การแต่งงานไม่ใช่จุดจบแต่เป็นการเริ่มต้น ซึ่งหลายคนต้องพบกับปัญหาบางอย่างที่เริ่มขึ้นหลังจากแต่งงาน โดยเฉพาะ เรื่องการเงิน เพราะว่าเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวที่เป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากเลยทีเดียวค่ะที่จะทำให้ชีวิตคู่และครอบครัวมีความสุขได้ เพื่อที่จะแก้ปัญหานี้ในระยะยาว ก็จะต้องมีการตกลงทำความเข้าใจและพูดคุยกันอย่างเปิดอกนั่นเองค่ะ เรื่องนี้อาจเป็นเรื่องที่เราเองอาจคิดว่าเราสามารถแก้ปัญหาเองได้แต่ อย่าลืมนะคะว่าเราก็มีคู่ครองในชีวิตคนหนึ่งที่เราจะต้องคุยด้วยถ้าไม่อย่างนั้นเราก็จะมีปัญหาตามมาในที่สุดค่ะ

อย่างที่เราได้ทราบไปนะคะ การคุยกันอย่างเปิดใจ ในเรื่องการเงินก็ต้องพูดถึงสภาพการเงินของทั้งสองฝ่ายว่าเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อที่เราจะนำสภาพการเงินของทั้งสองฝ่ายนั้นมาวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงินได้อย่างชัดเจนและสามารถวางแผนให้สอดคล้องกับรายรับและรายจ่ายที่มีในครอบครัวของเรา โดยที่เราตกลงกันประมาณว่าใครจะรับผิดชอบส่วนไหน ก็จะช่วยให้ปัญหาในชีวิตคู่ของเราลดลงได้อย่างแน่นอน

วางแผนทางการเงินของครอบครัวตามระยะเวลา

วางแผนทางการเงินของครอบครัวตามระยะเวลา

คือการวางแผนการเงินตามเป้าหมาย โดยมี 3 ระยะด้วยกัน

##เป้าหมายระยะสั้น ต้องพิจารณาเรื่องการวางแผนค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวด้วย เช่น ค่าอาหาร ค่าสาธารณูปโภค ค่าเทอมลูก และเงินฉุกเฉินต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ก็ควรวางแผนประกันภัยด้วย โดยปกติผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัว ควรจะต้องพิจารณาทำประกันชีวิตด้วยทุนประกันที่เหมาะสม ซึ่งการทำประกันชีวิตจะช่วยสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัว ว่าหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น ครอบครัวจะยังมีเงินไว้ใช้จ่ายต่อไปได้ ไม่เดือดร้อนและลำบาก รวมถึงประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ประกันโรคร้ายแรง ซึ่งเป็นในส่วนที่เพิ่มความคุ้มครองในด้านค่ารักษาพยาบาล รองรับค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด ที่อาจทำให้มีผลกระทบต่อการเงินของเราได้ ทั้งนี้ก่อนการทำประกัน เราควรอ่านและศึกษาเงื่อนไข ข้อจำกัด เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการทำประกัน

##เป้าหมายระยะกลาง หนึ่งในเป้าหมายระยะกลางที่สำคัญก็คือ การวางแผนมีลูก ซึ่งหลายคู่ไม่ตัดสินใจว่าจะมีลูกดีหรือไม่ จึงปล่อยไปตามธรรมชาติ แต่เมื่อผ่านไปหลายปีก็ยังไม่มีลูกสักที จึงต้องปรึกษาแพทย์ ซึ่งยิ่งมีอายุที่มากขึ้น ก็อาจส่งผลทำให้มีลูกได้ยากขึ้น หลายคู่ตอนเริ่มต้นชีวิตคู่ ก็ตัดสินใจว่าจะไม่มีลูก แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็เกิดการเปลี่ยนใจ ก็จะประสบปัญหาเมื่ออายุมาก มีลูกยากขึ้นด้วยเช่นกัน และทำให้เกิดค่าใช้จ่ายไม่คาดฝันเกิดขึ้น ดังนั้นควรพูดคุยและวางแผนเรื่องลูกให้ชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้นใช้ชีวิตคู่ เพื่อจะได้มีการเตรียมเงินไว้อย่างเหมาะสม

##เป้าหมายระยะยาว ที่สำคัญคือการวางแผนการศึกษาบุตรและการวางแผนเกษียณอายุ จุดที่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้ามไปก็คือ พ่อแม่ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับลูกมากกว่าการเกษียณอายุของตัวเอง

จัดสรรค่าใช้จ่ายที่มีร่วมกัน

จัดสรรค่าใช้จ่ายที่มีร่วมกัน

ค่าใช้จ่ายที่มีในครอบครัวถ้าไม่ถูกจัดสรรปันส่วนร่วมกันจะนำมาซึ่งปัญหาอย่างแน่นอน เราจึงควรแบ่งให้ชัดเจนว่าใครจะรับผิดชอบส่วนไหนยังไง ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ ขั้นที่ 1 เช็กงบประมาณประจำเดือน ค่าใช้จ่ายประจำเดือน เช่น ค่าผ่อนบ้าน/ค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ /Internet เงินชำระเบี้ยประกันชีวิต การออมเผื่อกรณีฉุกเฉิน เช่น ค่ารักษาพยาบาลของคนในครอบครัว กรณีเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุ หรือการออมเพื่อจุดประสงค์อื่นๆ เช่น เพื่อการศึกษาของลูก หรือเพื่อการท่องเที่ยว ขั้นที่ 2 คำนวณค่าใช้จ่ายส่วนตัวประจำเดือน ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในวันหยุด ที่ต้องแยกค่าใช้จ่ายส่วนนี้ออกมา เพราะหลายคู่อาจใช้วันหยุดไปตามความชอบของแต่ละคู่ บางคู่ใช้เวลาในหยุดไปดูหนัง ไปซื้อของ ในขณะที่บางคนอยู่บ้านเพื่อทำกับข้าว สำหรับหลายๆ คน ค่าใช้จ่ายในวันหยุดมักจะสูงกว่าวันทำงานอีกซึ่งต้องระวังไว้ ขั้นที่ 3 ประเมินงบที่จะต้องใช้ ช่วยกันสังเกตว่างบที่เราตั้งไว้แต่ละวัน แต่ละอาทิตย์ เหมาะสมหรือไม่ วงเงินที่น้อยเกินไปจะทำให้เกิดความเครียด มีหลายตัวอย่างสำหรับคนที่กำลังปรับพฤติกรรม ในทางตรงข้าม วงเงินที่สูงเกินไปก็ไม่มีประโยชน์อะไรกับการออม ทำบัญชีสรุปและนำมาปรับปรุงการจัดสรรงบให้เหมาะสมต่อไป

วางแผนการออมและการลงทุนร่วมกัน

วางแผนการออมและการลงทุนร่วมกัน

หลายคู่ที่เริ่มคบกันได้พออยู่ตัว จึงมักจะคิดเริ่มต้นวางรากฐานความมั่นคง โดยการมองหากิจการอะไรสักอย่างทำร่วมกัน เริ่มต้นด้วยความชอบของทั้งสองคน แม้ว่าการร่วมลงทุนกับแฟนจะเป็นอะไรที่ดูมีพลังและสร้างความหวังให้กับคู่ที่คบหาดูใจกัน แต่มีไม่น้อยเลยที่การร่วมลงทุนกลับกลายเป็นสาเหตุให้เกิดการเลิกรากัน สาเหตุเกิดจากตอนเริ่มที่มักไม่ได้ตกลงรายละเอียดกันให้ดีพอ

สิ่งแรกที่ต้องทำคือตกลงให้ชัดตั้งแต่เริ่มแรก ส่วนของเงินทุน ได้แก่ ค่าสถานที่ พาหนะ และค่าแรง เช่น กรณีกู้ยืมมาลงทุน ให้ทำเป็นสัญญากู้ยืมเงิน และระบุว่าจะต้องจ่ายดอกเบี้ยกี่เปอร์เซ็นต์ จ่ายเงินต้นคืนอย่างไรไปเลย และค่าสถานที่ ก็ต้องมีค่าเช่า ที่ต้องจ่ายค่าเช่ารายเดือน หรือรายปี และส่วนของการลงแรงก็ควรจะเป็นการจ่ายค่าแรง เป็นเงินรายวัน รายเดือน การตกลงทุกอย่างที่ว่ามาควรจะเขียนให้ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร และให้ทุกฝ่ายเซ็นรับรู้ร่วมกัน เพื่อป้องกันการลืม และถือปฏิบัติโดยยึดหนังสือที่ตกลงร่วมกันนี้เป็นหลัก

การแบ่งงาน คือ การแบ่งความรับผิดชอบว่าใครต้องทำหน้าที่อะไรบ้าง แต่ละคนก็ต้องทำหน้าที่ของตัวเองไปโดยไม่ก้าวก่ายกัน อำนาจการตัดสินใจ เป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของผู้บริหารกิจการ ที่ต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง เพื่อให้กิจการดำเนินไปสู่เป้าหมาย เช่น หากทำธุรกิจด้วยกันกับแฟน ก็ต้องระบุให้แน่ชัดว่า หากมีเรื่องต้องตัดสินใจ จะให้ใครตัดสินใจ หรือต้องตัดสินใจร่วมกัน อาจจะแบ่งว่าถ้ามีเรื่องต้องตัดสินใจเกี่ยวกับสินค้า ให้ใครตัดสินใจ ถ้ามีเรื่องเกี่ยวกับลูกค้า ให้ใครตัดสินใจ

กรณีขาดทุน ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำหนังสือไว้ให้ชัดเจนกับเรื่องนี้ เช่น หากขาดทุน จะทำอย่างไรกับส่วนของทุนที่ลงไป ตัวอย่าง กรณีทำร้านอาหาร จะมีทุนในส่วนของโต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์จานชามต่าง ๆ อาจตกลงกันว่าจะเซ้งหรือขายปลีกไป เมื่อได้เงินมาจะแบ่งคืนให้คนละครึ่ง

หากตกลงเรื่องต่าง ๆ ชัดเจนแล้ว ต่อไปคือเรื่องการนำไปปฏิบัติจริง สิ่งที่ควรทำและต้องทำ คือ ยึดถือปฏิบัติตามข้อตกลงในหนังสือหรือสัญญาอย่างเคร่งครัด จะทำให้แต่ละคนไม่หลงทาง ไม่หลงหน้าที่ ซึ่งจะทำให้ความสัมพันธ์ฉันแฟนยังคงเดิม ความเป็นเพื่อนยังคงอยู่ ปัญหาการแตกหักรักร้าวไม่มีอีกต่อไป นอกจากนี้ หากต้องการปรึกษา สามารถพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน ได้ฟรี ที่ลิงก์ด้านล่าง