คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 นั้นอยู่กับเรามายาวนานเหลือเกิน และไม่รู้ว่าอยู่กับเราอีกนานแค่ไหน? นอกจากความกังวลเรื่องสุขภาพแล้วปัญหาที่มาพร้อมกับโควิด 19 ก็คือ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ หลายคนตกงาน ขาดรายได้ และธุรกิจสะดุด ดูเหมือนว่าทุกอย่างจะติดๆขัดๆไปหมดเลยนะ หลายประเทศทั่วโลกก็กำลังประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจเช่นกัน ซึ่งแต่ละประเทศก็มีวิธีการช่วยเหลือเยียวยาประชากรที่เดือดร้อนจากการระบาดของโควิด 19 ที่แตกต่างกันไป ประเทศไทยเองก็มีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่เดือดร้อนด้วยเหมือนกัน ตั้งแต่เริ่มต้นการระบาดของโควิด 19 รัฐบาลไทยเองก็มีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือกลุ่มแรกๆก็คือ กลุ่มคนที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯนั่นเอง แล้วต่อมาเมื่อสถานการณ์โควิด 19 เริ่มดีขึ้นจากการระบาดรอบแรกก็ได้ออกมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวโดยมีโครงการที่ชื่อว่า เราเที่ยวด้วยกัน โครงการนี้เป็นโครงการที่รัฐฯจะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายบางส่วนสำหรับที่พักและค่าอาหารให้แก่ผู้ที่ร่วมโครงการเพื่อกระตุ้นให้มีการท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้นซึ่งไม่ค่อยจะได้รับความสนใจเท่าที่ควร ต่อมาเมื่อมีการระบาดอย่างรุนแรงรอบที่สอง จากนั้นก็มีโครงการที่ชื่อว่า คนละครึ่ง โครงการนี้รัฐฯจะช่วยค่าใช้จ่าย 50% ในทุกๆการใช้จ่ายในการดำรงชีพมาตรการนี้มีขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้แก่ร้านค้ารายย่อยทั่วๆไปซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากมีการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการอย่างล้นหลามผ่านทาง App เป๋าตัง จน App ล่มไปหลายครั้งหลายหน แล้วตอนนี้ล่ะรัฐฯมีมาตรการอะไรออกมาอีกบ้าง?

ถึงแม้ไม่ตอบคุณเองก็รู้ดีอยู่แล้วล่ะว่าตอนนี้รัฐฯมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาออกมาใหม่สองโครงการด้วยกัน คือ เราชนะ และ เรารักกัน ซึ่งทั้งสองโครงการนี้ประชาชนให้ความสนใจเป็นอย่างมากในการลงทะเบียนเข้าร่วมเพราะไม่จำกัดจำนวนและยังให้ระยะเวลาในการลงทะเบียนหลายวันพอสมควร แต่ก็ยังมีเงื่อนไขอยู่นะว่าใครมีสิทธิและใครที่ไม่สิทธิได้รับเงินเยียวยาจากสองโครงการนี้ บทความนี้จะพาคุณมาไขข้อข้องใจที่ว่า สองโครงการนี้ต่างกันอย่างไร? และใครมีสิทธิ์บ้าง? คุณล่ะมีสิทธิ์หรือป่าว? มาดูกันเลย

เราชนะคืออะไร?

เราชนะคืออะไร?

เราชนะ คือ มาตรการเยียวยาช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยและได้รับความเดือดร้อนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19  ซึ่งมุ่งเน้นไปที่กลุ่มคน 3 กลุ่ม คือ ผู้ที่มีอาชีพอิสระ ผู้ที่บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และผู้ที่เคยได้สิทธิโครงการเราเที่ยวด้วยกันกับสิทธิ์โครงการคนละครึ่งไปแล้ว เงินเยียวยาจากโครงการเราชนะที่จะได้มีจำนวน 7,000 บาท ซึ่งรัฐฯจะแบ่งจ่ายให้แต่ละอาทิตย์เท่าๆกันเป็นระยะเวลา 2 เดือน ส่วนเงินที่ได้รับนั้นจะเป็นเงินในระบบไม่ใช่เงินสดซึ่งจะใช้จ่ายผ่าน App เป๋าตัง บัตรสวัสดิการฯ และบัตรประจำตัวประชาชนสำหรับผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟน โครงการนี้เน้นช่วยค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพทั่วๆไปไม่ว่าจะซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆตามร้านค้าที่รับชำระผ่านช่องทางต่างๆตามที่กล่าวมาได้เท่านั้น เช่น ร้านธงฟ้า ร้านค้าที่ร่วมโครงการคนละครึ่ง ขนส่งสาธารณะ โรงแรมที่พักที่เข้าร่วมโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ร้านค้า OTOP แล้วเงื่อนไขของการรับสิทธิมีอะไรบ้าง?

ใครบ้างได้รับสิทธิเราชนะ?

ใครบ้างได้รับสิทธิเราชนะ?

แม้ว่าโครงการเราชนะจะเน้นช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่เดือดร้อน 3 กลุ่มด้วยกันแต่ผู้ที่จะได้รับสิทธิจริงๆต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดด้วยนะ เงื่อนไขมีดังนี้ คือ

  1. ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33
  2. ไม่มีอาชีพเป็นข้าราชการ
  3. ไม่เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมิน 300,000 บาท และ 500,000 บาท ตามข้อมูลล่าสุด
  4. ไม่เป็นผู้ที่ได้รับเงินบำนาญจากการเป็นข้าราชการ
  5. มีสัญชาติไทย อายุ 18 ปีขึ้นไป

นี่คือเงื่อนไขสำคัญสำหรับคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับสิทธิโครงการเราชนะ ใครที่ยังขาดคุณสมบัติส่วนไหนหรือมีคุณสมบัติไม่ตรงตามเงื่อนที่กำหนดก็ทำใจไว้ได้เลยว่าอาจจะไม่ได้รับสิทธิเราชนะนะคะ

เรารักกันคืออะไร?

เรารักกันคืออะไร?

เรารักกัน คือ มาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 33 โดยเฉพาะซึ่งเป็นกลุ่มที่จะไม่ได้รับสิทธิในโครงการเราชนะนั่นเอง เนื่องจากมีการเรียกร้องให้รัฐฯออกมาตรการช่วยเหลือผู้ที่มีประกันสังคมหรือมีอาชีพประจำที่ขาดรายได้และรายได้ลดลงบ้าง ทางภาครัฐฯจึงต้องออกมาตรการโครงการเรารักกันเพื่อช่วยเหลือคนทำงานประจำที่มีความเดือดร้อนจากสถานการณ์โควิด 19 ในตอนนี้ค่ะ แต่จำนวนเงินที่ได้รับจะได้น้อยกว่าคนที่ได้รับสิทธิจากโครงการเราชนะอยู่ที่ 4,000 บาทเท่านั้น เนื่องจากรัฐฯให้เหตุผลว่าการจ่ายเงินจำนวนนี้ให้จะทำให้ผู้ประกันตนม.33 ได้รับเงินทุกคนไม่มีใครตกหล่น เมื่อตัดคนที่เป็นผู้ประกันตนที่ไม่มีคุณสมบัติออกไปแล้วเงินเยียวยาจะเพียงพอต่อผู้ประกันตนที่มีคุณสมบัติครบทุกคนประมาณ 9 ล้านคนค่ะ นี่เป็นคำกล่าวของ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เรามาดูกันว่าผู้ประกันตนม.33 ที่จะได้รับสิทธิเรารักกันต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง?

ใครบ้างได้รับสิทธิเรารักกัน?

ใครบ้างได้รับสิทธิเรารักกัน?

เมื่อกระทรวงแรงงานเห็นชอบว่าต้องให้การช่วยเหลือเยียวยาในส่วนของผู้ประตนม.33บ้างก็ได้เกิดโครงการเรารักกันขึ้นมา ซึ่งทำให้เสียงร้องเรียนจากพนักงานประจำทั้งหลายที่กำลังเดือดร้อนจากสถานการณ์การระบาดโควิด 19 ลดลงไปได้บ้างแล้วก็เป็นที่พอใจพอสมควรแม้เงินที่ได้อาจจะไม่เท่ากับโครงการเราชนะด้วยเหตุหลายๆอย่าง แต่ก็ไม่ใช่ผู้ประกันม.33ทุกคนจะได้รับสิทธิโครงการเรารักกันนะ เพราะต้องมีคุณสมบัติดังนี้คือ

  1. มีสัญชาติไทย
  2. เป็นผู้ประกันม.33
  3. ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ
  4. ไม่ได้รับสิทธิเราชนะ
  5. ไม่มีเงินฝากในบัญชีรวมกันเกิน 500,000 บาท จากข้อมูลล่าสุดของวันที่ 31 ธันวาคม 2563

ผู้ประกันตนม.33 คนไหนที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขเหล่านี้ก็เตรียมตัวลงทะเบียนได้เลยตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ – 7 มีนาคม แล้วรอตรวจสอบสิทธิและรับเงินในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2564 ค่ะ ซึ่งเงินที่จะได้รับจะอยู่ในระบบและใช้จ่ายผ่าน App เป๋าตังเหมือนกับโครงการเราชนะเลยนะ แม้จะได้น้อยกว่าแต่ก็ยังดีกว่าได้จริงไหม?

มาตรการทั้งสองอาจจะต่างกันแต่มีเป้าหมายเดียวกัน

มาตรการทั้งสองอาจจะต่างกันแต่มีเป้าหมายเดียวกัน

มาตรการช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐฯทุกๆมาตรการก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะมีคุณสมบัติได้รับไปทั้งหมดนะ จึงสมควรตรวจสอบและเช็คสิทธิของตัวท่านเองให้ดี เพื่อจะไม่ทำผิดเงื่อนไข ทุกๆโครงการที่รัฐฯออกมานั้นส่วนมากก็ต้องให้ประชาชนทำการลงทะเบียนผ่านสมาร์ทโฟนเป็นส่วนใหญ่จึงเกิดปัญหาระบบล่มบ่อยๆทำให้เกิดความวุ่นวายหลายอย่าง แต่ไม่ว่าอย่างไรก็อยากทุกๆคนที่ทำการลงทะเบียนผ่านระบบหรือผ่านเว็บไซต์ใจเย็นๆกรอกข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน เพราะถ้ารีบร้อนเกินแล้วกรอกข้อมูลผิดพลาดจะเสียสิทธิได้นะ แถมยังทำให้เสียเวลามากกว่าเดิมอีกด้วย การลงทะเบียนรับสิทธิโครงการเราชนะ และ โครงการเรารักกันก็เช่นกันแม้จะเป็นโครงการที่ออกมาเพื่อช่วยเหลือประชนชนที่เดือดร้อนคนละกลุ่มและให้เงินเยียวยาไม่เท่ากันแต่ทุกๆอย่างย่อมมีเหตุมีผลของมัน สิ่งสำคัญที่ผู้มีสิทธิลงทะเบียนควรใส่ใจควรจะเป็นเรื่องสำคัญเหล่านี้มากกว่า นั่นคือ วันที่เริ่มลงทะเบียนและวันสิ้นสุดการลงทะเบียน วันที่มีการตรวจสอบสิทธิ วันที่กำหนดให้ยืนยันตัวตน และวันที่เงินเข้าใน App เป๋าตัง นี่คือข้อมูลสำคัญที่ควรเอาใจใส่และจดจำให้ดีเพราะถ้าพลาดแล้วอาจจะหมดสิทธิได้เลยนะ สรุปว่าถึงแม้ทั้งสองมาตรการจะแตกต่างกันบ้างในบางเรื่องแต่เป้าหมายก็คือ เพื่อช่วยเหลือเยียวยาความเดือดร้อนจากช่วงที่โควิด 19 ระบาดนั่นเอง ซึ่งในอนาคตที่โควิด 19 ยังอยู่กับเราต่อไปก็อาจจะมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาออกมาใหม่ๆเรื่อยๆคุณต้องคอยติดตามข่าวสารให้ดีล่ะจะได้ไม่พลาดสิทธิที่คุณและครอบครัวควรจะได้รับเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนในตอนนี้และอนาคตค่ะ