ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในปัจจุบัน ผู้คนเห็นความสำคัญของการทำประกันชีวิตกันมากขึ้น เพราะจุดประสงค์หลักของประกันชีวิตก็คือการเป็นหลักประกันความมั่นคงสำหรับความไม่แน่นอนในชีวิตของคนเรา โดยเฉพาะผู้ที่เป็นหลักในการหารายได้ให้กับครอบครัวควรเป็นอย่างยิ่งที่จะทำประกันชีวิตไว้เพื่อไม่ให้คนข้างหลังต้องลำบากเมื่อมีเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้นนั่นเอง. และจากการที่รูปแบบของประกันชีวิตในปัจจุบันนั้นมีความหลากหลายมากขึ้น คนส่วนใหญ่เมื่อต้องการเลือกทำประกันชีวิตก็ไม่แน่ใจว่าควรจะทำประกันชีวิต แบบไหนดี อะไรจะเป็นประโยชน์ต่อตนและครอบครัวที่สุด รวมถึงประเภทไหนที่จะตอบโจทย์ชีวิตการทำงานด้วย ก่อนที่จะตัดสินใจทำประกันชีวิต ต้องเข้าใจก่อนว่า การประกันชีวิตมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทให้ความคุ้มครองที่แตกต่างกันอย่างไร เพื่อที่จะได้เลือกทำประกันชีวิต ให้ได้รับความคุ้มครองที่เหมาะสมกับความต้องการที่แท้จริงในแต่ละช่วงของชีวิต จึงตามมาด้วยการที่เราจะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้

Life Insurance

dotshock/shutterstock.com

การประกันชีวิต แยกออกได้เป็น 3 ประเภทคือ

การประกันชีวิต แยกออกได้เป็น 3 ประเภทคือ

##ประเภทสามัญ (Ordinary Life Insurance) เป็นการประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยค่อนข้างสูง ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป ในการพิจารณารับประกันชีวิตอาจจะมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ตรวจสุขภาพ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัททั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินเอาประกันภัยและอายุเป็นสำคัญด้วย และมีการชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปี, ราย 6 เดือน, ราย 3 เดือน หรือรายเดือน. ##ประเภทอุตสาหกรรม (Industrial Life Insurance) เป็นการประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยต่ำ โดยทั่วไปตั้งแต่ 10,000 - 30,000 บาท เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้ต่ำ การชำระเบี้ยประกันภัยจะชำระเป็นรายเดือน และไม่มีการตรวจสุขภาพ การพิจารณารับประกันชีวิตอาศัยข้อมูลจากคำแถลงในใบคำขอเอาประกันภัย โดยทั่วไปกำหนดชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายเดือนอาจมีเงื่อนไขกำหนดระยะเวลารอคอยก็ได้ ระยะเวลารอคอย (Waiting Period) คือระยะเวลาที่กำหนดไว้เพื่อพิสูจน์สุขภาพของผู้เอาประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาดังกล่าว บริษัทประกันชีวิตไม่ต้องจ่ายเงินเอาประกันภัย โดยทั่วไปกำหนดไว้ 180 วันแต่จะคืนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้ชำระมาแล้วทั้งหมด ##ประเภทกลุ่ม (Group Life Insurance) เป็นการประกันชีวิตที่กรมธรรม์หนึ่งจะมีผู้เอาประกันชีวิตร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ส่วนมากจะเป็นกลุ่มของพนักงานบริษัท ในการพิจารณารับประกันอาจจะมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ตรวจก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัท การประกันชีวิตกลุ่มนี้อัตราเบี้ยประกันชีวิตจะต่ำกว่าประเภทสามัญและประเภทอุตสาหกรรมคือการรับประกันชีวิตบุคคลหลายคนภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียว โดยพิจารณาถึงความเสี่ยงภัยของบุคคลในกลุ่มทั้งหมดด้วยอัตราเฉลี่ย ไม่ว่าจะเป็นอายุ เพศ หน้าที่การงาน หรือจำนวนเงินเอาประกันภัยและใช้เบี้ยประกันภัยอัตราเดียวกับบุคคลทุกคนในกลุ่มนั้น ๆ การประกันภัยประเภทนี้อัตราดอกเบี้ยประกันภัยจะถูกกว่าการประกันภัยประเภทอื่น ๆ เหมาะสำหรับพนักงาน ในบริษัทต่าง ๆ

ประกันชีวิตแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

2 types life insurance

samritk/shutterstock.com

ชนิดไม่มีส่วนร่วมในเงินปันผล

ชนิดมีส่วนร่วมในเงินปันผลโดยเงินปันผลนั้นจะจ่ายจาก เงินส่วนเกินจากการดำเนินการประกันชีวิต ดังนั้นเงินปันผลนี้จึงแตกต่างกันในแต่ละปี โดยขึ้นอยู่กับผลการดำเนินการของบริษัทด้วย ซึ่งแบบประกันชนิดมีเงินปันผลนี้ เบี้ยประกันมักจะสูงกว่าชนิดไม่มีเงินปันผล

โดยผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกรับเงินปันผลที่เกิดขึ้นได้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้

ขอรับเป็นเงินสด บริษัทจะจ่ายเงินปันผลให้เป็นเงินสด(เช็ค) ในวันครบรอบกรมธรรม์

ชำระเป็นเบี้ยประกันภัย บริษัทจะนำเงินปันผลที่เกิดขึ้นไปชำระเบี้ยประกันภัย และถ้าเงินปันผลนั้นมีไม่เพียงพอต่อการชำระเบี้ยประกันภัยได้ ผู้เอาประกันภัยจ้องจ่ายเพิ่มในส่วนที่ยังขาดอยู่ คงไว้กับบริษัท บริษัทจะคิดดอกเบี้ยทบต้นให้ทุกๆปี ซึ่งเงินปันผลจำนวนนี้ผู้เอาประกันภัยสามารถเบิกออกมาใช้เมื่อใดก็ได้ หากไม่เบิกบริษัทก็จะจ่ายคืนให้เมื่อครบสัญญา

ซื้อวงเงินประกันภัยเพิ่ม บริษัทจะนำเงินปันผลที่เกิดขึ้นไปซื้อจำนวนเงินเอาประกันภัยเพิ่มตามสัดส่วนที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ และบริษัทจะจ่ายเงินเอาประกันภัยเพิ่มนี้ทั้งในกรณีที่เสียชีวิตภายในระยะเวลาสัญญา และกรณีที่อยู่ครบสัญญา

ประโยชน์ของการประกันภัย

ประโยชน์ของการประกันภัย

1.ประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัย

  • ให้ความคุ้มครองต่อบุคคล ครอบครัวและทรัพย์สินของผู้เอาประกัน - ช่วยปลูกฝังให้เกิดนิสัยประหยัดและช่วยให้เกิดการออม -เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของครอบครัว -เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาของบุตร อนาคตการศึกษาที่มั่นคงของบุตรหลาน -สัญญาแทนความรักของพ่อแม่ที่ให้แก่ลูก เป็นรูปธรรม หรือ สัญญาแทนความรักที่ลูกให้พ่อแม่เพื่อตอบแทนบุญคุณ -เพื่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล -เพื่อสร้างหลักประกันเมื่อเกิดทุพพลภาพ -เพื่อเป็นเงินสำรองจ่ายยามฉุกเฉิน -เงินก้อนใหญ่เพื่อรักษาโรคร้ายแรง การักษาตัว ท่องเที่ยว

2.ประโยชน์ต่อธุรกิจ

  • ช่วยให้เกิดความมั่นคงในการประกอบธุรกิจ - ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ เพราะผู้บริหารไม่ต้องเสียเวลาเป็นกังวลเกี่ยวกับการเสี่ยงภัย - ช่วยในการขยายเครดิต ลดความเสี่ยงของผู้ให้กู้จากหนี้สูญ - ช่วยให้เกิดเสถียรภาพในต้นทุนการผลิต - ช่วยส่งเสริมธุรกิจบางประเภทให้เจริญก้าวหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงภัยมาก ๆ -เพื่อเป็นเงินใช้หนี้ ปลดหนี้สินเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน -เพื่อคุ้มครองบุคคลสำคัญของธุรกิจ -เพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้และลูกหนี้ -เป็นสวัสดิการส่วนเพิ่ม จากที่มีอยู่แล้ว -เป็นค่าความสามารถของตัวเอง

3.ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม

  • ช่วยระดมทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ - ช่วยลดภาระแก่สังคมและรัฐบาล

4.การลดภาษีเงินได้ รัฐบาลมองเห็นความสำคัญของการประกันชีวิต และเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทำประกันชีวิต จึงให้นำเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท ของกรมธรรม์ที่มีกำหนดเวลาประกันชีวิตไม่น้อยกว่า 10 ปี ของผู้มีเงินได้และคู่สมรส ไปหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้ด้วย

5.การออมทรัพย์ การประกันชีวิตยังทำให้เกิดมีการออมทรัพย์เป็นประจำต่อเนื่อง ทำให้มีเงินก้อนไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เป็นกองทุนไว้ใช้ในโอกาสต่าง ๆ สร้างนิสัยให้อดออมและประหยัด ส่งผลให้ครอบครัวมีฐานะมั่นคงและเป็นปึกแผ่นมากขึ้น

6.ประโยชน์ต่อประเทศชาติ การประกันชีวิตส่งเสริมให้คนในชาติออมทรัพย์ สะสมเงินออมระยะยาว ระดมเงินทุน เพราะเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทเก็บมาได้ต้องนำไปลงทุนโดยการซื้อพันธบัตรรัฐบาล และลงทุนในกิจการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อรัฐบาลจะได้นำเงินไปลงทุนสร้างงานเพิ่มขึ้น ช่วยให้คนมีงานทำ มีรายได้ ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ประเทศชาติจะเจริญมีเสถียรภาพมากขึ้น เบี้ยประกันชีวิตจึงเป็นทุนทรัพย์ที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ

ดังนั้น เราจะเห็นว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในการตัดสินว่าประกันชีวิตตัวไหนดีก็คือรูปแบบประกันชีวิตนั้นต้องตอบสนองความต้องการของเราได้ ดังนั้นก่อนทำประกันชีวิต ต้องหันมาถามตัวเองก่อนว่าเราต้องการความคุ้มครองแบบไหน สวัสดิการทำประกันสุขภาพให้กับพนักงานมีขอบเขตความคุ้มครองมากน้อยแค่ไหน ล้วนเป็นสิ่งที่เราต้องตรวจสอบเพื่อตัดสินใจว่าเราเหมาะสมแบบใดมากที่สุดช่วย เพื่อลดค่าใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉินหรือเจ็บป่วยแล้ว ยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย การวางแผนจึงสำคัญมากนั่นเอง