บัตรเครดิต เป็นตัวช่วยในการใช้จ่ายที่ดีที่หลายๆ คนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ด้วยข้อดีที่ว่าเราสามารถใช้บัตรเครดิตใช้จ่ายแทนเงินสดได้ รวมถึงเมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเรายังได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ อีกมากมาย จึงทำให้หลายๆ คนเลือกที่จะใช้บัตรเครดิตในการใช้จ่ายมากกว่าการจ่ายด้วยเงินสด แถมการพกบัตรเครดิตก็เป็นการลดความเสี่ยงที่เราต้องถือเงินสดจำนวนมากติดตัวอีกด้วย สะดวกสบายและปลอดภัย แต่สำหรับบางคนที่อยากสมัคร อาจจะไม่ทราบว่ามีอะไรบ้างที่อาจจะทำให้เราสมัครบัตรเครดิตไม่ผ่าน บทความนี้จะช่วยให้รู้และเข้าใจมากขึ้น รวมถึงจะช่วยให้เตรียมตัวก่อนไปสมัครด้วยครับ

สำหรับข้อดีของบัตรเครดิต อย่างเช่น

สำหรับข้อดีของบัตรเครดิต อย่างเช่น

1.พกพาได้ง่ายกว่าการพกเงินสด 2.สามารถซื้อสินค้าหรือบริการได้ทันทีแม้เรามีเงินสดไม่พอ หรือกรณีที่ไม่ต้องการจ่ายเงินสด 3.ได้รับส่วนลดพิเศษจากการซื้อสินค้าหรือบริการ ณ ร้านที่เข้าร่วมรายการกับบัตรเครดิตที่เราใช้อยู่ 4.สามารถสะสมคะแนนจากทุกการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของเรา เพื่อนำไปซื้อสินค้าหรือแลกของรางวัลต่างๆ 5.สามารถทำการหักค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าไฟ หรืออินเทอร์เน็ต เป็นต้น ผ่านบัตรเครดิตได้ 6.สามารถถอนเงินสดออกมาจากบัตรเครดิตได้ในกรณีที่เรามีเงินสดไม่พอ เช่น เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น เป็นต้น บัตรเครดิตนั้นมีโปรโมชั่นส่งเสริมการขายและการใช้จ่ายของเรามากมาย เช่น คืนเงินเราเมื่อเติมน้ำมันรถยนต์ เป็นต้น 7.สามารถใช้จ่ายในต่างประเทศได้ในกรณีที่เราเปิดบริการส่วนนี้ไว้ ซึ่งทำให้เราไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมากๆ ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของเรา 8.สามารถผ่อนจ่ายสินค้า ในอัตราดอกเบี้ย 0 % ได้ ส่วนระยะเวลาในการผ่อนนั้น ตามแต่โปรโมชั่นสินค้าที่เราต้องการซื้อ

ประวัติเครดิตบูโร

ประวัติเครดิตบูโร

นี่เป็นสิ่งแรกที่ทุกธนาคารจะตรวจสอบ คือ การตรวจสอบประวัติทางการเงินกับ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ เครดิตบูโร ว่าเรามีประวัติทางการเงินที่ดีหรือไม่ เครดิตบูโรจะทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเครดิต ซึ่งมีทั้งประวัติการชำระหนี้ที่ดีและไม่ดีของเรา ตามที่สถาบันการเงินแต่ละแห่งส่งข้อมูลมาให้ทุกๆ เดือน หากทางสถาบันการเงินที่เราไปยื่นสมัครบัตรเครดิต ตรวจพบว่าเรามีประวัติการค้างชำระหนี้ หรือมีการผิดนัดชำระหนี้กับสถาบันการเงินอื่นๆ มาก่อน ก็สามารถปฏิเสธการสมัครนั้นได้ครับ สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาการค้างชำระหนี้ก็คือ ติดต่อไปยังสถาบันการเงินที่เราเคยเป็นหนี้ เพื่อชำระหนี้ที่ค้างให้หมด จนยอดหนี้เป็น 0 บาท แต่ถ้าใครมีหนี้ค้างจำนวนมาก ก็ควรที่จะทำการเจรจาต่อรองเพื่อขอลดหนี้ ตามเงื่อนไขของสถาบันการเงินนั้นๆ ได้ หลังจากนั้นก็ต้องรอจนครบ 3 ปี เพื่อให้ประวัติเสียเหล่านั้นทยอยลบออกไป และเริ่มสร้างประวัติใหม่ สร้างวินัยที่ดี ชำระหนี้ให้ตรงเวลา ไม่ผิดนัดชำระหนี้อีก

รายได้ประจำต่อปีไม่ถึง

รายได้ประจำต่อปีไม่ถึง

จากที่เราทราบกันอยู่แล้วว่า การที่จะสมัครบัตรเครดิตหรือสมัครขอสินเชื่อใดๆ ก็ตาม ผู้สมัครจะต้องมีรายได้ขั้นต่ำอยู่ที่ 15,000 บาทต่อเดือน หรือ 180,000 บาทต่อปี ตามหลักเกณฑ์ของแบงค์ชาติ แต่อาจมีบางสถาบันการเงินที่ระบุว่าเพียงมีรายได้ตั้งแต่ 10,000 บาท ต่อเดือน ก็สามารถยื่นใบสมัครบัตรเครดิตได้ แต่เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่บัตรเครดิตจะได้รับการอนุมัติ อีกหนึ่งอย่างที่สำคัญมากๆ ในส่วนของเงินเดือนก็คือ แหล่งที่มาของเงินเดือน หรือก็คือ ทางธนาคารจะตรวจสอบว่าคุณมีรายได้มาจากอะไร และผ่านช่องทางใด ซึ่งสำหรับคนที่ได้รับเงินเดือนโดยการโอนเข้าบัญชีธนาคารอัตโนมัติทุกๆ เดือน ก็จะสามารถพิสูจน์แหล่งที่มาของรายได้ได้ง่าย และมีน้ำหนักมากกว่าคนที่ได้รับเงินเดือนเป็นเงินสด

สำหรับแนวทางแก้ไข หากเราเงินเดือนไม่ถึง การทำบัตรอย่างอื่นก็เป็นทางเลือกที่ดี อย่างเช่น บัตรเดบิต คือ บัตรที่สามารถรูดซื้อของได้โดยเอาเงินในบัญชีเป็นหลัก มีเงินในบัญชีเท่าไรก็ใช้ได้เท่านั้น หรือ บัตรกดเงินสด เป็นบัตรที่จะทำให้เรามีวงเงินสดติดตัวไว้ก่อนที่ตู้เพื่อเอามาใช้จ่าย อนุมัติง่ายกว่า แต่ดอกเบี้ยแพงกว่าบัตรเครดิต ส่วนการหางานใหม่เพื่อเพิ่มรายได้อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายนักเพราะคนตกงานเยอะมาก อีกวิธีหนึ่งที่คนที่เงินเดือนไม่ถึง สมัครบัตรเครดิตไม่ผ่านต้องไปลองทำดูนั่นก็คือ ให้ลองยื่นเอกสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายได้ที่เราสามารถหาเพิ่มได้ เช่น งานพิเศษ งานค้าขาย เป็นต้น รายได้พิเศษเหล่านี้หากมากพอและมีเงินเข้าเป็นประจำ ก็อาจจะมีแนวโน้มให้ทางธนาคารที่จะอนุมัติเห็นได้ว่าเรามีรายได้จากทางอื่นนอกเหนือจากงานประจำที่ทำให้เราสามารถรับผิดชอบบัตรเครดิตที่จะทำได้

รายได้ไม่แน่นอน

รายได้ไม่แน่นอน

ในเกือบทุกคุณสมบัติของผู้สมัครบัตรเครดิตที่ถูกกำหนดเกือบทุกธนาคารในส่วนของอาชีพก็คือ พนักงานราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชน และเจ้าของกิจการ ซึ่งโดยส่วนใหญ่กลุ่มอาชีพเหล่านี้มักจะได้รับเงินเดือนโดยการโอนผ่านบัญชีธนาคาร ส่วนผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ เช่น ค้าขาย หรือฟรีแลนซ์ จะเป็นอาชีพที่จัดอยู่ในกลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน เพราะในแต่ละวันอาจมีรายได้มากหรือน้อยแตกต่างกันไป และเงินที่ได้รับก็เป็นเงินสด ทำให้โอกาสในการพิจารณาอนุมัติบัตรเครดิตนั้นมีน้อยกว่ากลุ่มอาชีพพนักงานบริษัท

ส่วนผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือ ฟรีแลนซ์ ก็สามารถที่จะสมัครบัตรเครดิตได้เพียงแต่เอกสารต่างๆ ที่ใช้ในการประกอบการสมัครนั้นอาจจะแตกต่างจากพนักงานบริษัทอยู่บ้าง ทั้งนี้ถึงเอกสารที่ใช้การสมัครจะแตกต่างกันแต่สิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่จะได้จากบัตรเครดิตก็ไม่ต่างกัน แต่เอกสารหลักๆ ที่สำคัญมากก็ยังคงเป็น ข้อมูลด้านการเงินของเรา เพื่อดูว่าเรานั้นจะมีความสามารถในการชำระหนี้บัตรเครดิตได้หรือไม่

เอกสารในการสมัครบัตรเครดิตสำหรับคนประกอบอาชีพอิสระ:

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาพาสปอร์ต หรือวีซ่า กรณีเป็นชาวต่างชาติ

กรณี เจ้าของธุรกิจ หรือ เป็นผู้ประกอบการ ประกอบธุรกิจส่วนตัว จะใช้เอกสารอื่น ๆ เพิ่มเติม ดังนี้:

  • สำเนาทะเบียนพาณิชย์
  • สำเนา statement (รายการเดินบัญชี) บัญชีที่ใช้ในการทำธุรกิจย้อนหลัง 6 เดือน

กรณีเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะใช้เอกสารในการสมัคร ดังนี้:

  • สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น คัดสำเนาไม่เกิน 1 ปี (เฉพาะ บมจ. และบจก.)
  • สำเนา statement (รายการเดินบัญชี) บัญชีที่ใช้ดำเนินธุรกิจในนามนิติบุคคล ย้อนหลัง 6 เดือน
  • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน คัดสำเนาไม่เกิน 6 เดือน

กรณีเป็นเจ้าของกิจการที่จดทะเบียนการค้าในนามห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล จะใช้เอกสารในการสมัครเพิ่มเติมดังนี้:

  • สำเนาใบคำขอจดทะเบียน และหนังสือจัดตั้งคณะบุคคล
  • สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์
  • สำเนา statement (รายการเดินบัญชี) ในนามห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือในนามคณะบุคคลย้อนหลัง 6 เดือน หรือ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ตามมาตรา 50 ทวิ) แสดงรายได้ปีล่าสุด หรือย้อนหลัง 6 เดือน

เอกสารไม่ถูกต้อง

เอกสารไม่ถูกต้อง

อีกเรื่องหนึ่งคือ เอกสารที่ใช้ในการสมัคร ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน เพราะฉะนั้นผู้ที่จะสมัครต้องใส่ใจทุกรายละเอียดในการกรอกข้อมูลลงในใบสมัครฯ เช่น 
1.ลายเซ็นของผู้สมัครต้องเหมือนกันทุกจุด 2.ต้องระวังไม่ให้มีรอยลบหรือรอยขีดฆ่าเยอะจนเกินไป และไม่ควรใช้น้ำยาลบคำผิด 3.หากต้องการแก้ไขจุดที่ผิดพลาด ควรขีดฆ่าและเซ็นชื่อกำกับทุกครั้ง 4.ควรกรอกข้อมูลด้วยลายมือตัวบรรจง อ่านง่าย และกรอกครบทุกช่องที่เว้นไว้ เพื่อความถูกต้องของข้อมูล

นอกจากนั้น เอกสารแนบอื่นๆ ก็มีส่วนสำคัญ เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนต้องชัดเจน ไม่ดำหรือเข้มจนเกินไป จนมองไม่เห็นหน้าผู้สมัคร สำเนาหน้าสมุดบัญชีต้องมองเห็นตัวเลขบัญชีชัดเจน สำเนา Statement ต้องครบทั้ง 3 - 6 เดือน ย้อนหลัง ตามที่ทางธนาคารกำหนด หรือสลิปเงินเดือนย้อนหลังต้องไม่เกิน 3 เดือน เป็นต้น ซึ่งถ้าผู้สมัครส่งเอกสารไม่ครบถ้วนธนาคารก็มีสิทธิที่จะปฏิเสธการสมัครได้ครับ

มีภาระหนี้อื่นอยู่แล้ว

มีภาระหนี้อื่นอยู่แล้ว

สมมติว่าผู้สมัครมีการสมัครหรือใช้สินเชื่ออื่นๆซึ่งอาจจะไม่ใช่บัตรเครดิต อยู่แล้ว เช่น การกู้ซื้อบ้าน ผ่อนรถยนต์ เป็นต้น ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่สมัครบัตรเครดิตไม่ผ่าน เพราะภาระหนี้สินที่มีอยู่ในขณะนั้นอาจเกินความสามารถในการชำระหนี้ของผู้สมัคร โดยที่ทางธนาคารแต่ละแห่งจะตรวจสอบภาระหนี้สินทั้งหมดของแต่ละคนที่ผ่านเข้ามาในเครดิตบูโร เพื่อดูความน่าจะเป็นในการชำระหนี้ที่กำลังจะเพิ่มเข้ามาอีกได้ ก่อนที่จะทำการอนุมัติบัตรเครดิต

สำหรับความสามารถในการชำระหนี้ ทางสถาบันการเงินจะวิเคราะห์ว่า เราจะสามารถชำระหนี้ได้หรือไม่ โดยจะพิจารณาจากรายได้ของผู้กู้และหรือผู้กู้ร่วม ซึ่งจะพิจารณาให้กู้ประมาณ 30-40 เท่าของรายได้ วงเงินที่ให้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความมั่นคงของอาชีพและรายได้ด้วย เช่น หากเป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือลูกจ้างบริษัทเอกชนที่มีกิจการมั่นคงก็จะได้รับการอนุมัติเงินกู้สูงถึง 40 เท่าของเงินเดือน นอกจากนี้ธนาคารยังพิจาณาเรื่องสัดส่วนเงินงวดต่อรายได้สุทธิประกอบด้วย คือต้องไม่เกิน 33% ธนาคารจะให้กู้ในอัตราที่เงินผ่อนต่อเดือนไม่เกิน 33% ต่อรายได้สุทธิต่อเดือน

พิจารณาจากหลักประกันเงินกู้ทางสถาบันการเงินจะนำหลักประกันเงินกู้มาวิเคราะห์ทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกันด้วย โดยจะมีการพิจารณาใน 2 ประเด็น คือ ความเหมาะสมของหลักประกันและมูลค่าของหลักประกัน  ซึ่งทางสถาบันการเงินจะใช้ประกอบการพิจารณาถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นหากปล่อยเงินกู้ไปแล้ว

คุณสมบัติอื่นของผู้กู้นอกจากสถาบันการเงินจะวิเคราะห์เงื่อนไขการอนุมัติให้กู้จากรายได้ และหลักประกันเงินกู้ที่วางไว้แล้ว ก็อาจใช้คุณสมบัติอื่นของผู้กู้ประกอบการพิจารณาด้วย เช่น อายุของผู้กู้  ซึ่งหากนำมารวมกับจำนวนปีที่ขอกู้แล้วจะต้องไม่เกิน 70 ปี และผู้กู้ร่วมที่ไม่ใช่คู่สมรส บิดามารดา พี่น้อง หรือบุตรแล้ว จะมีผู้กู้ร่วมอื่นได้อีกไม่เกิน 1 คน  ซึ่งจะต้องถือกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ที่จำนองด้วย  โดยการกู้ร่วมก็เป็นอีกวิธีที่ทำให้ผู้ที่สมัครมีความสามารถในการขอสินเชื่อเพิ่มขึ้นได้  ซึ่งถึงแม้ผู้สมัครจะมีภาระผ่อนสินเชื่ออื่นๆ อยู่ แต่ถ้าหากผู้มากู้ร่วมที่มีประวัติการขอสินเชื่อยังไม่เคยมีหนี้มาก่อนก็จะทำให้มีโอกาสสูงที่จะผ่านครับ

สรุป

สรุป

ทั้งหมดนี้ก็คือปัญหาที่อาจจะเจอเมื่อสมัครบัตรเครดิต ซึ่งผู้ที่สมัครก็ควรตรวจสอบให้ดี ซึ่งแต่ละอย่างมีทางออกครับ ดังนั้นก่อนจะสมัครเราควรตรวจสอบตัวเอง ว่าเรามีหนี้หรือมีภาระอื่นๆที่ยังไม่เรียบร้อยไหม ถ้ามีก็ควรจัดการให้เรียบร้อย และขอข้อมูล รายละเอียดต่างๆจากธนาคารนะครับ เพื่อที่เราจะได้สมัครผ่านนะครับ