“หุ้น” ถือเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับนักลงทุน และเป็นเครื่องมือเพื่อเพิ่มช่องทางการระดมทุนพร้อมขับเคลื่อนธุรกิจให้กับเจ้าของกิจการ
แต่ทั้งมือเก่า-มือใหม่ ก็คงต้องยอมรับเป็นเสียงเดียวกันว่า หุ้นก็มี “ความเสี่ยง” ที่ผู้ลงทุนจะต้องศึกษาข้อมูลต่างๆ ให้ละเอียดรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน ดังนั้น ถ้าใครอยากประสบความสำเร็จจากการเลือกหุ้น เราจึงต้องทำการบ้านกันให้มากขึ้นกันหน่อย ไม่ใช่ว่าซื้อไปก่อนแล้วสุดท้ายก็ต้องมาเจ็บตัวกันทีหลัง
มีเคล็ดลับเด็ดอะไรที่จะช่วยผ่อนแรงเราได้บ้างในแบบที่เซียนหุ้นเขาทำกัน ลองมาศึกษาแนวทางของมือเก๋าที่หลายคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้าง แล้วนำมาปรับใช้ให้เข้ากับวิถีการลงทุนของคุณได้เลยค่ะ
เรียนรู้จากความผิดพลาด
ปรมาจารย์ด้านศาสตร์แห่งการลงทุน ที่ทุกท่านคงเคยผ่านหูอย่าง ‘วอเร็น บัฟเฟตต์’ คุณปู่เองก็เคยเจอกับความผิดพลาดเพราะการเลือกในบางสิ่งจนขาดทุนหนัก แต่ก็เรียนรู้จากสิ่งนั้นจนก้าวข้ามมาสู่ความสำเร็จได้ เช่น
กรณีหุ้น Dexter Shoes
เมื่อการลงทุนไม่เป็นดังคาดหวัง เพราะมองข้ามศักยภาพของบริษัทคู่แข่ง เราจึงต้องตรวจเช็คดูว่าบริษัทที่ได้เล็งนั้นจะมีความได้เปรียบที่ยั่งยืนหรือไม่
กรณีหุ้น TESCO
ที่คุณปู่เทขายแม้พึ่งซื้อไปไม่นาน เพราะเริ่มกังวลกับทิศทางการบริหาร เราจึงมองได้ว่าอย่าลังเลที่จะก้าวออกมาถ้าเห็นว่าตัวเองกำลังเดินผิดทาง ไม่อย่านั้นอาจขาดทุนหนักกว่าได้
กรณีหุ้น General Re-insurance
ที่ทำให้เห็นว่าเราจะต้อง Re-check ข้อมูล เพื่อวิเคราะห์หุ้นที่ซื้อมาก่อนตัดสินใจเคาะซื้อ รวมถึงแนวรับ-แนวต้าน และ Indicators ต่างๆ อีกสักครั้งเพื่อกันความผิดพลาด กรณีหุ้น Amazon
คุณปู่เคยให้สัมภาษณ์ว่า การลงทุนที่ตนเองไม่เข้าใจนั้นถือเป็นความเสี่ยงสูง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่านั่นเป็นโอกาสที่ไม่ดี คล้ายกับการโยนเหรียญนั่นล่ะว่าจะออกหัวหรือก้อย
และหนึ่งในความผิดพลาดที่โจทย์จันของคุณปู่ คือ การลงทุนในบริษัท Berkshire Hathaway ในสมัยหนุ่มๆ เขาก็ยังคงใช้ชื่อบริษัทเดิมมาตลอดเพื่อย้ำเตือนตัวเองให้เห็นถึงความผิดพลาดนี้ แสดงว่าไม่เคยมีใครไม่ทำพลาด แต่สิ่งสำคัญคือ นักลงทุนจะต้องก้าวเดินต่อไปให้ได้และเรียนรู้จากข้อผิดพลาดที่เราได้ผ่านมาค่ะ
เลือกหุ้นพื้นฐานดี
ย้อนอดีตกันมาสักพัก เราก็ต้องเดินหน้ากันต่อ ลองเริ่มต้นด้วย “หุ้นพื้นฐานดี” สิ! ซึ่งราคาของหุ้นมักจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะของตลาด และไม่ค่อยมีความผันผวนมากนัก เพื่อความสำเร็จในการลงทุนที่ดูแล้วอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมค่ะ โดยมีคุณสมบัติเบื้องต้น คือ
- มีจุดแข็งในเรื่องการเติบโตทางธุรกิจ และคงความได้เปรียบในด้านการแข่งขัน
- บริษัทมีประวัติการดำเนินในอดีตย้อนหลัง 3-5 ปี ว่ามีรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อสะท้อนถึงการดำเนินงานในอนาคต
- มีผลกำไรสะท้อนสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อแสดงว่าไม่มีปัญหาด้านการขาดทุนจนไม่มีเงินเหลือมาจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น
- ไม่ได้ก่อหนี้ในระยะยาวที่มากจนเกินไป และมีเงินทุนหมุนเวียนมากกว่าจำนวนหนี้สิน
- การบริหารจัดการต้นทุนที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ ใช้หลักธรรมาภิบาล พร้อมการดำเนินงานอย่างเปิดเผยไม่มีประโยชน์ทับซ้อน
หาจังหวะเหมาะๆ แล้วเข้าซื้อหุ้น
ชื่อคุณปู่วอเร็นมาแล้ว ในฝั่งไทยเองเราก็มี ‘ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร’ ที่เป็นกูรูด้านการรู้ลึกรู้จริง เกี่ยวกับการรอคอยจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม. โดยช่วงปี 2540 ที่ไทยเจอกับวิกฤตการเงิน “ต้มยำกุ้ง” จนนักลงทุนเจ็บหนัก มูลค่าหุ้นทั้งตลาดก็ร่วงกราว แต่ดร.นิเวศน์ตัดสินใจ ซื้อหุ้นในขณะนั้นเมื่อเล็งเห็นว่าหุ้นบางตัวแม้มีราคาลดลงเยอะมาก ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่เพราะกำไรหรือเงินปันผลทึ่ลดลง จึงได้ ‘ตีแตก’ ด้วยการนำเงินสะสมมูลค่า 10 ล้านบาท เข้าซื้อหุ้นที่ทำการวิเคราะห์แล้วว่าปลอดภัยและคุ้มค่าในการลงทุน ทั้งๆ ที่คนอื่นๆ ไม่ได้มองแบบนั้น เพราะการเลือกหุ้นแบบนี้ เมื่อรวมกันทั้งพอร์ตก็จะมีความเสี่ยงต่ำ มีเงินปันผลที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก ถึงยังไม่ขายออกก็พอจะอยู่ได้ด้วยเงินปันผล หากเศรษฐกิจกลับมาดีอีกครั้ง ราคาหุ้นเหล่านี้ก็สูงขึ้นเรื่อยๆได้ค่ะ
เปรียบเทียบ “Benchmark”
ใครๆ ก็บอกว่าเราควรทบทวนแผนการลงทุนบ้างอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง เพราะหากเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวม กลยุทธ์ที่เราเคยใช้ก็อาจไม่เกิดผลในตอนนี้ ดังนั้น วิธีนึงที่จะช่วยให้มองภาพได้ชัดขึ้น ก็คือการเปรียบเทียบโดยดูที่ ‘เกณฑ์มาตรฐาน’ หรือ ที่ใครอาจหุ้นหูคุ้นตาเวลากันตอนเลือกกองทุนรวม ก็คือ ‘Benchmark’ ค่ะ
โดยนักลงทุนจะสามารถใช้เป็นเกณฑ์เพื่อเปรียบเทียบว่าควรมีผลตอบแทนประมาณเท่าใดในช่วงระยะเวลาที่ใช้วัด หรือ การถือหุ้นต่อไป จะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า หรือ ต่ำกว่า ผลตอบแทนที่ควรจะเป็น จึงช่วยเราสะท้อนการลงทุนได้ค่อนข้างดีทีเดียว จึงไม่อยากให้ใครละเลยกันไปด้วย
เลือกหุ้นที่โดนใจในสไตล์ที่ใช่ พร้อมต่อยอดความสำเร็จ!
ทุกคนคงเห็นแล้วว่า แม้การลงทุนในตลาดหุ้นจะไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะในตลาดหุ้นบ้านเรานั้นก็มักจะมีปัจจัยซึ่งเข้ามากระทบอยู่เสมอ อย่างสภาวะเศรษฐกิจโลก หรือราคาหุ้นที่พร้อมจะผันผวนในอีกตลอดเวลา แต่สำหรับในบางบริษัทก็ยังสามารถเพิ่มความแข็งแกร่งเพื่อฝ่าฟันไปได้อย่างสบายๆ
เราจึงแค่ต้องตามรอยเซียนหุ้นแล้วมองภาพรวมให้ออก อย่างที่ได้ยกตัวอย่างของ ดร.นิเวศน์ ขึ้นมาคุยไปบ้าง ท่านเองก็มีหลักเกณฑ์ที่น่าสนใจในการเลือกซื้อหุ้นไม่น้อย ทั้งหุ้นพื้นฐานดีที่รายได้-กำไรไม่ลด หนี้ไม่เพิ่ม และมีความเสี่ยงที่น้อยมากโดยมีจุดแข็งทางด้านการตลาด เพื่อที่เราทุกคนจะสามารถนำมาปรับใช้ได้เมื่อเผชิญกับวิกฤตที่จำเป็นในชีวิต รวมถึงอีก 3 ปัจจัยที่ช่วยให้คิดอย่างรอบคอบขึ้นค่ะ
ดังนั้น ขอให้ทั้งมือเก๋าและมือใหม่ได้ลองทบทวนแผนการลงทุนของคุณดูอีกครั้ง พลาดตรงไหนก็จัดการอุดตรงนั้น จะได้ลดความวิตกกังวลไปได้มากที่สุด ที่เหลือจึงเป็นโอกาสที่เราจะคว้าชัยจากการค้นหาบริษัทฯ หรือ หุ้นตัวที่น่าพิจารณา และทำให้เป้าหมายในการลงทุนของเราก็สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีค่ะ
เสาวภา
ได้อ่านแล้ว ก็ได้ความรู้มาบ้างเกี่ยวกับเรื่องของหุ้น ขอบคุณมากคะ ที่ลงเครล็ดลับบางอย่างที่เราสามารถนำไปใช้ได้ แต่ เราว่าช่วงนี้เรื่องของหุ้น ส่วนตัวของเรา เราว่าหยุดก่อนดีกว่าคะ ช่วงนี้รู้สึกว่าเรื่องขอวหุ้นกับเรา มันไปคนละทางจริงๆคะ หลายตัวที่เราซื้อเอาไว้ตอนนี้ ยังแดงอยู่เลยคะ จะขายก็กลัวว่ามันจะขึ้น เลยตัดสินใจเก็บเอาไว้ก่อนดีกว่า
นายกฤษณะ
ผมชอบนะครับที่บอกว่า ให้ดูจังหวะหุ้นที่น่าซื้อแล้วรีบซื้อ เห็นด้วยกับ @เสาวภา หุ้นตอนนี้ไม่มีตัวไหนดีเลยครับ ของผมเองยังติดแดงหลายตัวเลยครับ แต่ ผมไม่รีบครับ ช่วงนี้เหมือนที่บทความนี้บอกว่า น่าจะเป็นช่วงที่หาซื้อหุ้นตัวที่ดีๆเก็บเอาไว้ครับ เพราะถ้าหลังจากโควิด เพื่อนจะได้กำไรอย่างแน่นอนครับ ไม่เชื่อตามดูเลยครับ
วีวี่weewee
คนที่เป็นเซียนหุ้นยังเจ็บตัวไปเยอะกว่าจะประสบความสำเร็จในการเล่นหุ้น คนที่เพิ่งเริ่มมาเล่นหุ้นคงต้องทำใจกันพอสมควร แม้จะมีบทความที่แนะนำเรื่องเทคนิคต่างๆในการเล่นหุ้น แต่ก็ยังต้องค่อยๆสะสมประสบการณ์ด้วยตัวเองอยู่ดี คนที่พร้อมจะเสี่ยง เอ๊ย!ไม่ใช่ พร้อมจะลองของใหม่ก็ค่อยๆลงทุน อย่าเพิ่งทุ่มกันหนักนะคะ..ใจเย็นๆ
ประสพชัย
นี้ขนาดคนที่เล่นหุ้นเก่งๆ เขายังมีวิธีการเล่นไม่เหมือนกันเลย นับประสาอะไรกับเราละครับ ที่จะต้องเรียนรู้ให้มากๆเกี่ยวกับเรื่องกุ้นแบบนี้ มือใหม่หลายคนลงเล่นหุ้นแบบที่ไม่ได้เรียนรู้มาก่อนเลย คิดว่าเจอหุ้นดีๆก็ซื้อเอาไว้ แต่ก็ต้องเสียใจครับ เพราะว่าตลาดหุ้นบ้านเรามันดูแค่ทิศทางของหุ้นไม่ได้จริงๆ มีหลายๆอย่างที่ต้องตรวจสอบให้ดีๆ
อลงกรณ์
ขนาดเซียนหุ้นเขายังต้องมีเทคนิคการเล้นในตลาดหุ้นเลย แล้วจะว่ายังไงกับคนที่ไม่ค่อยมีความรู้เข้ามาเล่นใหม่ๆ ถ้าเข้าไม่ถูกทาง บอกได้คำเดียวเลยว่า ขาดทุนอย่างแน่นอน ช่วงนี้ ช่วงหุ้นอยู่ในขาลง นะครับ ถ้าจะซื้อแล้วหวังว่าจะขายให้ได้กำไร ช่วงนี้อาจจะต้องรอไปก่อนครับ อาจจะต้องไปลงทุนอย่างอื่นด้วยน่าจะดีกว่าเล่นหุ้นอย่างเดียว
พรุ่งนี้ที่ดีกว่า;)
หลังจากที่อ่านบทความนี้แล้ว สิ่งแรกที่ผมได้ ก็คือ เตรียมรับมือกับการขาดทุนไว้ได้เลย มือใหม่น่าจะขาดทุนกันทั้งนั้น ตัวอย่างของบุคคลที่บทความนี้ยกมายังขาดทุนไปเยอะกว่าจะประสบความสำเร็จ ใครที่อยากลงทุนทางด้านนี้ดูบ้าง ต้องเตรียมเงินสำรองกันเอาไว้ด้วยนะครับ และไม่ลืมที่จะทำใจว่าโอกาสที่จะขาดทุนในครั้งแรก...ค่อนข้างสูง
ภัตรศกรณ์
เล่นหุ้นตอนนี้เหรอครับ อาจจะเสี่ยงไปหน่อยหรือเปล่าครับ บทความนี้บอกว่าให้เราดูที่พื้นฐานของหุ้นว่าเป็นยังไง อันนี้ผมดูนะครับเมื่อก่อน ราคาดีมากครับ แต่สองปีที่ผ่านมาราคลขายแทบไม่ได้เลยครับ ผมว่าช่วงนี้ ถ้าจะเล่นหุ้น เป็นเหมือนช่วงที่เราเก็บตัวดีๆจากในอดีตเอาไว้ดีกว่าครับ ยังไม่ต้องคิดถึงกำไรนะครับ คิดว่าปีหน้าไปได้สวยเลยถ้าเราขายทิ้ง
Korapak%%%
การเล่นหุ้นถือเป็นการลงทุนอย่างหนึ่งซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์อย่างมากกว่าจะประสบความสำเร็จ ก่อนหน้านี้ บางคนอาจคิดว่าคนเล่นหุ้น คือ คนที่มีเงิน ได้กำไรดีแน่ๆ หลังจากที่ได้เข้ามาอ่านบทความนี้คงเข้าใจแล้วนะครับว่ากว่าจะเล่นหุ้นให้ได้เงินมากๆนั้นผู้ที่ลงทุนต้องเจอกับอะไรบ้าง ที่แน่ๆ เจอการขาดทุนกันมาก่อนครับ