สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มมีเงินเดือนเป็นของตัวเองหรือก็คือเด็กจบใหม่ทั้งหลายที่เพิ่งจะได้รับเงินเดือนคงจะสงสัยกันว่าทำถึงต้องโดนหักเงินเดือน เพื่อไปจ่ายประกันสังคม แล้วก็สงสัยอีกว่าประกันสังคม คืออะไร รู้จักแต่ประชีวิตประกันอุบัติเหตุ มันเหมือนกันไหม ในบทความนี้มีคำตอบ

ประกันสังคมสำหรับคนที่เป็นมนุษย์เงินเดือนที่รู้จักกันดีอยู่แล้วว่ามันคืออะไรทำงานยังไง แล้วรู้หรือไม่ว่า คนที่ไม่ได้ทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนทำงานอาชพอิสระอย่างเช่นพวกพ่อค้าแม่ค้าก็สามารถที่จะทำประกันสังคมได้เหมือนกัน วันนี้ในบทความนี้ก็จะมาบอกด้วยเหมือนกันว่าประกันสังคมคืออะไร ทำยังไง กับ 3 ทางเลือกประกันสังคมสำหรับคนทำงานอิสระก็มีได้

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันสังคม ทำไมเจ้าของธุรกิจต้องทำให้พนักงาน ที่นี่

ประกันสังคม คืออะไร

ประกันสังคม คืออะไร

ประกันสังคมคืออะไร ? คำถามแบบนี้คงจะมาจากคนที่เพิ่งเริ่มเป็นพนักงานเงินเดือนหรือน้องๆที่เพิ่งจะเรียนจบมาใหม่ๆเข้าทำงานและโดนหักเงินเดือนไปจ่ายให้กับประกันสังคม คงต้องอยากรู้ว่ามันคืออะไร ส่วนสำหรับพี่ที่ทำงานบริษัทกันมานานแล้วคงจะทราบกันดีแล้วว่ามันคืออะไร ผมจะอธิบายให้กับน้องๆก่อนว่าประกันสังคมนั้นก็ คือ สวัสดิการที่ทางรัฐมอบให้แก่ลูกจ้าง เป็นการสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิต เพื่อให้ผู้ประกันตนมีหลักประกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ระหว่างทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วย การคลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย ว่างงาน

โดยที่ลูกจ้างกับนายจ้างจะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฏหมายโดยจะทำการหักเงินจากฐานเงินเดือน 5% ของทุกๆเดือน ซึ่งระบบแบบนี้ในต่างประเทศนั้นได้ทำกันมานานแล้วแต่ในประเทศไทยเพิ่งจะเริ่มทำกันในปี พ.ศ. 2480 และเริ่มมีสำนักประกันสังคม เพื่อให้บริการประกันสังคมอย่างเต็มรูปแบบในวัรที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2533

ผู้ประกันตนเอง คืออะไร

ผู้ประกันตนเอง คืออะไร หรือคือใคร ถ้าเป็นในเชิงบริษัทผู้ประกันตนก็จะเป็นตัวลูกจ้างที่ทำการจ่ายเบี้ยจากการถูกหักเงินเดือน 5% จากที่บอกไปในตอนแรก หรือก็คือ บุคคลที่มีการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ประกันตนนั้นมีด้วยกัน 3 ประเภท ดังนี้

1.ผู้ประกันตนภาคบังคับ (มาตรา 33) คือ ลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ในวันเข้าทำงาน    2.ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (มาตรา 39) คือ บุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 มาก่อนแล้วลาออก และได้มีการสมัครเข้าใช้สิทธิประกันสังคมในมาตรา 39 ซึ่งการสมัครประกันสังคมในกลุ่มนี้ มีเงื่อนไขว่า ต้องเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และลาออกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และต้องไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ   3.ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (มาตรา 40) คือ บุคคลที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างในบริษัทเอกชนตามมาตรา 33 และไม่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 ผู้ที่จะสมัครประกันสังคมในมาตรา 40 ได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี

3 ทางเลือกประกันสังคมสำหรับคนทำงานอิสระ

3 ทางเลือกประกันสังคมสำหรับคนทำงานอิสระ

อย่างที่ได้รู้กันไปแล้วว่าประกันสังคม คืออะไร และผู้ประกันตน คือ ใคร และรู้ว่าผู้ประกันตนเองนั้นมีด้วยกัน 3 ประเภท และประเภทที่ 3 ที่พูดถึง คือผู้ประกันตนเองภาคสมัครใจ (มาตรา 40 ) ซึ่งก็คือตามหลักแล้ว เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ เป็นสวัสดิการที่ทางรัฐคุ้มครองโดยที่ไม่ต้องทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน ก็สามารถที่จะมีสวัสดิการคุ้มครองตัวเองได้เหมือนกัน ซึ่งสำหรับตัวผมแล้วถือได้ว่าเป็นอะไรที่ตอบโจทย์กับยุคสมัยปัจจุบันมากที่ผู้คนส่วนใหญ่เลือกทำงานอาชีพอิสระ อยู่บ้านมากกว่าซึ่งผมก็เป็น 1 ในนั้น แล้ว 3 ทางเลือกประกันสังคมสำหรับคนทำงานอาชีพอิสระ คืออะไร มีอะไรบ้าง มีรายละเอียดอะไรยังไงผมจะอธิบายให้

ประกันสังคม ทางเลือกที่ 1

จ่ายเงินสมทบ 100บาท/เดือน  ผู้ประกันตนจ่าย 70 บาท รัฐช่วยจ่ายอีก 30 บาท  สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับมี 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต รายละเอียด ดังนี้

กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ผู้ประกันตนจะได้รับเป็นเงินชดเชยการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย กรณีที่ต้องนอนโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 วัน จะได้รับเงินชดเชยวันละ 300 บาท สูงสุด 30 วันต่อปี กรณีที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แต่มีคำสั่งแพทย์ให้หยุดงานและพักฟื้นที่บ้านตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชยเหมือนกัน วันละ 200 บาท สูงสุด 30 วันต่อปี แต่ถ้าหากไม่ใช่ทั้ง 2 กรณี แต่เกิดประสบอัตรายหรือเจ็บป่วยแล้วถูกแพทย์สั่งหยุดงาน 1-2 วัน จะได้รับเงินเช่นกัน วันละ 50 บาท สูงสุด 3 ครั้งต่อปี ส่วนในเรื่องของค่ารักษาพยาบาลสามารถที่จะใช้สิทธิประกันสุขภาพ บัตรทอง 30 บาท จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

กรณีทุพพลภาพ จะได้รับเงินชดเชยการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ ตั้งแต่ 500-1,000 บาท ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี โดยเงินที่จะได้รับต่อเดือนนั้นขึ้นอยู่กับระยะเวลาจ่ายเงินสมทบก่อนกลายเป็นผู้ทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต จะได้รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท และได้รับเงินสงเคราะห์อีก 3,000 บาท เมื่อทำการจ่ายเงินสมทบมาเป็นเวลาครบ 60 เดือนหรือ 5 ปี

ประกันสังคม ทางเลือกที่ 2

จ่ายเงินสบทบ 150 บาท ต่อเดือน ผู้ประกันตนจ่าย 100 บาท รัฐช่วยจ่ายอีก 50 บาท สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนเองทางเลือกที่ 2 จะได้รับ มีด้วยกัน 4 กรณี คือ  กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีชราภาพ (ได้เป็นเงินบำเหน็จ) กรณีเสียชีวิต รายละเอียนดังนี้

กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต  ทั้ง 3 กรณีทั้งวงเงินค่าชดเชยขาดรายได้ ระยะเวลา ทุกอย่าง จะเหมือนกันกับผู้ประกันตนทางเลือกที่ 1 ทุกอย่าง

กรณีชราภาพ ( เงินบำเหน็จ ) ผู้ประกันตนมาตรา 40 จะได้รับเป็นเงินบำเหน็จเป็นเงินก้อน พร้อมผลตอบแทน ( ดอกเบี้ย ) และถ้าหากต้องการมีเงินก้อนใช้ในยามฉุกเฉินเพิ่มมากขึ้น เราก็สามารถที่จะเลือกจ่ายเงินสมทบเพิ่มได้โดยสูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท ต่อเดือน

ประกันสังคม ทางเลือกที่ 3

จ่ายสมทบ 450 บาท ต่อเดือน ผู้ประกันตนจ่าย 300 บาท รัฐช่วยจ่ายอีก 150 บาท สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประตนเองทางเลือกที่ 3 จะได้รับ มีด้วยกัน 5 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ  กรณีชราภาพ ( เงินบำเหน็จ ) กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีเสียชีวิต รายละเอียด ดังนี้

กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ผู้ประกันตนจะได้รับเงินชดเชยจากการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย กรณีที่ต้องทำการนอนโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 วัน จะได้รับเงินชดเชย จำนวน 300 บาท ต่อวัน สูงสุด 90 วัน ต่อปี  กรณีที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แต่มีคำสั่งจากแพทย์ให้หยุดงานและทำการพักฟื้นที่บ้านตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชยเป็นจำนวน 200 บาท สูงสุด 90 วัน ต่อปี

แต่ในกรณีที่แพยท์สั่งให้หยุดพักไม่เกิน 1- 2 วัน จะได้รับเงินชดเชยวันละ 50 บาท สูงสุด 3 ครั้งต่อปี ส่วนค่ารักษาพยาบาลเช่นเดียวกับทางเลือกที่ 1 และ ทางเลือกที่ 2  คือใช้สิทฺหลักประกันสุขภาพ บัตรทอง 30 บาท จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กรณีทุพพลภาพ จะได้รับเงินชดเชยจากการขาดรายไดเช่นกัน จำนวนตั้งแต่ 500 – 1,000 บาท ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี โดยจำนวนเงินที่จะได้รับนั้นก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายสมทบก่อนจะกลายเป็นผู้ทุพพลภาพ  กรณีเสียชีวิต จะได้รับเงินค่าทำศพเป็นจำนวน 40,000 บาท และยังได้รับเงินสงเคราะห์อีกจำนวน 3,000 บาท เมื่อจ่ายสมทบก่อนที่จะเสียชีวิต ครบ 60 เดือน หรือ 5 ปี

กรณีชราภาพ ( เงินบำเหน็จ ) ผู้ประกันตน จะได้รับเป็นบำเหน็จเงินก้อน พร้อมกับผลตอบแทน ( ดอกเบี้ย ) นอกจากนี้ หากว่าทำการส่งเงินสมทบมาเป็นเวลาครบ 180 เดือน หรือ 15 ปี จะได้รับเงินเพิ่มอีก 10,000 บาท

กรณีสงเคราะห์บุตร ผู้ประกันตนจะได้รับเงิน 200 บาท ต่อเดือน ต่อบุตร 1 คน รับได้คราวละไม่เกิน 2 คน ใครที่มี 3 มี 4 คนพร้อมกัน คนที่ 3 คนที่ 4 ก็จะไม่ได้รับเงินนะครับ สามารถที่จะรับสิทธินี้ได้ตั้งแต่บุตรแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ขวบ

อ่านเพิ่มเติม เช็คประกันสังคม แต่ละมาตราได้สิทธิอะไรบ้าง ที่นี่

สำหรับพนักงานเงินเดือนหน้าใหม่ก็คงจะทราบกันแล้วใช่ไหมครับว่าประกันสังคม คืออะไร ส่วนสำหรับคนที่ทำงานอาชีพอิสระหลังที่ได้รู้ถึงประโยชน์และรายละเอียดสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมทัง 3 ทางเลือกแล้วก็อย่าลืมที่จะเลือกประกันสังคมที่เหมาะกับตัวเองแล้วไปสมัครกันนะครับ เพราะประกันสังคมนั้นจะช่วยได้มากเลยเมื่อราเจ็บป่วย หรือ เกิดการขาดรายได้  และอีกอย่างประกันสังคมสามาถรช่วยลดหย่อนภาษีเงินได้ส่วนบุคคลธรรมดาอีกด้วยดยใช้ใบเสร็จรับเงินที่จ่ายเงินสมทบเป็นหลักฐาน หรือขอหนังสือรับรองการชำระเงินสมทบจากสำนักงานประกันสังคมเพื่อประกอบการยื่นภาษีได้ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuckได้ฟรี ที่ลิงก์ ด้านล่าง