ใช้อะไรคนที่เพิ่งเริ่มเล่นหุ้น มักจะเริ่มลงทุนในการลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง หรือใช้วิธีในการติดตามเพจให้ความรู้หรือแนะนำหุ้นตามโซเชียลมีเดียทั่วไป เราก็อาศัยซื้อหุ้นตามคำแนะนำของกูรูหรือโบรกเกอร์ต่าง ๆ แต่เคยสงสัยไหม ? ว่าหุ้นอะไรที่เขาว่า ดีแต่พอเราซื้อทีไรทำไมติดดอยทุกที ปัญหานี้มักจะเกิดจากการที่เราเลือกเขาซื้อหุ้นผิดจังหวะนั่นเองทำให้หุ้นที่หลายคนบอกว่าดีก็จะกลายเป็นหนึ่งในคนที่ทำให้เราต้องติดดอยไปอีกนานเลยก็เป็นได้ หากคุณเป็นหนึ่งในนักลงทุนมือใหม่ ในบทความนี้มีตัวช่วยให้คุณลงทุนได้โปรมากขึ้น ด้วยมาแนะนำ 3 วิธีดูกราฟหุ้นเพื่อหาแนวโน้ม ฉบับเข้าใจง่าย ให้ทุกท่านได้ลองนำไปปรับใช้ในการช่วยจับจังหวะการลงทุนกัน

รู้จัก 3 วิธีดูกราฟหุ้นเบื้องต้น

https://img.moneyduck.com/article_attachment/1653379248-pexels-photo-6770609.png

การดูกราฟหุ้นให้เป็นจะช่วยให้การลงทุนของเราแม่นยำมากขึ้น ลดโอกาสขาดทุน ซึ่งมีวิธีเบื้องต้น ดังนี้

วิเคราะห์จากแนวรับ – แนวต้าน (Support & Resistance)

อาจคงเคยผ่านหูผ่านตากันมาบ้างกับคำว่าแนวรับ - แนวต้าน แต่สำหรับนักลงทุนมือใหม่อาจจะเป็นอะไรที่ยากจะเข้าใจสักนิดนึง ซึ่งเราจะมาช่วยอธิบายง่าย ๆ ถึงการใช้แนวรับแนวต้านในการดูแนวโน้มหุ้นกัน การวิเคราะห์แนวโน้มจากแนวรับ – แนวต้าน เบื้องต้น

แนวรับ คือ แนวที่หุ้นมีราคาต่ำสุดและมีคนต้องการซื้อเป็นจำนวนมากในช่วงหนึ่ง ทำให้ราคาหุ้นตัวนั้นมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลงและรับราคาหุ้นไว้ที่เท่านี้ ก่อนจะกลับตัวไปมีแรงซื้อที่เพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง หากราคาลงมาเส้นแนวรับแล้วหลุดเลยเส้นมีแนวโน้มสูงว่าราคาจะปรับลงแรง

แนวต้าน คือ แนวที่หุ้นมีราคาสูงสุดและมีคนต้องการขายเป็นจำนวนมากในช่วงหนึ่ง ทำให้ราคาหุ้นตัวนั้นมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงและต้านราคาหุ้นไว้ที่เท่านี้ ก่อนจะกลับตัวไปมีแรงขายที่เพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง หากราคาขึ้นไปเส้นแนวต้านแล้วหลุดเส้นแนวต้านมีแนวโน้มสูงว่าราคาจะปรับขึ้นแรง พูดแบบเข้าใจง่าย ก็คือ ถ้าราคาหุ้นเข้าใกล้แนวรับหรือแนวต้านมาก ๆ ก็มีแนวโน้มที่จะกลับตัวไปในทิศทางตรงกันข้ามนั่นเอง วิธีการดูกราฟหุ้นจากแนวรับ – แนวต้านควรดูปัจจัยอื่นร่วมด้วย เพราะไม่ได้มีหลักการรองรับ หรือชี้แนวโน้มได้แม่นยำเท่าไร นอกจากนี้ เรื่องของแนวรับ - แนวต้าน นับเป็นเรื่องของจิตวิทยาด้วย เพราะจริง ๆ จะแนวรับ - แนวต้านก็เกิดจากแรงซื้อ - แรงขายของคนหมู่มากนั่นเอง ถ้าหากคนส่วนใหญ่คิดว่าราคา ณ จุดนี้เป็นราคาต่ำสุดแล้วก็พากันซื้อ ทำให้ราคานั้นเกิดเป็นแนวรับหรือคิดว่าราคาหุ้นจะไม่ขึ้นไปสูงกว่านี้ ก็พากันเทขาย เกิดเป็นแนวต้านจริง ๆ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวรับ - แนวต้าน

วิเคราะห์จากเส้น EMA (Exponential Moving Average)

เรียกได้ว่าเป็นเทคนิคดูกราฟหุ้นยอดฮิตของเหล่านักลงทุนมือใหม่ที่พอมีความรู้อยู่บ้าง กับการดูการตัดกันขึ้น- ลงของเส้น EMA (Moving Average Crossing) ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการวิเคราะห์กราฟที่ช่วยให้เราเห็นแนวโน้มขาขึ้น ลงของหุ้นจากการตัดกันของเส้น EMA

โดยเส้น EMA คือ เป็นเส้นค่าเฉลี่ยการเคลื่อนที่แบบเอ็กโพเนนเชียล โดยคิดค่าเฉลี่ยจากราคาปิดหุ้นย้อนหลัง โดยถ่วงน้ำหนักช่วงวันท้าย ๆ เป็นหลัก ทำให้เส้นนี้ค่อนข้างแม่นยำในการแสดงการเคลื่อนไหวของราคาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการใช้วิธีดูการตัดกันของเส้น EMA มีทั้งสัญญาณจริงและสัญญาณหลอก ซึ่งถ้าเราไม่มีความรู้มากพอทำให้การลงทุนของเราผิดจังหวะได้ เราจึงควรดูตัวชี้วัดอื่นอย่าง รูปแบบราคาหรือกราฟแท่งเทียนประกอบการตัดสินใจด้วย

การวิเคราะห์เส้น EMA เบื้องต้น

เราสามารถใช้สูตรการคำนวณ EMA ได้หลากหลายระยะเวลา สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่

  • ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 15 วัน (ดูการเคลื่อนไหวหุ้นระยะสั้น)
  • ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 75 วัน (ดูการเคลื่อนไหวหุ้นระยะกลาง)
  • ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน (ดูการเคลื่อนไหวหุ้นระยะยาว)

วิธีการอ่านแนวโน้มเบื้องต้น มักจะใช้ EMA 2 ช่วงระยะเวลามาเปรียบเทียบกัน โดยส่วนใหญ่จะใช้ EMA ที่ 75 และ EMA ที่ 200 เพราะมีความแม่นยำค่อนข้างสูง

ดูแนวโน้มจากเส้น EMA ยังไง ?

  • ถ้าเส้น EMA ระยะสั้น ตัดขึ้นเหนือเส้น EMA ระยะยาวก็นับว่าเป็นสัญญาณหุ้นขาขึ้น เป็นจุดที่หุ้นมีแนวโน้มจะดีดตัวสูงขึ้น เป็นจุดที่น่าจับตาในการเข้าทำกำไร แต่เราขอแนะนำให้รอราคาหุ้นพักตัวก่อนสักนิดเพื่อป้องกันสัญญาณหลอก
  • ในทางตรงกันข้าม ถ้าเส้น EMA ระยะสั้น ตัดลงใต้เส้น EMA ระยะยาวก็นับว่าเป็นสัญญาณหุ้นขาลง เป็นจุดที่ราคาหุ้นจะมีการเปลี่ยนแนวโน้มและอาจจะมีแนวโน้มปรับตัวลงต่อเนื่อง นับว่าเป็นโอกาสดีที่จะช้อนไว้ถ้าเราเล็งเห็นราคาหุ้นจะดีดกลับขึ้นไปได้อีกครั้ง

วิเคราะห์จากปริมาณการซื้อ – ขายหุ้น (Volume)

และเทคนิคสุดท้ายในการดูกราฟหุุ้น ก็คือการดูความสัมพันธ์ของปริมาณการซื้อ – ขาย (Volume) ของหุ้นกับราคาหุ้นนั่นเอง ซึ่งเราอาจจะคุ้นหูกับคำพูดที่นักลงทุนชอบพูดคำว่า “วอลุ่มเข้า” โดย Volume จะเป็นตัวบ่งบอกความสนใจและพฤติกรรมการซื้อ-ขายของนักลงทุนในตลาดในแต่ละวัน ซึ่งปริมาณการซื้อถ้าดูร่วมกับการตัดกันของเส้น EMA ก็จะช่วยทำให้เราสามารถมั่นใจมากขึ้นได้ ว่าการขึ้นของหุ้นตัวที่สนใจไม่ได้เป็นสัญญาณหลอกหรือแค่หุ้นย่อตัวระยะสั้น แต่หุ้นปรับตัวขึ้นปรับตัวลงตามแนวโน้มจริง

การวิเคราะห์จาก Volume เบื้องต้น

Volume เข้า คือ มีปริมาณการซื้อ - ขาย มากขึ้นกว่าช่วงเวลาก่อนหน้า หรือก็คือนักลงทุนสนใจเข้ามาเล่นกัน ทำให้มีปริมาณซื้อขายเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับราคาหุ้น ดังนี้

  • ราคาปรับตัวขึ้น + ปริมาณซื้อขึ้น แสดงถึง ราคาขึ้นอย่างมีพลัง และมีโอกาสขึ้นต่อ
  • ราคาปรับตัวขึ้น + ปริมาณซื้อลด แสดงถึง ราคาขึ้นอย่างอ่อนพลัง
  • ราคาปรับตัวขึ้นมานาน + ปริมาณขายขึ้นอย่างมาก แสดงถึง ราคาอาจใกล้สิ้นสุดการขึ้น มีแนวโน้มการกลับตัวลงสูง
  • ราคาปรับตัวขึ้นถึงยอดเดิม + ปริมาณขายปัจจุบันน้อยกว่า Volume ยอดเก่าในอดีต แสดงถึง ราคาหุ้นอาจขึ้นต่อได้ยาก

และทั้งหมดนี้คือ 3 วิธีดูกราฟหุ้นเบื้องต้น ให้เหล่านักลงทุนมือใหม่ได้ลองนำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการหาจังหวะลงทุนกัน ยังไงก็ตามทั้ง 3 วิธีอ่านกราฟข้างต้นเป็นเพียงวิธีดูกราฟหุ้นเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งหากเราจะลดโอกาสเสี่ยงในการลงทุนให้น้อยที่สุดและเลือกจับจังหวะการลงทุนที่ใกล้ที่สุดได้ ก็จำเป็นต้องใช้ดัชนี อีกหลายตัวที่นำมาใช้ร่วมพิจารณาในการตัดสินใจได้ ไม่ว่าจะเป็น ADX, MACD หรือ RSI อีกด้วย หากต้องการคำแนะนำหรือความรู้เพิ่มเติม สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนจาก MoneyDuck ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ที่ลิงก์ล่างเลย