ประเทศอังกฤษเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีสภาพทางเศรษฐกิจที่ดีมากประเทศหนึ่ง และเป็นประเทศยักษ์ใหญ่ประเทศหนึ่ง แต่นั่นก็เป็นเพียงแค่อดีตไปแล้ว ทุกวันนี้ประเทศที่ขึ้นมานำหน้าด้านการค้ามากที่สุดในโลกคงหนีไม่พ้นประเทศจีนเพื่อบ้านของเรานี่เองค่ะ แต่เรื่องที่เราจะมาพิจารณากันคือ ประเทศอังกฤษมีการค้าเป็นอย่างไรบ้างในช่วงหลังนี้ ต้องบอกก่อนเลยว่าประเทศอังกฤษที่เรียกว่ายๆว่า UK นั้นมีการสมัครเป็นสมาชิกของประชาคมการค้ายุโรปที่เรียกว่า EU ตั้งแต่ปี 1973 แล้ว เพื่อเปิดเส้นทางการส่งออกแ และการค้าของประเทศไปกว้างไกลมากขึ้น แต่ดูเหมือนว่าตอนนี้จะเกิดปัญหาขึ้น ซึ่งก็น่าจะมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ตกต่ำของโลกเราทุกวันนี้ไม่ว่าประเทศไหนๆก็ต้องเจอะเจอปัญหานี้กันทังนั้น ซึ่งปัญหาตอนนี้ที่ UK ต้องเผชิญ คือ จะอยู่ต่อไป หรือถอนตัวออกจาการเป็นสมาชิก EU นี่ยังเป็นเรื่องที่ต้องจับตามอง

ซึ่งคุณอาจจะมองว่าไม่เกี่ยวข้องกับเราสักเท่าไหร่ แต่การรับรู้ข่าวสารเอาไว้ก็ช่วยได้หลายอย่างเพราะยังไงก็ต้องมีผลกระทบมายังประเทศไทยของเราบ้างแหละไม่มากก็น้อยค่ะ เพราะอะไร? เรามาดูเหตุผลที่เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับเรากันค่ะ เนื่องจากประเทศอังกฤษเป็นประเทศที่เป็นตลาดใหญ่หลักๆของการค้าในทวีปยุโรป แน่นอนว่าจะมีการลงทุนของนักธุรกิจชาวไทยในประเทศอังกฤษแน่ๆ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงปรับเปลี่ยนทางการค้าของอังกฤษต้องส่งผลต่อนักธุรกิจชาวไทยทั้งในอังกฤษและในประเทศไทยที่มีการส่งออกด้วยค่ะ ประเทศไทยได้รับประโยชน์อะไรเมื่อประเทศอังกฤษอยู่ภายใต้การเป็นสมาชิกของ EU? เมื่อประเทศอังกฤษอยู่หรือไม่อยู่ในสมาชิก EU ก็สามารถมีการค้าระหว่างไทยได้แต่จะต่างกันตรงการกำหนดภาษีการนำเข้าสินค้าของไทยนั่นเอง ดังนั้นประเทศไทยเองต้องเตรียมตัวรับมือกับการเจรจาเรื่องภาษีให้มีจำนวนเท่าเดิมไม่เพิ่มขึ้นเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกำไรด้วยค่ะ แต่การนำเข้าสินค้าก็ไม่ได้กำหนดภาษีทุกชนิด เฉพาะแค่ ไก่ ข้าว มันสำปะหลัง เท่านั้น แล้วคุณรู้หรือไม่ว่า ประเทศอังกฤษเป็นคู่ค้าอันดับที่ 18 ของประเทศไทยเราเลยนะคะ เห็นแล้วใช่มั้ยคะว่าเกี่ยวข้องกับเราจริงๆ ดังนั้นเราจะมาดูกันว่าอะไรบ้างที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจของ UK อย่างเช่นเรื่องต่อไปนี้คือ จุดเปลี่ยน / การเป็นสมาชิก EU / หุ้นทองปั่นป่วน เป็นต้น ล้วนแล้วแต่ต้องสนใจติดตามค่ะ

จุดเปลี่ยน

จุดเปลี่ยน

หลายสิ่งหลายอย่างได้เปลี่ยนแปลงไปมากจริงๆ โดยเฉพาสถานการณ์เศรษฐกิจโลกซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกประเทศไปตามๆกันค่ะ แม้ประเทศอังกฤษจะมีชื่อเป็นสมาชิกของ EU แล้วกลายเป็นศูนย์กลางการค้าของ EU มาก่อนจนมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างดีแต่การที่ประเทศอังกฤษจะทำการค้าอย่างอิสระก็ยากกว่าเดิมมากนักเพราะมีข้อจำกัดหลายๆอย่าง เช่น เรื่องของนโยบายการค้าระหว่างประเทศ นโยบายข้อจำกัดเหล่านี้ทำให้ประเทศอังกฤษไม่สามารถทำการค้าได้อย่างคล่องตัวเท่าที่ต้องการ และการอยู่ในสมาชิก EU นี้ทำให้มีข้อตกลงว่าอังกฤษต้องยอมรับแรงงานอพยพ แรงงานต่างถิ่นเข้าทำงาน ทำให้คนในประเทศเองหางานยากมากขึ้น จึงเกิดความอึอัดขึ้นมาถึงแม้ว่าอังกฤษจะเป็นศูนย์กลางการเงินของ EU แต่ไม่ได้เป็นผู้ก่อตั้งจึงไม่สิทธิมีเสียงมากพอ หรือไม่มีบทบาทสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ จึงเกิดปัญหาการพยายามจะถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิก EU อยู่ ณ ตอนนี้ค่ะ นี่คือจุดเปลี่ยน พูดง่ายๆคือ คับที่อยู่ได้คับใจอยู่ยากนั่นเอง อังกฤษคงยอมที่จะเสียผลประโยชน์ทางการค้าบางอย่างแต่ได้อิสระทางการค้าและแรงงานของตัวเองกลับมาประมาณนั้นแหละค่ะ เราก็ต้องมาดูกันต่อไปว่าจะสำเร็จหรือไม่

การเป็นสมาชิก EU

การเป็นสมาชิก EU

ในช่วงที่ประเทศอังกฤษเข้าร่วมเป็นสมาชิกของประชาคม EU ในตอนแรกนั้นประชาชนมีความยินดีอย่างมากและตื่นเต้นมากกับผลประโยชน์ทางการค้าที่จะได้รับ เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว ประเทศในแถบยุโรปมีความใกล้ชิดทางการค้ากันมานานอยู่แล้ว การมีประชาคมขึ้นมาก็คงสร้างความมั่นคงต่อความสัมพันธ์ของประเทศแถบยุโรปมากขึ้นจึงเป็นเรื่องน่ายินดี ซึ่งตอนนั้นนอกจากอังกฤษจะได้รับประโยชนืทางด้านเศรษฐกิจแล้วยังรับอะไรใหม่จากประเทศอื่นๆด้วย เช่น วัฒนธรรม ไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ และอื่นๆอีกมากมายค่ะซึ่งสิ่งเหล่านี้ช่วยสร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจและการค้าของอังกฤษอย่างมาก แต่ด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปจึงเกิดความขัดแย้งและความอึดอัดขึ้นมาจนได้ ถ้าคุณติดตามข่าวสารก็คงจะทราบดีค่ะ

แล้วเรื่องนี้ก็มีเรื่องของการเองมาเกี่ยวข้องด้วย เพราะประเทศอังกฤษนั้นได้มีการพัฒนาทางการเมืองที่สูง และมีการปกครองคล้ายประเทศไทยก็คือยังมีระบบของกษัตริย์อยู่ แต่ก็ยังมีการเคารพเสียงของประชาชนอย่างมาก การจะอยู่ต่อ หรือ ออกจากการเป็นสมาชิกของ EU ก็เกี่ยวข้องกับความต้องการของประชาชนด้วยค่ะ ซึ่งตอนนี้เสียงของประชาชนที่ต้องการให้อังกฤษออกจากการเป็นสมาชิก EU นั้นมากกว่าและตรงกับความต้องการของนายกรัฐมนตรีที่ต้องการให้อังกฤษอยู่ต่อค่ะ คิดเป็นร้อยละแบบนี้ ประชาชนที่ต้องการให้อังกฤษออกขากสมาชิก EU คือ ร้อยละ 55 / ประชาชนที่ไม่ต้องการให้อังกฤษออกจากสมาชิก EU คือ ร้อยละ 45 ค่ะ จริงแล้วก้เกิดการโต้เถียงกันตั้งแต่ก่อน และตอนเริ่มต้นของการเข้าเป็นสมาชิก EU แล้วค่ะ เพราะอะไร? เพราะประเทศอังกฤษถือว่าเป็นประเทศที่มีความชาตินิยมมากกว่าประเทศไหนๆในทวีปยุโรปเลย ซึ่งมีความชาตินิยมมากกว่าประเทศเยอรมนีและประเทศฝรั่งเศสเสียอีก เรื่องหนึ่งที่ถกเกียงกันคือ เรื่องของการยกเลิกการใช้เงินปอนด์เปลี่ยนมาใช้เงินสกุลเดียวกันคือเงินยูโร แต่ทางอังกฤษไม่ยอมจึงไม่มีการใช้เงินสกุลเดียวกับชาติอื่นแต่ยังคงใช้เงินปอนด์ต่อไปแม้อยู่ในสมาชิก EU แล้วก็ตามค่ะเหตุผลก็มาจากการที่อังกฤษมีความชาตินิยมแบบสุดโต่งนั้นเอง นี่ก็คือความขัดแย้งที่มีอยู่แล้วเมื่ออังกฤษเข้าเป็นสมาชิก EU เพราะมีทั้งประชาชนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยในหลายๆเรื่องค่ะ

หุ้นทองคำปั่นป่วน

หุ้นทองคำปั่นป่วน

ซึ่งสถานการณ์การพยายามถอนตัวของประเทศอังกฤษนี้ก็มีทั้งประชาชนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ส่งผลต่อหุ้นต่างๆที่ตกร่วงอย่างรวดเร็วในหลายๆหุ้นค่ะ ทั้งๆที่ตอนนี้ยังไม่มีความแน่ชัดว่าจะได้ถอนตัวออกจากสมาชิก EU หรือไม่ก็ตาม โดยเฉพาะตลาดทองคำที่มีความผันผวนอย่างมาก และมีการปรับขึ้นๆลงๆถึง 24 ครั้งมาแล้ว และยังมีเรื่องที่สร้างความตึงเครียดให้มากกว่านั้นเมื่อนายกรัฐมนตรีของ นายเดวิด คาเมรอน ลาออกจากตำแหน่งอีก ซึ่งเขาเองอยากให้ประเทศอังกฤษอยู่ต่อไปในสมาชิก EU แต่ดูเหมือนว่าประชาชนส่วนใหญ่อยากให้ออกมา ทำให้หุ้นทองคำปั่นปวนและหุ้นอื่นๆก็เช่นกัน

ดังนั้นการติดตามข้อมูลเหล่านี้ก็ให้ประโยชน์กับเราได้เหมือนกันแม้จะเป็นคนธรรมดา หรือนักธุรกิจ โดยเฉพาะนักการเมืองผู้บริหารประเทศค่ะ ที่เราจะเรียนรู้การบริหารจัดการหรือปัญหาของประเทศอื่นๆที่รับมือกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่ย่ำแย่ตอนนี้ค่ะ

เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป

เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป

ทำไมถึงบอกได้ว่าไม่ใช่เรื่องไกลตัวของเราอีกต่อไป? ก็เพราะว่าประเทศไทยเราเองก็มีการค้าระหว่างประเทศอังกฤษอยู่เหมือนกันนะคะ การที่เศรษฐกิจของประเทศอังกฤษขึ้น หรือลงก็ต้องส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าบางอย่างของไทยด้วยแน่ๆไม่มากก็น้อยแหละ และนอกจากจะมีการเปลี่ยนแปลงทางการค้าถ้าประเทศอังกฤษออกจากสมาชิก EU คือ ค่าเดินทางไปมาในยุโรปคงต้องมีการเปลี่ยนแปลงปรับขึ้นแน่ รวมถึงการส่งออกสินค้าต่างๆที่ยังทำกันอยู่ อาจจะมีผลต่อค่าส่งออกสินค้าของไทย หรือการนำเข้า หรือการเดินทางจากประเทศอังกฤษไปยังประเทศอื่นๆในยุโรปก็เป็นได้ค่ะ เพราะนักท่องเที่ยวชาวไทยของเราก็มักยึดประเทศอังกฤษเป็นที่หลัก แล้วก็ไปต่อที่อื่นจากที่นั่น ดังนั้นใครที่เดินทางต้องติดตามข่าวสารนี้อย่างใกล้ชิดเลยนะคะ เพื่อวางแผนการเดินทางค่ะ

แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังไม่มีความแน่ชัดแต่อย่างใด จะมีการเปลี่ยนเปลี่ยนใจอะไรเกิดขึ้นอีกหรือไม่ แต่เท่าที่รู้ยังไงประเทศอังกฤษก็จะพยายามรักษาความสัมพันธ์อันดีต่อประเทศอื่นๆในยุโรปเอาไว้แน่นอนเพื่อการค้า และเพื่อผลประโยชน์อื่นๆต่อไปแม้จะไม่ได้อยู่ในกลุ่มสมาชิก EU อีกต่อไป ไม่ได้แปลว่าจะเกิดการแตกหักแต่อย่างใดค่ะยังคงเป็นมิตรกันเช่นเดิม