ประเด็นที่กำลังถกเถียงระดับโลกอย่างรุนแรง คงหนีไม่พ้น สงครามการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งยอมรับว่าในตอนนี้กระทบต่อเศรษฐกิจประเทศต่างๆมากจริงๆ แม้หลายประเทศเคยทำงานกันอย่างหนักเพื่อจะลดอุปสรรคทางการค้า หรืออุปสรรคที่เป็นภาษี และที่ไม่ใช่ภาษี ความตกลงกันด้านสินค้าเกษตรต่างๆ แต่ในวันนี้กลับช็อคเอาง่ายๆ เพราะมาตรการปกป้องต่างๆก็ใช้ไม่ได้ และการระงับข้อพิพาทก็ไม่มีใครยื่นมือมาเปลี่ยนแปลง ดังนั้น เราในฐานะประชาชนคนนึงบนโลก ต้องรับมือและรู้ข่าวสารด้านนี้ว่า สงครามการค้าคืออะไร เป็นมาอย่างไรในอดีต รวมถึงผลกระทบในตอนนี้

ความหมายของสงครามการค้า

ความหมายของสงครามการค้า

ขึ้นชื่อว่า สงคราม แม้จะไม่ได้เกิดการรบราฆ่าฟัน จนต้องบาดเจ็บกันไป แต่ผลการทำสงครามนั้นก็ทำให้เจ็บไปได้มากทีเดียว. “ สงครามการค้า ” จะดำเนินไปในรูปแบบของการใช้มาตรการตอบโต้ระหว่างคู่ค้าสงครามด้วยกัน เพื่อจะทำให้สินค้าของอีกประเทศหนึ่งนั้นมีราคาแพงกว่าสินค้าชนิดอื่นจนทำให้ขายไม่ได้ เป็นสงครามที่ใช้เงินตราเข้ามาห้ำหั่นกัน แม้ไม่จำเป็นต้องใช้อาวุธ แต่กำลังใช้เศรษฐกิจเพื่อขัดขวางการขยายอำนาจของกันและกัน โดยสิ่งที่เรียกว่า ‘ภาษี’ นั่นเอง.

สาเหตุของสงครามการค้า สหรัฐ-จีน

สาเหตุของสงครามการค้า สหรัฐ-จีน

1.ทำเนียบขาวของสหรัฐได้สั่งตรวจสอบนโยบายการค้าของจีน และระบุว่า พบการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมหลายประการของจีน รวมถึงกฎหมายห้ามต่างชาติครอบครองกิจการ ด้วยเหตุนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการเข้าไปลงทุนในจีนจะต้องมีคนจีนเป็นหุ้นส่วนร่วมด้วย ส่งให้มีผลกดดันหลายบริษัทต่างชาติต้องยอมถ่ายโอนเทคโนโลยีให้ เพื่อสินค้านั้นเข้าสู่ตลาดจีนได้

2.สหรัฐกลัวว่านโยบาย Made in China 2025 ที่จีนพยายามจะพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพสูงขึ้นและไฮเทคมากขึ้นนั้น บางอย่างอาจมีปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็น สินค้ากลุ่มไอที Hardware หรือ Software และสินค้าชนิดอื่นๆ จึงเป็นประเด็นนี้ทำให้ ปธน. ทรัมป์ ไม่พอใจอยู่ในขณะนี้

3.เนื่องจากการขาดดุลทางการค้ากับประเทศจีน รวมไปถึงเรื่องของการว่างงานในสหรัฐ ทำให้สหรัฐต้องการที่จะลดจำนวนด้านนี้ และเพิ่มกำแพงภาษีในมุมมองเรื่องการจ้างงานในสหรัฐด้วย

ดังนั้น ปธน. โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ จึงประกาศเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าจากจีน1,300 รายการ รวมมูลค่าประมาณ 5 หมื่นล้านเหรียญ โดยสินค้าหลักๆจะเป็นประเภท คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิค ซึ่งในปีนึงสหรัฐต้องนำเข้าจากจีน มูลค่าสูงถึง 1.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ แต่ในขณะเดียวกัน สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนจึงโต้ตอบด้วยการเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากอเมริกาเช่นกัน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 106 รายการคิดเป็นมูล 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และหากสินค้าที่จีนขึ้นนั้นเป็นสินค้าทางการเกษตร เป็นส่วนมาก เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ทรัมป์จะได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก เพราะการเลือกตั้งที่ผ่านมาทรัมป์ คะแนนเสียงส่วนใหญ่ของทรัมป์ เป็นเกษตรกรที่ปลูก ข้าวโพด และ ถั่วเหลือง  จึงเรียกได้ว่า สี จิ้นผิง ยิง ปืนนัดเดียวได้นกถึงสองตัวเลยล่ะ.

สงครามการค้าในอดีตและผลกระทบ

สงครามการค้าในอดีตและผลกระทบ

ที่จริง มีตัวอย่างที่แสดงให้เห็นชัดด้วยว่าการตั้งกำแพงภาษีนั้น สร้างผลเสียให้เกิดขึ้นมากกว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับ เช่น การขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช เมื่อปี 2002 ยูเอสไอทีซี หรือ คณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา แสดงตัวเลขให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น ลดลงเป็นมูลค่า 30.4 ล้านดอลลาร์ ทำให้ผู้ใช้แรงงานอเมริกันต้องตกงานประมาณ 200,000 ตำแหน่ง โดยประมาณว่า 13,000 ตำแหน่งในจำนวนนั้นอยู่ในอุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้านี่ด้วยโดยสถาบันปีเตอร์สันเพื่อเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กล่าวเป็นนัยว่า การขึ้นภาษีของบุชสร้างความเสียหายคิดเป็นมูลค่า 400,000 ดอลลาร์ต่อ1 ตำแหน่งงานที่เสียไป องค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) และชี้ขาดในเวลาต่อมาด้วยว่า การขึ้นภาษีของบุชครั้งนั้น เป็นการกระทำละเมิดกฎการค้าระหว่างประเทศ.

แต่ดูเหมือนครั้งเดียวที่การใช้ไม้แข็งในรูปแบบทำนองนี้จะประสบความสำเร็จคือ การเล่นงานกับญี่ปุ่น เมื่อ 3 ทศวรรษก่อนนั้น ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน กดดันจนญี่ปุ่นตกลงที่จะต้องดำเนินการ “ระงับส่งออกโดยสมัครใจ” เพื่อจำกัดจำนวนรถยนต์ที่จะส่งออกไปยังสหรัฐ ซึ่งทางหนึ่งนั้นเพราะญี่ปุ่นไม่เพียงเป็นพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่ยังพึ่งพาทหารอเมริกันในการคุ้มครองประเทศอีกด้วย แต่อีกด้านหนึ่งญี่ปุ่นกลับพบหนทางเลี่ยงปัญหาดังกล่าว โดยการไปปักหลักสร้างโรงงานผลิตขึ้นเองเลยทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา

สิ่งที่หลายคนกำลังจับตามองต่อมาคือ หนึ่งในเจ้าหน้าที่ซึ่งทำเรื่องนี้ให้กับเรแกน คือ โรเบิร์ต ไลต์ไฮเซอร์  ซึ่งในเวลานี้เขาได้มาดำรงตำแหน่งผู้แทนการค้า ซึ่งถือเป็นตำแหน่งสูงสุดสำหรับทำหน้าที่เจรจาการค้าของโดนัลด์ ทรัมป์ด้วย แต่ยังไงก็ตามจีนไม่ใช่ญี่ปุ่น ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการคุ้มครองทางการทหารจากสหรัฐ และภายในประเทศจีนก็มีแรงกดดันต่อผู้รับผิดชอบมากขึ้นเรื่อย ๆ ให้ตอบโต้ให้หนักพอกัน ดังนั้น หากสหรัฐอเมริกาคาดหวังการใช้ไม้แข็งอีกครั้งล่ะก็ คงเป็นความคาดหวังที่ยากจะเป็นจริงได้เพราะสงครามการค้านั้น นอกจากจะไม่เป็นผลดีกับใครๆเลย ยังเกิดขึ้นได้ง่ายมาก แต่ก็จบยากอย่างยิ่ง.

สงครามการค้าในปัจจุบันและผลกระทบ

สงครามการค้าในปัจจุบันและผลกระทบ

หลายประเทศแม้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงแต่ก็หนาวๆร้อนๆไปตามกันว่าจะเกิดผลกระทบอะไรมาถึงกันบ้าง อย่างที่กล่าวไปต้นบทความ สหรัฐ และ จีนนั้น แม้ในปี 2016 ทั้งสองประเทศมีมูลค่าการค้าระหว่างกันอยู่ประมาณ 600,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จีนมียอดนำเข้าสินค้าอยู่ที่ 1.299 แสนล้านเหรียญ ยอดส่งออกสินค้าอยู่ที่ 5.055 แสนล้านเหรียญ สินค้าบางอย่างอาจต้องส่ง ไป-กลับ เช่น เครื่องบิน เพราะว่าต้องใช้อะไหล่บางชิ้นที่ผลิตจากจีน แต่นำกลับมาประกอบที่สหรัฐ ก่อนที่จะส่งกลับไปขายในจีนอีกรอบ หรือสินค้าเครือโทรศัพท์มือถือที่มี Supply Chain เกี่ยวข้องเยอะมาก แต่ในกลางเดือนที่แล้ว ประธานาธิบดีทรัมป์สั่งให้สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ เสนอรายชื่อสินค้าจากจีนที่ต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 เป็นวงเงินรวม 2 แสนล้านดอลลาร์ หรือ 6.6 ล้านล้านบาท และมีข่าวลือหนาหูว่าในที่สุดแล้ว กำแพงภาษีของสหรัฐฯ ที่ตั้งไว้เล่นงานจีนอาจจะถึง 4.5 แสนล้านดอลล์ หรือ 14.8 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว

จึงนับได้ว่า สหรัฐฯต้องการหยุดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน และใช้กำภาษีเข้ามาเป็นเครื่องมืออันแสนแพงนั่นเอง แต่ธนาคารประชาชนจีนก็ออกมาศึกษาข้อมูลแวิเคราะห์จนได้ข้อสรุปว่า กำแพงภาษีของสหรัฐฯ แม้ทำให้เศรษฐกิจจีนชะลอตัวร้อยละ 0.2 แต่หากจีนระมัดระวังและแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ ผลกระทบก็จะไม่บานปลายขยายไปกระทบกับเรื่องอื่นแต่จะอยู่ในวงจำกัดได้

นอกจากนี้คำสั่งของทรัมป์ยังบังคับให้สินค้าจากจีน 818 รายการ ต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 25 เฉพาะลอต คิดเป็นมูลค่ารวม 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 1.12 ล้านล้านบาท แน่นอนว่า กระทบต่อโครงการพัฒนา Made in China 2025 ของสี จิ้นผิง ที่ต้องการให้สินค้าจีนมีคุณภาพสูงและนวัตกรรมสูงในอีก 7 ปีข้างหน้า เพราะเครื่องจักรขนาดใหญ่ ชิ้นส่วนเครื่องจักร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ ฮาร์ดแวร์ คอมพิวเตอร์ หลอดไฟแอลอีดี ที่ตอนนี้จีนผลิตได้อย่างมีคุณภาพสูงและราคาต่ำจะขายได้ยากในสหรัฐฯแน่ๆ จีนจึงไม่อยู่เฉยตอบโต้กำแพงภาษีของสหรัฐฯอย่างทันทีและอย่างมีมูลค่าเท่ากัน ซึ่งรัสเซียซึ่งเป็นพันธมิตรกับจีนก็เข้ามาร่วมแล้วโดยนายกรัฐมนตรีเมียดแวเดียฟ ลงนามคำสั่งขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ในอัตราร้อยละ 25-40 แม้สหรัฐฯเคยพูดตลอดว่าตัวเองจะร่วมมือกับประเทศต่างๆ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ เข้ามาเป็นผู้นำในการวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการค้าสินค้า บริการ ทรัพย์สินทางปัญญา มาตรการลงทุน แต่วันนี้ ทรัมป์กลับละเมิดกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศตามกรอบขององค์การการค้าโลกด้วยตัวเอง จึงเป็นผู้จุดชนวนสงครามการค้า ครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจโลก

ขณะที่คนทั้งโลกเฝ้าดูต่างลุ้นกันว่าระหว่างสหรัฐฯกับจีน ใครจะเป็นแชมป์เศรษฐกิจโลก แต่ไม่ว่าอย่างไร สำหรับเราๆแล้ว ไม่ว่าจีนหรือสหรัฐฯชนะ คนที่แพ้ก็คือชาติเล็กประเทศน้อยทั่วโลก เพราะกำแพงภาษีที่สหรัฐฯนำมาใช้อย่างละเมิดกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศตามกรอบดับเบิลยูทีโอจะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโลกอย่างมาก เช่น การส่งออกของไทยในปีนี้ น่าจะลดลงแน่นอน เพราะไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ สินค้าไอที อิเล็กทรอนิกส์ และแผงวงจรไฟฟ้ารายใหญ่ให้แก่จีน เมื่อคิดสัดส่วนในการเติบโตของประเทศ การส่งออกมีสัดส่วนสูงถึง 70% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ทำให้สภาพเศรษฐกิจไทยตอนนี้ ติดลบมาแล้ว 3 ไตรมาส รวมกันเกือบ 5% คิดเป็นเงิน 300,000-400,000 ล้านบาท จะยิ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากขึ้น เพราะปัญหาของเราเรื่องการเมืองอีก ทำให้นักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศต่างชะลอตัว

สรุป

สรุป

การค้าโลกเปลี่ยนแปลง นักวิชาการหลายคนลงความเห็นว่า การขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐหนนี้ ส่งผลให้เกิดสิ่งที่รู้จักกันในเวลาต่อมาในชื่อ เดอะ เกรต ดีเพรสชั่น คือภาวะเศรษฐกิจตกต่ำต่อเนื่องยาวนานที่ลามออกไปทั่วโลกนั่นเอง “ สงครามการค้า” ครั้งนี้จึงส่งผลลบต่อทั้งสองฝ่าย และยังจะขยายผลต่อไปสู่การค้าโลก การชะลอลงของเศรษฐกิจโลก และความเชื่อมั่นของนักลงทุนให้แย่ลงได้ แม้ไทยเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การผลิตที่ส่งไปจีน แต่เป็นได้ว่าเราอาจได้ประโยชน์จากการส่งออกทดแทนในสหรัฐฯ และจีน. แต่ในระยะยาว ถ้าเราเข้าใจเบื้องหลังของความขัดแย้งดังที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ เราก็จะเห็นว่า ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ คงไม่จบง่าย ๆ จะปะทุขึ้นมาอีก สงครามการค้าจึงทำให้เศรษฐกิจโลกผันผวนได้ ดังนั้น ด้วยความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและซับซ้อนนี้ เราจึงต้องเรียนรู้หลาย ๆ ทั้งวิธีคิด การปรับตัว การแข่งขันการทดลอง วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของเราเอง และต้องปรับตัวตามสถานการณ์ เพื่อจะประสบความสำเร็จในประเทศเราให้ได้ต่อไป.