สำหรับนักเล่นหุ้นทุกคนแล้ว คำว่า แนวรับ - แนวต้าน แน่นอนว่าเป็นที่รู้จักกันดีว่า มีผลอย่างมากต่อการวางแผน การเทรด Forex หรือ เทรดหุ้น แต่สำหรับผู้ที่พึ่งเริ่มเข้าสู่วงการการตลาดหุ้นยอมต้องสนใจเรื่องนี้ด้วยเป็นธรรมดา เพื่อจะสามารถเพิ่มความคาดคะเนในหุ้นตัวนั้นของเรา และมีความเป็นมืออาชีพในสาขานี้มากขึ้น ซึ่งจะต่อยอดได้อีกมากมายด้วย ดังนั้น เราอยากจะนำเสนอว่าเหตุใดควรเข้าใจความหมายและที่มาของการเกิดแนวรับ-แนวต้าน เอาไว้ พร้อมทั้งสามารถวิเคราะห์ระดับราคาที่เป็นแนวรับ-แนวต้านด้วยตนเองได้ และทำความเข้าใจวิธีการใช้งานเครื่องมือชนิดนี้ได้อย่างถูกต้องด้วยนั่นเอง
คืออะไร
แนวรับ [ Support line ] เป็นเส้นที่จะช่วยให้เรา เปิด Buy ได้อย่างสบายใจเพราะราคาหุ้นจะผ่านจุดนี้ลงไปไม่ได้ เป็นแนวที่ราคาลงมาที่แนวเดิมซ้ำๆ ไม่ทะลุลง จึงเป็นระดับราคาที่มีความต้องการซื้อมาก ต่ำกว่าราคาในปัจจุบัน คาดการณ์ได้ว่าจะมีความต้องการซื้อเข้ามาอย่างหนักหรือมีคนสนใจซื้อเป็นจำนวนมาก ถ้าความต้องการซื้อมีเข้ามาที่ระดับราคาที่เป็นแนวรับจำนวนมากพอ ก็จะสามารถหยุดไม่ให้ราคาปรับตัวลดต่ำลงไปกว่าระดับราคาแนวรับ และอาจจะมีผลทำให้ราคาที่กำลังปรับตัวลดลงเกิดการกลับตัวจากขาลงเป็นขาขึ้น โดยการหาแนวรับนิยมหาตอนที่ราคากำลังปรับตัวลดลง
แนวต้าน [ Resistance line ] แน่นอนว่าแนวต้านก็จะตรงกันข้ามกับแนวรับ คือเป็นจุดที่หากราคาวิ่งขึ้นไปสูงสุดแล้วมันก็จะไม่วิ่งสูงเกินไปเกินกว่านี้ แนวแบบนี้ราคาจะขึ้นมาชนแนวเดิมซ้ำๆ จะไม่สามารถผ่านไปได้ โดยจะใช้หลักเทรนไลน์ยอดสูงสุด 3 ยอดมาเป็นตัววัดเส้นแนวต้าน จึงเป็นระดับราคาที่มีคนต้องการขายมาก มีระดับราคาที่สูงกว่าราคาปัจจุบัน ที่คาดการณ์ว่าจะมีความต้องการขายเข้ามาอย่างมาก คนสนใจขายเป็นจำนวนมาก ถ้าความต้องการขายมีเข้ามาจำนวนมากพอจะสามารถหยุดไม่ให้ราคาเพิ่มขึ้นไปมากกว่าระดับราคาที่เป็นแนวต้าน และทำให้ราคาที่กำลังปรับตัวสูงขึ้นกลับตัวจากขาขึ้นเป็นขาลงเช่นกัน โดยการหาแนวต้านนิยมหาตอนที่ราคากลับปรับตัวสูงขึ้น
สมมติฐานการเคลื่อนที่ของราคาหุ้นปัจจุบันนี้ สาเหตุที่ทำให้ราคาหุ้นมีการเคลื่อนไหวขึ้นหรือลง เกิดจากความแตกต่างระหว่างความต้องการซื้อหุ้นและความต้องการขายหุ้นของคนใจตลาด ถ้าช่วงใดความต้องการซื้อหุ้นของคนในตลาดมากกว่าความต้องการขายหุ้นจะส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น แต่ถ้าช่วงใดมีความต้องการขายของคนในตลาดมากว่าความต้องการซื้อราคาหุ้นก็จะปรับตัวลง ดังนั้น แนวรับและแนวต้าน ไม่จำเป็นต้องลากผ่านที่จุดต่ำสุดหรือสูงสุดไปเลยเท่านั้น แต่ควรผ่านหลายๆจุดที่จะมีนัยสำคัญมากกว่า เพราะเมื่อราคาทะลุแนวต้าน แนวต้านเดิมนั้นจะกลายเป็นแนวรับ และเราจะสามารถคาดการณ์ราคาเป้าหมายในอนาคตได้ เมื่อยกระยะความสูงระหว่างแนวรับแนวต้านเดิมนั้น ไปวางที่แนวรับอันใหม่แล้ววัดขึ้นไป ก็จะได้เป้าหมายของราคาหุ้นในอนาคตมาแน่นอน
ประโยชน์ของเส้น แนวรับ แนวต้าน และอินดี้
หากจะต้องการหาจุดในการเปิดสัญญา Buy หรือ สัญญา Sell ก็ดูว่าราคาเข้าใกล้สู่เส้นแนวรับแนวต้านมากน้อยแค่ไหน แต่ต้องดูพร้อมกันไปกับอินดี้ตัวอื่น ๆ ด้วย ช่วยให้มองเห็นกรอบราคาของการวิ่งไปได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ส่วนใหญ่จึงมักจะลากทั้งเส้นแนวรับและเส้นแนวต้านไปพร้อมๆกัน สามารถหาเส้นแนวรับแนวต้านได้ด้วยการใช้ Fibonacci จะช่วยในการทำนายกรอบแนวรับแนวต้านได้ค่อนข้างแน่นอน และช่วยในการวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด การลากเส้นเทรนไลน์ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้หาแนวรับแนวต้านได้ โดยการกำหนดยอด สูงสุดของราคา 3 จุดแล้วลากเส้น หรือ ยอดต่ำสุดของราคา 3 จุดแล้วลากเส้นจะทำให้เห็นได้ว่ามีแนวรับแนวต้านอย่างไรบ้าง การใช้เส้น MA และ SMA ในการหาแนวรับและแนวต้าน ถือเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและได้ข้อสรุปที่มีความแม่นยำสูง
เกิดขึ้นได้อย่างไร
แนวรับ คือ ระดับราคาที่คาดว่าจะมีความต้องการซื้อเข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีอะไรการันตีได้ว่าแรงซื้อจำนวนมากที่แนวรับ มีผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นตลอด. ส่วนแนวต้าน คือ ระดับราคาที่คาดว่าจะมีความต้องการขายเข้ามาเป็นจำนวนมาก และก็ไม่มีอะไรการันตีได้อีกเช่นเดียวกันว่าแรงขายจำนวนมากที่แนวต้าน จะทำให้ราคาปรับตัวลดลงมาแน่นอน. แต่เมื่อราคาปรับตัวลงมาที่ระดับราคาแนวรับ หรือราคาเพิ่มสูงขึ้นไปที่ระดับราคาแนวต้าน จะเป็นบริเวณที่แรงซื้อกับแรงขายยกพวกจำนวนมากมาต่อสู้กัน สิ่งที่ควรทำเมื่อราคามาถึงที่แนวรับ หรือแนวต้าน คือ เราควรจะอยู่เฉย ๆ อย่าเพิ่งรีบร้อนลงมือซื้อขาย เพราะเราไม่รู้ว่าเหตุการณ์ในอนาคตจะออกมาทางไหนและไม่ควรเข้าไปร่วมกับการต่อสู้ระหว่างแรงซื้อกับแรงขายทันทีในขณะที่กำลังต่อสู้กัน เพราะมันเหมือนกับการแทงสูงต่ำ โอกาสแทงถูก 50-50 จึงควรรอให้รู้ผลการต่อสู้ระหว่างแรงซื้อกับแรงขายว่าฝั่งไหนเป็นฝั่งชนะก่อนดีกว่า แล้วลงมือซื้อขาย เมื่อหุ้นปรับตัวลงมาที่บริเวณระดับราคาที่เป็นแนวรับ จะเกิดสถานการณ์ “ราคาหุ้นปรับตัวเด้งขึ้นจากแนวรับ” และ “ราคาหุ้นปรับตัวลงทะลุแนวรับ” มีโอกาสเกิดได้ 2 กรณี คือ ถ้าแรงขายที่แนวรับมีมากกว่าแรงซื้อ ราคาจะปรับตัวลดลงต่อ ถ้าแรงซื้อที่แนวรับมีมากกว่าแรงขาย ราคาจะปรับตัวสูงขึ้น และสำหรับแนวต้าน เมื่อหุ้นปรับตัวลงมาที่แนวต้าน จะเกิด “ราคาหุ้นปรับตัวลดลงไม่ผ่านแนวต้าน” และ “ราคาหุ้นทะลุแนวต้านขึ้นไป” ได้ 2 กรณีเช่นกัน คือ ถ้าแรงขายที่แนวต้านมีมากกว่าแรงซื้อ ราคาจะปรับตัวลดลง แรงซื้อที่แนวต้านมีมากกว่าแรงขาย ราคาจะปรับตัวสูงขึ้นต่อ
กราฟเป็นเช่นไร รูปแบบไหน
กราฟที่ส่งผลในเชิงจิตวิทยาของคนที่เข้ามาซื้อขายหุ้นในตลาด มีทั้งหมด 5 รูปแบบ คือ
จุดสูงสุดหรือจุดต่ำสุดก่อนหน้า (PREVIOUS HIGH & PREVIOUS LOW)
คือ ระดับราคาที่เป็นราคาสูงสุด หรือระดับราคาที่เป็นราคาต่ำสุดที่อยู่ในกราฟจากการเคลื่อนที่ของราคาในอดีต ทั้งสองระดับราคาจะเป็นจุดสำคัญที่จะพิจารณาเป็นแนวรับหรือแนวต้าน ซึ่งเมื่อราคากลับขึ้นไปใกล้บริเวณจุดสูงสุดเดิมก่อนหน้าอีกครั้ง คนส่วนใหญ่จะเกิดความคิดว่าราคาจะปรับตัวลดลงไปอีกเหมือนครั้งที่แล้วจึงมีแรงเทขายหุ้นออกมาเป็นจำนวนมากที่ระดับราคานี้ ทำให้จุดสูงสุดก่อนหน้าจะเป็นระดับราคาที่เราจะพิจารณาให้เป็นแนวต้าน แต่ถ้าเมื่อราคาปรับตัวลงมาถึงจุดต่ำสุดก่อนหน้านี้จะมีหลายคนในตลาดจะคิดว่าเป็นราคาถูกแล้ว และคิดว่าราคาจะกลับขึ้นไปอีกครั้ง ก็น่าจะมีแรงซื้อเข้ามาเป็นจำนวนมากที่ระดับราคานี้ ทำให้จุดต่ำสุดก่อนหน้าจะเป็นระดับราคาที่เราพิจารณาให้เป็นแนวรับได้
-
เส้นแนวโน้ม (TREND LINE)เมื่อเราลากเส้นแนวโน้มขึ้นมาได้ 1 เส้นไม่ว่าจะเป็นเส้นแนวโน้มขาขึ้น หรือเส้นแนวโน้มขาลง ตลอดช่วงที่ลากเส้นแนวโน้มขึ้นมาได้จะไม่มีช่วงไหนเลย ที่ราคาข้ามเส้นแนวโน้ม แต่ถ้าราคาถูกตัดข้ามผ่านเส้นแนวโน้มไปได้ ก็เป็นสัญญาเตือนว่าทิศทางของราคาอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงจากทิศทางที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็จะเป็นระดับราคาที่หลายคนให้ความสนใจอยากจะซื้อหุ้น แต่ก็มีสัญญาณทางเทคนิคอื่น ๆ ประกอบเพิ่มเติม เพื่อสรุปว่ามีแรงซื้อเข้ามาและจะทำให้ราคากลับตัวขึ้นได้หรือไม่ อาจวาดเส้นแนวโน้มที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้งก็ได้ โดยใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัด (Indicators) ประเภทหนึ่ง เมื่อเลือกค่าตัวแปรที่เหมาะสมของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สำหรับหุ้นแต่ละตัว ราคาเคลื่อนที่เข้ามาใกล้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่นั้น ๆ จะสามารถพิจารณาให้เป็นแนวรับหรือแนวต้านได้
-
ระดับราคาที่มีการเคลื่อนที่ในแนวราบ (HORIZONTAL CONSOLIDATION REGION : HCR) เป็นกราฟที่มีการซื้อขายกันในช่วงราคาแคบ ๆ แต่กินระยะเวลานาน แสดงว่า ในอดีตน่าจะมีคนจำนวนมากที่เคยซื้อ หรือเคยขายหุ้นในราคานี้เป็นจำนวนมากถ้าราคาในอดีตปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับราคาที่ทำกราฟเป็นรูปแบบ HCR จะต้องมีคนจำนวนไม่น้อยที่เคยขายหุ้นตัวนี้ไปในช่วงที่ราคาเคลื่อนที่ในกรอบแคบ ๆ ที่กินระยะเวลานานนั้น แล้วมีความรู้สึกเสียดาย เพราะว่าตัวเองขายหุ้นไปในราคาถูก คิดว่าน่าจะถือหุ้นตัวนั้นไว้นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนในตลาดกลุ่มอื่นอีกจึงเป็นที่มาของการพิจารณา HCR เป็นแนวต้านถ้าในอดีตราคามีการปรับตัวลดลงจาก HCR
-
ตัวเลขกลม ๆ (ROUND NUMBER) เมื่อเราต้องการซื้อหุ้นหรือเวลาที่ต้องการขายหุ้น ก็จะตั้งราคาไว้ที่ราคาใดต่อไปนี้ ระหว่าง 70 บาท หรือ 69.75 บาท หรือ 70.25 บาท แต่จริงๆแล้ว คนส่วนใหญ่มักจะตั้งราคาที่อยากจะซื้อ หรือ ราคาที่อยากจะขายไว้ที่ตัวเลขกลม ๆ คือ 70 บาท ด้วยกันทั้งนั้น ราคาเป็นตัวเลขกลม ๆ ที่ลงท้ายด้วย 0 เป็นจุดที่คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจอยากลงมือซื้อหุ้นหรือขายหุ้น ทำให้ระดับราคาบริเวณตัวเลขกลม ๆ มีนัยสำคัญใช้พิจารณาเป็นแนวรับ-แนวต้านเชิงจิตวิทยาด้วยเช่นกัน
-
สัดส่วนฟิโบนาชี่ (FIBONACCI RATIO) มีวัตถุประสงค์เพื่อหาระดับราคาที่เป็นแนวรับ-แนวต้านและมีคนนำไปใช้กันเยอะ ก็เลยเป็นระดับราคาที่มีคนจำนวนมากให้ความสนใจได้ เวลาที่ราคามีพักฐานในช่วงแนวโน้มขาขึ้นหรือ Rebound ในช่วงแนวโน้มขาลง จึงจบการพักฐาน หรือจบการ Rebound ที่สัดส่วน Fibonacci สัดส่วนใดสัดส่วนหนึ่งได้แก่ 0 , 0.382 (38.2%) , 0.500 (50%) , 0.618 (61.8%) , 0.764 หรือ 0.786 (76.4% หรือ 78.6%) , 1.000 (100%) นักเทคนิคจึงมีการนำ Fibonacci Ratio มาใช้หาระดับราคาที่เป็นแนวรับ-แนวต้าน ด้วยวิธี Retracement (การปรับฐาน) ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในการหาแนวรั บตอนตลาดพักฐานในช่วงแนวโน้มขาขึ้น และหาแนวต้านตอนตลาด Rebound ในช่วงแนวโน้มขาลงได้
วิธีใช้ซื้อขายอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
-
หลังจากที่รู้ผลการต่อสู้กันระหว่างแรงซื้อกับแรงขายแล้ว ก็น่าจะตัดสินใจได้ถูกมากยิ่งขึ้น หรือ ‘ขึ้นรับลงต้าน’ ถ้าหุ้นเป็น “ขาขึ้น” ควรตีแนวรับเพื่อคอยดูอย่าให้หลุดแนวรับ เพราะไม่เช่นนั้นมันอาจเป็นการเปลี่ยนทิศเป็น “ขาลง” โดยลากเส้นเชื่อมโยงจุดต่ำสุด 2 จุดเป็นอย่างน้อยเข้าไว้ด้วยกันส่วนถ้าหุ้นเป็น “ขาลง” เราจะตีแนวต้านไว้เพื่อคอยดูจังหวะที่มันจะทะลุแนวต้านได้ ซึ่งถ้าทะลุได้ หุ้นก็มีโอกาสกลับตัวเป็นขาขึ้น วิธีลากเส้นคือ ลากเชื่อมโยงจุดสูงสุด 2จุดเป็นอย่างน้อยเข้าด้วยกัน ตีกรอบ Trendline เพื่อนำมาคาดคะเนแนวการวิ่งของราคา ทั้งแนวรับและแนวต้าน
-
ในกรณีที่ราคาหุ้นขึ้นสูงจนเส้นเกิดความชัน ราคาก็หลุดทะลุแนวต้านขึ้นไป เราอาจตี horizontal line(เส้นแนวนอน) ดักไว้ ณ จุดสูงขึ้นไปเพื่อเป็นแนวต้าน คือเมื่อหลุดก็คอยลุ้นแนวต้านถัดไป ส่วนการเลือกจุดวางเส้นแนวนอนนั้น ส่วนใหญ่จะเลือกจุดที่มีการ swing high หรือ swing low หากการตกของราคาอย่างรุนแรงมาถึง ณ ระดับราคาหนึ่งแล้วราคาก็เด้งกลับขึ้นไป แสดงให้เห็นถึงความมีนัยยะของราคาด้วย
-
ใช้ indicator มาเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ ว่าควรขายหรือไม่ ซึ่งแต่ละคนจะมีการรับความเสี่ยงที่ไม่เท่ากัน เช่น Stoch เข้าสู่ Overbougthแล้ว บางคนอาจรอขายเมื่อ Stoch ตัดออกจากเขตOverbought ก็เป็นได้ หรืออาจใช้สัญญาณจาก rsi ตัดลงเส้น70 หรืออาจใช้สัญญาณ MACD ตัด Signal Lineจึงจะขายให้ได้ในจุดที่ตัวเองคิดว่าเป็นจุดสูงสุดแล้ว การเลือกจังหวะขายออก จึงเป็นเรื่องของการวิเคราะห์เอง
-
จะไม่ได้ซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำที่สุด เพราะเราต้องรอให้ราคาปรับตัวเพิ่มจากแนวรับจนถึงจุดที่มั่นใจว่าแรงซื้อชนะแรงขายแล้ว จึงค่อยซื้อหุ้น และจะไม่ได้ขายหุ้นในราคาที่สูงที่สุดเพราะต้องราให้ราคาปรับตัวลดลงจากแนวต้านจนถึงจุดที่มั่นใจว่าแรงขายชนะแรงซื้อด้วยเช่นเดียวกัน
-
แนวโน้มการเคลื่อนที่ของราคา (Trend Following) คือ ทิศทางของแนวโน้ม การใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ ทางเทคนิคทุกประเภท จะให้ดีต้องใช้งานให้สอดคล้องกับทิศทางของแนวโน้ม ถ้าราคาหุ้นมีทิศทางของแนวโน้มเป็นขาขึ้น แนวรับจะต้องรับอยู่เสมอ ส่วนแนวต้านจะต้องโดนเบรกเสมอ ไม่เช่นนั้น กราฟจะไม่เป็นทิศทางขาขึ้น ทำให้ในทิศทางแนวโน้มขาขึ้น แนวรับจะมีความสำคัญมากกว่าแนวต้าน ทางกลับกันถ้าราคาหุ้นมีทิศทางของแนวโน้มเป็นขาลง แนวต้านจะต้องต้านอยู่เสมอ ส่วนแนวรับจะต้องโดนเบรกเสมอ ไม่เช่นนั้น กราฟก็จะไม่เป็นทิศทางขาลง ทำให้ในทิศทางแนวโน้มขาลง แนวต้านจะมีความสำคัญมากกว่าแนวรับ
สรุป
เราจะเห็นว่า การวิเคราะห์หาแนวรับ-แนวต้านมีวัตถุประสงค์เพื่อบอกระดับราคาที่น่าสนใจในการหาจังหวะเทรดหุ้นให้กับเราได้ โดยวิธีการหาระดับราคาในเชิงจิตวิทยาที่จะมีคนจำนวนมากในตลาดสนใจซื้อ(แนวรับ) หรือสนใจขาย(แนวต้าน) จะมีกราฟราคาที่น่าสนใจให้พิจารณาเป็นแนวรับ-แนวต้าน ได้แก่ จุดสูงสุดหรือจุดต่ำสุดก่อนหน้า (Previous High & Previous Low) เส้นแนวโน้ม เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Trend Line, Moving Average) ระดับราคาที่มีการเคลื่อนที่ในแนวราบ (Horizontal Consolidation Region) ตัวเลขกลม ๆ (Round Number) สัดส่วน Fibonacci (Fibonacci Ratio) แต่เมื่อราคามีการเคลื่อนที่เข้ามาใกล้ระดับราคาที่เป็นแนวรับหรือแนวต้าน แล้ว เราก็ควร ให้รอดูผลการต่อสู้ระหว่างแรงซื้อกับแรงขายให้เสร็จก่อนแล้วค่อยลงมือตามทิศทางที่เป็นฝ่ายชนะ เพื่อเพิ่มโอกาสในการตัดสินใจที่ถูกต้อง แต่ก็ต้องยอมรับว่าในสถานการณ์จริงแล้วเราอาจจะม่สามารถซื้อหุ้นในราคาที่ถูกที่สุด หรือไม่ได้ขายหุ้นในราคาที่แพงที่สุดได้เสมอไป แต่สิ่งสำคัญที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไรมากขึ้นให้เราคือการใช้งานเครื่องมือให้สอดคล้องกับทิศทางของแนวโน้มด้วย โดยการให้ความสำคัญกับแนวรับมากกว่าเมื่อทิศทางราคาเป็นขาขึ้น และให้ความสำคัญกับแนวต้านมากกว่าเมื่อทิศทางราคาเป็นขาลงนั่นเอง.
Norrapon
ผมชอบความรู้เรื่องการซื้อหุ้นอย่างมีประสิทธิภาพที่แนะนำมาในบทความนี้มากๆเลย เพราะหลายครั้งที่ผมมักลงทุนแบบไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าไหร่เพราะไม่รู้จะหาข้อมูลการลงทุนแบบมีรายละเอียดได้จากที่ไหน ตอนนี้ผมพอจะได้ข้อมูลบ้างแล้วจากบทความนี้ขอบคุณมากครับ หวังว่าจะช่วยให้การตัดสินใจซื้อขายหุ้นของผมนั้นได้กำไรเพิ่มขึ้นบ้างเอาไปลองใช้ดูก่อนครับ
Kantsak
เข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับวิธีการดูแนวรับแนวต้าน ของราคาหุ้นครับ ช่วยเราในการเทรดขายหุ้นได้ในราคาที่ดีและเวลาที่ดีด้วย ผมไม่เคยคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้เลยนะครับพอได้อ่านบทความนี้ช่วยผมเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับ การเฝ้าสังเกตดูหุ้นและการดูระยะเวลาที่เราจะทำการเขตขาย บทความแบบนี้ดีมากเลยครับ ทำให้ดูเหมือนว่าการเล่นหุ้นไม่ใช่เรื่องยากเลย
สมหมาย
น่าเห็นใจคนที่เล่นหุ้นนะครับ เพราะว่านอกจากจะต้องลงทุนแล้วยังต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเส้นกราฟการลงทุนและการได้รับผลกำไรด้วย เหมือนกับบทความนี้ได้อธิบายเกี่ยวกับแนวรับ และแนวต้าน เพื่อช่วยให้นักลงทุนหรือนักเล่นหุ้นสามารถมองออกถึงผลกำไรที่จะได้รับ จากการเปลี่ยนแปลงของหุ้นที่ถืออยู่ เพื่อที่จะรู้ว่าเวลาไหนควรใช้แนวรับแนวต้านครับ
Kanmanee
บทความนี้คงถูกใจคนเล่นหุ้นน่าดู มีข้อมูลพร้อมกับคำแนะนำด้วย เราไม่ได้เล่นหุ้น เห็นหัวข้อแนวรับ-แนวต้านในหุ้น เลยอยากรู้ว่ามันคืออะไรค่ะ เข้ามาอ่านแล้วก็ อ๋อ!...อะไรอะ? ไม่เป็นไรถ้าคนที่เขาเล่นหุ้นอยู่แล้วเข้าใจแสดงว่าบทความนี้เขาเขียนมาดี เราคงต้องไปลองดูการลงทุนแบบอื่นดูนะ คงจะมีสักอย่างที่เหมาะกับเราค่ะ
สตาร์
อ่านยังไงก็ยังไม่เข้าใจครับ คิดว่าคงไม่ได้เกิดมาพร้อมที่จะลงทุนแบบนี้แน่ๆเลยครับ เรื่องการเล่นหุ้น มันไม่ได้แค่เป็นเรื่องเล่นๆเหมือนชื่อจริงนะครับ มันต้องศึกษา หาความรู้มากๆจริงๆครับ ต้องขยันไม่ยอมอยู่กะที่จริงๆ ผมยอมรับเลยครับว่าคนที่ลงเล่นหุ้นได้ ต้องมีความมานะอดทนจริงๆครับ อย่างเช่น เรื่องในบทความนี้ เขาต้องเข้าใจเรื่องแนวโน้ม ที่มันอาจเกิดในวันข้างหน้าได้
ปราบ
จริงๆก็ไม่ได้เข้าใจยากนะครับบทความนี้ ผมกลับชอบหัวข้อที่บอกว่าเราจะซื้อขายหุ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไรซะอีก ผมว่าเขาเขียนมาแบบเข้าใจง่าย และอ่านง่ายดีบอกหมดว่าจะต้องทำยังไงมีวิธีให้เลือกทำตามหลายวิธี ผมว่าผมเอาไปใช้ได้เลยครับ ใครยังไม่เข้าใจก็ลองเลือกเอาบางเรื่องที่อยากรู้อ่านตรงนั้นให้ละเอียดอีกครั้งก็ได้นะครับ
คุณลุง
ผมจะสรุปง่ายๆเกี่ยวกับแนวรับแนวต้านนะครับ แนวรับ - แนวต้าน เป็นกราฟเบื้องต้นที่นักคนที่เล่นหุ้นควรที่จะต้องรู้ พูดง่ายๆว่าแนวรับ แนวต้าน คือ "เป้า" ของราคาหุ้น ไม่ได้เป็น "เป้าหมาย" ของราคา แต่สิ่งนี้บ่งบอกความน่าจะเป็นที่หุ้นอาจจะมีแรงซื้อเข้ามาขาย หรือแรงขายมากจนทำให้หุ้นลงได้ ดังนั้นเราควรใช้ควบคู่กับเครื่องมือชนิดอื่นด้วย
วีระ
ผมเองตอนนี้ก็เพิ่งจะเริ่มลงทุนครับ กำลังศึกษาเรื่องลงทุนอยู่ ตอนนี้ตัวที่ลงทุนอยู่ก็คือพวกกองทุนรวมเห็นว่าเหมาะสำหรับมือใหม่ดี แต่ว่ายังไม่กล้าลงทุนในหุ้น แล้วก็เพิ่งรู้นี่แหละครับว่าการลงทุนในหุ้นเนี่ยมันมีวิธีแบบแนวรับแนวต้านด้วย ถ้าศึกษาเรื่องนี้ก็จะช่วยให้ผมซื้อหุ้นลงทุนหุ้นได้อย่างสบายใจ แต่กว่าจะเซียนได้ระดับนั้นคิดว่าคงต้องศึกษาเรื่องนี้ไปอีกสักพักใหญ่ๆเลยล่ะครับ
อนันยช
เล่นหุ้นมันช่างมีอะไรมากมาย เยอะไปหมด อ่านจนตาลายไปหมดแล้วครับ นี่ขนาดยังไม่ได้ลงเล่นหุ้นยังปวดหัวขนาดนี้เลยนะครับ นี่ถ้าลงเล่นหุ้นด้วยแล้วต้องมาเรียนเรื่องพวกนี้ด้วย รับรองตายแน่นอนครับ ที่ปวดหัวนักคืออ่านบทความนี้ครับ มันไม่มีรูปภาพอะไรเลยครับ ผมนึกภาพไม่ออกเลยครับ ไอ้เส้นแนวรับแนวต้านมันเป็นเส้นแบบไหน
สิน
คนที่เล่นหุ้นจำเป็นต้องรู้เรื่องนี้ครับแนวรับแนวต้าน ที่จะสามารถช่วยตัวเองในการที่จะรู้การเคลื่อนไหวและการเล่นหุ้น คนที่ทำการลงทุนกับหุ้นจำเป็นต้องอ่านบทความนี้เลยครับ เพราะจะช่วยเสริมความรู้ทำให้เรารู้เกี่ยวกับวิธีการลงทุนกับหุ้นอย่างมีประสิทธิภาพ แล้วไม่ว่าเราจะเลือกหุ้นตัวไหนเราจะได้รู้แนวรับแนวต้านตอนที่ควรจะลงทุน
//Bancha\\
มีเรื่องให้คนที่สนใจเล่นหุ้นมาเรียนรู้กันเยอะเลยนะครับ เข้ามาอ่านเรื่องแนวรับ แนวต้าน เอาจริงๆผมเองก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ มีใครเป็นเหมือนผมมั้ยครับ ไม่เคยเล่นหุ้นน่ะ เลยไม่ค่อยรู้จักพวกคำศัพท์ที่เกี่ยวกับการเล่นหุ้น ก่อนที่ใครคนนึงจะตัดสินใจเล่นหุ้น ต้องศึกษาหาความรู้และหาข้อมูลเยอะมากเลยนะครับ มีเงินอย่างเดียวไม่ได้
อดิรัตน์
เรื่องหุ้นนี้ ยิ่งเราอ่านยิ่งเรื่องราวเยอะมากๆ ตอนแรกๆที่เราอ่านแล้วก็ศึกษาเรื่องเล่นหุ้น ก็คิดว่าเข้าใจเกลือบจะทั้งหมดแล้วนะ พอศึกษาแบบเจาะลึก โห่ มันเป็นอะไรที่ต้องใช้เวลาเยอะมากในการเรียนรู้ ใช่ว่ารู้วิชาการทุกอย่างแล้วสามารถเล่นได้เลย เราต้องไปศึกษาคนที่เขาเล่นเก่ง ว่ามีเทคนิคยังไงในการเลือกซื้อหรือว่าเลือกที่จะขาย
ธนัญญา
อ่านตอนแรกคิดว่า เกี่ยวกับกีฬา รักบี้ อีกนะคะ มีทั้งแนวรับ - แนวต้าน คล้ายๆกันเลยคะ เรื่องหุ้น ต้องบอกตามตรงเลยคะ ว่าหนู่ยิ่งพยายามทำความเข้าใจมากเท่าไรก็ยิ่งรู้ว่าตัวเองไม่มีความรู้เอาเสียเลยคะ เข้าใจอย่างหนึ่ง แต่มาเจออบบนี้ ก็งง เอ้า มันมีเรื่องแบบนี้ด้วยเหรอ แบบนี้ ถ้าหนูอยากมีความรู็มากๆ คงต้องไปหาที่เรียนแล้วละคะ
-Noona-
มีแต่คำศัพท์อะไรก็ไม่รู้เยอะแยะไปหมดเลยค่ะ คนที่อยากเล่นหุ้นต้องเรียนรู้คำศัพท์และความหมายของคำเหล่านี้อย่างดีจริงๆ ไม่งั้นคุยกับเขาไม่รู้เรื่อง เราว่านะคุยไม่รู้เรื่องก็แย่แล้ว ถ้าเทรดหุ้นโดยที่ไม่รู้และไม่เข้าใจเรื่องพวกนี้จะแย่เข้าไปใหญ่เลยนะคะ ขาดทุนแน่ๆเลยอะ กว่าจะมาเล่นหุ้นได้ มันไม่ง่ายเลยจริงๆ