ถ้าจะให้พูดถึงงานอาชีพที่ทำด้วยความรักความชอบบวกกับความสามารถส่วนตัวก็คงต้องยกให้กับอาชีพ สถาปนิกเลยค่ะ เพราะถ้าไม่รักไม่ชอบจริงๆในงานนี้คงไม่สามารถที่จะทำงานนี้ได้ หรือเรียนจบทางด้านนี้มาได้ คนที่ชอบงานสถาปนิกต้องมีทักษะหลายๆอย่างประกอบกัน เช่น พรสวรรค์ ศิลปะ การคิดคำนวณ จิตนาการ และอื่นๆ เรียกได้ว่าเป็นงานที่ใช้สมองเกือบทุกส่วนเลยนะคะ ทั้งสมองส่วนหน้า / สมองส่วนหลัง / สมองส่วนช้าย และส่วนขวา คนที่เรียนจบมาทางด้านสถาปนิกต้องมีความฉลาดมาอยู่พอสมควรเลยค่ะ และงานอาชีพทางด้านนี้ก็ยังเป็นที่ต้องการอยู่มากเพราะคนเก่งๆหายาก ไม่ต่างจากอาชีพการเป็นหมอเลยนะ

แต่ทุกวันนี้สถานการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปทำให้ไม่ว่างานอาชีพด้านไหนก็ลำบากด้วยกันทั้งนั้น อาชีพสถาปนิกก็ได้รับผลกระทบมากเหมือนกัน ในช่วงนี้งานออกแบบคงลดน้อยลงไปมากทำให้สถาปนิกขาดรายได้ไม่ว่าจะเป็นงานส่วนตัว หรือการเป็นลูกจ้างก็ตาม สถาปนิกบางคนอาจจะต้องตกงานก็มี แต่ในช่วงเวลาแบบนี้คนที่ทำอาชีพสถาปนิกจะทำอย่างไร? เพราะกว่าจะได้เป็นสถาปนิกนั้นไม่ง่ายแล้วความรู้ความสามารถนี้จะไม่ได้ใช้ก็คงเสียดายถ้าจะไปทำงานอาชีพอื่นๆ บทความนี้มีแง่คิดให้ค่ะสำหรับใครที่คิดไม่ออกว่าต้องอย่างไร คนที่ไม่ใช่สถาปนิกก็เรียนรู้ไปด้วยกันได้นะคะ

เลือกงานที่ตัวเองถนัดแล้วทำให้เต็มที่

เลือกงานที่ตัวเองถนัดแล้วทำให้เต็มที่

ถึงแม้งานออกแบบที่ตัวเองรักจะลดน้อยลง หรือถึงกับไม่มีเลยในช่วงนี้ก็ไม่เป็นไรนะคะ เพราะความรู้ความสามารถที่คุณมีอยู่ไม่ได้หายไปไหน ลองคิดดูว่าคุณเองถนัดอะไร และชอบอะไรมากที่สุด เพราะเชื่อว่าการเป็นสถาปนิกทำให้คุณมีความสามารถรอบด้านอยู่แล้ว แต่เมื่อถึงเวลาต้องปรับเปลี่ยนไปทำงานอย่างอื่นบ้างก็อาจจะเลือกความสามารถที่คุณถนัดที่สุด และ ชอบที่สุดออกมาสักอย่างสองอย่างดูก็ได้ค่ะ แล้วใช้ความสามารถนั้นในการสร้างอาชีพขึ้นมาใหม่ หรือหางานอื่นๆทำไปก่อนได้ค่ะ อย่างน้อยๆความรู้ความสามารถที่คุณมีก็ไม่เสียเปล่านะคะยังได้เอามาใช้อยู่เพียงแต่เปลี่ยนวิธีการทำงานเท่านั้นเอง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณชอบงานศิลปะก็อาจจะหางานที่เกี่ยวกับศิลปะ / ถ้าคุณชอบการคิดคำนวณมากกว่าก็หางานที่ใช้ทักษาะด้านการคิดคำนวณ เป็นต้น การทำแบบนี้จะช่วยพัฒนาทักษะที่คุณมีอยู่ให้มีคุณภาพมากขึ้นได้ค่ะ เมื่อถึงเวลาที่มีงานออกแบบอีกครั้งคุณจะพบว่าได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆมากขึ้นแน่ๆ

พยายามเข้าใจธุรกิจ

พยายามเข้าใจธุรกิจ

ในสถานการณ์เศรษฐกิจไม่ค่อยสู้ดีนักแบบนี้ก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่มีงานให้เหล่าสถาปนิกทำเลยนะคะ งานยังมีอยู่เพียงแต่น้อยมาก และลูกค้าเองก็เลือกมากขึ้นเหมือนกัน ส่วนใหญ่ก็อยู่ที่เรื่องของราคา และคุณภาพของงานค่ะ เมื่อผู้คนคิดมากขึ้นก่อนการใช้จ่ายในฐานะสถาปนิกก็ต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าตรงนี้ด้วย ใครเข้าใจและหาวิธีตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้เร็วที่สุดก็จะได้งานไปค่ะ ดังนั้นสถาปนิกทั้งหลายคงต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน ปรับเปลี่ยนต้นทุน และความคิดหลายๆอย่างแล้วหล่ะ แต่ถ้าใครยังยืนกรานทำตามแบบแผนเดิมก็ยากที่จะได้งานทำในช่วงนี้นะคะ เพราะสถาปนิกบางคนก็ไม่ยอมปรับเปลี่ยนเพราะกลัวคุณภาพของงานจะลดลง แต่การกังวลเรื่องนั้นมากเกินไปก็อาจจะไม่ถูกใจลูกค้าแล้วผลเสียคือเสียงานได้ค่ะ สำคัญคือต้องปรับเปลี่ยน และสมดุล ไม่ว่าจะทำงานให้บริษัท หรือธุรกิจของตัวเองคนที่เป็นสถาปนิกต้องเรียนรู้เรื่องธุรกิจแล้วนะคะตอนนี้ ซึ่งการทำธุรกิจที่ดีคือให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกค้ามาเป็นอันดับแรกค่ะ

เข้าใจลูกค้า

เข้าใจลูกค้า

คล้ายๆแต่ไม่ถึงกับเหมือนการเรียนรู้เรื่องธุรกิจซะทีเดียว จริงอยู่ที่การเรียนรู้เรื่องธุรกิจต้องพยายามเข้าใจความต้องการของลูกค้า แต่การเข้าใจลูกค้าต้องใส่ใจรายละเอียดให้มากกว่านั้นอีก ต้องใส่ใจเรื่องอะไรบ้าง? อย่างเช่น ศึกษาพฤติกรรมของลูกค้า / คิดถึงความเป็นไปได้ของลูกค้า / คิดถึงประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับมากกว่าประโยชน์ของธุรกิจ / และที่สำคัญการออกแบบอะไรก็ตามให้ถูกใจคนอื่นต้องรู้จักนิสัยกันก่อนด้วยค่ะ จึงควรพยายามรู้จักนิสัยของลูกค้าให้มากที่สุดแล้วงานของคุณจะถูกใจลูกค้ามากที่สุดค่ะ เรียกได้ว่างานของสถาปนิกนั้นต้องเสียสละเวลา และทุ่มเทมากๆเพื่อจะได้งานมาทำนะคะ แต่รับรองว่าผลที่ได้คุ้มค่าค่ะคุณอาจจะเป็นสถาปนิกที่ยังคงมีงานให้ทำไม่ว่าเศรษฐกิจจะแย่แค่ไหนก็ได้นะคะ

เงินไม่ใช่ตัวชี้วัด

เงินไม่ใช่ตัวชี้วัด

การสร้างผลงานสักอย่างเพื่อให้ถูกใจคนอื่นนั้นไม่ง่ายเลย แต่การสร้างผลงานจะยากมากขึ้นไปอีกถ้าคุณคิดถึงแต่ผลประโยชน์ของธุรกิจ หรือพูดง่ายๆว่าคิดถึงแต่เรื่องของเงินเท่านั้น แต่ก็ใช่ว่าการไม่คิดถึงเรื่องเงินจะต้องทำให้คุณขาดทุนหรือเสียเปรียบเสมอไปนะคะ แต่การคิดถึงประโยชน์ และความต้องการของลูกค้าก่อนจะช่วยสร้างกำไรให้งานของคุณแน่นอนในอนาคต ซึ่งจะต่างกับงานที่คิดถึงแต่เรื่องเงินมาก่อนงานแบบนั้นจะไม่ค่อยตรงตามความต้องการของลูกค้าทำให้ในอนาคตคุณจะยิ่งขาดทุนมากกว่าตอนนี้เสียอีก เพราะเมื่องานไม่ถูกใจใครจะจ้างคุณอีกจริงไหม? แต่งานที่ถูกใจราคาสมเหตุสมผลงานมีคุณภาพก็ทำได้ถ้าไม่คิดเรื่องเงินมากเกินไป หรือที่เรียกว่าความโลภมากนั่นเอง เคยได้ยินมั้ยคะคำนี้ โลภมากลาภหาย ดังนั้นเพื่อจะมีงานต่อไปเหล่าสถาปนิกทั้งหลายต้องซื้อใจลูกค้าก่อนนะคะ ลูกค้าเสียเงินให้เราเราก็ต้องเสียสละอะไรบ้างเพื่อซื้อใจเขาค่ะ

รู้จักการทำตลาด

รู้จักการทำตลาด

อาชีพสถาปนิกนั้นมีหลายช่องทางการทำงาน บางคนอาจจะเปิดธุรกิจส่วนตัว แต่บางคนอาจจะเป็นพนักงานเป็นลูกจ้างของบริษัทออกแบบอีกทีหนึ่ง แต่ถ้าพูดถึงในเรื่องของการทำการตลาดนั้นสถาปนิกที่เป็นลูกจ้างอาจจะไม่ค่อยได้ใช้ทักษะด้านนี้เพราะบริษัทมักจะมีพนักงานที่ทำการตลาดทำหน้าที่นี้อยู่แล้ว แต่สถาปนิกที่เปิดธุรกิจส่วนตัวอาจจะต้องเรียนรู้เรื่องการตลาดมากกว่า และได้เอาทักษะนี้มาใช้มากกว่าค่ะ ซึ่งมองว่าเป็นเรื่องที่ดีนะคะเพราะคนออกแบบ และลูกค้าจะได้พูดคุยกันเองโดยตรงไม่ผ่านคนกลางเหมือนการทำงานให้บริษัท ทำให้งานออกแบบน่าจะออกมาถูกใจลูกค้ามากกว่า และการได้พูดคุยทำความรู้จักกับลูกค้าก็เป็นการตลาดอย่างหนึ่งที่ได้ผลดีมากๆ แถมยังได้รู้จักนิสัยของลูกค้ามากขึ้นด้วยส่งผลให้งานมีแนวโน้มออกมาตรงตามความต้องการได้มากกว่า นอกจากนั้นทุกวันนี้ยังมีช่องทางการทำการตลาดหลากหลายช่องทางมากๆ ที่สถาปนิกจะสามารถเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะการตลาดในรูปแบบออนไลน์ซึ่งเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้นทำให้ขายงานและพรีเซ้นท์งานได้ดียิ่งขึ้นค่ะ เป็นสถาปนิกต้องเรียนรู้ทักษะหลายอย่างจริงๆนะคะ

ไม่ว่าอาชีพอะไรก็ต้องเอาตัวรอดกันทั้งนั้นในยุคนี้

ไม่ว่าอาชีพอะไรก็ต้องเอาตัวรอดกันทั้งนั้นในยุคนี้

ถ้าการปรับตัวก็หางานได้ไม่ยากนะคะสำหรับอาชีพสถาปนิก ก็เหมือนกับอาชีพอื่นๆในตอนนี้ต้องมีการปรับตัวกันทั้งนั้น บางอาชีพอาจจะต้องปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่มากกว่านี้ก็ได้ หรือบางธุรกิจก็ต้องพลิกโฉมใหม่ไปเลยก็มี แต่การปรับตัวและเปลี่ยนทุกอย่างก็ต้องแลกมาด้วยความพยายาม และการเสียสละบางอย่าง แต่ยังไงก็ให้นึกถึงผลที่คุณจะได้นะคะ เพราะถ้าไม่ปรับตัวเปลี่ยนเพื่อเอาตัวรอดคุณก็จะไปไม่รอดในยุคเศรษฐกิจแย่ๆแบบทุกวันนี้เลยค่ะ