แน่นอนว่าการมีธุรกิจส่วนตัวเป็นความฝันอันสูงสุดของใครหลายๆคน โดยเฉพาะกับพนักงานเงินเดือนที่ทำงานให้กับบริษัทมาแสนนาน หรืออาจจะเป็นความฝันของเด็กรุ่นใหม่ในยุค 2019 นี้ เพราะเนื่องจากสภาพการของโลกได้เปลี่ยนไปตามกาลเวลา ดังนั้นใครหลายๆคนจึงหันมาให้ความสนใจกับการเป็นนายตัวเอง เพื่อที่จะได้ไม่ต้องทำงานมากเกินกว่าที่ตัวเองจะรับไหว แต่การที่เราจะเปิดธุรกิจส่วนตัวได้นั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากแต่ก็ได้ไม่ง่ายขนาดที่คิดวันนี้พรุ่งนี้จะทำได้ มันต้องมีขั้นก่อนมีวิธีการและที่สำคัญคือเรานั้นต้องมีความรู้ว่าความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจส่วนตัวก่อน วันนี้เราจะมาบอกการเตรียมตัวและสิ่งที่คุณต้องรู็ก่อนที่จะลงมือทำอะไรลงไป มาตรวจสอบตัวเองไปพร้อมกันเลย

10 สิ่งที่ควรรู้ก่อนจะเปิดธุรกิจส่วนตัว

10 สิ่งที่ควรรู้ก่อนจะเปิดธุรกิจส่วนตัว

อย่างที่บอกเราจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับสิ่งที่เรากำลังจะทำก่อน ให้เรามาดู 10 อย่างที่ควรคำนึงถึงกันก่อนที่เราจะเปิดธุรกิจส่วนตัวกันก่อนเลยว่ามีอะไรบ้างที่เราต้องคิด ถ้าเราขาดอะไรไปเราอาจจะทำพลาดในอนาคตก็ได้นะ ขอให้คิดถึงเรื่องนี้กันเยอะๆ เพราะมันมีผลต่อธุรกิจของเรา คงไม่มีใครอยากให้ธุรกิจที่เราฝันหรือเราสร้างมากับมือต้องพังลงต่อหน้าต่อตาเราหรอกจริงไหม

1. ถามตัวเองให้แน่ใจว่าเราอยากที่ทำสิ่งนี้จริงๆไหม

นี้เป็นคำถามที่มีแค่ตัวเราเองที่จะตอบได้ และเราก็ควรตอบให้ได้ว่าเรานั้นมั่นใจแล้วใช่ไหมว่าเรานั้นรักที่จะทำหรือสร้างธุรกิจนี้ สิ่งนี้คือความฝันของเราจริงๆใช่ไหม ไม่เพียงแค่นึกอยากจะทำก็ทำ หรือเห็นคนอื่นทำแล้วรวยก็อยากทำตามบ้าง คงจะไม่ใช่เหตุผลข้อสุดท้ายใช่ไหม ถ้าใช่ก็คงไม่ยากมากเพราะนั้นกำลังบ่งบอกว่าเรานั้นไม่ได้จะจริงจังกับสิ่งที่กำลังจะลงแรง ลงทุน เมื่อถึงเวลาที่ตัวเรานั้นต้องเจอกับอุปสรรค หรือปัญหาอะไรหน่อย ก็จะเป็นเหตุผลที่ทำให้เรายอมแพ้ได้ง่ายๆ ต่างจากการกระทำด้วยความรัก ความรักจะเป็นพลังให้เราทำสิ่งเหล่านี้โดยที่เราจะไม่ท้อ และแม้ว่าเราจะเหนื่อยแค่ไหน แต่เราจะมีความสุขไปพร้อมกับความเหนื่อยและยังสามารถผ่านช่วงที่ยากลำบากไปได้ ดังนั้น ถามใจตัวเองดีๆ ก่อนที่จะเริ่ม

2. เข้าใจในธุรกิจที่จะทำดีพอหรือยัง

แต่ความรักอย่างเดียวนั้นก็ยังคงไม่เพียงพอ เพราะตัวเรานั้นต้องมีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆด้วยเช่นกัน เจ้าของธุรกิจที่ดี จึงควรเริ่มจากการมีทั้งความรัก และเข้าใจในสิ่งที่กำลังทำจริงๆ นั้นหมายความว่าเรานั้นต้องรู้อย่างชัดเจนว่าสินค้าของเราคืออะไร ผลิตยังไง มีจุดเด่นจุดด้อยอะไร และมีความแตกต่างจากสินค้าของคนอื่นอย่างไร หากยังตอบคำถามพวกนี้ไม่ได้ ก็กลับไปฝึกฝนและศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมก่อนจะดีกว่ามาก

3. รู้และเข้าใจลูกค้าไหม

ลูกค้าคือใคร เราจะหาลูกค้าได้จากที่ไหน และลูกค้านั้นพร้อมไหมที่จะควักเงินซื้อสินค้าของเรา สินค้าเรามีความต้องการต่อลูกค้ามากน้อยขนาดไหน เราควรที่จะศึกษา วิเคราะห์และศึกษาให้ดีๆ เพราะเรานั้นควรจะรู้ก่อนว่าสินค้าของเรานั้นดีแค่ไหน ถ้าไม่มีคนสนใจหรือไม่มีคนซื้อ สินค้าของเรานั้นไม่ตอบโจทย์ตลาด สุดท้ายธุรกิจที่เราตั้งใจลงแรงไปนั้นก็ไม่สามารถไปต่อได้ ดังนั้น ขอให้จำเอาไว้เลยว่าถ้าอยากให้ธุรกิจไปไกลนั้น ลูกค้าคือแรงขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุด

4. ความรู้เรื่องของธุรกิจพื้นฐานมีไหม

สิ่งที่สำคัญสำหรับเจ้าของธุรกิจที่ขาดไม่ได้เลยก็คือความรู้พื้นฐานทางด้านของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำบัญชี การตลาด ภาษี รวมไปถึงเรื่องของการจัดการบริหารจัดการบุคคล อย่าคิดนะว่าเรื่องแบบนี้ไม่สำคัญ ถึงแม้ว่าเราจะจ้างคนอื่นทำแทนได้ แต่ถ้าเราไม่เข้าใจวิธีการของธุรกิจเลย โอกาสที่ธุรกิจจะไปไม่รอดมีความเป็นไปได้ที่สูงมาก

5. เงินทุนพร้อมไหม

ถ้าเชื่อว่าทุกอย่างพร้อมแล้ว แล้วในเรื่องของเงินทุนล่ะพร้อมหรือยัง ซึ่งนี้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำธุรกิจก็ว่าได้ ดังนั้น เราควรวางแผนให้ดีว่าจะหาเงินทุนมาจากไหน ถ้าเรายังไม่มีความพร้อม ก็อย่าเพิ่งวู่วาม ค่อยๆเก็บไปเรื่อยๆ อย่ารีบร้อนจนเกินไป การไปขอกู้ธนาคารมาลงทุนสามารถทำได้ก็จริง แต่ทางที่ดีในช่วงเริ่มต้นการพยายามเป็นหนี้ให้น้อยไว้จะเป็นวิธีการที่ดีกว่า

6. ลาออกตอนไหน

หากว่าตอนนี้เรานั้นยังมีงานประจำอยู่แล้ว ก่อนอื่นเลยคืออย่าพึ่งรีบร้อนที่จะลาออกอย่างเดียว ถ้าเรายังไม่มีความมั่นใจว่าธุรกิจของเรานั้นจะไปได้แบบมั่นคงหรือไปได้สวย ขอแนะนำว่าในช่วงเริ่มต้นควรที่ทำควบคู่ไปพร้อมๆกันก่อน ค่อยๆเรียนรู้วิธีการไปเรื่อยๆ จนเมื่อถึงวันที่ทุกอย่างพร้อมแล้ว ค่อยลาออกตอนนั้นก็ได้

7. หาคอนเน็กชั่นที่ดีไว้หรือยัง

คอนเน็กชั่น (Connection) คืออะไร ถ้าจะให้แปลตรงตัว แปลว่า “การเชื่อมโยง/การติดต่อ/ความสัมพันธ์” แต่ในความหมายของคนไทยก็คือ “ใครก็ตาม” ที่สามารถแนะนำหรือมอบอำนาจในการสร้างผลประโยชน์ต่องานหรือธุรกิจของเราให้ลุล่วงไปได้ด้วยดียิ่งรู้จักคนเยอะเท่าไหร่ (หลากหลายอาชีพ) ก็ยิ่งได้เปรียบต่อการทำธุรกิจของเรา ( อ้างอิงจาก https://www.facebook.com/KullastreeMagazine/posts/1559775294085434/) คอนเน็กชั่นนั้นสำคัญเสมอในการทำธุรกิจ คอนเน็กชั่นที่ดีจะช่วยเพิ่มทั้งโอกาสการทำรายได้หรือช่องทางขายใหม่ๆ และอาจรวมไปถึงการแตกไลน์ไปยังธุรกิจอื่นๆ ซึ่งอาจจะช่วยเพิ่มการเติบโตในอนาคตแบบที่เราคาดไม่ถึงก็ได้

8. ทำธุรกิจต้องมีแผนสอง แล้วมียังล่ะ?

การทำธุรกิจนอกจากจะต้องคิดให้ละเอียดถี่ถ้วนแล้ว แผนสำรองก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะอย่าลืมว่าไม่มีอะไรในโลกนี้ที่สำเร็จได้อย่างใจหวังไปทั้งหมด ดังนั้นการมีแผนสองรับมือเวลาเกิดปัญหา ก็จะช่วยให้เราผ่านอุปสรรคไปได้ง่ายขึ้น

9. อย่าล้มเลิกง่ายๆ

แน่นอนในการทำธุรกิจ เรื่องของความล้มเหลวนั้นต้องเกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว และแน่นอนว่ามันสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ถ้าหากเราเจอความล้มเหลวแล้ว เราต้องรีบลุก อย่ามัวแต่มานั่งเสียใจ และล้มเลิกมันไปง่ายๆ เพราะคนที่ประสบความสำเร็จได้นั้นคือ คนที่นำเอาความล้มเหลวในอดีตมาเป็นบทเรียนในการก้าวต่อไปข้างหน้าเพื่อทำอนาคตให้ดีกว่าเดิม

10. พัฒนาตัวเองและสินค้าอยู่ตลอดเวลา

โลกในปัจจุบันนั้นมีเทรนด์ต่างๆที่เข้ามาและหายไปเร็วมาก ยิ่งถ้าเป็นเรื่องของการทำธุรกิจด้วยแล้ว ทิศทางตลาดถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นเสมอ และเราต้องปรับตัวตามให้ทันอยู่ตลอดเวลา โดยการพัฒนาสินค้าให้มีความแตกต่างจากสินค้าของคนอื่น และหมั่นหาความรู้ต่อยอดให้กับธุรกิจของเราอยู่เสมอ เพราะถ้าไม่ทำอย่างนั้นก็เตรียมโดนคู่แข่งคนอื่นๆ แซงหน้าได้เลย

7ขั้นตอนง่ายๆ เริ่มต้นธุรกิจ

7ขั้นตอนง่ายๆ เริ่มต้นธุรกิจ

1.เริ่มต้นจาการหาไอเดียในการสร้าง Product

2.ถ้าเราต้องการที่จะขายผลิตภัณฑ์(Product)สักอย่าง เราก็ต้องรู้ว่าผลิตภัณฑ์ของเราคืออะไร มีการบริการอย่างไรต่อลูกค้า อาจจะนำไอเดียจากสิ่งที่เรามีความรู้มาก่อนหรือว่าลองเป็นผลิตภัณฑ์ที่เราอยากทำมาตลอดก็ได้ หรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์ที่อาจจะยังไม่เคยมีใครที่ทำมาก่อนก็ได้ สิ่งต่อมาที่เราควรคิดก็คือชื่อของบริษัท หรือชื่อของผลิตภัณฑ์ ซึ่งชื่ออาจจะเป็นชื่อที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะยิ่งธุรกิจเติบโตมากขึ้นเท่าไหร่ ชื่อบริษัทก็สามารถเปลี่ยนให้มีความชัดเจนและสื่อถึงผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้นได้ สิ่งที่เราควรคิดถึงเวลาตั้งชื่อบริษัท ควรเป็นชื่อที่จำง่าย และ เข้าใจง่าย ถ้ายาวเกินไปก็คงไม่มีคนอยากจะจำมันหรอก จริงไหม 
3.วาดแผนการตลาด: ขั้นตอนหลังจากที่เราได้ตัดสินใจเกี่ยวกับไอเดียสร้างหรือออกแบบผลิตภัณฑ์แล้ว ต่อมาก็เป็นเรื่องที่ต้องทำให้เรียบร้อยนั้นก็คือเรื่องของการเขียนแผนธุรกิจที่ชัดเจน เพราะการเขียนแผนธุรกิจจะช่วยให้เรารู้ว่าขั้นตอนต่อไปที่ต้องทำเพื่อให้ธุรกิจของเราดำเนินต่อไปได้นั้นคืออะไร การเขียนแผนธุรกิจนั้นยิ่งเขียนละเอียดมากเท่าไหร่ยิ่งเป็นผลดีต่อธุรกิจของเรามากขึ้นเท่านั้น ตั้งแต่เรื่องลักษณะของธุรกิจ, ลักษณะของบริษัท ไปจนถึงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งข้อดีและข้อจำกัด จุดด้อย จุดขายของผลิตภัณฑ์ เพื่อไว้ใช้ในเปรียบเทียบกับบริษัทที่เป็นคู่แข่ง เมื่อได้แผนและมีตัวอย่างผลิตภัณฑ์แล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อมานั้นก็คือการหา feedback เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของเรา เริ่มจากคนใกล้ตัวอย่างญาติหรือเพื่อนๆก็ได้ เพราะคนเหล่านี้จะให้ความเห็นได้เร็วที่สุดและเมื่อเราได้ feedback มาก็นำไปใช้ หรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของเราให้ดีขึ้น แล้วก็ออกหา feedback วนกลับไปมาจนกว่าจะได้ผลงานที่ดีที่สุด

4.วางแผนเรื่องการเงิน: ขอให้คิดอยู่เสมอว่าเงินในการทำลงทุนก็เหมือนกระแสเลือดสายสำคัญในร่างกายของเรา ก่อนอื่นเราต้องรู้ว่างบที่เราจะใช้นั้นเท่าไหร่ หากเงินที่นำมาใช้ทำธุรกิจนั้นคือเงินที่มาจากการเก็บออม เราก็ไม่ควรนำเงินออมทั้งหมดที่มีใช้ในการลงทุน เพราะทุกการลงทุนมีความเสี่ยง หากนำเงินที่มีทั้งหมดมาลงทุนแล้วถ้าผลตอบ แทนของธุรกิจนั้นไม่ได้เป็นไปตามที่หวังไว้ล่ะ? อาจจะทำให้เสียเงินทั้งหมดไปโดยใช้เหตุได้ได้ 
5.หา Partner ที่วางใจได้: เพราะการมีหุ้นส่วนนั้นช่วยแบ่งเบาภาระที่เราต้องลงทุนไม่ว่าจะเป็นด้านวัตถุดิบต่างๆหรือทรัพยากรต่างๆ นั่นทำให้การเลือกหุ้นส่วนที่ไว้ใจได้สำคัญมาก เพราะคนที่จะมาร่วมทำธุรกิจนั้นต้องเห็นภาพรวมของธุรกิจที่ทำอยู่ในมุมเดียวกับเราเห็น นั้นก็คือแผนการในการดำเนินธุรกิจ หากทั้งสองฝ่ายเห็นภาพที่ต่างกันหรือขัดแย้งกันก็เป็นไปได้ยากที่ธุรกิจประสบความสำเร็จ 
6.ศึกษาเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวกับ SMEs แบบรอบด้าน: หาที่ปรึกษาด้านกฎหมายไว้คอยช่วยในเรื่องคำปรึกษาไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทเพื่อทำธุรกิจ หรือแม้กฎหมายด้านภาษีเองก็ตาม เรื่องแบบนี้หากเราได้ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยก็จะทำให้การดำเนินงานนั้นง่ายขึ้น และอีก 1 เรื่องที่ควรทำคือ การเปิดบัญชีสำหรับเงินที่เป็นผลประกอบการเท่านั้น เราไม่ควรนำเงินมาใส่บัญชีส่วนตัวเพราะนั่นทำให้การจัดระบบบัญชีไม่ชัดเจน และนี้ยังเป็นสาเหตุที่หลายบริษัท SMEs ต้องปิดตัวลงเพราะการไม่แบ่งบัญชีให้ชัดเจน ไม่แบ่งว่าบัญชีไหนคือผลประกอบการทำให้เราไม่รู้ว่าเงินผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนนั้นได้มานั้นคือกำไรหรือขาดทุน 
7.เปิดตัวผลิตภัณฑ์ของคุณ: แน่นอนว่าการวางแผนเพื่อจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์นั้น ต้องมีการเริ่มต้นจากการหาพื้นที่สำหรับจัดวางขายผลิตภัณฑ์หรือบริการก่อน เราควรที่จะแบ่งส่วนพื้นที่ให้ชัดเจนว่าส่วนไหนคือสำนักงาน  และส่วนไหนคือส่วนที่ใช้เก็บผลิตภัณฑ์ และส่วนไหนสำหรับการพักผ่อน อย่าลืมที่จะตรวจสอบกฎหมายให้ดีด้วยเพราะธุรกิจบางประเภทไม่อนุญาตให้ดำเนินการภายในที่อยู่อาศัยได้ และตรวจสอบการติดต่อต่างๆภายในสำนักงานว่าสามารถใช้ได้ตามปกติได้ไหม เพราะนั่นช่วยให้เราสามารถติดต่อกับลูกค้าที่สนใจในผลิตภัณฑ์ของเราโดยตรงได้

ยากตรงไหนแค่เตรียมพร้อม

ยากตรงไหนแค่เตรียมพร้อม

จริงๆแล้วการเริ่มธุรกิจไม่ได้ยากอย่างที่ใครหลายๆคนคิดไว้ แน่นอนว่าการที่เราจะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้นมีหลายองค์ประกอบมากมาย แต่การเตรียมตัวเองให้พร้อมมากที่สุดก่อนตัดสินใจลงมือทำธุรกิจ ก็จะช่วยให้เรานั้นประสบความสำเร็จได้มากขึ้น  ดังนั้นเราไม่ควรที่จะละเลยในเรื่องของการเตรียมตัวให้พร้อมก่อน เรื่องแบบนี้เราไม่จำเป็นต้องรีบมาก ทุกการใหญ่ย่อมต้องใช้เวลา นอกจากเราจะต้องเตรียมตัวเราเองให้พร้อมแล้ว เราก็ต้องจัดเตรียมเรื่องของธุรกิจเราให้พร้อมอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการคิดออกแบบตัวสินค้าหรือแพ็คเกจ ชื่อสินค้าหรือชื่อบริษัท เรื่องของงบประมาณ อันนี้สำคัญมากๆควรที่นั่งคิดอย่างจริงจัง และเขียนแผนงานให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เปอร์เซ็นสำเร็จของธุรกิจเรานั้นสูงยิ่งขึ้น