เมื่อกำลังเข้าสู่วัยเกษียณ สิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆก็คือการวางแผนทางการเงิน เพราะในวัยนี้จะหลายคนอาจจะไม่มีรายรับเข้ามาหรือมีรายรับไม่มากเท่าแต่ก่อน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีการบริหารการเงินให้มีประสิทธิภาพเพียงพอในการเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ในบั้นปลายชีวิตของเรา พร้อมกับเตรียมส่งต่อกิจการหรือความมั่งคั่งสู่รุ่นลูกหลานต่อไป

บริหารการเงิน ในวัยเกษียณ

บริหารการเงิน ในวัยเกษียณ

.นบทความนี้จะพาเพื่อนๆไปรู้จักกับ 5 วิธีการบริหารเงินหลังเกษียณ ว่ามีรูปแบบใดบ้าง และควรทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จกับชีวิตหลังเกษียณ

##จัดการกับรายได้

ในวัยเกษียณเราควรเริ่มจัดการรายได้ให้เป็นระบบแล้วจึงทำการจัดสรรเงินที่มีอยู่ให้กับตนเองสามารถใช้ชีวิตได้โดยไม่เดือดร้อนและสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างไม่ขัดสน โดยต้องคำนวณดูว่าเรามีทรัพย์สินทั้งหมดเท่าไร ทรัพย์สินอยู่ที่ไหนบ้าง และมีรายรับจากทางไหนบ้าง โดยแบ่งเป็น

  1. เงินก้อน เช่น เงินบำเหน็จ เงินกองทุนประกันสังคม เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น
  2. เงินฝากออมทรัพย์ และเงินได้ประจำหลังเกษียณ เช่น เงินบำนาญ ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่าต่างๆ เป็นต้น

##คำนวณรายจ่าย

ลองแบ่งประเภทค่าใช้จ่ายว่าออกมาเรามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ซึ่งอาจมีบางส่วนที่ลดลง เช่น ค่าเดินทาง ค่ากิน และบางส่วนที่เพิ่มขึ้น เช่น ค่ารักษาพยาบาล และคำนวณการใช้จ่ายว่าในแต่ละเดือนเรามีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเท่าไหร่ โดยรายจ่ายหลักๆ หลังเกษียณจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ากิน ค่าเดินทาง ค่าซ่อมบำรุงทรัพย์สิน เช่น รถยนต์ ที่อยู่อาศัย ซึ่งมีความเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน เราจึงควรเผื่อเงินให้กับส่วนนี้ไว้ก้อนนึง ค่ารักษาพยาบาล เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายก็ย่อมมีความเสื่อมโทรมหากเราไม่ได้มีการดูแลตัวเองที่ดีพอ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในวัยเกษียณจะสูงมาก แนะนำให้ลองมองหาโครงการประกันสุขภาพทั่วหน้าของภาครัฐ หรือโครงการอื่นๆ เพื่อช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ค่ากิจกรรมเพิ่มเติม เช่น ท่องเที่ยว ทำบุญ เนื่องจากอายุที่มากขึ้นก็หากิจกรรมทำก็เป็นทางออกที่ดีครับ แต่ต้องระวังเพราะค่าใช้จ่ายส่วนนี้ค่อนข้างจะฟุ่มเฟือย อย่าลืมบริหารให้เหมาะสมด้วย

##ให้ความสำคัญกับการลงทุน

วัยเกษียณเป็นวัยที่ควรให้ความสำคัญกับการลงทุนมากๆ เนื่องด้วยราคาสินค้าต่างๆ มีแต่แนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เรามีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นด้วย แต่การลงทุนของคนวัยเกษียณจำเป็นต้องพิจารณาให้ดี โดยเราอาจใช้บริการที่ปรึกษาทางการเงินช่วยในการวางแผนการลงทุนเป็นตัวช่วย เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดจากการลงทุน เพราะโอกาสในการสร้างรายรับของเราไม่ได้มีมากหากเราขาดทุนจะเป็นปัญหาอย่างมาก แนะนำว่าควรลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง โดยกระจายไปให้หลากหลายทรัพย์สิน ดังนี้ เงินฝากออมทรัพย์ หรือกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น 20%-40% ให้มีเงินสดพร้อมใช้ยามฉุกเฉิน พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชน กองทุนตราสารหนี้ระยะกลาง – ยาว 30%-60% เพิ่มผลตอบแทนให้กับพอร์ตการลงทุน กองทุนอสังหาริมทรัพย์ หุ้น ทองคำ 10%-20% เพื่อเพิ่มผลตอบแทน

##ใส่ใจดูแลสุขภาพ

สุขภาพกับการบริหารเงินไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เนื่องจากสุขภาพนั้นเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้เงินและทรัพย์สินที่มีได้รับผลกระทบอย่างมากทั้งค่าตรวจ ค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นเงินจำนวนมากที่ต้องจ่าย จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวที่ดีพอและหาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิต่างๆ อย่างเหมาะสม วัยเกษียณจึงควรออกกำลังกาย ตรวจสุขภาพประจำปี รักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอนั่นเอ

##วางแผนมรดก

เรื่องการวางแผนมรดกเป็นเรื่องที่เลี่ยงที่พูดถึงไม่ได้ในวัยเกษียณ หลายคนมีทรัพย์สินที่สั่งสมมากมากพอสมควร ซึ่งมีทั้งทรัพย์สินที่เพิ่มคุณค่าตามกาลเวลา และทรัพย์สินที่อาจมีค่าเสื่อม ซึ่งบางอย่างอาจเปลี่ยนเป็นทุนทรัพย์ในการลงทุนหรือส่งต่อให้กับรุ่นลูกหลานได้

ลองนำแผนการเงินสำหรับวัยเกษียณที่สร้างสุขให้เราได้อย่างมั่นคงขึ้น กับเคล็ดลับที่เราเริ่มได้แนะนำ ทั้งการสร้างทัศนคติในการออมไม่มีคำว่าสายที่จะเริ่มและวัยเก๋าไม่ได้แปลว่าต้องพึ่งพาลูกหลานเพียงอย่างเดียว มีแผนการออมที่ยืดหยุ่นได้ ไม่สร้างหนี้เพิ่มทับหนี้เดิมแต่รีบปลดแอกให้เร็วที่สุด ร่วมด้วยมีสัดส่วนการลงทุนที่เน้นระยะยาว แล้วชัยชนะที่เราจะได้ชื่นชมยามวัยเกษียณ ก็จะเป็นสิ่งที่เราคว้าเอาไว้ได้แน่นอนค่ะ เลือกสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน ได้ฟรี ที่ลิงก์ด้านล่าง