัตรา 10% ของจำนวนรายได้
  • สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีรายได้มากกว่า 500,001 - 750,000 บาท/ปี จะต้องเสียภาษีอัตรา 15% ของจำนวนรายได้
  • สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีรายได้มากกว่า 750,001 - 1,000,000 บาท/ปี จะต้องเสียภาษีอัตรา 20% ของจำนวนรายได้
  • สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีรายได้มากกว่า 1,000,001 - 2,000,000 บาท/ปี จะต้องเสียภาษีอัตรา 25% ของจำนวนรายได้
  • สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีรายได้มากกว่า 2,000,001 - 5,000,000 บาท/ปี จะต้องเสียภาษีอัตรา 30% ของจำนวนรายได้
  • สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีรายได้มากกว่า 5,000,000 บาท/ปีขึ้นไป จะต้องเสียภาษีอัตรา 35% ของจำนวนรายได้

สรุปง่าย ๆ คือ หากรายได้ต่ำกว่า 150,000 บาทต่อปีไม่ต้องเสียภาษี แต่หากมากกว่า 150,000 บาทจะต้องเสียภาษีในอัตราตามขั้นบันไดสูงสุดถึง 35% ของรายได้ หากมีรายมากกว่า 5 ล้านขึ้นไป

สรุปวิธีลดหย่อนภาษีแบบถูกกฎหมาย เซฟเงินได้ง่าย ๆ

สรุปวิธีลดหย่อนภาษีแบบถูกกฎหมาย เซฟเงินได้ง่าย ๆ

แล้วอะไรที่จะช่วยให้คุณลดหย่อนภาษีได้มีอะไรบ้าง ? ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรนำไปพิจารณาโดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ค่าใช้จ่ายส่วนตัวและครอบครัว

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัวจำนวน 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรสจำนวน 60,000 บาท กรณีคู่สมรสไม่มีรายได้
  • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร โดยจะต้องไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนภาษีบุตรคนละ 30,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดา-มารดาของตนและบิดา-มารดาของคู่สมรส คนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน
  • ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการ หรือบุคคลทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท

2. ประกัน เงินออมและการลงทุน

  • เงินประกันสังคมไม่เกิน 6,300 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ที่มีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไปไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพและเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพไม่เกิน 25,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพของบิดา-มารดาไม่เกิน 15,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญที่มีมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริงโดยจะต้องไม่เกิน 200,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF : Retirement Mutual Fund) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีซึ่งกำหนดสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF : Super Saving Funds) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีซึ่งกำหนดสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีโดยกำหนดสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) โดยกำหนดสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท
  • เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) โดยกำหนดสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

3. เงินบริจาค

  • เงินบริจาคทั่วไป เช่น เงินบริจาคให้แก่วัดและหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำไปลดหย่อนได้โดยจ่ายตามจริงไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนภาษีแล้ว
  • เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา หรือใช้เพื่อการพัฒนาสังคมประโยชน์สาธารณะและเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ โดยสามารถนำไปลดหย่อนได้ถึง 2 เท่าของเงินบริจาคจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนภาษีแล้ว
  • เงินบริจาคให้แก่พรรคการเมืองซึ่งสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

4. มาตรการกระตุ้นของรัฐ

  • การซื้อสินค้า หรือบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) รวมถึงสินค้า OTOP และสินค้าหมวดหนังสือ หรือ E-Book ในช่วงเวลาโครงการซึ่งสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30,000 บาท
  • ดอกเบี้ยสำหรับกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย หรือค่าดอกเบี้ยที่จ่ายเพื่อผ่อนซื้อบ้าน หรือคอนโดซึ่งสามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท โดยคิดจากการจ่ายตามจริง

ก่อนจะรู้วิธีลดหย่อนภาษีแบบถูกกฎหมาย สิ่งแรกคือต้องรู้ว่าตนเองอยู่ในกลุ่มที่จะต้องจ่ายภาษีหรือไม่ อัตราเท่าไร ? และต้องมาดูว่าตนเองจัดอยู่ที่ประเภทภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบใด จากนั้นจึงค่อยมาดูว่ามีข้อใดบ้างที่สามารถนำไปลดหย่อน หรือสามารถวางแผนซื้อเพิ่ม หรือไปบริจาคเพื่อนำมาช่วยลดหย่อนภาาี ก่อนนำไปยื่นภาษีตามรอบ เพียงแค่นี้ก็จะช่วยให้คุณลดภาษีแบบถูกกฎหมายและไม่ต้องโดนจ่ายภาษีย้อนหลัง ส่วนใครที่อยากรู้ประเภทภาษีอื่น ๆ เพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสอบถามทีมผู้เชี่ยวชาญที่มาพร้อมความรู้ด้านการเงินและการลงทุนได้ที่ MoneyDuck ซึ่งจัดเป็นคลังความรู้เพิ่มพูนทักษะทางการเงินให้ไปถึงเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ