การจ่ายภาษีเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้ที่มีรายได้ทั้งหลายต้องมีหน้าที่ในการต้องชำระภาษีในทุกๆปี และเงินภาษีก็ไม่ใช่น้อยๆ เดินทางมากว่าครึ่งทางของปี 2565 MoneyDuck! จึงอยากแนะนำอีกสิ่งหนึ่งสิ่งสำคัญคือสิทธิลดหย่อนภาษี จากรายจ่ายของเราบางส่วน ซึ่งจะเป็นเหมือนตัวช่วยให้ประหยัดภาษีมากขึ้น เพื่อนำไปลดหย่อนในปี 2565 ต่อไปได้นั่นเอง
ลดหย่อนภาษี คืออะไร
ค่าลดหย่อนคือ รายการต่างๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้ สามารถนำไปหักออกจากเงินได้ หลังจากที่หักค่าใช้จ่ายแล้วเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เราเสียภาษีน้อยลง ซึ่งมาจากการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยมีวิธีการคำนวณ ดังนี้
- รายได้ (ต่อปี) - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ*
- เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย*
โดยทั่วไปทุกคนที่มีเงินได้ จะได้ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท เป็นสิทธิพื้นฐานอยู่แล้ว ส่วนที่เหลือจากการหักก็สามารถนำไปคิดอัตราภาษีแบบขั้นบันไดต่อไปได้เลย แต่ถ้าเรามีการวางแผนภาษีและลองดูว่าเรามีสิทธิ์ในการลดหย่อนอะไรเพิ่มเติมอีก ก็จะทำให้เราเสียภาษีน้อยลง ซึ่งผมได้ทำการแบ่งรายการลดหย่อนภาษีปี 2564 ออกเป็น 5 กลุ่ม จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
อ่านเพิ่มเติม ช่องทางคำนวณภาษี ที่นี่
1. กลุ่มภาระส่วนตัวและครอบครัว
1.1 ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท สำหรับผู้ที่มีเงินได้ที่ยื่นแสดงรายการ
1.2 ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายและไม่มี เงินได้ หรือมีเงินได้ที่ยื่นแสดงรายการรวมกันในการคำนวณภาษี
1.3 ค่าลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 บาท ซึ่งคนที่ 2 เป็นต้นไป จะเพิ่มอีก 30,000 บาท สำหรับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย สามารถหักได้ไม่จำกัดจำนวนคน
1.4 ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท
1.5 ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ตนเองและพ่อแม่คู่สมรส คนละ 30,000 บาท
1.6 ค่าเลี้ยงดูผู้พิการหรือทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท
2. กลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ
2.1 ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
2.2 ค่าธรรมเนียมบัตรเดบิต เฉพาะกลุ่มที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี
3. กลุ่มประกันชีวิต ประกันสุขภาพและการลงทุน
3.1 เงินประกันสังคม ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 7,200 บาท
3.2 เบี้ยประกันชีวิตทั่วไปหรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิต ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
3.3 เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท
*ข้อ 3.2 และ 3.3 รวมแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
3.4 เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
3.5 เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
3.6 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุด ไม่เกิน 500,000 บาท
3.7 กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ / สงเคราะห์ครูเอกชน ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท สามารถสะสมเพิ่มได้โดยขอเปลี่ยน % ที่กำหนดไว้กับนายจ้าง
3.8 กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท
3.9 กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
3.10 กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
- ข้อ 13 - 17 รวมแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
4. กลุ่มสำหรับการบริจาค
4.1 เงินบริจาคแก่พรรคการเมือง ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
4.2 เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ สามารถลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
4.3 เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
5. กลุ่มติดค้างจากปีก่อน
5.1 โครงการบ้านหลังแรกปี 59 สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท
แต่อย่าเพิ่งเข้าใจผิดกันนะครับว่าเราลดหย่อนภาษีไปเท่าไร จะเสียภาษีน้อยลงเท่านั้น เพราะการเสียภาษีที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงยังคงขึ้นอยู่กับเงินได้และอัตราภาษีของแต่ละคนด้วย การลดหย่อนจะช่วยให้ฐานภาษีของเราต่ำลงเท่านั้น แต่เราก็ยังต้องเสียภาษีตามอัตราแบบขั้นบันไดอยู่ี
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ แนะนำลงทุนลดหย่อนภาษี ที่นี่
และที่สำคัญก่อนยื่นภาษี เราควรคำนวณภาษีของตนเองให้ได้ก่อน เพื่อที่จะดูว่ารายได้เราเป็นเงินประเภทไหน สามารถหักค่าใช้จ่ายอะไรได้บ้างแล้วจึงเริ่มมองหารายการที่จะนำมาลดหย่อนภาษี ซึ่งถ้าเราวางแผนภาษีเป็นจะช่วยให้เราเสียภาษีน้อยลงและมีเงินเพิ่มมากขึ้นด้วย หากใครอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuck ได้ฟรี ที่ลิงก์ด้านล่าง
บอกเล่าความคิดเห็นและสิ่งที่คุณรู้ที่นี่