เคยได้ยินคำว่า DeFi ไหม ? DeFi ย่อมาจาก Decentralized Finance แล้ว DeFi คือ อะไร DeFi ก็คือ ระบบของโลกการเงินแบบใหม่ที่เกิดจากการต่อยอดการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) ในการเข้ามาช่วยดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ ของเรา ไม่ว่าจะเป็น ซื้อ - ขายสินทรัพย์ ซื้อประกันภัย ซื้อกองทุน แทนสถาบันตัวกลาง อย่างธนาคารหรือสถาบันการเงินทั้งหลาย หรือพูดง่ายๆก็คือเป็นระบบการเงินแบบไม่มีศูนย์กลางทำให้การทำธุรกรรมต่าง ๆ มีบันทึกและดำเนินธุรกรรมอัตโนมัติ สามารถบันทึกได้ทันทีที่มีการตกลงและมีความเสี่ยงต่อการโดนปลอมแปลงหรือแฮ็กข้อมูลในระบบ รวมถึงค่าธรรมเนียมดำเนินการที่ต่ำกว่า
จุดเริ่มต้นของ DeFi คือ อะไร ?
หลายคนอาจจะยังนึกภาพของการเงินแบบ DeFi ไม่ออก ขอยกตัวอย่าง Bitcoin และ Ethereum ซึ่งนับว่าเป็น DeFi ประเภทหนึ่ง ด้วยระบบบล็อกเชนที่สามารถสร้างระบบที่สร้างมูลค่าให้แก่เหรียญต่าง ๆ ในคริปโต มีความปลอดภัยสูง และมีการซื้อ - ขายได้แบบไร้ตัวกลางผ่านระบบ P2P
ทั้งนี้ Bitcoin นั้นเป็นเพียงความเป็นไปได้หนึ่งของระบบการทำธุรกรรมที่ไม่อาศัยตัวกลางเท่านั้น ด้วยข้อจำกัดมากมายที่ทำให้เราไม่สามารถเขียนคำสั่งที่ซับซ้อนในเหรียญนี้ได้
ต่อมานักพัฒนาก็ค่อย ๆ พัฒนาคำสั่งของระบบการเงินที่ซับซ้อนขึ้น จนเกิดเป็นระบบ Smart Contract ในเหรียญพี่ใหญ่ที่มีมูลค่าสูงรองลงมาจาก Bitcoin ก็คือ Ethereum ซึ่ง Smart Contract เป็นสัญญาอัจฉริยะที่จะทำงานด้านการเงินในระบบสามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเองเมื่อเงื่อนไขครบตามสัญญา จนพัฒนาเป็นแอปพลิเคชันที่ทำงานอย่างไร้ตัวกลางอย่าง DeFi
ทำไมทั่วโลกถึงให้ความสนใจกับ DeFi
หลังจากพอเห็นภาพกันแล้วว่า DeFi คือ อะไร ต่อมาเรามาดูกันที่ระบบการเงินแบบดั้งเดิม หรือ CeFi (Centralized Finance) ของเราต้องอาศัยตัวกลางเป็นสถาบันการเงินต่างๆในการทำธุรกรรมในทุกรูปแบบ ทำให้ความสะดวกรวดเร็วหายไป ยิ่งในยุคที่ยังไม่มีระบบ e-Banking เวลาเราจะทำธุรกรรมอะไรที ก็ต้องไปทำธุรกรรมที่ธนาคารหรือตู้ ATM
ระบบ DeFi คือ ความแปลกใหม่ในโครงสร้างการทำธุรกรรมที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์เลยก็ว่าได้ เพราะต่อไปนี้ไม่ว่าเราจะต้องการดำเนินการทางการเงินอะไรก็ทำแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้เวลานานหรือต้องไปดำเนินการด้วยตัวเองในสถาบันการเงินต่าง ๆ อีกต่อไป เราสามารถไว้วางใจระบบ Smart Contract ที่เราได้กำหนดเงื่อนไขด้วยตัวเองให้สามารถทำงานแทนเราได้อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งระบบนี้มีการลงรับให้ทำงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายที่สำคัญไม่สามารถถูกดัดแปลงปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขในภายหลังได้อีกด้วย
พูดง่าย ๆ ก็คือสิ่งที่ทำให้คนส่วนใหญ่บนโลกใบนี้หันมาให้ความสนใจกับ Defi ก็คือความสามารถที่มากขึ้นในการจัดการสินทรัพย์รวมถึงทำธุรกรรมต่าง ๆ ด้วยตัวเองได้อย่างอิสระและสะดวกรวดเร็วกว่าที่เคย
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CeFi VS DeFi ที่นี่
ประโยชน์จากการพัฒนาสู่ DeFi คือ อะไร
ด้วยความที่ Smart contract สามารถนำไปต่อยอดรวมถึงผสมผสานกับเทคโนโลยีอื่นๆ ได้อีกมากมาย ทำให้เป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาระบบการทำธุรกรรมระดับโลก โดยจะขออธิบายถึงประโยชน์หลักๆด้วยกัน 4 ข้อ ดังนี้
- สามารถใช้งานได้จากทุกมุมโลก ด้วยเดิมทีและการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆจะถูกจำกัดอยู่ในธนาคารมีสถาบันการเงินเท่านั้น ซึ่งเราจะไม่สามารถเชื่อมโยงต้นทางกับปลายทางได้ด้วยตัวเอง ต่างจาก DeFi ที่ทำงานบนระบบบล็อกเชนทำให้เชื่อมโยงทำธุรกรรมทางการเงินได้จากทุกประเทศและทุกที่ทั่วโลก โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางใด
- ไม่ต้องใช้บุคลากรคนในการดำเนินการ ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินสามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติในทุกขั้นตอน แตกต่างจากการทำธุรกรรมทางการเงินแบบดั้งเดิมที่จะต้องมีพนักงาน ที่จะเข้ามาดำเนินการให้เรา ซึ่งด้วยระบบมนุษย์อาจจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ แต่หากเป็นตัวกลางที่เป็นเทคโนโลยีดิจิทัลก็จะทำงานได้แม่นยำมากขึ้น
- มีค่าธรรมเนียมการดำเนินการที่ต่ำลง ในขณะเดียวกันกับให้ผลตอบแทนที่จูงใจกว่า ด้วยระบบ DeFi ถูกพัฒนาให้ระบบมีการทำงานได้อัตโนมัติเราง่ายต่อการเข้าถึง มีการทำธุรกรรมอย่างเป็นระบบ ทำให้ต้นทุนธุรกรรมต่ำลง จึงสามารถกำหนดค่าบริการที่ต่ำกว่า รวมถึงให้ผลตอบแทนอย่างดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงกว่าเดิมได้
- ทำให้โลกการเงินไร้ขีดจำกัด สามารถเข้าถึงได้ทุกคน ทุกที่เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ตทุกคนจึงมีส่วนร่วมกับการทำงานของระบบได้มากกว่าที่เคย ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเงื่อนไขผ่าน Smart Contract ทำให้การกู้เงินหรือการเคลมประกันภัยเป็นไปโดยอัตโนมัติ การแบ่งสิทธิถือครองหลักทรัพย์ในหน่วยย่อยกว่าเดิมทำให้เข้าถึงนักลงทุนได้มากขึ้น หรือการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ระหว่างกันด้วยค่าธรรมเนียมดำเนินการที่ต่ำลง
ความเสี่ยงของ DeFi คือ อะไร
อย่างที่รู้ว่าระบบในการทำธุรกรรมทางการเงินไม่ว่าจะเป็นแบบดั้งเดิมหรือรูปแบบใหม่ย่อมมีความเสี่ยงไม่มากก็น้อย DeFi ก็เช่นกัน มาแล้วจะต้องด้วยความที่ DeFi ถูกพัฒนาขึ้นมาบนแพลตฟอร์มและระบบบล็อกเชนของ Ethereum แล้วเมื่อระบบเหล่านี้มีการค่อย ๆ พัฒนาและขยายขนาดเพื่อรองรับผู้ใช้ที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่ตามมาก็คือระบบที่อาจจะมีการขัดข้องเหลือให้บริการผู้ใช้ได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งอาจจะส่งผลให้ระบบมีการเก็บค่าธรรมเนียมที่แพงขึ้นหรือมีการปิดกั้นชั่วคราวเพื่อตรวจสอบสินทรัพย์และธุรกรรมต่างๆของผู้ใช้บริการที่เข้ามาดำเนินการเป็นจำนวนมากอยู่เป็นประจำ
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยทางการตลาดอีกมากมายที่จะส่งผลต่อผู้ใช้งานบนระบบการเงิน DeFi ได้โดยตรง เช่นมูลค่าที่ลดลงของเหรียญคริปโต เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทุน คริปโต
วิเคราะห์อนาคตของ DeFi
ด้วยความที่ในทุกวันนี้ DeFi มีการให้บริการการทำธุรกรรมในหลากหลายรูปแบบมากไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมเงินการทำบัญชีเงินฝากการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆไปจนถึงเรื่องของประกันภัย ด้วยระบบเหล่านี้ทำให้การทำธุรกรรมมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นและมีแนวโน้มเพิ่มผลตอบแทนในการลงทุนให้กับผู้ใช้บริการได้ดีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ระบบ DeFi มีโอกาสที่จะถูกพัฒนาและขยายตัวเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว
เห็นได้ชัดจากในช่วงปี 2020 ที่ระบบ DeFi ทำให้คริปโตมีมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงสุดมากถึง 70% รวมถึงสินทรัพย์ค้ำประกันในระบบของ DeFi มีมูลค่าสูงถึง 90 ล้านเหรียญ และมีแนวโน้มที่จะถูกนำไปปรับใช้กับเทคโนโลยีอื่น ๆมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต
หลังจากอ่านบทความนี้แล้วคงพอเห็นภาพว่า DeFi คือ อะไร เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในความก้าวหน้าของระบบทางการเงินระดับโลก ถ้าหากท่านใดยังมีข้อสงสัยหรือสนใจในการลงทุนผ่านระบบ DeFi สามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินจาก MoneyDuck ได้ฟรี ที่ลิงก์ด้านล่าง
บอกเล่าความคิดเห็นและสิ่งที่คุณรู้ที่นี่