เราคงได้รู้จักกันดีเกี่ยวกับสินทรัพย์ทางการเงินที่น่าลงทุนอย่าง ‘ทองคำ’ แต่ถ้าจะพูดถึงกลไกของราคาสินทรัพย์ชนิดนี้ ราคาทองคำจะขึ้นหรือลงมากน้อยเท่าใด ก็เป็นสิ่งที่นักลงทุนย่อมไม่ควรพลาด ในการเก็บรายละเอียดเพื่อจะสามารถวิเคราะห์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ไปจนถึงปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวพันกันอย่างทับซ้อน

ใครเป็นมือใหม่ที่แวะเข้ามาอ่าน บทความนี้จะแนะนำให้ทุกท่าน ได้มองให้ออกกับ 6 ปัจจัยที่จะมีผลกระทบต่อ 'ราคาทองคำ' จนถึงกับเป็นตัวกำหนดราคาเลยก็ว่าได้ ถ้าอยากเจาะลึกและมองอย่างฉลาดขึ้น ตามมาดูกันได้เลย..

ค่าเงินบาท

ค่าเงินบาท

ปกติแล้ว ในการนำทองคำเข้ามายังประเทศไทย ก็จะต้องคำนวณจากค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐก่อน เพื่อมาแปลงเป็นค่าเงินบาท ดังนั้น หากค่าเงินบาทมีการแข็งค่าเมื่อเทียบกับค่าเงิน USD ราคาทองคำในประเทศก็จะมีราคาลดต่ำลง เพราะทองคำจะต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศอยู่แล้ว เราจึงสามารถซื้อได้มากขึ้นแต่ราคาถูกลง แต่หากตอนที่ค่าเงินบาทมีการปรับตัวอ่อนลงเมื่อเทียบกับค่าเงิน USD แล้วปัจจัยอื่นๆยังคงที่ ราคาทองคำที่เทียบเป็นค่าเงินบาท ก็ย่อมจะมีราคาที่สูงขึ้น ดังนั้น ค่าเงินบาทจึงถือว่าส่งผลกระทบหลักต่อราคาของทองคำในประเทศไทยอย่างมาก

ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐ

ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐ

นักลงทุนในทอง ย่อมเคยได้ยินมาบ้างแหละว่า ‘ถ้าดอลล่าร์อ่อน ทองจะขึ้น  แต่เมื่อดอลล่าร์แข็ง ทองก็จะลง’ สิ่งนี้เป็นจริงแน่ๆ กับราคาทองคำในบ้านเรา เพราะว่านักลงทุนในต่างประเทศส่วนใหญ่ที่มักลงทุนใน น้ำมัน ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐ ทองคำ หรือตลาดหุ้นสำคัญๆ ก็มักจะใช้วิธีการเก็งกำไรโดยการขายสินค้าที่ถือครองอยู่ เพื่อนำไปซื้อสินค้าอื่นๆเพื่อการเก็งกำไรต่อ ดังนั้น เมื่อค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐ มีแนวโน้มว่าจะขึ้น  นักลงทุนจึงพากันเทขายสินทรัพย์อื่นที่ถือครอง เช่น น้ำมัน ทองคำ ออกมาก แล้วนำไปลงทุนในเงินดอลล่าร์แทน จึงเป็นวัฎจักรที่จะส่งผลต่อราคาทองได้แน่ๆ

ดังนั้น ราคาทองคำจึงมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐเสมอ หากค่าเงิน USD มีการปรับลดลง ราคาทองคำในตลาดโลกก็จะเพิ่มขึ้น แต่ถ้า ค่าเงิน USD มีการปรับเพิ่มขึ้น ราคาทองในตลาดโลกก็จะลดลงตาม หรือถ้าค่าเงิน USD มีสัญญาณอ่อนตัวลง มีการลดการถือครองแล้วซื้อทองคำมาสะสมไว้มาก ก็อาจดันราคาให้สูงตามอีกนั่นเอง

ค่า Demand & Supply

ค่า Demand & Supply

อุปสงค์ หรือ Demand ก็คือ ความต้องการที่จะซื้อ ซึ่งสำหรับทองคำในตลาดโลก ก็จะมาจาก การซื้อเพื่อเป็นเครื่องประดับ , การลงทุน , การซื้อโดยธนาคารกลางหรือทุนสำรองภายในประเทศ และการอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งอะไรที่มีความต้องการมาก ก็มักจะมีราคาเพิ่มสูงขึ้น แสดงว่าถ้าความต้องการของทองคำที่ขุดได้เพิ่มขึ้น ราคาของทองก็จะเพิ่มขึ้นตาม ส่วน อุปทาน หรือ Supply ก็คือ ความต้องการที่จะขาย ดังนั้น เมื่อปริมาณทองคำในตลาดมีจำนวนมาก ความต้องการที่จะขายก็จะเพิ่มขึ้นตาม แต่หากความต้องการซื้อยังคงเท่าเดิม ก็จะส่งผลให้ราคาทองคำในตลาดโลกมีมูลค่าลดลงนั่นเอง

โดยอุปทานส่วนใหญ่ ก็จะมีจากการเทขายทองคำของเหล่านักลงทุน หรือจากบรรดาธนาคารกลางในประเทศต่างๆ  การนำทองคำกลับมา Recycle หรือการหลอมใช้ใหม่ เมื่ออุปทานตรงนี้มากขึ้นและปัจจัยอื่นๆยังคงที่ ก็อาจมีผลทำให้ราคาทองคำมีการปรับตัวลดลงแน่นอน ดังนั้น ทั้งDemand และ Supply ก็จะมีผลต่อราคาทองคำในแบบระยะยาว ซึ่งจะมีการนำเสนอออกมาในทุกๆไตรมาสให้เราได้ติดตามกัน

ภาวะเงินเฟ้อ

ภาวะเงินเฟ้อ

เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ แน่นอนว่าจะทำมูลค่าในพันธบัตรและมูลค่าในเงินสดลดลง จึงทำให้ช่วงนั้น นักลงทุนจะนิยมขยับไปลงทุนในทองคำกันมากกว่า ทำให้ราคาทองก็จะเพิ่มขึ้นสูงขึ้นในช่วงภาวะเงินเฟ้อ แต่หากปัจจัยนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ราคาของทองคำก็ยังถือว่ายังคงปกติหรือลดลงบ้างเมื่ออยู่ในช่วงภาวะเงินเฟ้อต่ำ ดังนั้น เมื่อFiat Money หรือเงินกระดาษที่มีการรับรองจากรัฐบาลแต่ละประเทศ เสื่อมลงก็จะมีผลต่อทองคำ ที่เป็นสินทรัพย์มีค่าในตัวเอง โดยเราสามารถติดตามทิศทางของค่าเงินเฟ้อได้จากดัชนี CPI ของประเทศ รวมไปถึงราคาน้ำมันในตลาด

จึงสรุปง่ายๆว่า เมื่อเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ราคาทองคำในตลาดโลกก็จะเพิ่มตาม หรือหากปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมีมากเกินไป การซื้อหรือถือครองทองคำเพื่อลดความเสี่ยงของเงินเฟ้อ ก็อาจทำให้ราคาทองคำมีการปรับขึ้นเมื่อมีความต้องการซื้อสูง และหากราคาน้ำมันดิบมีการเพิ่มสูง ซึ่งเป็นสัญญาณของภาวะเงินเฟ้อ ก็จะต้องการการซื้อทองคำเพื่อป้องกันความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ภาวะเสี่ยงของการเมืองและเศรษฐกิจ

ภาวะเสี่ยงของการเมืองและเศรษฐกิจ

ส่วนในเรื่องของภาวะที่มีผลมาจากการเมืองและเศรษฐกิจโลก หากมีความไม่มั่นคงหรือเกิดผลกระทบในวงกว้าง รวมถึงภาวะสงครามล่ะก็ ราคาของทองคำก็จะทยานดีดตัวสูงขึ้นแน่ๆ เพราะทองถือเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าและความปลอดภัย(Safe Haven) จึงเป็นที่ต้องการของสภาวะตลาดที่ยังไม่มั่นคง และมีการขายตราสารทางการเงินอื่นๆออกมา

นอกจากนี้ ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจในสหรัฐ หากตัวเลขออกมาดี ผู้คนมีเงินเพิ่มขึ้นกันมาก ก็จะมีการบริโภคทองคำที่มากขึ้นตาม จึงส่งผลต่อราคาทองคำให้ตกลงด้วย เช่น ค่า GDP ในประเทศ , ยอดการขายบ้านใหม่และบ้านมือสอง , สวัสดิการการว่างงาน , อัตราดอกเบี้ย หรืออัตราภาวะเงินเฟ้อต่างๆ รวมไปถึงการวิเคราะห์ข่าวในกองทุน SPDR Gold Trust ที่เป็นกองทุนขนาดใหญ่ที่ลงทุนในทองคำแท่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก็ย่อมมีผลกระทบต่อราคาทองคำในตลาดโลก และสถานการณ์การต่อสู้กันในประเทศตะวันออกกลาง ที่มีผลกระทบต่อราคาน้ำมันก็จะดึงราคาทองคำให้แปรผันตามด้วย

เทศกาลหรือช่วงเวลา

เทศกาลหรือช่วงเวลา

เทศกาลและช่วงเวลาที่ส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจในบางประเทศ ก็จะส่งผลกระทบต่อราคาทองคำในประเทศนั้นๆแน่นอน เช่น ในช่วงตรุษจีน ประมาณเดือน ก.พ. - มี.ค. คนจีนที่ชื่นชอบและเป็นนักสะสมทองคำอยู่แล้ว ก่อนเทศกาลก็มักจะมีการซื้อทองคำหรือเก็บสะสมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้ราคาทองในช่วงนั้นก็จะมีราคาสูงขึ้น หรือสำหรับชาวอินเดีย ที่มีการนิยมแต่งงานในช่วงปลายปี สินสอดส่วนใหญ่ก็คือทองคำ หรือช่วงเทศกาลติวาลี ที่มีความต้องการทองคำสูงในช่วงสิ้นปี ก็ทำให้ราคาทองในช่วงนั้นก็จะมีการขยับราคาสูงขึ้นตามไปด้วย

จะลงทุนในทองต้องมองให้ขาด เพื่อสร้างช่องทางการเงินที่เพิ่มขึ้นของเรา

จะลงทุนในทองต้องมองให้ขาด เพื่อสร้างช่องทางการเงินที่เพิ่มขึ้นของเรา

สิ่งที่เราควรรู้ก็คือ 6 ปัจจัยที่กล่าวกันไป ซึ่งจะมีผลต่อราคาทองคำในบ้านเราไปจนถึงราคาทองคำในตลาดโลกด้วย ส่วนราคาทองในประเทศไทย หรือราคาที่เรียกว่า Gold spot ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงเสมอใน 24 ชม.นี้ จะมีหน่วยเป็น USD/Oz โดยทองคำ 99.99 % ในไทยจะใช้หน่วยเป็นกิโลกรัม และ ทองคำ 96.5 % จะใช้หน่วยเป็นบาท (ทองคำ 1kg =65.6บ.)ดังนั้น ก่อนที่จะทำการแปลงราคา เราก็ต้องแปลงน้ำหนักกันก่อนด้วย