สมัยของเราในทุกววันเรียกได้ว่าคือยุดทองของอินเตอร์เน็ต ที่มีการพัฒนาอะไรหลายอย่างมากมายก้าวไกลมาก และมีการปรับเปลี่ยนให้หลายๆอย่างเข้าไปอยู่ในอินเตอร์เน็ตเป็นระบบออนไลน์กันมากขึ้น และมีหลายอย่างเกิดขึ้นเพราะการพัฒนาที่ก้าวไกลของอินเตอร์เน็ต ยกตัวอย่างให้เห็นกันชัดๆในบ้านอย่างอาชีพในทุกวันนี้ก็มีเพิ่มเข้ามาในบ้านของเรานั้นก็คือ พ่อค้าแม่ค้าอออนไลน์ ที่เป็นอาชีพที่เพิ่มเข้ามาถ้าย้อนไปสัก 10 ปี บ้านเราไม่มีใครรู้จักและทำอาชีพนี้อย่างแน่นอน แต่วันนี้ผมไม่ได้จะมาพูดถึงพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์แต่อย่างใด วันนี้นั้นผมจะพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะอินเตอร์เน็ตที่ล้ำยุคเหมือนกับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ นั้นคือ เงินดิจิทัล ที่ปัจจุบันนั้นมีหลายสกุลมาก เงินดิจิทัลเป็นเงินดิจิทัลที่มีอยู่ในอินเตอร์เน็ต จับต้องไม่ได้แต่มีตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ วันนี้ผมเลยจะมาแนะนำเงินดิจิทัลที่สามารถซื้อ-ขายได้อย่างถูกกฏหมายมาให้ทำความรู้จักว่ามีอะไรบ้าง
แต่ก่อนจะไปรู้จักสกุลเงินดิจิทัลต่างๆอยากให้ทำความรู้จักก่อนว่าสกุลเงินดิจิทัล คืออะไร สกุลเงินดิจิทัล หรือ คริปโทเคอร์เรนซีเป็นสกุลเงินใหม่ที่สร้างขึ้นจากกลไกคณิตศาสตร์ที่กำหนดจำนวนไว้จำกัด ต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์ถอดรหัสเพื่อนำเงินออกจากกลไก สกุลเงินใหม่นี้สร้างขึ้นเพื่อลดการรวมศูนย์ของระบบการชำระเงินผ่านสถาบันการเงินให้สามารถกระจายไปยังผู้ใช้ในเครือข่ายสกุลเงินนั้นๆ ได้ โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ติดตามการเคลื่อนไหวของเงินแม้จะไม่มีตัวกลางและสามารถป้องกันการปลอมแปลงได้ด้วย การชำระ/โอนเงินจึงอยู่แค่ภายในเครือข่าย ซึ่งมีข้อดีที่รวดเร็ว ต้นทุนต่ำ และปลอดภัย
Bitcoin (BTC)
เริ่มด้วยเงินดิจิทัลที่คิดว่าคุ้นหูมากที่สุดกันก่อนนะครับ ผมจะอธิบายถึงที่ไปถึงมาของตัว Bitcoin (BTC) ว่ามันคืออะไร เกิดขึ้นมาได้อย่างไร เริ่มด้วย Bitcoin (BTC) คืออะไร Bitcoin (BTC) นั้นก็คือ สกุลเงินสมมติที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปแบบดิจิทัล เพื่อใช้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยที่ไม่ขึ้นกับสกุลเงินใดๆ ไม่มีรูปร่างและไม่สามารถที่จะจับต้องได้ โดย Bitcoin (BTC) มีหน่วยเงินเป็น BTC เหมือนกับสกุลเงินของประเทศอื่น เช่นญี่ปุ่นใช้ JPY ประเทศไทยใช้ THB โดย Bitcoin (BTC) ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในปี 2552 และเริ่ม และถูกนำไปแลกซื้อขายในโลกออนไลน์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
และสิ่งที่ทำให้ Bitcoin (BTC) กลายเป็นที่น่าสนใจในกลุ่มเงินดิจิทัลนั้นก็คือมีระบบป้องกันเงินเฟ้อ โดยหนุ่มชาวญี่ปุ่นที่เป็นโปรแกรมเมอร์ มีนามแฝงว่า ซาโตริ ได้ทำการสร้างระบบตัวหนึ่งขึ้นมามีชื่อว่า Blockchain ออกมา ซึ่งเป็นระบบการป้องกันภาวะเงินเฟ้อและเสื่อมค่าลงของตัวเงินดิจิทัลจากการที่สามารถปั้มออกมาได้ตามใจชอบ โดยการนำระบบนี้ที่เป็นระบบอัลกอริทึมมาใช้ และกำหนดในระบบไว้ไม่ให้เกิน 21 ล้านหน่วย
Bitcoin Cash (BCH)
Bitcoin Cash (BCH) เกิดขึ้นมาในเดือนสิงหาคม 2560 สาเหตุเพราะ hard fork ของ Bitcoin ทำให้เกิดบล๊อคเซนและสกุลเงินคริปโตตัวใหม่ขึ้นมา ในช่วงแรกๆของการทำงานของ Bitcoin นั้นค่อนที่จะรวดเร็วเพราะการทำธุรกรรมนั้นยังไม่ค่อยมีมากสักเท่าไร แต่เมื่อ Bitcoin ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น การทำงานก็เริ่มช้าลงเนื่งจากขนาดของบล๊อคที่จำกัดไว้ที่ 1MB ในปี 2560 เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ต้องรอถึง 3 วันในการตรวจสอบการโอนถ่าย Bitcoin วิธีที่จำให้เร็วขึ้นก็คือจ่ายค่าธรรมเนียมการโอนมากขึ้น ยกตัวอย่าง เพื่อนๆทำการซื้อของอย่างหนึ่งในราคา 5 ดอลลาร์ แต่เพื่อนๆต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 20 ดอลลลาร์เพื่อให้มันเร็วมากขึ้น ซึ่งแน่นอนไม่สามารถยอมรับได้ จึ้งได้มีการเสนอทางออก 2 ข้อ คือ Bitcoin Unlimited และ Segregated Witness (SegWit)
ผู้เสนอ Bitcoin Unlimited เสนอว่าให้ยกเลิกการจำกัดขนาดของบล็อกโดยมีนักขุดเป็นผู้สนับสนุนหลักเนื่องจากเงินโดยรวมที่นักขุดได้จะเพิ่มขึ้นในทุกๆบล็อก แต่ปัญหาหนึ่งของข้อเสนอนี้คือนักขุดรายใหญ่สามารถรวมพลังการขุดกันซึ่งอาจทำให้เครือข่ายนี้ตกเป็นของบริษัทขุดยักษ์ใหญ่ วิธี SegWit มีแนวคิดหลักที่ว่าข้อมูลทุกอย่างไม่จำเป็นต้องถูกเก็บในบล็อกเชนโดยบางอย่างสามารถเก็บไว้ในไฟล์แยกได้ Bitcoin Cash ใช้การผสมทั้ง 2 แนวคิดโดยเพิ่มขนาดบล็อกเป็น 8MB และเก็บข้อมูลบางส่วนไว้นอกบล็อกเชน ซึ่งภายหลังการแยกตัวทุกคนที่ถือ Bitcoin ณ ตอนนั้นได้รับเหรียญ Bitcoin Cash เท่ากับจำนวนของ Bitcoin ที่ถืออยู่และข้อมูลก็ถูกบันทึกลงในบล็อกเชนของ Bitcoin Cash เหตุผลที่เป็นแบบนี้ก็เพื่อที่จะรักษามูลค่าของ Bitcoin Cash ในช่วงการเปลี่ยนแปลงขณะที่เปิดตัว Bitcoin Cash คริปโตเคอเรนซี่
Ethereum (ETH)
Ethereum (ETH) ก็เป็นอีกหนึ่งในสกุลเงินดิจิทัล ที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain ทำงานให้อยู้เบื้องหลัง ซึ่ง Ethereum (ETH) ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย Vitalik Buterin เด็กหนุ่มอัจฉริยะชาวรัสเซีย ที่เคยทำงานอยู่ในทีมเดียวกับที่พัฒนา Bitcoin ก่อนจะแยกตัวออกมาสร้าง Ethereum ในปี 2556 โดยทีมพัฒนาต้องการให้ Ethereum สามารถใช้งานได้ไม่ต่างกับ Bitcoin แต่ปรับปรุงข้อบกพร้องต่าง ๆ และเพิ่มความสามารถของเหรียญให้หลากหลายขึ้น ทำอะไรได้มากกว่า Bitcoin ซึ่งก็ทำได้จริง ๆ เพราะปัจจุบัน Ethereum เป็นสกุลเงินที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจประเภทต่าง ๆ ไม่จำกัดแค่การใช้ในธุรกรรมทางการเงินเท่านั้น แล้ว Ethereum กับ Bitcoin ต่างกันยังไง ถึงแม้ทั้งสองสกุลเงินจะมีรูปแบบคล้ายๆกันเป็นอย่างมาก คือมี เทคโนโลยี Blockchain อยู่เบื้องหลังทั้งคู่ และสามารถที่จะขุด ซื้อ-ขาย เก็งกำไรได้ รวมถึงมีการยอมรับจากร้านค้าบางร้าน ให้สามารถนำไปซื้อของโดยใช้แทนเงินสดได้แต่สิ่งที่แตกต่างกับ Bitcoin เลยก็คือ Ethereum ไม่ได้เป็นแค่สกุลเงินเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่มีรูปแบบเป็นเหมือน Open Source ที่อนุญาตให้ทุกคนเข้ามาพัฒนา หรือเขียนข้อมูลต่าง ๆ ลงบนสกุลเงินได้ ทำให้เราสามารถสร้างแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ขึ้นมาบนเครือข่าย Ethereum ได้อีกชั้นหนึ่ง จึงช่วยให้ Ethereum มีรูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย ต่างจาก Bitcoin ที่เน้นการทำธุรกรรมทางการเงินเพียงอย่างเดียว
Ethereum เปิดซื้อ-ขายครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2558 โดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแรกไว้ที่ 1 ETH เท่ากับ 2.83 เหรียญสหรัฐ หรือราว 90 บาท หลังจากนั้นมูลค่าของ Ethereum ก็ขยับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทั่งในเดือนมกราคม 2561 ราคา Ethereum ทำสถิติพุ่งไปถึงระดับ 1,300 เหรียญสหรัฐ หรือราว 40,000 บาท
และสิ่งที่ทำให้ผู้คนสนใจกับ Ethereum นอกจากมูลค่า ความสามารถก็เป็นอีกสิ่งที่ทำให้ Ethereum น่าสนใจ ความสามารถของเหรียญ Ethereum มีด้วยกัน 3 อย่าง 1. ระบบ Smart Contract อย่างที่บอกไปตอนแรกมันคือความพิเศษของเหรียญนี้ ที่อณุญาตให้ผู้ที่ใช้งานสามารถเข้ามาเขียนโปรแกรมลงไปในข้อมูลเหรียญโดยจะเป็นการสร้างเงื่อนไขขึ้นมาตามที่เรากำหนด เมื่อมีใครทำตามเงื่อนไขนั้นสำเร็จ ก็จะได้รางวัลที่เรากำหนดไว้เป็นการตอบแทน 2. ICO หรือ Initial Public Offering เป็นรูปแบบการระดมทุนแนวใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก โดยจะเป็นการออกเหรียญดิจิทัลชนิดใหม่ขึ้นมา แล้วเปิดขายให้ผู้ที่สนใจนำเงินมาลงทุน เพื่อนำเงินที่ระดมทุนได้ไปต่อยอดธุรกิจ หรือโครงการที่อยากจะทำ 3. EAA หรือก็คือ Enterprise Ethereum Alliance เป็นองค์กรที่เกิดจากการรวมตัวกันของบริษัทยักษ์ใหญ่และสตาร์ทอัพชั้นนำทั่วโลก เพื่อร่วมกันวิจัยพัฒนา Ethereum ให้ใช้ได้กับธุรกรรมของแต่ละบริษัท ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 116 บริษัท มีบริษัทชื่อดังของโลกรวมอยู่ด้วย ทั้ง Microsoft, JP Morgan, Toyota และ Intel ด้วย
Ethereum Classic (ETC)
จุดกำเนิดของ Ethereum Classic (ETC) นั้นเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2559 เนื่องจาก Ethereum ชุดเดิมนั้นถูก Hack ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าทางออกที่ดีที่สุดก็คือการ Hard Fork (การย้ายข้อมูลไปไว้ที่ Blockchain ใหม่ เนื่องจาก Blockchain เดิมไม่สามารถแก้ไขได้) แน่นอนว่าการ Hard Fork นั้นได้มีเสียงแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายที่เห็นด้วย และ ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยเมื่อการย้ายข้อมูลไปบนบล็อกเชนใหม่ที่ได้แก้ไขช่องโหว่เรียบร้อยแล้วสำเร็จลุล่วง เกิดคำถามขึ้นมาว่าแล้ว บล็อกเชนเก่าล่ะ จะทำอย่างไรกับมันดี? ในช่วงก่อนการ Hard Fork เพียง 2–3 วันนั้น มีกลุ่มนักพัฒนาที่ไม่เห็นด้วยกับการ Hard Fork ประกาศตั้งต้นเรียกตนเองว่า Ethereum Classic
Litecoin (LTC)
Litecoin ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2011 โดยนาย Charlie Lee อดีตวิศวกรของ Google และ Coinbase เขามีแรงจูงใจที่จะพัฒนาต่อยอดจาก Bitcoin ซึ่ง Litecoin มีจุดประสงค์ที่จะเป็น “เงิน” ในขณะที่ Bitcoin เป็น “ทอง” โดยมีจุเด่นในเรื่องของความเร็วและอีกหลายอย่างที่ถูกพัฒนาขึ้น จาก Bitcoin ทั้งในเรื่องจำนวนของเหรียญ
Ripple (XRP)
เหรียญ XRP นั้นเป็นเหรียญที่ถูกสร้างโดยบริษัทที่ชื่อว่า Ripple ตั้งอยู่ในซานฟรานซิสโก ถูกก่อตั้งเมื่อปี 2012 โดยนาย Ryan Fugger (ไรอัน ฟัคเกอร์)โดยหลัก ๆ นั้นเป็นบริษัทที่ให้บริการด้าน payment gateway เจาะกลุ่มเป้าหมายธนาคารและสถาบันการเงิน Ripple มันแตกต่างจากแพลตฟอร์มของสกุลเงินดิจิทัลตัวอื่นๆ เพราะได้เชื่อมต่อกับธนาคารอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และถูกควบคุมโดยบริษัทสถาบันการเงิน บริษัทที่ใช้แพลตฟอร์ม Ripple ได้แก่ Santander (SANPRA), Bank of America (BAC) และ UBS (UBS)
Stellar (XLM)
Stellar ถูกพัฒนาขึ้นโดย นาย Jed McCaleb เป็นสกุลเงินเสมือนที่พัฒนาขึ้นจาก Ripple เปิดตัวในเดือนกรกฎาคม 2014 นาย Jed McCaleb เป็นผู้ก่อตั้งตลาดแลกเปลี่ยนเหรียญที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ “Mt Gox (Mount GOX)” และสิ่งที่ทำให้ Stellar เริ่มมีความน่าสนใจขึ้น คือ การประกาศความร่วมมือกับ IBM บริษัทไอทีรายใหญ่ของโลก เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม Blockchain Banking Solution ที่มีเป้าหมายลดระยะเวลาการทำธุรกรรมชำระเงินข้ามประเทศ จึงทำให้ Stellar เป็นสกุลเงินที่หลายคนกำลังจับตามอง
สรุป
สรุปสกุลเงินดิจิทัลที่มีการอณุญาตให้มีการซื้อ-ขายอย่างถูกต้องตามกฏหมาย ที่นำข้อมูลมาให้เพื่อนในวันนี้ก็มีทั้งหมด 7 สกุลเงินดิจิทัล ได้แก่ 1. Bitcoin (BTC) 2. Bitcoin Cash (BCH) 3. Ethereum (ETH) 4. Ethereum Classic (ETC) 5. Litecoin (LTC) 6. Ripple (XRP) 7.Steller (XLM) แต่ถึงแม้ว่าเงินดิจิทัลพวกนี้จะมีการอณุญาติซื้อขายได้อย่างถูกกฏหมายแล้วก็ตาม การลงทุนในตัวเงินดิจิทัลเหล่านี้ก็ยังคงมีความเสี่ยงสูงเมื่อไปเทียบกับการลงในสินทรัพย์อื่นๆ การที่จะไปลงทุนต้องศึกษาเป็นอย่างดีและมีความรอบคอบให้มากๆนะครับ
น้ำหวาน
สกุลเงินดิจิตอลมีรูปแบบและหลากหลายให้เราเลือกใช้บริการได้แล้วนะคะ บทความนี้ทำให้เราเห็นว่าสกุลเงินที่เรามีไม่จำเป็นต้องเป็นสกุลเงินบาทเสมอไป แต่เราสามารถนำไปเปลี่ยนเป็นสกุลเงินดิจิตอลในรูปแบบต่างๆได้ตาม ค่าแลกเปลี่ยนที่มีการกำหนดเอาไว้ ช่วยให้เราสามารถที่จะนำสกุลเงินดังกล่าวไปแลกเปลี่ยนเพื่อเพิ่มจำนวนเงินบาทของเราให้มากขึ้นได้ด้วยเช่นกัน
Meaw
สกุลเงินดิจิทัลมีหลายสกุล เราเคยได้ยินแต่ บิทคอยน์ แต่มันก็เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ไม่สามารถจับต้องได้ ถ้าเราเข้าไปลงทุนกับสกุลเงินเหล่านี้ มีความเสี่ยงสูงมากแน่ๆ ลงทุนแบบปกติก็เสี่ยงอยู่แล้วนะ แต่ถ้าเป็นนักลงทุนเก่งๆเขาอาจจะรู้วิธีในการลงทุนก็ได้ ถ้าใครคิดจะลงทุนกับสกุลเงินเหล่านี้จริงๆต้องศึกษาให้ดีมากๆเลยค่ะ
บูมบูม
อ่านแล้วก็ทำให้รู้ว่าสกุลเงินดิจิตอลนั้นเริ่มจะมีบทบาทในการใช้ชีวิตของเรามากขึ้น คงต้องหาความรู้เรื่องนี้เอาไว้มากๆซะแล้ว จะได้ตามทันโลกการเงินในอนาคต เรื่องเงินเนี่ยสำคัญจริงๆ พออ่านแล้วก็คิดภาพว่าถ้าวันหนึ่งไม่มีเงินสดให้พวเราถือในมือ มีแต่เงินดิจิตอลที่จับต้องไม่ได้เห็นแค่จำนวนคงจะวุ่นวายอยู่นะช่วงแรกๆ โดยเฉพาะระบบการเงินเมืองไทยบ้านเราเนี่ย
จักรรินทร์
ไม่เคยคิดนะครับว่า เงินดิจิตอลมันจะเยอะขนาดนี้ครับ แต่อย่างที่บอกเลยครับ เงินพวกนี้มันสามารถมีความผิดผลาดทางระบบได้แน่นอนครับ ไม่อยากคิดเลยนะครับว่าถ้ามีปัญหาเรื่องระบบแบบนี้เกิดขึ้นมันจะส่งผลกระทบกล้างแค่ไหน เพราะเงินดิจิตอลแบบนี้เล่นไปทั่วโลกครับ ผมว่าน่ากลัวนะครับ เอาว่าถ้าอยากลงทุนแบบนี้ต้องใจเย็นๆกันนะครับ
สุ
ดีนะคะที่เดี๋ยวนี้มีสกุลเงินที่สามารถช่วยเราในการซื้อขายได้ถูกกฎหมาย ด้วยจะช่วยให้นักลงทุนในการซื้อขายสกุลเงินสามารถนำเงินไปแลกเปลี่ยนเป็นค่าเงินต่างๆ รายการสมัครใช้บริการก็ทำได้ง่ายด้วย สามารถที่จะโอนเงินจากบัญชีของเราเข้าไปใน สกุลเงินตราต่างประเทศได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ จากนั้นก็สังเกตเกี่ยวกับอัตราการแลกเปลี่ยนค่าขึ้นลง เราก็จะได้รับผลกำไรแล้วค่ะ
ทวีป
สกุลเงินดิจิตอล ทั้งหมดที่กล่าวมา มันได้รับการรับรองหรือได้รับการคุ้มครอง จาก สมาคมธนาคารแห่งประเทศไทยไหมครับ เพราะถ้าหากมีกรณีค่าเงินล่วงอะไรแบบนี้ครับ ทางธนาคารแห่งประเทศไทย เข้ามาดูแลได้ไหมครับ หรือว่า อันนี้ไม่เกี่ยวกับทาง สามาคมธนาคารแห่งประเทศไทยเหรอครับ ถ้าเป็นอย่างนั้นแสดงว่ามีความเสี่ยงสูงนะครับ
โต
ออกกันมาหลายรุ่นแล้วนะครับสำหรับสกุลเงินดิจิตอลที่สามารถช่วยให้เราเอาไปแลกเปลี่ยนหรือว่าเอาเงินไปเปลี่ยนเป็นค่าของสกุลเงินตราเหล่านั้น สามารถที่จะแลกเปลี่ยนได้ง่ายครับ หรือทางโอนเงินในบัญชีของเราเข้าไป แต่สามารถที่จะเอาไปแลกเปลี่ยนในกรณีที่มีการขึ้นลงกองสกุลเงินตราดิจิตอลด้วย เป็นการลงทุนอย่างนึงครับแต่ก็มีความเสี่ยงสูงด้วย
สิริน
การลงทุนธรรมดายังมีความเสี่ยงเลย หากเราพูดถึงเงินที่มันจับต้องไม่ได้มันก็คงมีความเสี่ยงเช่นกัน แต่หากลงทุนจริงๆแนะนำว่าควรหาข้อมูลให้ดีก่อน และเราก็ต้องมั่นใจว่าข้อมูลที่เราได้มาเนี่ยมันคือข้อมูลจริงไม่ใช่เท็จ พอเรามีข้อมูลที่แน่นพอแล้วเราจะทำอะไรก็ทำเลยครับ และหาหจะลงทุนก็ต้องวางแผนสำหรับตอนที่เราขาดทุนด้วย
Memmory
@สิริน ที่คุณพูดมาก็น่าคิดนะ คิดถึงเราก็สนใจ สกุลเงินดิจิตอลเหล่านี้อยู่เหมือนกัน แต่บางทีก็ต้องคิดเผื่อไว้เหมือนที่คุณบอกมา ต้องเตรียมพร้อมรับมือการขาดทุนบ้าง แต่ก็ต้องทำใจเรียนรู้และยอมรับนะว่าอีกไม่นานโลกเราคงเข้าสู่สังคม เงินสดแบบเต็มตัว ประเทศไทยบ้านเราก็เริ่ม ใช้จ่ายแบบไร้เงินสดกันบ้างแล้ว ก็สะดวกดีนะถ้าเป็นเหมือนประเทศจีนไปเลยอ่ะ
กุสุมา
พูดถึงบิดคอย ทุกที่แล้วค่อนข้างเสียดายมากจริงๆคะ เมื่อ 6ปีที่แล้วมีเพื่อนๆชวนที่จะซื้อสกุลเงินตัวนี้คะ แต่ตอนนั้น บอกตรงๆเลยว่า ไม่รู้เรื่องเลยว่ามันคืออะไร แล้ว บ้านเราก็ไม่ใช้สกุลเงินนี้ด้วย เลยไม่ได้ซื้อเอาไว้ น่าเสียดายมาก แต่อย่างว่าละคะ เสียดายไปก็เท่านั้น เรากลับไปแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว ตอนนี้ถ้ามีอะไรมาใหม่ เราศึกษาหาข้อมูลก่อนเลยคะ
ปรียา++
มาอ่านบทความนี้ถึงได้รู้ว่าสกุลเงินดิจิทัลมีหลายตัว ที่เรารู้จักมีแค่ตัวเดียวก็คือ Bitcoin อยากรู้ว่าคนอื่นๆรู้จักสกุลเงินดิจิทัลที่บทความนี้บอกมาก่อนมั้ยคะ หรือว่าเราเป็นคนส่วนน้อยที่ไม่รู้เรื่องสกุลเงินดิจิทัล มันก็น่าสนใจลงทุนอยู่นะแต่อย่างที่บทความนี้บอกน่ะค่ะ แม้ว่ามันจะถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่นะ
คำนึง๖๒
แม้จะเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่มีการอณุญาตให้มีการซื้อ-ขายอย่างถูกต้องตามกฏหมาย แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีความเสี่ยงนะครับ เสี่ยงตรงที่เราไม่มีความรู้แล้วไปซื้อ-ขายสกุลเงินดิจิทัลนี่แหละ ยังไงก็ต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนจะทำการลงทุนซื้อ-ขายสกุลเงินดิจิทัล ดีครับที่บทความนี้มาบอกว่าตัวไหนที่ถูกกฎหมายบ้าง จะได้ซื้อกันถูก
กมลรัตน์
ที่บอกว่าปล่อยให้ขายได้ถูกต้องตามกฏหมาย อันนี้หมายถึงในบ้านของเราเองใช่ไหมคะ เพราะครั้งก่อนที่เราเคยได้ยินเกี่ยวกับเงินดิจิทัลเขายังบอกเลยว่าในบ้านของเรายังไมาถูกต้อง แสดงว่าตอนนี้เราสามารถลงทุนกับพวกนี้ได้อย่างเสรีแล้วใช่ไหมคะ เรากำลังเริ่มที่จะลงทุนพวกนี้คะ ได้ยินแบบนี้แล้วก็ใจชื่นขึ้นมาเลยคะจะได้กล้าลงทุนมากขึ้น
Banpod--
ตอนที่ได้ยินเรื่องสกุลเงินดิจิทัลใหม่ๆ ผมรู้สึกว่ามันน่ากลัวนะ ความเสี่ยงมันน่าจะสูงเพราะว่ามันจับต้องไม่ได้ แต่ก็มีคนสนใจมาลงทุนเยอะนะครับ ตอนนี้เป็นที่รู้จักมากขึ้นๆ ต้องถามคนที่ลงทุนกับสกุลเงินดิจิทัลว่าเป็นยังไงบ้าง เรื่องของผลตอบแทนดีหรือเปล่า มันน่ากลัวและเสี่ยงมากเหมือนอย่างที่ผมกับหลายคนคิดมั้ยครับ
Pongพงษ์
แม้ว่าจะถูกต้องจะมีการอนุญาตให้ซื้อ-ขายกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้ แต่ตอนท้ายบทความก็ยังมีการเตือนว่า การลงทุนในตัวเงินดิจิทัลเหล่านี้ก็ยังคงมีความเสี่ยงสูงเมื่อไปเทียบกับการลงในสินทรัพย์อื่นๆ ผมว่าก็จริงนะครับ แต่หลายคนก็ยังให้ความสนใจกับการลงทุนประเภทนี้ คิดว่าคนที่ลงทุนคงมีความรู้แล้วจึงกล้าลงทุนครับ