ต้องบอกไว้เลยว่า อุบัติเหตุ การล้มป่วย นั้นเป็นสิ่งที่เกิดได้กับทุกคนและทุกเวลา ไม่มีใครสามารถรู้ล่วงหน้าได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่จำเป็นและควรจะทำ คือ การทำประกัน แต่ประกันนั้นก็มีหลากหลายรูปแบบ ถ้าจะให้ทำทั้งหมด ผมว่าเพื่อนๆคงไม่มีตังพอ ซึ่งในบทความนี้ ผมก็จะมาพูดถึงแค่ประกันชีวิต ให้เพื่อนๆได้ทำความรู้จักกับประกันชีวิตมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประเภทของประกันชีวิตว่ามีทั้งหมดกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร และ แต่ละช่วงอายุควรที่จะเลือกทำประกันชีวิตแบบไหน ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

ประกันชีวิตมีกี่ประเภทแตกต่างกันอย่างไร?

ประกันชีวิตมีกี่ประเภทแตกต่างกันอย่างไร?

ในปัจจุบันประกันนั้นมีด้วยกันมากมายหลากหลายรูปแบบ และ ในประกันแต่ละแบบก็จะมีอีกหลายประเภทอยู่ด้วยกัน และในวันนี้เราจะมาพูดกันถึงประกันชีวิต ซึ่งประกันชีวิตก็แบ่งออกเป็นได้ 4 ประเภท ได้แก่ 1.ประกันชีวิตแบบช่วงเวลา Term life insurance , 2.ประกันชีวิตตลอดชีพ Whole life insurance , 3.ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ Endowment insurance , 4.ประกันชีวิตเงินได้ประจำ Annuity insurance และแต่ละประเภทก็มีความแตกต่างกัน ซึ่งก็จะแตกต่างกันตรงที่ความคุ้มครอง เงื่อนไขความคุ้มครอง ระยะเวลาความคุ้มครอง และ อื่นๆ

ประกันชีวิตแบบช่วงเวลา Term life insurance

ประกันชีวิตแบบช่วงเวลา Term life insurance

ประกันชีวิตแบบช่วงเวลา Term life Insurance เป็นประกันชีวิตที่จะมีการจ่ายเงินให้กับผู้ที่รับประโยชน์ ก็ต่อเมื่อผู้ที่ได้ทำประกันเสียชีวิตในระยะเวลาที่กำหนดตามสัญญา คือ  5 ปี 10 ปี เป็นต้นแล้วแต่ผู้ประกันจะเลือก โดยที่จะให้ความคุ้มครองจากการเสียชีวิตเพียงอย่างเดียว แต่ถ้าผู้ที่เลือกทำประกันชีวิตแบบช่วงเวลา Term life insurance นั้นไม่ได้เสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาผู้ที่ประกันหรือผู้รับประโยชน์ก็จะไม่ได้อะไรเลย

ประกันชีวิตตลอดชีพ Whole life insurance

ประกันชีวิตตลอดชีพ Whole life insurance

ประกันชีวิตตลอดชีพ Whole life Insurance เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองตามชื่อของมันเลย คือ คุ้มครองตลอดชีพหรือตลอดอายุของผู้ที่ทำประกัน (คุ้มครองจนถึงอายุ 90 – 99 ปี แล้วแต่แบบประกัน) โดยที่จะมีการจ่ายเงินทุนประกันให้กับผู้ที่ได้รับประโยชน์ใน 2 กรณี คือ 1.จ่ายเงินทุนประกันชีวิตให้กับผู้ที่ได้รับประโยชน์ ในกรณีที่ ผู้ทำประกันเสียชีวิตในขณะที่กรมธรรม์มีผลบังคับใช้ และ 2. จ่ายเงินทุนประกันชีวิตให้กับผู้ที่ทำประกันโดยตรงในกรณีที่ว่าผู้ทำประกันไม่ได้เสียชีวิตและมีอายุครบกำหนดสัญญา คือ 90 – 99 ปี แล้วแต่แบบประกัน

ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ Endowment Insurance

ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ Endowment Insurance

ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ Endowment Insurance เป็นประกันชีวิตที่มีการผสมผสานกันระหว่างประกันกับการออมทรัพย์ออกมาเป็น ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ โดยประกันชีวิตลักษณะนี้จะมีการให้ผู้ที่เลือกทำประกันทำการจ่ายเบี้ยปะกันเรื่อยๆเป็นเหมือนกับการอมเงินคล้ายกับการฝากเงินประจำที่จะไม่สามารถถอนได้นั้นเองจนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนดประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ก็เช่นกันถ้ายังไม่ถึงเวลาที่กำหนดก็จะไม่มีการจ่ายทุนประกันคืนให้กับผู้ที่ทำประกัน แต่สิ่งที่แตกต่างจากการฝากประจำตรงที่การทำประชีวิตแบบสะสมทรัพย์นั้นจะมีประกันชีวิตพวงเข้ามาด้วย คือถ้าผู้ที่ทำประกันเสียชีวิตก่อนที่จะครบกำหนดสัญญา ก็จะมีการจ่ายเงินก้อนให้กับผู้รับประโยชน์

ประกันชีวิตเงินได้ประจำ Annuity Insurance

ประกันชีวิตเงินได้ประจำ Annuity Insurance

ประกันชีวิตเงินได้ประจำ Annuity Insurance หรือเรียกว่าประชีวิตแบบบำนาญ คือ เป็นประกันชีวิตที่ผู้ทำประกันต้องการที่จะมีเงินบำนาญหลังจากที่เกษียณ โดยประกันลักษณะนี้จะเน้นไปที่การออมมากกว่าการประกัน โดยผู้ที่เลือกทำประกันชีวิตนี้จะได้เงินคืนเป็นงวดๆหลังจากที่เกษียณ จนถึงอายุ ที่ได้กำหนดไว้ในกรมธรรม์ เป็นประกันที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการอยากจะมีเงินบำนาญไว้ใช้ตอนเกษียณไม่อยากที่จะลำบากลูกหลาน

เลือกประกันชีวิตแบบไหน (ช่วงวัยทำงานอายุ 21-30 ปี)

เลือกประกันชีวิตแบบไหน (ช่วงวัยทำงานอายุ 21-30 ปี)

ก่อนอื่นเลยเราก็ต้องมาดูกันว่าในช่วงวัย 21-30 ปี นั้นเขาทำอะไรกัน ก็เป็นที่แน่นอนว่าบางคนอาจจะเรียนต่อ หรือ บางคนอาจจะเพิ่งเรียนจบและเริ่มทำงาน ซึ่ง ในช่วงอายุ 21-30 ปีเป็นช่วงที่เหมาะแก่การสร้างเนื้อสร้างตัว เป็นช่วงแรกของการใช้ชีวิตจริงๆหลังจากที่ก่อนหน้านี้ขอเงินของพ่อแม่ แต่หลังจากที่เรียนจบก็ต้องเริ่มทำงานหาเลี้ยงตัวเองแล้ว ซึ่งในวัยประมาณนี้ ประกันชีวิตที่เหมาะ ก็คือ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เพราะประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์นั้น สามารถช่วยได้มากในเรื่องของการมีวินัยในการออม และ รวมถึงเมื่อทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์สามารถช่วยลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย และเมื่อครบกำหนดก็จะได้เงินก้อนที่สามารถเอาไปต่อยอดลงทุนหรือทำอะไรก็ได้ และในระหว่างที่ทำงานและมีประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เกิดเจ็บป่วยอะไรขึ้นมาก็มีประกันชีวิตทำให้อุ่นใจไปได้ส่วนหนึ่งเรื่องค่าใช้จ่าย

เลือกประกันชีวิตแบบไหน (ช่วงวัยทำงานและมีครอบครัวอายุ 31-45 ปี)

เลือกประกันชีวิตแบบไหน (ช่วงวัยทำงานและมีครอบครัวอายุ 31-45 ปี)

ช่วงอายุ 31-45 ปีก็เป็นช่วงที่เรียกได้ว่าผ่านช่วงสร้างเนื้อสร้างตัวมาแล้ว ถ้าคนที่มีแฟนก็น่าจะกำลังคิดเริ่มสร้างครอบครัว แต่ถ้าคนที่ไม่มีแฟนก็น่าจะคิดหาวิธีการสร้างความมั่นคงแล้วล่ะ ซึ่ง ประกันชีวิตที่เหมาะสมกับคนในช่วงอายุ 31-45 ปี นั้นก็คือ ประกันชีวิตที่มีการพ่วงเรื่องของประกันสุขภาพเขาไปด้วย หรือ อาจจะเป็นประกันชีวิตแบบตลอดชีพ เพื่อที่หากเกิดเป็นอะไรขึ้นมาคนข้างหลังจากได้ไม่ลำบาก หรือถ้าไม่มีคนข้างหลังให้เป็นห่วงก็อาจจะลองมองดูประกันชีวิตแบบเงินได้ประจำ เพื่อที่เมื่อเริ่มทำประกันชีวิตแบบรายได้ประจำตอนนี้เมื่อแก่ตัวไปในตอนวัยเกษียณก็จะได้มีเงินใช้ได้สบายๆ

เลือกประกันชีวิตแบบไหน (ช่วงวัยทำงานจนถึงวัยเกษียณ 46-60 ปี)

เลือกประกันชีวิตแบบไหน (ช่วงวัยทำงานจนถึงวัยเกษียณ 46-60 ปี)

ในช่วงอายุ 46 – 60 ปี ก็เป็นช่วงอายุก่อนจะเกษียณ ไม่กี่ 10 ปี ก็เหมาะมากที่สุดกับประกันชีวิตแบบเงินได้ประจำหรือเรียกอีกอย่างว่าประกันชีวิตแบบบำนาญ เพราะเมื่อเริ่มทำประกันชีวิตแบบนี้และหลังจากที่ถึงวัยเกษียณ ทางประกันก็จะมีการจ่ายเงินให้เป็นงวดเหมือนเป็นเงินบำนาญให้ในวัยเกษียณทำให้เราสามารถเลี้ยงดูตัวเองได้ในกรณีที่เราไม่มีลูกหลาน หรือ ถ้ามีลูกหลานเราเมื่อแก่ตัวลงอยู่ในวัยเกษียณก็จะไม่เป็นภาระของลูกหลาน และถ้าเราทราบดีว่าเรานั้นในช่วงอายุ 50 ขึ้นไป เริ่มมีอาการไม่สู้ดี ก็ควรคิดเรื่องการทำประกันชีวิตแบบช่วงเวลาไว้ด้วยเพื่อเป็นอะไรขึ้นมาในระยะเวลาที่กำหนด ภรรยา ลูก จะได้ไม่ลำบากเพราะจะได้รับเงินจากทุนประกันชีวิตแบบช่วงเวลา

วางแผนทำประกันชีวิตยิ่งเร็วยิ่งดีต่อการเงินที่มั่นคง

วางแผนทำประกันชีวิตยิ่งเร็วยิ่งดีต่อการเงินที่มั่นคง

การวางแผนในเรื่องของการจะทำประกันชีวิตนั้นเป็นสิ่งที่ยิ่งเร็วยิ่งดี เพราะประกันชีวิตนั้นเป็นประกันที่มีลักษณะที่เน้นไปที่การดูแลความมั่นคงทางด้านการเงินมากกว่าที่จะมาดูแลร่างกายของเราเหมือนกับพวกประกันอุบัติเหตุ หรือ ประกันสุขภาพ และเมื่อประกันชีวิตเป็นประกันที่เน้นไปที่การเงินของเรานั้นเป็นสิ่งที่เราจำเป็นจะต้องมีการวางแผน และเป็นการวางแผนระยะยาวด้วย เพราะฉะนั้นก่อนที่จะตัดสินเลือกทำประกันชีวิตแบบไหน ก็ควรที่จะศึกษาข้อมูลของเงื่อนไข ความคุ้มครอง กรมธรรม์ ทุกอย่างให้ดีๆก่อนตัดสินใจทำนะครับ