หลายคนมองว่า ประกันชีวิตก็เปรียบเสมือนเครื่องมือทางการเงินตัวหนึ่ง ที่ช่วยเราจัดการกับชีวิตได้ดีเมื่อเจอวิกฤต เช่น เหตุการณ์ไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น ช่วยบริหารความเสี่ยงโดยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในเรื่องสุขภาพสำหรับเราและครอบครัว โดยแลกมากับการจ่ายเบี้ยประกันเพื่อความคุ้มครองในระยะยาว
แต่หากต้องรับมือกับสภาพเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง ค่าใช้จ่ายฉุกเฉินในส่วนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ผ่านมา รายได้ยังไม่กลับมาดีดังเดิม หรือบางคนถึงขั้นต้องออกจากงาน เมื่อเจอสถานการณ์เช่นนี้ เราควรจัดการอย่างไรกับกรมธรรม์ที่เคยทำไว้ จำเป็นต้องปิดกรมธรรม์เพื่อหยุดส่งเบี้ยแล้วเสียด้านผลประโยชน์ที่เคยมีรึป่าว
MoneyDuck ขอตอบคำถามที่ตรงใจนี้กับคุณ ด้วย 5 วิธี ที่เราสามารถจัดการกับกรมธรรม์ประกันชีวิตในมือได้ เพื่อปรับใช้อย่างเหมาะสมและรักษาผลประโยชน์ไว้ให้มากที่สุดแม้จะต้องเจอกับวิกฤตค่ะ!
ขอเปลี่ยนงวดการชำระเบี้ยประกันได้
หากถึงกำหนดจ่ายชำระเบี้ย แต่สภาพการณ์เงินไม่อำนวย ชักหน้าไม่ถึงหลัง เราสามารถคงความคุ้มครองไว้ได้เหมือนเดิม เพราะลูกค้ามีสิทธิ์ที่จะขอเปลี่ยนงวดการชำระเบี้ยประกันภัยได้ เช่น จากที่เคยส่งเบี้ยประกันเป็นรายปีเป็นเงินก้อน ก็สามารถเลือกเปลี่ยนเป็นการส่งเบี้ยแบบรายเดือน ราย 3 เดือน หรือราย 6 เดือนได้ แม้การแบ่งชำระแบบนี้จะสูงกว่าการจ่ายเบี้ยเป็นรายปีไปสักหน่อย แต่ถ้าเราหมุนเงินได้ดีขึ้น และคงความคุ้มครองตามเดิมที่ตั้งใจ ก็สามารถบรรเทาภาระในช่วงนี้ไปก่อนได้
วิธีนี้ในหลายบริษัท สามารถทำได้โดยการติดต่อตัวแทนที่ดูแลเรา สำนักงานใหญ่หรือสาขาของบริษัทล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน หรือ สอบถามผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิคส์ และหากปีหน้ามีสัญญาณการเงินที่ดีขึ้น เราก็สามารถเปลี่ยนกลับไปชำระในแบบรายปีเช่นเดิมได้ค่ะ
ปรับลดความคุ้มครองในบางส่วน
การกลับไปตรวจสอบหรือสรุปผลประโยชน์ของกรมธรรม์ที่มีทั้งหมดโดยละเอียดว่า มีความคุ้มครองยังไงบ้าง ค่าเบี้ยประกันเท่าไหร่ มีความคุ้มครองสุขภาพเพิ่มเติมอย่างไร เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยรายวัน ความคุ้มครองในส่วนของโรงร้ายแรง หรือมีส่วนของประกันอุบัติเหตุ หากพบว่าค่าเบี้ยที่เราจ่ายค่อนข้างสูงนี้ ในปัจจุบันเราไม่ได้ใช้สิทธิอย่างเติมที่หรือมีโรคประจำตัวใดๆ หากจะเลือกลดเบี้ยประกัน หรือความคุ้มครองลงบ้างก็ทำได้
เช่น ประกันชีวิตแบบยูนิตลิงค์เราสามารถเลือกปรับลดทุนประกันได้ หรือเบี้ยประกันได้เพื่อรักษาสภาพคล่อง โดยที่สิทธิความคุ้มครองยังคงอยู่ หรือแม้แต่ประกันสุขภาพหลายตัวๆ ก็เลือกข้อตกลงแบบนี้ได้ โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัทค่ะ
เปลี่ยนกรมธรรม์เป็นแบบขยายระยะเวลา
หากมีการส่งเบี้ยมาแล้วในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จนมีมูลค่าเงินสดในกรมธรรม์ แต่เราไม่สามารถส่งเบี้ยประกันต่อได้ แต่ต้องการความคุ้มครองชีวิตดังเดิม และยอมรับได้กับระยะเวลาคุ้มครองที่ลดลงจากสัญญาเดิม มีทั้งเงินคืนในบางส่วนทันที หรือเมื่อครบกำหนดสัญญา ก็สามารถใช้สิทธิ์ในการเปลี่ยนเป็นกรรมธรรม์แบบขยายระยะเวลาได้ค่ะ
เช่น ผู้เอาประกันทำประกันชีวิตที่จำนวนเงินเอาประกัน 1 ล้านบาท โดยจ่ายเบี้ยมาแล้ว 10 ปี และต้องการเปลี่ยนกรมธรรม์เป็นแบบขยายระยะเวลาตอนสิ้นปีกรมธรรม์ที่ 10 ก็จะได้จำนวนเงินเอาประกันเท่าเดิม แต่ส่วนความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตไม่ว่าแบบเดิมจะเป็นอย่างไร แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นแบบขยายระยะเวลา ความคุ้มครองนี้จะเทียบเท่ากับจำนวนเงินเอาประกันใหม่ทันทีนับจากสิ้นปีกรมธรรม์ที่ 10 ค่ะ
การขอกู้กรมธรรม์
เราสามารถขอกู้จากมูลค่าเงินสดในกรมธรรม์ที่มีอยู่ได้ หากได้ส่งเบี้ยประกันมาแล้วระยะเวลาหนึ่ง จนมีมูลค่าเงินสดในกรมธรรม์ โดยสามารถใช้สิทธิ์การขอกู้ได้สูงสุดไม่เกินมูลค่าเงินสดที่มีหักด้วยหนี้สิน (ถ้ามี) แล้วทางบริษัทจะคิดอัตราดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ และ + 2% ตามแบบประกันหรือเงื่อนไขในแต่ละบริษัท
แต่ในเรื่องการประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยที่มีสูงไปหรือไม่ ก็สามารถเปรียบเทียบจากแหล่งเงินกู้อื่นๆ ได้ โดยสิ่งสำคัญก็คือ ต้องมีการวางแผนเพื่อชำระคืนเงินกู้ให้เหมาะสมด้วย เพื่อการคงสถานะในกรมธรรม์ดังเดิมอยู่ เพราะหากเราไม่สามารถชำระคืนเงินที่กู้ได้ และมีมูลค่าเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยค้างจ่าย สูงเกินกว่ามูลค่าของกรมธรรม์ ๆ นั้นก็จะถูกบังคับให้ยุติความคุ้มครองได้อีกเช่นกัน
เปลี่ยนเป็นกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ
วิธีขอหยุดจ่ายเบี้ย โดยเปลี่ยนเป็นกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ แม้จะมีระยะเวลาของสัญญาหรือระยะเวลาความคุ้มครองเท่าเดิม แต่มูลค่าความคุ้มครองและเงินครบสัญญาจะลดลง โดยในส่วนของเงินคืนที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ยังจะได้อยู่. จึงเหมาะกับคนที่ต้องการความคุ้มครองในระยะเวลาเดิม ได้ประโยชน์เหมือนกรมธรรม์เดิม แต่มีจำนวนเงินเอาประกันใหม่ที่ลดลง
โดยมีวิธีคำนวณ คือ จำนวนเงินเอาประกันตามที่ระบุในหน้าแรกของกรมธรรม์ หารด้วย 1000
เช่น มีจำนวนเงินเอาประกัน 1 ล้านบาท มีเงินคืนในทุก 5 ปีๆละ 1% ของจำนวนเงินเอาประกันและได้รับความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต 100% ของจำนวนเงินเอาประกันตลอดสัญญา เมื่อจ่ายเบี้ยประกันมาแล้ว 10 ปี แล้วต้องการเปลี่ยนเป็นกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จตอนสิ้นปีที่ 10 จำนวนเงินเอาประกันใหม่ก็จะลดลงเหลือ 569,000 บาท พร้อมรับเงินคืนทุก 5 ปี จำนวน 5,690 บาท เป็นต้น
ไม่ต้องปิดกรมธรรม์ ด้วยทางเลือกในการคงผลประโยชน์ไว้ให้มากที่สุดในช่วงวิกฤติ!
แม้จะพูดได้ว่าปัญหาการเงินมักไม่เข้าใครออกใคร อยู่ที่เวลาไหนบ้างที่เราจะต้องรับมืออย่างดีที่สุด แต่ประกันชีวิตที่อยู่ในมือก็สำคัญไม่แพ้กัน หากเปรียบเทียบการคุ้มครองและดูแลเราในแบบระยะยาว เราจึงควรจัดการและบริหารกรมธรรม์ที่มีให้รักษาผลประโยชน์ให้ได้มากที่สุดเพื่อผ่านช่วงวิกฤตไปได้
การปิดเล่มกรมธรรม์ไม่ใช่การตอบโจทย์ เพราะมีอีกหลายวิธีให้เราเลือกเมื่อได้ศึกษาและสอบถามเงื่อนไขจากตัวแทนฯ เช่น เปลี่ยนงวดการชำระเบี้ยประกัน, ปรับลดความคุ้มครองในบางส่วน, เปลี่ยนกรมธรรม์เป็นแบบขยายระยะเวลา, การขอกู้กรมธรรม์ หรือ การเปลี่ยนเป็นกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ. เพราะการตัดใจยกเลิกการคุ้มครองไปเลย ย่อมน่าเสียดายเมื่อคิดถึงความเสี่ยงในเรื่องสุขภาพยามที่เราต้องรับมือกับความเครียดในชีวิตหรืออายุที่เพิ่มขึ้น ไหนจะโรคประจำตัวต่างๆ ที่อาจไม่อยู่ในเกณฑ์การคุ้มครอง ถึงแม้สถานะทางการเงินของเราจะดีขึ้น แต่กลับไม่สามารถทำประกันตัวนั้นได้ ชีวิตของเราจึงต้องมีการวางแผนระยะยาวเพื่อการดูแลอนาคตแบบที่ดีที่สุด!
หวังว่าข้อมูลดีๆ ที่ได้แบ่งปันกันไป จะช่วยให้คนที่มีกรมธรรม์ในมือรู้สึกรู้สึกเบาใจ และเลือกวิธีจัดการกรมธรรม์ประกันชีวิตของคุณให้เหมาะสมที่สุดในเวลานี้กันนะคะ
อรุณรัตน์
มีสองอย่างที่เราอยากทำ เมือพูดถึงประกันชีวิตของเรา แต่ก็ยังไม่กล้าสักที อย่างแรกคือเราอยากแบ่งจ่ายค่าเบี้ยประกัน ออกเป็นงวดๆแบบที่บทความนี้บอกเอาไว้แต่เราคิดว่าค่าเบี้ยมันจะเพิ่มขึ้นมาจากที่เราเคนจ่ายเป็นรายปีไหทมแล้วก็กลัวว่าพอถึงงวดที่จะต้องจ่ายไม่มีด้วย อย่างที่สองคือกู้เงินจากประกันของเรา เราทราบมาว่าวงเงินได้ไม่มากใช่ไหม
ชมพู่
@ k. อรุณรัตน์ จริงๆการจ่ายเบี้ยประกันมันขึ้นอยู่กับเราเลยค่ะว่าเราสะดวกแบบไหน เขาจะมีทั้งรายปีและมีทั้งแบ่งเป็นชำระงวดงวด 3 เดือน 6 เดือนก็ว่าไป แต่ถ้าคุณจะชำระ 3 เดือน 6 เดือนแบบนี้เขาก็จะคิดดอกเบี้ยคุณเพิ่มเข้าไปอีกนิดหน่อย จริงๆถ้าคุณรับได้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรนะคะ ยังไงลองปรึกษาตัวแทนดูก่อนก็ได้นะคะหรือปรึกษาในเว็บนี้ก่อนก็ได้ค่ะ
อิทธิพัฒน์
ปีนี้ค่าเบี้ยประกันของผม รวมกันทั้งประกันชีวิต กับประกันสุขภาพ ปีนี้ต้องจ่ายที่ประมาณ 39,000 บาท ช่วงนี้ชักจะจ่ายไม่ค่อยไหวแล้ว แถมตั้งแต่ที่ทำมาก็ยังไม่เคบเคลมอะไรเลย กะว่าจะคุยกับทางตัวแทนเหมือนกันอยากลดการคุ้มครองหรือไม่ก็เปลี่ยนแผนการคุ้มครองประกันสุขภาพน่าจะดีกว่า จ่ายไม่ไหวจริงๆถ้าไหวคงเอาต่อแล้ว การคุ้มครองดีด้วย
AA
การทำประกันมันก็เป็นอะไรที่ดีนะ แต่มันจะไม่ดีตรงนี้นั่นแหละในเรื่องของการจ่ายค่าเบี้ย เพราะการทำประกันมันเหมาะสำหรับคนที่เขาพร้อมที่จะจ่ายจริงๆ ยิ่งถ้าเป็นประกันระยะยาวถ้าใครคิดจะทำต้องคิดดีๆเลยว่าเราสามารถที่จะมีกำลังพอจ่ายได้ไหม เพราะช่วงชีวิตคนเราบางทีก็ชักหน้าไม่ถึงหลังเหมือนกัน ตั้งแต่มีโควิคบางคนก็ตกงาน มันบอกไม่ได้เอาซะเลย เพราะฉะนั้นใครที่จะทำประกันต้องคิดดีๆ