Money game หรือ เกมการเงิน เพื่อนๆคนธรรมดา ที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงการเงิน เช่น ธนาคาร ตลาดหุ้น ธุรกิจต่างๆ ก็จะต้องงงกับคำๆนี้ หรืออาจจะไปถึงขั้นเข้าใจผิดไปกับคำๆนี้เลยก็ได้ว่ามันคือ แชร์ลูกโซ่ ซึ่งความจริงแล้วมันไม่ใช่ เพื่อที่คนที่ไม่อยู่ในแวดวงการเงินจะได้รู้จัก และคนที่เข้าใจผิดถึง Money game หรือ เกมการเงิน ว่าเป็นแชร์ลูกโซ่ จะได้เข้าใจถูก ผมจึงได้ทำบทความนี้ขึ้นมาแนะนำให้กับเพื่อนๆทุกคนให้มีความเข้าใจถึง เกมการเงิน หรือ Money game กันมากขึ้น เพื่อที่ในอนาคตเพื่อนๆอาจจะได้เข้ามาสัมผัสกับแวดวงการเงินใด้มากขึ้น  ซึ่งถ้าถามว่า ไม่ได้ต้องการจะเข้ามาอยู่ในแวดวงการเงินจำเป็นต้องรู้หรือไม่ ตอบเลยว่า ก็จำเป็นเช่นกัน เพราะถึงแม้จะไม่ต้องการเข้ามาอยู่ในแวดวงการเงิน แต่ทุกคนก็กำลังเป็นส่วนหนึ่งของเกมการเงินมาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เพราะทุกคนนั้นใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็น ข้าวของเครื่องใช้แทบทุกอย่างที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเพื่อนๆนั้นต้องใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกมา รวมไปถึงการที่เพื่อนๆเอาเวลาไปแลกกับเงินนั้นคือการทำงานของเพื่อนๆด้วยก็เป็นส่วนหนึ่งของ Money game หรือ เกมการเงินเช่นเดียวกัน แต่ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ถ้าเพื่อนๆพร้อมแล้วก็ไปทำความรู้จักกับ Money game หรือเกมการเงินจริงๆกันเลยดีกว่า

Money game คืออะไร?

Money game คืออะไร?

เพื่อที่จะรู้จักเกี่ยวกับอะไรให้มากขึ้น ก็จะต้องรู้ไปถึงก่อนว่าสิ่งนั้นคืออะไร ซึ่งในบทความนี้เราพูดถึง Money game หรือ ในอีกชื่อภาษาไทย เรียกว่า เกมการเงิน คำๆนี้มีความหมายว่าอะไร มันคืออะไร ซึ่งคำตอบสำหรับคำถามที่ว่า Money game หรือ เกมการเงิน มีความหมายเช่นอะไร ต้องตอบว่า Money game หรือ เกมการเงิน มีความหมายหมายถึงการลงทุนเพียงเล็กน้อยเพื่อหวังผลให้ได้กำไรเพิ่มมากขึ้นนี้คือความหมายของ Money game หรือ เกมการเงิน และมาในส่วนของคำถามว่า Money game หรือ เกมการเงิน คืออะไร  คำตอบคือ Money game หรือ เกมการเงิน เป็นคำศัพท์ที่ถูกใช้ในแวดวงธุรกิจการเงินกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งความหมายก็อย่างที่บอกว่าเป็นการลงทุนเพื่อหวังผลกำไรที่มากขึ้น ซึ่งการลงทุนเหล่านั้นก็จะประกอบไปด้วย การลงทุนในหุ้น ในประกันชีวิต กองทุน พันธบัตร สลากออมสิน เงินฝากประจำ เป็นต้น ซึ่งถ้าเพื่อนสังเกตการลงทุนทั้งหมดจะไม่มีแชร์ลูกโซ่อยู่ในการลงทุนประเภทนี้อยู่ แต่ที่มีบางคนเข้าใจผิดว่า Money game หรือ เกมการเงิน เป็นแชร์ลูกโซ่นั้นเพราะ แชร์ลูกโซ่นั้นมีหลักการที่ตรงกับความหมายของ Money game หรือ เกมการเงิน นั้นเอง และเดี๋ยวเพื่อนๆจะเข้าใจมากขึ้นว่า Money game หรือ เกมการเงิน นั้นแตกต่างจากแชร์ลูกโซ่อย่างไร ในหัวข้อต่อไปครับ

Money game ต่างจากแชร์ลูกโซ่อย่างไร?

Money game ต่างจากแชร์ลูกโซ่อย่างไร?

อย่างที่บอกว่ามีบางคนเข้าใจผิดว่า Money game หรือ เกมการเงิน เป็นแชร์ลูกโซ่นั้นก็เพราะว่า ความหมายของ Money game หรือ เกมการเงิน นั้นตรงกับคอนเซ็ปต์ของแชร์ลูกโซ่ ที่เป็นลงทุนเล็กน้อยเพื่อหวังผลกำลัง แต่ในความเป็นจริง Money game หรือ เกมการเงิน นั้นไม่ใช่แชร์ลูกโซ่ ทั้งสองอย่างนั้นมีข้อแตกต่างกันอยู่ ซึ่งทั้งสองอย่างแตกต่างกันตรงที่ Money game หรือ เกมการเงิน จะเป็นเกมการลงทุนที่มีธุรกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง และมีที่มาของเงินมาจากธุรกรรมต่างๆ

ยกตัวอย่าง หุ้น ก็จะมีหุ้นที่เป็นสินทรัพย์ในการลงทุนของเพื่อนๆและสินทรัพย์เหล่านั้นก็ทำงานแทนเพื่อนๆเพื่อที่จะได้ผลกำไรที่มากขึ้นหรือบางทีอาจจะขาดทุนก็มี แต่กลับกันกับแชร์ลูกโซ่ เพราะแชร์ลูกโซ่ เป็นเกมการเงินที่ไม่มีธุรกรรมใดเข้ามาเกี่ยวข้องเลย และที่มาของเงินก็มาจากภายนอก ซึ่งก็หมายถึงที่มาของเงินมาจากการระดมทุนจากสมาชิกต่างๆ โดยใช้วิธีการจูงใจด้วยผลตอบแทนที่สูงทำให้มีสมชิกใหม่เข้ามาและใช้เงินระดมทุนของสมาชิกใหม่จ่ายเป็นปันผลให้กับสมาชิกเก่า ซึ่งวงจรนี้ก็จะเป็นเหมือนกับลูกโซ่ และผลสุดท้ายธุรกิจประเภทนี้ก็จะหมุนเงินไม่ทัน และเริ่มมีการเลื่อนการจ่ายปันผลซึ่งสาเหตุมาจากหมุนเงินไม่ทันเพราะไม่ใช่เพราะลงทุนแล้วขาดทุน และสุดท้ายท้ายสุดก็เป็นเหมือนกับในข่าวที่เพื่อนๆจะเห็นว่าเจ้าของหรือเรียกว่าเจ้ามือคนที่เริ่มระดมทุนหนี้หายไป

Money game การลงทุนเล็กน้อยเพื่อหวังผลกำไรที่มากขึ้น

Money game การลงทุนเล็กน้อยเพื่อหวังผลกำไรที่มากขึ้น

Money game หรือ เกมการเงิน อย่างที่บอกว่าเป็นการลงทุนเล็กน้อยเพื่อหวังผลกำไรที่มากขึ้น ซึ่งก็จะประกอบไปด้วย การลงทุนในหุ้น ในประกันชีวิต กองทุน พันธบัตร สลากออมสิน เงินฝากประจำ ซึ่งในการลงทุนบางการลงทุนก็ต้องบอกว่ารายได้ดีจริงๆ แต่ก็ไม่ถึงกับดีมากแต่ก็ทำให้ชีวิตของผู้ที่เลือกลงทุนมีความมั่นคงมากขึ้น เช่น การฝากประจำ ประกันชีวิต พันธบัตร และสลากออมสิน ซึ่งการลงทุนพวกนี้ไม่ค่อยมีความเสี่ยงแต่กำไรที่เพิ่มขึ้นมาก็อยู่ที่ 2-5% ของเงินทุนเท่านั้น ส่วน การลงทุนในหุ้น และ กองทุนต่างๆ เปอร์เซ็นต์ของกำไรอาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 5-20% ของเงินทุน แต่ก็ตามมาด้วยความเสี่ยงด้วยเช่นกัน และในส่วนนี้ผมก็ไม่อาจจะแนะนำเพื่อนๆได้ว่าเพื่อนๆควรจะเข้ามาลงทุนในเกมการเงินแบบไหนถึงจะรวย แต่ผมก็แนะนำเพื่อนๆที่ต้องการจะลงทุนในการลงทุนเหล่านี้ให้ศึกษาข้อมูลให้ดีอย่างละเอียดก่อนจะมาลงทุน เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง