ประเทศไทยของเราตอนนี้มีจำนวนผู้สูงอายุมากกว่าคนในวัยอื่นๆ ดังนั้นทุกคงจะต้องตื่นตัวให้มากขึ้นสำหรับการวางแผนสำหรับชีวิตในอนาคตซึ่ง หลายๆคนก็ยังเห็นว่าเรื่องการเกษียณเป็นเรื่องที่ไกลตัว แต่ไม่ใช่แล้วนะคะ เพราะเราทุกคนอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการวางแผนในเรื่องการเกษียณอายุจากการทำงานนั้นก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงินของเราและครอบครัว ดังนั้นการเงินที่มีการวางแผนที่ดีก็ย่อมก่อผลดีค่ะ ก็คือถ้าคุณเริ่มวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆเพื่อการเกษียณก็จะทำให้มีการจัดการที่ดีค่ะไม่ว่าตอนนี้คุณยังอยู่ในวัยทำงานตอนเริ่มต้นก็ตาม บทความนี้จึงอยากนำข้อมูลของการวางแผนการเกษียณมาฝากกันค่ะ
Lightspring/shutterstock.com
กำหนดอายุวัยเกษียณ
ในแต่ละบุคคลก็มีการกำหนดไม่เหมือนกัน ก็ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและสุขภาพและหน้าที่การงานการเงินของแต่ละคนค่ะ บางคนอาจจะสุขภาพไม่ค่อยดี หรือบางคนอาจจะมีสุขภาพที่ดียังสามารถทำงานได้อีกหลังจากอายุ 50 ปี หรือบางคนก็มีหน้าที่การงานที่ดีที่มีเงินให้เป็นก้อนหลังเกษียณก็สามารถเกษียณได้เร็วโดยไม่ต้องคำนึงเรื่องปัญหาสุขภาพเมื่อถึงเวลาก็เกษียณได้เลยเพราะการเงินจากการงานนั้นดีอยู่แล้ว หรือบางคนอาจจะไม่ได้มีหน้าที่การงานที่ดีทำงานหาเช้ากินค่ำก็อาจจะยังต้องดิ้นรนทำงานต่อไป หรืออาจจะไม่มีกำหนดวันเกษียณเลยก็ได้ ดังนั้นก็จะแตกต่างกันออกไป แต่ถ้าพูดรวมๆ อายุของการเกษียณก็จะอยู่ระหว่างช่วงอายุ 50 - 60 ปีค่ะ และใช้ชีวิตช่วงหลังจากเกษียณอีกประมาณถึง 80 ปีขึ้นไปแล้วแต่สุขภาพของแต่ะคน ดังนั้นการวางแผนที่ดีก่อนการเกษียณโดยเฉพาะเรื่องการเงินเพื่อค่าใช้จ่ายในช่วงที่ไม่มีรายได้ใน 20 – 30 ปีที่เหลือของชีวิตนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญเพราะการใช้ชีวิตตอนนั้นคงต้องมีค่าใช้จ่ายไม่น้อยเลย เพราะคุณอาจจะต้องมีค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเติมเข้ามาจากค่าใช้จ่ายทั่วๆไปตอนที่อายุยังน้อยค่ะ
ประเทศไทยของเราตอนนี้มีจำนวนผู้สูงอายุมากกว่าคนในวัยอื่นๆ ดังนั้นทุกคงจะต้องตื่นตัวให้มากขึ้นสำหรับการวางแผนสำหรับชีวิตในอนาคตซึ่ง หลายๆคนก็ยังเห็นว่าเรื่องการเกษียณเป็นเรื่องที่ไกลตัว แต่ไม่ใช่แล้วนะคะ เพราะเราทุกคนอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการวางแผนในเรื่องการเกษียณอายุจากการทำงานนั้นก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงินของเราและครอบครัว ดังนั้นการเงินที่มีการวางแผนที่ดีก็ย่อมก่อผลดีค่ะ ก็คือถ้าคุณเริ่มวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆเพื่อการเกษียณก็จะทำให้มีการจัดการที่ดีค่ะไม่ว่าตอนนี้คุณยังอยู่ในวัยทำงานตอนเริ่มต้นก็ตาม บทความนี้จึงอยากนำข้อมูลของการวางแผนการเกษียณมาฝากกันค่ะ
เมื่อคุณคิดแล้วว่าตั้งใจจะเกษียณในช่วงอายุเท่านี้เท่านั้น อาจจะไม่แน่นอนแต่เป็นการประมาณว่าก็ได้ ต่อมาคือคุณต้องคำนวณค่าใช้จ่ายอย่างตรงไปตรงมา เพื่อจะมีเงินพอใช้จ่ายในช่วงที่คุณเองจะไม่มีรายได้อะไร สมมุติว่าคุณเกษียณตอนอานยุ 60 ปี คุณยังต้องใช้ชีวิตที่เหลือต่อไปอีกประมาณว่าถึงอายุ 80 ปี ก็คือคุณจะต้องใช้ชีวิตแบบไม่รายได้อะไรประมาณ 20 ปี ดังนั้นในระยะเวลา 20 ปีนี้คุณใช้จ่ายวันละ 100 บาทต่อวัน คือ 37,000 ต่อปี (37,000 x 20) เท่ากับ 740,000 บาท ซึ่งก็เป็นจำนวนที่ไม่ใช่น้อยเลยนะคะ ดังนั้นตอนนี้คุณต้องเริ่มวางแผนหาเงินให้ได้จำนวนนี้ หรือมากกว่านั้นเพื่อใช้ในช่วงเกษียณ ในเงินจำนวนนี้ก็ยังไม่ได้รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่นค่ารักษาพยาบาล หรือการไปท่องเที่ยวพักผ่อนเลยนะคะ ดังนั้นคุณจึงควรวางแผนอย่างดีเพราะค่ารักษาพยาบาลถ้าคุณเอาภาระค่าใช้จ่ายตรงนี้ไปฝากไว้กับการทำประกันก็จะดีมากๆ เพราะเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของคุณไปอีก และถ้าพูดถึงการท่องเที่ยวก็เช่นกัน การที่คุณมีเครดิตที่ดีต้องมีธนาคารและมีบัตรเครดิตดีๆก็สามารถช่วยคุณลดค่าใช้จ่ายในการไปท่องเที่ยวพักผ่อนได้อยู่ไม่มากก็น้อย ช่วยให้ชีวิตช่วงเกษียณนั้นง่ายขึ้น และในตอนนี้ที่คุณต้องเก็บเงินก็จะได้มากต้องเก็บมากเกินไปด้วย ซึ่งจะไม่เป็นภาระหนักให้ตัวคุณเองในเวลานี้เช่นกันค่ะ ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่ต้องคิดคำนวณหลักๆก็มีอยู่ 2 หลัก ก็คือ 1. ค่าใช้จ่ายต่อเดือน: เราต้องคิดคำนวณค่าใช้จ่ายอย่างตรงไปตรงมาชัดเจนว่าจะใช้จ่ายเท่าไหร่ให้แน่นอน 2. จำนวนปีที่คิดว่าจะมีชีวิตอยู่: อันนี้ก็เป็นการคิดแบบตรงๆเช่นกัน ว่าเราจะเสียชีวิตประมาณเมื่อไหร่ แล้วตัวเลขของทั้งสองหลักนี้แหละที่จะทำให้คุณสามารถวางแผนได้ดี และไม่น่าจะขาดตกบกพร่อง
ตรวจสอบยอดเงินที่ออมไว้และคำนวณว่ายังขาดอีกเท่าไหร่
PHOTOBUAY/shutterstock.com
ถ้าในขณะนี้ตัวคุณเองก็พอจะมีเงินเก็บอยู่บ้างแล้วนั้น ก็เป็นเรื่องที่ดี ดังนั้นคุณควรวางแผนว่าคุณต้องเก็บเงินอีกสักเท่าไหร่จึงจะครบตามจำนวนค่าใช้จ่ายในช่วงหลังเกษียณที่คุณจำเป็นต้องใช้จ่าย และในขณะนี้เงินเก็บที่คุณมีนั้นคุณยังมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายอะไรบ้างในตอนนี้ ดังนั้นคุณควรจะเริ่มทำการตรวจสอบการใช้จ่ายของคุณแม้แต่ในตอนนี้ เห็นมั้ยคะว่าไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย ถ้าคุณเริ่มวางแผนทางการเงินในเรื่องๆหนึ่งมันก็จะเป็นผลพวงให้คุณได้ตรวจสอบวางแผนการเงินในด้านต่างๆด้วย และอยากแนะนำคุณว่าทุกวันนี้ทางสถาบันทางการเงินก็มีตัวช่วยมากมายในการช่วยคุณให้วางแผนการเงินแม้จะเป็นการวางแผนก่อนการเกษียณก็มีด้วยนะคะลองเข้าไปคำปรึกษาดูกันได้ค่ะ และอย่างข้อมูลที่ยกตัวอย่างให้ในตอนแรกนั้นก็ไม่ได้น้อยเลยๆคุณต้องจำเรื่องนี้ไว้ให้ดี และยังมีสิ่งที่ต้องระวังอีก เช่น 1. เงินเฟ้อ : คือเงินในวันนี้อาจจะซื้อของไม่ได้ในอนาคตเพราะค่าเงินเปลี่ยนแปลง อย่าลืมว่าเรื่องการเงินมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ ใครจะรู้ว่าระบบเศรษฐกิจจะอยู่คงที่คงวาเสมอต้นเสมอปลาย เพราะมันไม่เป็นอย่างนั้นแน่ๆ ตัวอย่างของหลายๆประเทศก็มีให้เห็นอยู่ ดังนั้นคุณต้องระวังสิ่งนี้ด้วยค่ะ 2. เงินออมตั้งแต่ต้น ผลตอบแทน และ ระยะเวลา
- เงินออมตั้งแต่ต้น : คือเงินเก็บปัจจุบันของคุณ ยิ่งมีมากก็ลดภาระในการออมลงไปมาก
- ผลตอบแทน : การนำเงินเก็บตอนนี้ออกมาใช้ลงทุนอะไรสักอย่างเพื่อมีรายได้โดยที่ไม่ต้องทำงาน แต่ก็สามารถมีเงินเข้ากระเป๋าเป็นเดือน หรือเป็นปีก็เป็นการลงเงินเพื่อจะได้ผลตอบแทนช่วงเกษียณได้ค่ะ
- ระยะเวลา : ระยะเวลาที่เหลือก่อนการเกษียณเพื่อจะมีเวลาสำหรับเก็บเงินออมเงิน ถ้าคุณคิดว่าจะเกษียณเมื่อไหร่ถ้าเกษียณช้าหน่อยก็จะมีระยะเวลาในการเก็บออมมากขึ้นค่ะ
วางแผนการออมเงินเพื่ออนาคต
Watchara Ritjan/shutterstock.com
อย่างที่บอกไป ทุกวันนี้สถาบันทางการเงินมีตัวช่วยมากมายหลายประเภท เพื่อช่วยให้คุณวางแผนทางการเงิน อย่างเช่นการทำประกันที่เรียกกันว่า “ทรัพย์บำนาญ” คือจะเป็นการจ่ายเบี้ยประกัน เพื่อจะได้ทุนประกันก็คือเงินบำนาญไว้ใช้จ่ายในช่วงที่คุณเกษียณไปแล้ว หรือในช่วงที่ไม่มีรายได้นั้นเองซึ่งตัวช่วยนี้ก็จะทำให้คุณไม่ต้องวุ่นวายเก็บเงินด้วยตัวเองทั้งหมด แต่เป็นเหมือนการจ่ายเบี้ยประกันเพื่อการออมเงินแต่จะได้ผลตอบแทนเมื่อคุณเกษียณและได้เงินใช้จ่ายจากทุนประกันนี้แบบไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายค่ะ ซึ่งหลายๆสถาบันทางการ หรือธนาคารก็ยินดีแน่นอนที่จะให้คำปรึกษา คุณก็สามารถเข้าไปข้อคำปรึกษา หรือหาข้อมูลและสมัครประกันประเภทนี้ได้ โดยเลือกที่เหมาะสมกับคุณ อย่าลืมเลือกอย่างดีให้เหมาะสมกันทั้งเบี้ยประกันและทุนประกันนะคะ
ทบทวนเป้าหมายสม่ำเสมอเพื่อกระตุ้นตัวเอง
ทั้งหมดก็เป็นการคิดคำนวณก่อนการเกษียณเพื่อการเงินที่ดีในช่วงที่ไม่มีรายได้ ดังนั้นถ้าคุณอยากใช้ชีวิตอย่างสบายๆในช่วงวัยเกษียณก็ต้องวางแผนอย่างดี แต่ก็อย่างว่านั่นแหละค่ะแต่ละบุคคลก็มีเป้าหมายที่แตกต่างกันไป บางคนอาจอยากจะใช้เวางในช่วงเกษียณนี้ไปกับครอบครัว พักผ่อนเต็มที่ อยู่อย่างสบายจิตใจ แต่บางคนก็ยังอยากทำในสิ่งที่ตัวเองรัก อย่างเช่นงานประดิษฐ์อะไรบางอย่างที่นำมาขายเป็นรายได้ได้ ความปราถนาของแต่ละคนก็มีต่างกันไป วันนี้จึงอยากนำวัยเกษียณ 5 แบบ 5 สไตล์มาให้ดูกันว่าคุณเองมีเป้าหมายแบบไหนกันบ้าง ลองดูว่าตรงกับความต้องการและเป้าหมายของคุณกันบ้างหรือเปล่า?
เกษียณแบบอยากให้ลูกหลานมาดูแล
พ่อแม่หลายคนก็ยังมีแนวคิดแบบนี้ คือเลี้ยงลูกโตมาก็คาดหวังว่าเขาจะมาเลี้ยงดูตนเองในอนาคตยามแก่ชรา ซึ่งส่วนมากแล้วความปราถนาของพ่อแม่แบบนี้ก็มักไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่ กลายเป็นว่าลูกๆดูแลโดยใช้เงินแทน ผลคือผู้สูงอายุหลายคนต้องไปอยู่บ้านพักคนชรา เห็นได้ว่าการฝากภาะยามแก่เฒ่าไว้กับลูกหลานอย่างเดียวนั้นค่อนข้างยาก เพราะลูกๆหลานๆอาจจะไม่มีเวลา หรือไม่มีที่อยู่หรือเงินมากพอที่จะเลี้ยงดูได้ ดังนั้นอย่างน้อยเพื่อไม่ให้เป็นภาระลูกๆหลานคุณควรที่จะเตรียมตัวเรื่องการวางแผนการก่อนการเกษียณเอาไว้บ้างนะคะ
เกษียณจากงานประจำแต่ยังหารายได้เสริม
ผู้สูงอายุบางคนก็ยังมีสุขภาพที่ดีและเป็นคนขยันน่าชื่นชม และยังมีความสามารถพิเศษอื่นอยู่มากอาจจะเริ่มทำงานเล็กน้อยที่บ้านโดยไม่มีการกำหนดระยะเวลา เพื่อหารายได้เล็กน้อยๆเข้ามาได้และมีรายได้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันซึ่งส่วนใหญ่ผู้สูงอายุนั้นก็ไม่ค่อยได้ออกไปไหน หรือสนใจการ กินเที่ยวมากนักเขาจึงไม่ค่อยใช้จ่ายอะไรมากมายในแต่ละวันการหารายได้เล็กๆน้อยทำในสิ่งที่รักหรือถนัดก็เป็นอีกทางเลือกที่ดีค่ะ
เกษียณแบบมีการเอาเงินไปลงทุนเพื่อรอรับผลตอบแทน
การลงเอาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์เพื่อสร้างรายได้ในช่วงวันเกษียณก็เป็นอีกทางเลือกที่ดี ซึ่งรายได้จากการลงทุนแบบนี้มักจะจ่ายผลตอบแทนให้อย่างส่ำเสมอ เป็นรายเดือน หรือรายปีก็ว่ากันไป ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของสินทรัพย์ที่คุณลงทุนไปนั้น เช่นการลงทุนในการ ซื้อที่ดิน ซื้อบ้าน ซื้อคอนโด นี่เป็นทางเลือกที่ดีในการที่เงินจะไหลเข้ากระเป๋าเป็นประจำในทุกๆเดือน หรือแม้แต่การลงทุนใน กองทุนรวม การลงทุนในหุ้น ก็สามารถคำนวณรายรับหรือเงินที่จะได้เป็นรายปีได้ แต่ต้องเลือกกองทุนรวมที่ดีเหมาะสม มีประวัติการจ่ายเงินปันผลที่สม่ำเสมอ เพื่อการเงินที่ไม่ติดขัดควรลงทุนในหลายๆทางเพื่อรายได้ที่ไม่หยุดชะงักค่ะ
เกษียณแบบมั่นใจเพราะมีเงินก้อนจากการลงทุนแล้ว
คุณอาจจะเป็นคนที่ทำงานด้านการลงทุนอยู่แล้ว จึงมีเงินเข้ากระเป๋าเป็นประจำอยู่แล้วและมีเงินเก็บออมเป็นจำนวนมากๆอยู่แล้วจึงไม่ค่อยต้อกังวลจะเกษียณเมื่อไหร่ก็ย่อมได้
เกษียณแบบลูกหลานพร้อมจะเลี้ยงดูแบบมั่นใจแน่นอน
คุณเองคงต้องมีมรดกมหาศาลให้หับลูกๆหลานๆ เขาจึงมาดูแลคุณเป็นพิเศษ เพราะนอกจากตัวคุณจะไม่เป็นภาระให้กับพวกเขาแล้ว ยังมีเงินที่สามารถช่วยเหลือลูกๆหลานๆในยามที่เขาเดือนร้อน หรือเมื่อคุณจากไปก็ไม่ทำให้ลูกๆหลานต้องลำบาก แต่คุณจะเป็นแบบนั้นได้คุณก็ต้องมีการวางแผนทางการเงินที่ดี วางแผนก่อนการเกษียณอย่างรัดกุม มีวินัยในเรื่องการเงินมีเป้าหมายและทำตามแผนที่คุณตั้งไว้อย่างชัดเจน แล้วคุณจะเกษียณอย่างสบายตัวสบายใจได้แน่นอนค่ะ เป็นยังไงกันบ้างคะ สไตล์การเกษียณแบบไหนที่คุณตั้งเป้าหมายเอาไว้ ไม่ว่าคุณจะตั้งเป้าหมายแบบไหนเอาไว้ดีที่สุดคือการไม่เป็นภาระให้กับใคร และต้องทำตามแผนที่วางไว้อย่างเคร่งครัด และตรวจสอบการเงินของคุณอย่างสม่ำเสมอรวมถึงการวางแผนการใช้จ่ายในตอนนี้ด้วยตอนที่คุณยังคงอยู่ในวัยทำงานนี้ค่ะ ยิ่งวางแผนล่วงหน้านานมากแค่ไหนก็ยิ่งก่อผลที่ดีมากเท่านั้นค่ะ
พิชิต
เราใช้วิธีฝากประจำทุกเดือนค่ะ ของธนาคารออมสินเพราะว่านอกจากจะมีเงินเก็บแล้วยังได้รับดอกเบี้ยด้วย (ดีกว่าเอาเงินมาเก็บเอง ไม่ได้อะไรเลย) อีกอย่างก็จะซื้อสลากของธนาคารออมสินด้วยค่ะ เผื่อว่าถ้าถูกรางวัลก็จะได้เงินเพิ่มขึ้นไปอีก เพื่อนบอกว่าเราฝากเยอะเกินไปเดือนละเป็นหมื่น สำหรับเราไม่เยอะหรอกค่ะถ้าคิดคำนวณว่าตอนชราต้องใช้เงินเท่าไหร่ แค่นี้น้อยมาก
Chaiya
แม้อายุยังไม่ถึงวัยเกษียณแต่ก็ควรคิดวางแผนชีวิตในวัยเกษียณไว้ก่อนได้ เมื่อก่อนผมก็ไม่ค่อยคิดถึงเรื่องนี้เท่าไหร่ แต่ตอนนี้เริ่มคิดบ้างแล้วครับ ผมคงต้องเก็บออมเงินให้มากกว่านี้ อยากจะไปหาการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ ถึงจะได้เงินน้อยแต่ถ้าได้นานๆผมก็โอเคครับ เพราะผมไม่เก่งเรื่องลงทุนกลัวว่าลงทุนอะไรไปเดี๋ยวจะขาดทุนหมดน่ะครับ
กัลยา
คงจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือวัยเกษียณนะคะ เพราะถ้าเราไม่ประหยัดอดออมหรือเก็บเงินในตอนนี้ วัยเกษียณของเราก็จะไม่มีเงินเอาไว้สำหรับการลงทุนหรือต่อยอดการใช้ชีวิตค่ะ บทความนี้จึงอธิบายเกี่ยวกับการวางแผนการเงินสําหรับวัยเกษียณว่าควรทำอย่างไรดี เพื่อที่จะเป็นการวางแผนการเกษียณอย่างมีประสิทธิภาพค่ะ
พัทธวรรณ
ต้องคิดตั้งแต่ตอนนี้กันเลยค่ะเรื่องวางแผนชีวิตก่อนวัยเกษียณ เพราะเวลามันผ่านไปเร็วมาก ทำงานได้อีกไม่กี่สิบปีก็เข้าสู่วัยเกษียณกันแล้ว..แน่ะ! ไม่ต้องมาเดาอายุกันเลย นอกจาเรื่องเงินที่ต้องเก็บออมไว้ใช้ในวัยเกษียณแล้ว เรานึกถึงงานที่สามารถทำได้แม้อยู่ในวัยเกษียณด้วย ช่วงเกษียณตอนแรกๆอายุยังไม่มากเท่าไหร่ น่าจะยังพอทำงานได้อยู่ค่ะ
ติระ
คิดได้ วางแผนได้ แต่ที่ไม่ได้ น่าจะเป็นเรื่องการลงมือทำครับ เพราะผมทำงานรับจ้างครับ เงินเดือนที่ได้ในแต่ละเดือนไม่เท่ากันทุกๆเดือน แล้วก็ยังต้องรับผิดชอบหลายๆอย่างในครอบครัว แล้วคิดว่า การเกษียณ คงไม่น่าจะเกิดขึ้นกับคนหาเช้ากินค่ำแบบผม คงทำได้แค่ถ้าหมดแรงทำงานตอนไหน นั้นละครับคือการเกษียณ ของผมครับ ซึ่งน่าจะยาวครับ
นิล
เราก็คิดอยู่นะ ถ้าก่อนจะถึงช่วงเวลาที่เราเกษียณตัวเองทำงานอาชีพไม่ได้ ก็อยากจะมีเงินสักก้อนเก็บไว้ คิดว่าคงไม่ได้แต่งงานก็เลยไม่จำเป็นต้องคิดถึงลูกหลาน แต่ตอนนี้เรากำลังสนใจการทำประกันชีวิต พี่พอถึงเวลาแล้วเราจะได้เงินก้อนหรือว่าการลงทุนพวกกองทุนรวมที่ช่วยให้เรามีเงินเก็บหลังเกษียณ ถึงแม้ว่าจะอีกหลายสิบปี แต่การคิดไว้ตั้งแต่ตอนนี้เป็นเรื่องที่ดีนะ
สมร
ลงทุนในกองทุนrmf ก็ดีนะคะเป็นกองทุนเลี้ยงชีพในวัยเกษียณ มันดีตรงที่ใช้เป็นตัวลดหย่อนภาษีได้ แต่บางคนก็ไม่ชอบกองทุนrmfเพราะกว่าจะได้เงินก้อนมาใช้ก็ต้องมีอายุ55ปีขึ้นไป ไม่ทันใจวัยสะรุ่น555 ดังนั้นต้องตรวจสอบตัวเองว่าสามารถสร้างวินัยในการออมเงินในระยะยาวได้ไหมและได้เตรียมสภาพคล่องทางการเงินเพียงพอหรือไม่
บุญเกริก
บทความนี้เป็นประโยชน์จริงๆครับ ต้องขอบคุณผู้เขียนบทความนี้มากๆเลยครับที่ทำให้ผมเห็นว่าการวางแผนชีวิตก่อนการเกษียณนั้นสำคัญจริงๆ เพราะเราไม่อาจรู้ได้ว่าในอนาคตจะเป็นยังไง บางทีในอนาคตเราอาจจะไม่ได้มีเงินพอใช้ก็ได้นะครับ ผมจะเอาคำแนะนำในบทความนี้ไปปรับใช้ในชีวิตดูนะครับ และผมอยากจะแนะนำให้คนวัยใกล้เกษียณเหมือนผมลองเอาไปปรับใช้ดูเหมือนผมนะครับ
วายุ
เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ยากมากเลยครับสำหรับการที่คิดว่าเมื่อเราทำงานในตอนที่มีกำลังแรง ต้องสะสมเงินไว้สำหรับวัยเกษียณหรือเปล่าที่อายุมากขึ้น พอดีตอนนั้นจะเป็นตอนที่ลำบากและทำให้เราไม่สามารถที่จะทำงานได้เต็มที่ กลายเป็นว่าทำงานหนักก็เพื่อสำหรับวัยเกษียณเท่านั้นเหรอครับ บทความนี้จึงช่วยเราสามารถที่จะใช้ชีวิตแบบเก็บเงินไปได้สำหรับวัยเกษียณโดยที่ไม่เหนื่อยเกินไปด้วยครับ
ดานัง
สำหรับใครที่พยายามเก็บเงินเพื่อใช้ตอนที่อายุมากๆ เป็นคนที่วางแผนการใช้ชีวิตได้ดีมากจริงคะ แต่การเก็บเงิน เราเคยไปอ่านเจอบทความหนึ่ง เขาบอกว่า บ้านเราอาจเข้าสู้สภาวะเงินเฟ้อได้ เขาลองคิดคำนวนว่า 1ปีบ้านเรามีเงินเฟ้อประมาณ3% นั้นแสดงว่า ค่าเงินที่เราเก็บได้ตอนนี้ ในจำจวน1แสนบาท ราคาอาจลดลงที่ 7-8หมื่นบาท งั๊นเราก็ต้องคิดเรื่องนี้ด้วยนะ