ภาวะเศรษฐกิจขาลง มีผลกระทบกับพ่อค้าแม่ค้าในตลาดสดจริง ๆ ถึงแม้ว่าพ่อค้าแม่ค้าเหล่านั้นจะขายของกินที่เรียกว่าเป็นปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างเราๆ แต่ด้วยผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจอย่างนี้ ส่งผลกระทบอย่างมากกับพ่อค้าแม่ค้า ไม่ว่าจะเป็นค่าวัตถุดิบที่ขึ้นราคา ค่าน้ำมัน ฯลฯ นั้นส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมทั้งนั้น มาดูกันเป็นข้อ ๆ ว่าพ่อค้าแม่ค้าตลาดสดได้รับผลกระทบกันอย่างไรบ้างกับภาวะเศรษฐกิจขาลง

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เศรษฐกิจชะลอตัว ที่นี่

ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ชะลอตัว ต่อผู้ค้าขาย

ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ชะลอตัว ต่อผู้ค้าขาย

หลายคนขายของยากขึ้น จากที่เคยขายได้กำไรวันละ 1,000 – 2,000 บาท ก็เหลือไม่ถึง 1,000 บาท ทั้ง ๆ ที่ก็ทำการขายของให้น้อยลงลดปริมาณของที่ขายก็ลดลงแล้ว กำไรก็ยังน้อย ซึ่งสาเหตุหลักที่พ่อค้าและแม่ค้าคิดก็น่าจะมาจากที่ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ทำให้คนใช้จ่ายน้อยลง และเมื่อใกล้สิ้นปีคนมักจะเก็บเงินสดไว้กับตัวเพื่อใช้ในการพักผ่อนเดินทางกลับบ้านหรือไปเที่ยวและช่วงสิ้นปีก็เลยมักจะใช้บัตรเครดิตในการซื้อของภายในห้างสรรพสินค้ามากกว่า

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะ เงินเฟ้อ เงินฝืด ที่นี่

ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ขายของได้น้อยลง

ถ้าเรื่องที่ตลาดเงียบขายของได้น้อยลงนั้นก็เป็นสิ่งหนึ่งที่มาจากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจขาลงด้วยเหมือนกัน เพราะภาวะเศรษฐกิจขาลงทำให้คนเลือกที่จับจ่ายใช้สอยน้อยลงคนที่ขายของอย่างเช่น อาหารถุง แกงถุงถึงขายได้น้อยลงและจะเห็นได้ชัดเลยจากตลาดสดที่อยู่ภายในตัวเมืองอย่างกรุงเทพ ที่คนมักจะนิยมจับจ่ายใช้สอยซื้อของจากในห้างมากกว่า

เหตุผลก็มาจากหลายอย่างซึ่งอย่างหนึ่งก็มาจากภาวะเศรษฐกิจด้วยที่ทำให้คนไม่ค่อยใช้จ่ายและอีกอย่างก็เพราะบางอย่างที่ขายอยู่ภายในห้างก็มีราคาถูกกว่าตลาดสด และ ของที่ขายภายในห้างก็ให้ความรู้สึกที่ถูกสุขอนามัยมากกว่าในตลาดสดโดยเฉพาะกับของสด เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ ผักและผลไม้ต่างๆ

ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ต้องลดราคา

ผลกระทบที่มีต่อพ่อค้าแม่ค้าในตลาดสดเรียกได้ว่ามาเป็นระรอกก็ได้ เพราะหลังจากที่ได้รับผลกระทบที่มีลูกค้าน้อยลงคนไม่ค่อยจับจ่ายใช้สอยเพราะสภาพเศรษฐกิจขาลงทำให้พ่อค้าแม้ค้าในตลาดสดนั้นขายของไม่หมดขายของเหลือซึ่งได้ซื้อว่าเป็นตลาดสดแต่ถ้าขายของเหลือและนำของเหลือมาขายจากของสดมันก็จะไม่สดซึ่งแน่นอนว่ามันจะต้องไม่มีลูกค้าซื้อยิ่งกว่าเดิมเมื่อเป็นแบบนั้นพ่อค้าแม่ค้าก็ต้องหาวิธีเอาตัวรอดจากปัญหานี้ โดยการที่จะต้องจำใจลดจำนวนการขายลงเพื่อที่จะได้ไม่ต้องขาดทุน

ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ จำเป็นต้องขึ้นราคาสินค้าแม้จะขายยากขึ้น

เราจะเห็นได้ตามตลาดปัจจุบันนี้ ที่ร้านขายกับข้าวขายแพงขึ้นซึ่งที่ผมเจอตลาดสดแถวบ้านหรือร้านข้าวแกงตามตลาดที่มีการอัพราคา ข้าวราดแกงหรือแกงถุง จากเมื่อก่อนถุง 30-35 เป็นตอนนี้ ถุง 40-50 บาท ซึ่งถ้าถามว่าดูจากก่อนหน้านี้ที่ผมพูดมันดูแล้วว่าสภาพเศรษฐกิจมันเป็นช่วงขาลงลูกค้าก็น้อยอยู่แล้วทำไมถึงมาบอกว่าที่ตลาดมีการขายของแพงขึ้น ที่ผมบอกแบบนี้เพราะมันก็มาจากผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจเช่นกัน

เพราะ เศรษฐกิจแบบนี้ของที่ต้องซื้อมาเป็นวัตถุดิบในการทำขายนั้นมีราคาที่เพิ่มมากขึ้น ถึงพ่อค้าแม่ค้าจะรู้ว่าเศรษฐกิจแบบนี้ขายไม่ค่อยได้แต่ถ้าไม่เพิ่มราคาสินค้าถึงจะขายได้มันก็ขาดทุนเพราะต้นทุนมันมาสูงจริงๆจึงกลายเป็นเรื่องที่ต้องจำยอมเพิ่มราคา ซึ่งมันไม่ได้มาจากความตั้งใจของพ่อค้าแม่ค้าภายในตลาดหรอกนะครับ

ซึ่งเห็นการเพิ่มราคาได้กับร้านขายกับข้าวแกงถุงอย่างชัดเจน ซึ่งราคาถุงละ 40-50 บาท ถือว่าเยอะไหม ผมว่ามันเยอะอยู่นะครับสำหรับ คนที่ทำงานแล้วได้รับค่าแรงขั้นต่ำ 300 ถ้าซื้อแค่แกงถุงเดียวก็พอได้อยู่กับคนที่ทำงานแล้วได้ค่าแรงขั้นต่ำแต่ถามว่าซื้อถุงเดียวพอไหมก็ต้องบอกว่ามันไม่พอ

ในตอนต้นจะเห็นได้ว่าภาวะเศรษฐกิจขาลงนั้นมีผลกระทบมากมายกับผู้ขายอย่างพ่อค้าและแม่ค้า ไม่ว่าจะเป็นการที่มีลูกค้าลดน้อยลง ทำให้กำไรจากที่เคยได้ก็ลดลง ต้องจำใจลดปริมาณการขายเพื่อที่จะขายของให้หมดแทนที่จะทำเท่าเดิมแต่ของเหลือและขาดทุน ซึ่งจริงๆมีปัญหาปลีกย่อยเยอะมากมายกว่านี้คนที่เป็นพ่อค้าแม่ค้าจะรู้ดีว่าต้องพบเจอกับปัญหาอะไรบ้าง

แต่มาในช่วงท้ายจะเห็นว่ามันไม่ได้มีแค่ผลกระทบกับพ่อค้าแม่ค้าเพียงอย่างเดียวเพราะด้วยสภาวะเศรษฐกิจขาลงอย่างนี้ มันทำให้ข้าวของแพงขึ้นนั้นหมายถึงของที่ขายอยู่ในตลาดที่เคยขายราคาเท่านี้ ก็มีการเพิ่มราคา คือ ของขึ้นราคานั้นเอง ซึ่งที่ผมยกตัวอย่างมาก็จะเป็น ค่ากับข้าวที่ปัจจุบันมีบ้างตลาดที่ต้องขายแกงถุงละ 50 บาท แล้วในตอนนี้ มันเป็นผลกระทบอย่างชัดเจนกับผู้ซื้อด้วยเพราะของขึ้นราคาไม่กระทบกับผู้ซื้อก็ไม่รู้จะว่ายังไงแล้ว หากอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถาม ผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuck ได้ฟรี ที่ลิงก์ด้านล่าง