ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในทุกวันนี้ มีเหล่ามิจฉาชีพอยู่ทุกหนแห่งจริงๆ เราแทบไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่าคนที่เดินผ่านเราไปมานั้นเป็นโจรหรือไม่ แถมกลโกงในการโจรกรรมบัตรเครดิตก็สลับซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ จนบางครั้ง ระบบการป้องกันของธนาคารก็ตามแทบไม่ทัน ดังนั้น วิธีการป้องกันการ ฉ้อโกงบัตรเครดิต จากมิจฉาชีพก็ต้องเริ่มต้นที่ตัวเรา เพราะถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาใกล้ตัวของการใช้บัตรเครดิต ที่อาจทำให้เราปวดหัวไม่ใช่น้อย เพราะว่าหากมีคนนำบัตรที่เราทำหายไปใช้รูดซื้อสินค้าหรือบริการขึ้นมา เราจะได้เป็นหนี้หนักๆโดยไม่ทันตั้งตัว และยิ่งช่วงวันหยุดยาว หากใครที่กำลังท่องเที่ยวอย่างมีความสุข แล้วเกิดปัญหา บัตรเครดิตหาย ขึ้นมาก็คงจะวุ่นวายอย่างแน่นอน ถึงกับหมดสนุกในการท่องเที่ยวกันเลยทีเดียว. กรณีบัตรเครดิตหายหรือการฉ้อโกงนี้ถือเป็นเรื่องน่าห่วงอย่างยิ่ง จึงควรมีการศึกษาวิธีรับมือและข้อมูลไว้เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันแบบนี้ขึ้นจะได้ไม่ตื่นตกใจและรีบแก้ไขได้ทัน มีวิธีที่เราสามารถทำได้ ดังนี้

fraud credit card

Brian A Jackson/shutterstock.com

ทำการอายัดบัตรที่มีการถูกฉ้อโกง

ทำการอายัดบัตรที่มีการถูกฉ้อโกง

สิ่งแรกที่เราควรทำเมื่อรู้ว่าบัตรเครดิตของเราเกิดปัญหาขึ้นซะแล้วก็คือ แจ้งทางสถาบันการเงินเจ้าของบัตรเครดิตให้ทราบ เพื่อให้ทำการอายัดบัตรเครดิตให้กับเราอย่างด่วนที่สุด ซึ่งในส่วนนี้ทางเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินอาจจะมีการสอบถามข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเหตุการณ์บัตรเครดิต เช่น สถานที่ที่ทำบัตรหาย รายการล่าสุดที่เราใช้งานบัตรเครดิต วันเวลาที่ทำบัตรหาย เป็นต้น และทุกๆ ธนาคารผู้ออกบัตรเครดิตจะมีเบอร์ Call Center ซึ่งถ้าเรารู้ตัวว่าถูกขโมยหรือฉ้อโกงใช้ข้อมูลบัตรเครดิตแล้ว ให้โทรหา Call Center ทันทีเพื่ออายัดบัตร ดำเนินการยกเลิกบัตรใบนั้นในทันที และทำการออกบัตรใหม่ โดยเราจะต้องแจ้งเบื้องต้นไปว่าเกิดกรณีการใช้จ่ายที่มีคนขโมยข้อมูลบัตรเครดิตไปใช้ให้เจ้าหน้าที่รับเรื่องทักท้วงรายการให้ จากนั้นทางธนาคารจะส่งแบบฟอร์มทักท้วงการใช้บัตรมาให้เรากรอกเพื่อไปยืนธนาคาร การรีบแจ้งทันทีจึงนับว่าดีมาก. โดยหลังจากที่อายัดบัตรไปแล้ว บัตรใบเดิมก็จะไม่สามารถใช้ได้อีก และก็มั่นใจได้ว่าคนที่ hack ข้อมูลเรานั้นก็จะไม่สามารถขโมยใช้บัตรได้อีกแล้ว ส่วนยอดที่เกิดขึ้นไปแล้วนั้น จะต้องรอยอดเรียกเก็บของเดือนนั้น ที่ธนาคารจะส่งมาให้ เพื่อที่จะยื่นเรื่องเคลียร์ยอดได้ แต่หลังจากที่เราแจ้งไปแล้วธนาคารก็จะติดตามตรวจสอบให้อยู่ส่วนการใช้จ่ายผ่านบัตรต่อไปนั้น เราจะใช้บัตรได้อีกครั้งก็ต่อเมื่อธนาคารส่งบัตรใหม่มาให้ ซึ่งเราก็สามารถเปิดใช้บัตรได้ตามวิธีการเปิดบัตรเหมือนเดิมที่เคยทำ. เบอร์โทรศัพท์ของสถาบันการเงินหลักต่างๆ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ธนาคารกรุงเทพ 1333
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 1572
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ 0-2777-7777
  • ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย 0-2626-7777
  • ธนาคารธนชาต 1770
  • ธนาคารออมสิน 0-2299-8555
  • ธนาคาร City Bank 1588
  • ธนาคาร HSBC 0-2614-4000
  • ธนาคารกรุงไทย 0-2111-1111
  • ธนาคารกสิกรไทย 0-2888-8888
  • ธนาคารทหารไทย 1558
  • ธนาคาร UOB จำกัด (มหาชน) 0-2285-1555
  • ธนาคาร Standard Chartered 1595
  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 0-2645-9000
  • ธนาคารทิสโก้ 0-2633-6000
  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 1302
  • ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (L&H) 0-2359-0000
  • บัตรเครดิตไทยแอร์เอเชีย 0-2638-4000 กด 181
  • บัตรเซ็นทรัลการ์ด 0-2627-8899
  • บัตร American Express 0-2273-5441
  • บัตร Aeon 0-2665 0123
  • บัตร Power Buy 0-2904-2000
  • บัตร Easy Buy 0-2864-3333
  • บัตร umay plus 0-2621-4381

แจ้งความกับตำรวจ

แจ้งความกับตำรวจ

เมื่อทำการแจ้งอายัดบัตรกับเจ้าหน้าที่ของทางสถาบันการเงินแล้ว สิ่งต่อมาที่ต้องรีบทำก็คือ แจ้งความดำเนินความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อจะได้ลงบันทึกประจำวันไว้ ซึ่งสามารถใช้เป็นหลักฐานยืนยันได้ว่าบัตรเครดิตของเราได้หายไปจริง หรือมีการฉ้อโกงเกิดขึ้น และเราไม่ได้เป็นผู้ใช้บัตรเครดิตใบนั้นหลังจากที่ได้แจ้งความไว้ ซึ่งจะช่วยเป็นหลักฐานได้ว่า การใช้บัตรเครดิตรูดชำระค่าสินค้าที่เกิดขึ้นหลังจากการแจ้งความนี้ เราจะไม่ได้เป็นผู้ใช้งานใดๆ ทั้งสิ้น. หรือหากเป็นกรณีที่เราทราบว่าบัตรได้ถูกแอบอ้างนำไปใช้แล้ว ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจและทางธนาคารจะได้ประสานงานกันเพื่อจับตัวคนร้ายได้ทันท่วงทีโดยให้นำหลักฐานทั้งหมดเข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่เกิดเหตุ โดยระบุว่าต้องการแจ้งความเพื่อดำเนินคดีจนกว่าจะถึงที่สุด ไม่ใช่แค่ลงบันทึกประจำวัน หรือจะเข้าแจ้งความที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถนนแจ้งวัฒนะ ก็ได้ ซึ่งจะมีความสามารถทางด้านเทคโนโลยีในการติดตามหาตัวคนร้ายได้รวดเร็ว อย่างไรก็ตาม หากเราไปแจ้งความที่ ปอท. เราอาจจะต้องเดินทางมาขึ้นศาลที่กรุงเทพฯ ซึ่งถ้าบ้านเราอยู่ต่างจังหวัดอาจไม่สะดวกเท่าไรนัก ดังนั้น สำหรับคนที่อยู่ต่างจังหวัด การแจ้งความกับตำรวจท้องที่จะสะดวกกว่า หรือบางเคส ปอท. ก็อาจโอนคดีไปให้ตำรวจท้องที่ดำเนินการเพื่อความสะดวกเช่นกัน. ทั้งนี้หลังจากแจ้งความแล้ว พนักงานสอบสวนจะส่งหมายเลขบัญชีให้ธนาคารตรวจสอบว่า เจ้าของบัญชีเป็นใคร ใช่ตัวจริงไหม หรือแอบอ้างนำบัตรประจำตัวประชาชนคนอื่นมาสวมรอย รวมทั้งตรวจสอบหลักฐานการกดเงิน ความเคลื่อนไหวทางบัญชีต่าง ๆ และอีกทางหนึ่งก็คือการตรวจสอบทะเบียนราษฎรเพื่อรวบรวมพยานหลักฐาน พร้อมกับตรวจสอบเลข IP Address จากนั้นจะออกหมายเรียกเจ้าของบัญชีมาสอบปากคำ ก่อนจะดำเนินการตามกระบวนการตามกฎหมายต่อไปนั่นเอง.

3 ตรวจสอบสเตจเม้นท์

3 ตรวจสอบสเตจเม้นท์

ในการสมัครบัตรเครดิต ก็จะใช้ Statement เป็นหลักฐานเพื่อแสดงให้เห็นว่าเราสามารถพร้อมที่จะจ่ายค่าบัตรในกำหนดเวลาเสมอ เพราะเป็นเอกสารที่แสดงพฤติกรรมและวินัยการใช้เงินได้อย่างดี หรือแม้แต่การสมัครงานในบางที่ที่เราขอเรียกเงินเดือนมากกว่าหรือเท่ากับที่เก่า เขาก็จะเรียกดูบัญชีย้อนหลังในการรับเงินของเราเพื่อเป็นหลักฐานยืนยัน. ดังนั้น เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นกับบัญชีบัตรเครดิตของเรา เราก็ควรตรวจสอบใบแจ้งหนี้บัตรเครดิตเป็นประจำ เพื่อสรุปยอดการใช้จ่ายในแต่ละเดือน โดยเฉพาะในกรณีที่บัตรเครดิตหาย เจ้าของบัตรควรตรวจสอบให้ดีเป็นพิเศษว่ามีใครแอบอ้างนำบัตรเครดิตของเราไปใช้ ทำให้มียอดเงินเรียกเก็บเพิ่มนอกเหนือจากที่เราใช้ไปหรือไม่ หากมีก็ควรติดต่อกับธนาคารหรือสถาบันการเงิน กรอกแบบฟอร์มทักท้วงการใช้บัตรเครดิต ปฏิเสธการใช้ในยอดดังกล่าว พร้อมกับนำหลักฐานไปแสดงว่าเราไม่ได้เป็นผู้ใช้บัตรเครดิตรายการนั้น แล้วขอคำแนะนำเพื่อจัดการปัญหา "หนี้ที่ไม่ได้ก่อ" ที่เกิดขึ้นต่อไป ทั้งนี้ในการขอ Statement ของแต่ละธนาคารก็มีช่องทางทั้งที่เหมือน และที่แตกต่างกันด้วย เช่น ธนาคารกรุงเทพ

  • ทางธนาคาร คือ การเข้าไปทำเรื่องขอกับเจ้าหน้าที่โดยตรงเลย เอกสารที่ต้องจัดเตรียมไปก็คือ บัตรประชาชน และสมุดบัญชี ส่วนค่าธรรมเนียม ธนาคารมาคิดค่าธรรมเนียมสำหรับบัญชีกระแสรายวัน บัญชีประเภทอื่นหากย้อนหลังไม่เกิน 6 เดือน ก็ไม่เสียเช่นกัน แต่หากขอย้อนหลังมากกว่า 6 เดือน หรือ 12 เดือน ต้องเสียค่าธรรมเนียม 200 บาท และ 2 ปี ขึ้นไปเสีย 500 บาท
  • ทางออนไลน์ จะสามารถขอได้โดยการทำรายการผ่านทางระบบ ibanking ในช่องของบริการพิเศษและกรอกรายละเอียดตามขั้นตอนไป
  • ธนาคารกรุงไทย
  • ทางธนาคาร เตรียมบัตรประชาชน และสมุดบัญชีไป ค่าธรรมเนียม 3-6 เดือน เสีย 100 บาท 6-12 เดือน เสีย 200 บาท 2 ปี ขึ้นไป เสียค่าธรรมเนียม 500 บาท
  • ทางออนไลน์ สามารถทำรายการได้ผ่านทางระบบ KTB Corporate Online และทำรายการได้ตามขั้นตอน
  • ธนาคารไทยพาณิชย์
  • ทางธนาคาร เตรียมเอกสารบัตรประชน และสมุดบัญชี ค่าธรรมเนียมไม่เกิน 6 เดือน เสีย 100 บาท หากเกินกว่านั้นค่าธรรมเนียมจะขึ้นอยู่กับแต่ละสาขา
  • ทาง Callcenter เงื่อนไข คือ จะต้องมีบัตรเอทีเอ็มกับทางธนาคาร และสามารถขอทำรายการได้ตลอด 24 ชม. แต่จะขอย้อนหลังได้ไม่เกิน 6 เดือน เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท เอกสารจะถูกส่งมาทางแฟกซ์หรืออีเมล์
  • ธนาคารกสิกรไทย
  • ทางธนาคาร เตรียมบัตรประชาชนและสมุดบัญชี ค่าธรรมเนียม น้อยกว่า 6 เดือน 100 บาท 6-24 เดือน 200 บาท มากว่า 24 เดือน 500 บาท
  • ทางออนไลน์ สามารถทำได้โดยผ่านระบบ K-email statement ซึ่งจะต้องสมัครเปิดช้านบริการเสียก่อนโดยการสมัครทางงเว็บไซด์ของธนาคาร หรือโทรสมัครที่ K-contact center เงื่อนไขการใช้บริการจะต้องเป็นผู้มีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หรือกระแสรายวันของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งข้อมูลจะอัพเดตตลอดผ่านทางอีเมล์ของคุณ และเลือกบริการจัดส่งทางไปรษณีย์ได้ทั้งรายสัปดาห์ รายปักษ์ และรายเดือน
  • ธนาคารธนชาต
  • ทางธนาคาร เตรียมบัตรประชาชน และ สมุดบัญชี ค่าธรรมเนียม ไม่เกิน 6 เดือน เสีย 100 บาท 6 เดือน ขึ้นไป 200 บาท และหากเป็นบัญชีออมทรัพย์และกระแสรายวันก็รอรับได้เลย แต่บัญชีเงินฝากประจำรอไม่เกิน 2 วันทำการ
  • ทาง Internet Banking จะต้องสมัครเปิดใช้บริการกับทางธนาคารหรือทางเว็บไซด์ก่อน และขอย้อนหลังได้ไม่เกิน 3 เดือน ไม่เสียค่าธรรมเนียม
  • ทาง Telecom ต้องสมัครเปิดใช้บริการก่อนเช่นกัน และต้องใช้เบอร์แฟกซ์โทรไปเท่านั้น และสามารถขอได้ไม่เกิน 1 เดือน ฟรีค่าธรรมเนียม
  • ธนาคารทหารไทย
  • ทางธนาคาร เตรียมบัตรประชาชน และสมุดบัญชี ค่าธรรมเนียม 6 เดือน 100 บาท 6 เดือน ขึ้นไป เสีย 200 บาท
  • ทางออนไลน์ สามารถทำได้ตลอด 24 ชม. ซึ่งมีทั้งระบบ TMB Touch และแอพพลิเคชั่น ME by TMB โดยทั้งสองระบบจะต้องขอเปิดใช้บริการกับทางธนาคารก่อน
  • ทาง Callcenter โดยผ่านบริการ Fundlink IVR สามารถทำรายการได้ตลอด 24 ชั่วโมง เอกสารจะถูกส่งมาทางโทรสาร

การแจ้งเรื่องถูกฉ้อโกงไปที่สำนักงานเครดิตบูโร

การแจ้งเรื่องถูกฉ้อโกงไปที่สำนักงานเครดิตบูโร

การตรวจสอบรายงานเครดิตนั้น เป็นหนึ่งในวิธีที่เร็วที่สุดในการยืนยันการทุจริตที่เกิดขึ้น ซึ่งถ้าเราเชื่อว่าเราได้ตกเป็นเหยื่อของการถูกมิจฉาชีพสวมรอยใช้บัตรเครดิตจริง ก็ควรขอเอกสารจากเครดิตบูโรมาตรวจสอบได้ ซึ่งการตรวจเครดิตบูโรด้วยตนเองนั้นสามารถทำได้ดังนี้ กรณีเจ้าของข้อมูลมาติดต่อด้วยตนเองต้องแสดงเอกสารหลักฐาน ดังนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวบุคคลต่างด้าวตัวจริงนำมาแสดง
  • กรณีเจ้าของข้อมูลมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาดำเนินการแทนแสดงเอกสารหลักฐาน ดังนี้
  • หนังสือมอบอำนาจบุคคลธรรมดา กรอกรายละเอียดและลงนามให้สมบูรณ์ครบถ้วน
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และลงนามรับรองความถูกต้อง พร้อมตัวจริงมาแสดง
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ และลงนามรับรองความถูกต้อง พร้อมตัวจริงมาแสดง

สถานที่ตรวจเครดิต ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 4 แห่ง ดังนี้

  • ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ อาคาร 2 ชั้น 2 เลขที่ 63 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320 โทรศัพท์ : (66) 02-643-1250 โทรสาร : (66) 02-612-5895 เปิดทำการเฉพาะวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 09.00 น. – 16.30 น. หยุดวันหยุดนักขัตฤกษ์
  • ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร – สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ด้านในสถานี) เปิดทำการเฉพาะวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 09.00 น. – 18.00 น. หยุดวันหยุดนักขัตฤกษ์
  • ห้างเจเวนิว (นวนคร) ติดโรงพยาบาลนวนคร ชั้น 4 ติดประกันสังคม เปิดทำการทุกวันจันทร์ – อาทิตย์ เวลา 09.00 น. – 18.00 น. หยุดวันหยุดนักขัตฤกษ์
  • ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร – อาคารกลาสเฮ้าส์ ชั้นใต้ดิน ซอยสุขุมวิท 25 เปิดทำการเฉพาะวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 น. – 16.30 น. หยุดวัดหยุดนักขัตฤกษ์.

ดังนั้น จากที่กล่าวมาทั้งหมด มีข้อสรุปได้จริงๆว่า ถึงแม้บัตรเครดิตนั้นจะมีการรักษาความปลอดภัยให้กับเราก็ตาม แต่ปัญหาที่เราเป็นหนี้โดยที่ไม่ได้ใช้งานเอง แต่เหตุเกิดมาจากทำบัตรเครดิตหายหรือถูกฉ้อโกงก็อาจเกิดขึ้นบ่อยอยู่พอสมควร เช่น คนเก็บบัตรได้นำไปรูดซื้อสิ่งของที่มีราคาแพงๆ ถูกหลอกให้ซื้อ-ขายแล้วขโมยข้อมูล เป็นต้น ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ขึ้นเราควรที่จะเก็บรักษาบัตรเครดิตของเราให้ดี มีที่จัดเก็บที่สามารถตรวจสอบได้ง่ายและปลอดภัยจากผู้อื่น. รวมทั้งมีวิธีปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาดัง 4 วิธีข้างต้นนั่นเอง.