อุบัติเหตุเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ต้องเตรียมพร้อมรับมือทุกเมื่อ สิ่งที่ช่วยให้รับมือได้ดี คือ ประกันรถยนต์ จึงต้องศึกษาทำความเข้าใจเพื่อที่คุณจะได้ประโยชน์มากที่สุด เพราะประกันรถยนต์มีหลายประเภท ใครที่มีรถยนต์ไม่ควรลังเลที่จะซื้อประกันรถยนต์นะ มีรถก็ต้องมีประกัน ลองคิดดูว่า ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาจะมีความเสียหายอะไรบ้าง? เช่น ความเสียหายต่อบุคคล ความเสียหายต่อรถของคุณ ความเสียของทรัพย์สินอื่นๆ เมื่อคิดถึงเรื่องเหล่านี้คุณจะยิ่งมองเห็นว่าประกันรถยนต์นั้นจำเป็นมากแค่ไหน คุณจะรับมือกับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ดีกว่าแค่ไหนเมื่อมีประกันรถยนต์ที่คอยช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย คุณคงได้คำตอบแล้วใช่ไหม?

บทความนี้เราจะมาคุยกันเกี่ยวกับประกันรถยนต์โดยเฉพาะเลยค่ะ ประกันรถยนต์มีสองประเภทหลักๆ คือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ และประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ รถยนต์หนึ่งคันต้องมีประกันทั้งสองประเภทนี้นะคะ ประกันทั้งสองประเภทให้ความคุ้มครองที่ต่างกัน ต่างกันอย่างไร? ทำไมต้องมีถึงสองประเภท? มาอ่านต่อกันเลย

ก่อนที่จะซื้อประกันรถยนต์ มาทำความเข้าใจเรื่องประกันรถยนต์ภาคบังคับ

ก่อนที่จะซื้อประกันรถยนต์ มาทำความเข้าใจเรื่องประกันรถยนต์ภาคบังคับ

ประกันรถยนต์ภาคบังคับ คือ พ.ร.บ. ที่เราได้ยินกันบ่อยๆอยู่แล้ว ซึ่งความหมายเต็มๆก็คือ ประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถนั่นเอง เป็นประกันรถยนต์ตามกฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องทำประกันนี้ค่ะ ดังนั้นทุกๆปีเราต้องไปต่อ พ.ร.บ. พร้อมๆกับต่อทะเบียนและเสียภาษีรถยนต์ที่กรมการขนส่งค่ะ ประโยชน์และความคุ้มครองของ พ.ร.บ. มีอะไรบ้าง? มาดูกัน

ประโยชน์ของประกันรถยนต์ภาคบังคับ

พ.ร.บ. ให้ความคุ้มครองต่อบุคคลต่อไปนี้ ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร บุคคลภายนอก คนเดินถนน เมื่อเกิดอุบัติเหตุจนถึงกับเสียชีวิต หรือบาดเจ็บ วงเงินคุ้มครองมีจำกัด ซึ่งให้ความคุ้มครองต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุในเรื่องของค่ารักษาพยาบาล แล้วยังเป็นหลักประกันเรื่องค่ารักษาพยาบาลแก่โรงพยาบาลด้วยค่ะ แต่ พ.ร.บ. จะไม่คุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สิน หรือรถยนต์ ความคุ้มครองจึงไม่ครอบคลุมทุกๆเรื่อง ทำให้เราต้องซื้อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจเพิ่มเติมค่ะ

ความคุ้มครองของประกันรถยนต์ภาคบังคับ

ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. และวงเงินคุ้มครองที่กฎหมายกำหนดมีดังนี้

  1. ค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ 80,000 บาท/คน
  2. เงินชดเชยกรณีศูนย์เสียอวัยวะ 200,000 – 500,000 บาท/คน
  3. เงินชดเชยกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ 200,000 – 500,000 บาท/คน
  4. เงินชดเชยรายวันกรณีต้องนอนโรงพยาบาล 200 บาท/วัน (สูงสุดไม่เกิน 20 วัน)

ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจคืออะไร?

ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจคืออะไร?

ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ เป็นประกันรถยนต์ทั่วๆไปที่ผู้ซื้อประกันสามารถเลือกความคุ้มครองได้เองตามความต้องการ และกฎหมายไม่ได้บังคับค่ะ การซื้อประกันแบบนี้จะขึ้นอยู่กับสภาพของรถยนต์ และอายุของรถยนต์ด้วยว่าเหมาะสมกับประกันแบบไหน? ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจมีหลายแบบให้เลือก คือ ประกันรถยนต์ชั้น 1 / ประกันรถยนต์ชั้น 2+ / ประกันรถยนต์ชั้น 2 / ประกันรถยนต์ชั้น 3+ / ประกันรถยนต์ชั้น 3 เป็นต้น

ประโยชน์ของประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ

ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจจะให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากกว่าประกันรถยนต์ภาคบังคับ เรื่องที่จะคุ้มครองก็มีอย่างเช่น คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์/คุ้มครองความเสียหายต่อบุคคล/คุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สิน ส่วนวงเงินคุ้มครองผู้ซื้อประกันสามารถเลือกได้เองตามความเหมาะสมเลยค่ะ แม้ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจกฎหมายไม่ได้บังคับแต่ก็จำเป็นนะ เพราะคุ้มครองความเสี่ยงเกือบทุกเรื่องที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ไม่ควรมองข้ามไม่ว่ารถยนต์ของคุณจะอายุเท่าไหร่หรือมีสภาพเช่นไรก็ตาม

ความแตกต่างกันระหว่างประกันรถยนต์ภาคบังคับและประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ

ความแตกต่างกันระหว่างประกันรถยนต์ภาคบังคับและประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ

คุณคงพอจะทราบแล้วว่าประกันรถยนต์ภาคบังคับ และ ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจนั้นแตกต่างกันอย่างไรบ้าง? แต่เพื่อความชัดเจน ก็อยากจะย้ำให้เข้าใจง่ายๆอีกครั้งว่า ประกันรถยนต์ภาคบังคับมีวงเงินคุ้มครองจำกัดตามกฎหมายและคุ้มครองบุคคลเท่านั้น ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจสามารถเลือกวงเงินคุ้มครองเลือกได้และคุ้มครองทุกๆอย่าง ทั้งบุคคล รถยนต์ ทรัพย์สิน สรุปความแตกต่างได้ง่ายๆดังนี้

  1. พ.ร.บ. คุ้มครองเฉพาะตัวผู้ขับขี่
  2. ประกันรถยนต์แผนประกันที่เลือกได้

วิธีเคลมประกันรถยนต์

การเคลมประกันรถยนต์เป็นเรื่องหนึ่งที่หลายๆคนอยากรู้ บอกเลยไม่ยากหรอกนะ เพราะส่วนมากพนักงานที่ทำหน้าที่การเคลมจะช่วยจัดการให้คุณอยู่แล้ว การเคลมประกันรถยนต์มีสองแบบ คือ เคลมสด (กรณีมีคู่กรณี) และเคลมแห้ง (กรณีไม่มีคู่กรณี)

  • เอกสารที่ต้องเตรียม กรมธรรม์ เล่มทะเบียนรถ บัตรประชาชน ใบขับขี่ เอกสารเกี่ยวกับรายละเอียดของเหตุการณ์ที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกัน
  • ขั้นตอนการเคลมมีดังนี้ โทรแจ้งบริษัทประกันพร้อมแจ้งเลขกรมธรรม์ หรือรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับอุบัติเหตุ / เจ้าหน้าที่บริษัทประกันมาถึงเพื่อตรวจสอบเหตุการณ์ เช่น ใครเป็นฝ่ายผิดใครเป็นฝ่ายถูก ประเมินความเสียหายทั้งตัวรถและบุคคล / ออกใบประเมินให้กับเราเพื่อนำรถไปซ่อมที่อู่หรือที่ศูนย์ โดยบริษัทประกันจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด

วิธีเคลม พ.ร.บ.

การเคลม พ.ร.บ. เรื่องใกล้ตัวที่ต้องศึกษาเลยนะ คุณหรือญาติๆของคุณอาจจะต้องจัดการเอง หรือทางโรงพยาบาลอาจจะจัดการให้ แต่การเคลมพ.ร.บ. บอกเลยว่ามีเอกสารให้ต้องเตรียมมากพอสมควร เอกสารที่ต้องใช้และขั้นตอนที่ต้องทำจึงควรรู้ เช่น ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง? ต้องทำอย่างไรบ้าง? มาดูกันเลย

  • เอกสารที่ต้องเตรียมมีในส่วนของคุณเองและในส่วนของโรงพยาบาล เอกสารที่คุณต้องเตรียมเอง คือ สำเนาบัตรประชาชน(พร้อมเซ็นชื่อสำเนาถูกต้อง) / สำเนาใบขับขี่(พร้อมเซ็นชื่อสำเนาถูกต้อง) / สำเนาทะเบียนรถ / ใบแจ้งความ เอกสารส่วนที่ทางโรงพยาบาลเตรียมให้ คือ ใบเสร็จ ใบรับรองแพทย์ สำเนามรณะ(กรณีเสียชีวิต)
  • ขั้นตอนการเคลมพ.ร.บ.คุณสามารถให้ทางโรงพยาบาลดำเนินการให้ก็แค่เตรียมเอกสารส่วนตัวยื่นให้ทางโรงพยาบาลตามที่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลขอมา หรือถ้าหากว่าคุณต้องการดำเนินการเองคุณต้องเตรียมเอกสารส่วนตัวและเอกสารจากโรงพยาบาลไปยื่นให้กับบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัย หรือ โทรไปที่ 1791

Tips ที่ช่วยได้เมื่อคุณคิดจะซื้อประกันรถยนต์

Tips ที่ช่วยได้เมื่อคุณคิดจะซื้อประกันรถยนต์

ประกันรถยนต์มีหลายบริษัทมีหลายแบบแผนให้เลือกซื้อ จะเลือกอย่างไรให้ดีที่สุด? ดังนั้นก่อนจะซื้อประกันรถยนต์มีเรื่องที่ต้องให้คิดอยู่ไม่น้อย เพื่อคุณจะได้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากที่สุด ต้องเช็คเบี้ยประกัน วงเงินคุ้มครอง และการบริการ หากอยากได้ของดีต้องใจเย็นๆคิดให้รอบคอบ เรื่องที่อยากแนะนำให้คุณคิดถึงคือเรื่องเหล่านี้

1. เลือกแผนความคุ้มครองที่อยากได้รับการดูแล

การเลือกแผนประกันที่ตรงกับความเสี่ยงจะทำให้เราได้รับการดูแลที่ตรงจุด ซึ่งช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้ดีกว่า ทำให้เราและครอบครัวไม่เดือดร้อนจนเกินไปและรับมือได้กับเรื่องร้ายๆ ดังนั้นการเลือกซื้อแบบแผนประกันที่ตรงตามความต้องการจึงสำคัญ ต้องศึกษาเงื่อนไและสิทธิประโยชน์ของความคุ้มครองให้ดีๆ

2. พิจารณาเลือกบริษัทประกันภัย

การเลือกบริษัทประกันก็สำคัญ มีหลายเรื่องให้ต้องคิดถึง เช่น ชื่อเสียงที่ดี การบริการที่ดี แบบแผนประกันที่คุ้มค่า และเบี้ยประกันที่รับได้ไม่เป็นภาระ ก่อนตัดสินใจใช้บริการประกันรถยนต์ของบริษัทไหนก็สามารถหาข้อมูลได้จากการอ่านรีวิวของผู้ใช้จริงก็เป็นทางเลือกที่ดี

3. ตรวจสอบบริษัทประกันภัยที่มีชื่อเสียงดี

บริษัทประกันรถยนต์ก็มีหลากหลายรูปแบบ การเลือกซื้อประกันรถยนต์จากบริษัทืั้มีชื่อเสียงที่ดี เชื่อถือได้ น่าไว้วางใจ จะทำให้เราได้ประโยชน์หลายอย่างโดยเฉพาะเรื่องของการบริการที่ดี ความคุ้มครองที่คุ้มค่า ได้รับความช่วยเหลือทันเวลา ติดต่อง่าย เมื่อเกิดอุบัติเหตุต้องซ่อมรถก็จะได้รับการดูแลที่ดีมีคุณภาพดี

4. เลือกบริษัทประกันที่มี Partner หลายราย

Partner ของบริษัทประกันอาจจะหมายถึง อู่ซ่อมรถที่ดีมีคุณภาพ โรงพยาบาล หรือแม้แต่บริษัทประกันภัยด้วยกันเองก็ได้ การเลือกใช้บริการบริษัทประกันที่มี Partner หลายรายจะช่วยทำให้อุ่นใจมากกว่า ทำให้จัดการกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้ดีกว่า ได้รับความช่วยเหลือที่รวดเร็ว และสะดวกมากกว่า

5. เปรียบเทียบเบี้ยประกันและบริการ

การเปรียบเทียบเบี้ยประกันอาจช่วยให้ประหยัดมากขึ้น และการเปรียบเทียการบริการจะทำให้เราได้ความคุ้มครองที่ถูกใจมากกว่า ดังนั้นก่อนซื้อประกันรถยนต์ควรเปรียบเทียบและหาข้อมูลก่อน ไม่ควรรีบตัดสินใจทันที ทั้งเบี้ยประกันและความคุ้มครองต้องสมดุลกัน

6. เช็คว่าติดต่อกับ Call center ได้ตลอด 24 ชั่วโมงได้ไหม

การติดต่อบริษัประกันเป็นเรื่องสำคัญ หากบริษัทประกันที่ใช้บริการติดต่อยากคงไม่ดีแน่ๆ หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดคงจัดการอะไรๆได้ไม่ทันเวลา ทำให้เสียเวลาด้วยซ้ำ ดังนั้นบริษัทประกันที่ติดต่อได้ง่ายๆตลอด 24 ชม. เป็นการเลือกที่ฉลาดมากว่า

7. ทำความเข้าใจในความเสี่ยงของตัวเอง (OWN RISK)

การเช็คตัวเองก็สำคัญ การใช้รถใช้ถนนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ความเสี่ยงจึงต่างกันด้วย บางคนใช้รถบ่อยๆทุกๆวัน บางไม่ค่อยได้ใช้รถเลย ดังนั้นการเลือกแบบแผนความคุ้มครองก็ต้องเช็คความเสี่ยงด้วย อาจจะต้องถามตัวเองว่า คุณใช้รถบ่อยแค่ไหน? เดินทางไกลบ่อยไหม? นิสัยการขับรถของคุณเป็นอย่างไร? เป็นต้น

8. เรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการเคลม

แม้ยังไม่เกิดอุบัติเหตุ แต่การศึกษาล่วงหน้าก่อนว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วการจะเคลมประกันนั้นมีขั้นตอนอย่างไรบ้างจะทำให้เราจัดการเรื่องต่างๆได้ง่ายมากขึ้น เมื่อเกิดเรื่องขึ้นมาเราจะทำตามขั้นตอนอย่างถูกต้องไม่เสียเวลา ซึ่งเป็นผลดีต่อตัวเราเองที่เป็นผู้เอาประกัน

วิธีซื้อประกันรถยนต์

วิธีซื้อประกันรถยนต์

ประกันรถยนต์ซื้อง่ายๆไม่ยุ่งยากหากเลือกมาอย่างดีแล้ว ผ่านช่องทางต่อไปนี้ คือ ผ่านช่องทางออนไลน์ ผ่านตัวแทน ผ่านโบรกเกอร์ ซื้อกับธนาคารโดยตรง ซื้อกับบริษัทประกันโดยตรง คุณสามารถเลือกวิธีที่คุณสะดวกที่สุดได้เลยค่ะ แต่ไม่ว่าจะซื้อด้วยวิธีไหนควรเช็คเรื่องความน่าเชื่อถือให้ดีๆ อย่าลืมอ่านเงื่อนไขกรมธรรม์ให้ดีด้วยนะ

เอกสารที่ต้องเตรียมและคุณสมบัติ

คุณสมบัติของผู้ซื้อประกันรถยนต์ก็จะเกี่ยวข้องกับรถยนต์ด้วย ต้องดูว่าคุณใช้รถบ่อยแค่ไหน? รถยนต์ของคุณเป็นรถเก่าหรือรถใหม่? รถยนต์มีอายุเท่าไหร่? ประสบการณ์ในการขับรถยนต์ก็สำคัญในการเลือกความคุ้มครองนะคะ ส่วนเอกสารที่ต้องใช้ในการซื้อประกันรถยนต์นั้นไม่มีอะไรมาก ไม่ว่าจะเป็นการซื้อประกันรถยนต์ผ่านช่องทางไหนก็ใช้เอกสารเหมือนกันทั้งหมดค่ะ เอกสารที่ต้องเตรียม คือ

  • สำเนาบัตรประชาชน ใบขับขี่ ทะเบียนรถ
  • ใบคำขอเอาประกัน
  • กรณีรถอายุมากต้องมีใบรับรองการตรวจสภาพรถ

ประกันรถยนต์ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ แต่ก็ช่วยคุ้มครองความเสี่ยงได้ ขับรถแบบมีประกันรถยนต์ก็สบายใจมากกว่า แม้เกิดอุบัติเหตุก็พร้อมรับมือกับความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายในทุกๆกรณีได้เลย ที่สำคัญควรจะต้องมีให้ครบนะ ทั้งประกันรถยนต์ภาคบังคับ(พ.ร.บ.) และประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ(ประกันรถยนต์ที่เลือกเอง) วางแผนก่อนเกิดเหตุร้ายยังไงก็ดีกว่านะ หากผู้อ่านสงสัยสามารถปรึกษาได้ฟรีทั้งเรื่องประกันรถยนต์และเรื่องอื่นๆเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์การเงินได้ในเว็บไซต์ของเรานะคะ