อย่างที่คุณเองคงทราบว่าประกันสังคมนั้นให้สิทธิ์ต่อบุคคลที่ไม่ได้ทำงานประจำด้วยซึ่งสามารถสมัครรับความคุ้มครองจากประกันสังคมมาตรา 40 ได้ซึ่งประกันสังคมมาตรา 40 นี้สำหรับผู้ที่ทำงานอิสระและไม่เคยเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 และ 39 มาก่อน ซึ่งผู้ประกันตนเองมาตรา 40 สำหรับคนที่ทำงานอิสระก็จะได้รับความคุ้มครองในกรณีต่างๆนี้ คือ เงินทดแทนการขาดรายได้,ค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย,ทุพพลภาพ,ค่าทำศพเมื่อเสียชีวิต,เงินบำเหน็จเมื่อชราภาพเมื่อมีอายุ 60 ปี  นี่คือความคุ้มครองที่ผู้ประกอบอาชีพอิสระจะได้จากประกันสังคมมาตรา 40 ซึ่งกองทุนประกันสังคมมีทางเลือกให้แก่ผู้ประกอบอาชีพอิสระ 2 ทางเลือกด้วยกันเป็นสองทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบและการรับความคุ้มครองที่ต่างกันไป แต่หลายคนเริ่มมีคำถามว่าถ้าหากทำประกันสังคมมาตรา 40 แล้วและต่อมาได้เปลี่ยนมาทำงานประจำจะต้องจัดการกับประกันสังคมอย่างไรบ้าง?

ตอบสั้นๆได้เลยว่าก็คงต้องยกเลิกการประกันตนเองมาตรา 40 ไป แต่หลายคนยังเป็นห่วงว่าเงินที่เคยจ่ายสมทบไปแล้วนั้นจะได้รับคืนหรือไม่? เมื่อภายหลังได้ยกเลิกไปแล้วได้ทำงานประจำและมีการสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แทน หลายคงอยากจะทราบข้อมูลเรื่องนี้แน่นอนวันนี้บทความนี้จึงไม่พลาดที่จะหยิบยกเรื่องนี้มาบอกกันเรื่องที่จะนำมาให้เพื่อนๆอ่านก็มีดังนี้ วิธียกเลิกประกันสังคมมาตรา 40 ที่เคยสมัครเมื่อมีอาชีพอิสระ / เงินสมทบประกันสังคมมาตรา 40 ที่เคยส่งจะได้รับคืนไหม? การปรับเปลี่ยนงานอาชีพและการรับรายได้นอกจากจะต้องจัดการเรื่องของภาษีแล้วต้องจัดการเรื่องของประกันสังคมด้วยเพราะเป็นสิทธิ์ประโยชน์ที่คุณพึงได้รับนะคะหลังจากจ่ายเงินสมทบไปแล้ว

วิธียกเลิกประกันสังคมมาตรา 40 ที่เคยสมัครเมื่อมีอาชีพอิสระ

วิธียกเลิกประกันสังคมมาตรา 40 ที่เคยสมัครเมื่อมีอาชีพอิสระ

มาดูกันว่าเมื่อทำประกันสังคมมาตรา 40 สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระแล้วได้งานประจำทำต้องยกเลิกไหม? มีอยู่ 3 คำตอบดังนี้

  1. บุคคลหนึ่งสามารถมีสถานะเดียวเท่านั้นในการทำประกันสังคม หมายความว่าเมื่อมีการเปลี่ยนอาชีพจากงานอิสระไปทำงานประจำแล้วนายจ้างต้องการทำประกันสังคมมาตรา 33 ให้ แม้คุณจะมีการทำประกันสังคมมมาตรา 40 อยู่แล้วก็จะสิ้นสภาพรับความคุ้มครองของมาตรา 40 ไปแต่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 33 แทนการจ่ายเงินสมทบก็เปลี่ยนไปตามมาตรา 33 ด้วยค่ะ
  2. ส่วนของการยกเลิกประกันสังคมมาตรา 40 นั้น คุณจะยกเลิกหรือไม่ก็ได้ เพราะเงื่อนไขและข้อกำหนดของประกันสังคมมาตรา 40 มีดังนี้คือ ผู้ประกันตนต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปีเท่านั้น ดังนั้นคุณอาจจะดำรงสถานะประกันสังคมมาตรา 40ไว้ก็ได้เผื่อว่าในอนาคตคุณจะออกจากงานประจำอีกหรือเกษียณจากการทำงานแล้วตอนที่อายุ 55 ปีก็จะสิ้นสภาพประกันสังคมมาตรา 33 แต่ก็ยังสามารถเป็นผู้ประกันตามมาตรา 40 ได้ต่อไปจนถึงอายุ 60 ปีตามเงื่อนไขที่กำหนดค่ะ
  3. แต่ถ้าคุณต้องการยกเลิกและลาออกจาสถานะผู้ประกันตนมาตรา 40 ก็ทำได้ค่ะ เพียงแต่เมื่อมองไปในอนาคตเมื่อเกษียณก่อนอายุ 60 หรือลาออกจากงานคุณแล้วต้องการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ก็ต้องยื่นเรื่องขอสมัครใหม่อีกครั้งค่ะ หรือถ้าสมัครช้าเกินอายุ 60 ปีก็จะหมดสิทธิ์จะได้รับเงินบำเหน็จหรือเงินชราภาพไปค่ะ

ตอนนี้คุณคงได้ข้อสรุปแล้วว่าถึงแม้ก่อนหน้านี้จะมีอาชีพอิสระและทำประกันสังคมมาตรา 40 เอาไว้แล้วต่อมาได้งานประจำแล้วทำประกันสังคมมาตรา 33 ก็ไม่จำเป็นต้องยกเลิกประกันสังคมมาตรา 40 ก็ได้ซึ่งคนส่วนมากเลือกที่จะไม่ยกเลิกและสมัครเอาไว้อย่างนั้นเผื่ออนาคตในช่วงวัยเกษียณนั่นเอง ใครที่ยังไม่มีงานประจำก็สามารถไปติดต่อสมัครเป็นผู้ประกันตนเองมาตรา 40 ได้ง่ายๆเอาไว้ก่อนเพราะไม่ต้องตรวจสุขภาพให้วุ่นวายแล้วยังสามารถใช้สิทธิ์บัตรทองได้อย่างต่อเนื่องไม่เสียสิทธิ์แม้จะขาดการจ่ายเงินสมทบก็ยังไม่สิ้นสภาพมาตรา 40 และยังมีอิสระในการเปลี่ยนทางเลือกการจ่ายเงินสมทบและการรับความคุ้มครองได้อีกด้วยซึ่งสามารถเปลี่ยนได้ปีละ 1 ครั้งแล้วยังนำเงินสมทบที่จ่ายไปมาลดหย่อนภาษีได้ด้วย นี่คือข้อดีบางส่วนของประกันสังคมมาตรา 40 เมื่อสมัครแล้วก็ไม่ควรยกเลิกนะคะ

เงินสมทบประกันสังคมมาตรา 40 ที่เคยส่งจะได้รับคืนไหม?

เงินสมทบประกันสังคมมาตรา 40 ที่เคยส่งจะได้รับคืนไหม?

ประกันสังคมมาตรา 40 นั้นมี 2 ทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบและการรับความคุ้มครองเงื่อนไขในการรับเงินคืนก็แตกต่างกันในแต่ละทางเลือกเรามาดูว่าต่างกันอย่างไร? แล้วทั้งสองทางเลือกจะได้รับเงินคืนไหม?

ทางเลือกที่ 1 เมื่อจ่ายเงินสมทบเดือนละ 100 จ่ายเอง 70 บาท รัฐจ่ายให้ 30 บาท สิทธิประโยชน์ที่จะได้คือคุ้มครอง 3 กรณี

  • เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย
  • ทุพพลภาพ
  • เงินช่วยค่าทำศพเมื่อเสียชีวิต

= การทำประกันสังคมมาตรา 40 ทางเลือกที่ 1 นี้ไม่สามารถขอเงินสมทบที่จ่ายไปคืนได้เมื่อยกเลิก

ทางเลือกที่ 2 เมื่อจ่ายเงินสมทบเดือนละ 150 บาท จ่ายเอง 100 บาท รัฐจ่ายให้ 50 บาท สิทธิประโยชน์ที่ได้รับคือ คุ้มครอง 4 กรณี

  • เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย
  • ทุพพลภาพ
  • เงินช่วยค่าทำศพเมื่อเสียชีวิต
  • เงินบำเหน็จชราภาพ
  • รวมเงินบำเหน็จชราภาพที่จะได้รับเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป

= ผู้ประกันตนมาตรา 40 เมื่อลาออกสามารถขอเงินสมทบที่จ่ายไปแล้วคืนได้แต่มีเงื่อนไขว่าจะได้รับเงินคืนเมื่ออายุครบ 60 ปีเท่านั้นไม่ว่าผู้ประกันตนจะยกเลิกหรือลาออกเมื่อไหร่ก็ตาม เงินในส่วนของเงินสมทบจะยังอยู่แล้วจะได้รับคืนเมื่ออายุ 60 ปีโดยต้องไปแจ้งยกเลิกเพื่อรับเงินก้อนนี้ แต่ถ้าไม่ยกเลิกเงินก้อนนี้ก็จะเป็นบำเหน็จเงินชราภาพต่อไปค่ะ

(คุณคงหายสงสัยแล้วนะคะว่าเงินสมทบที่จ่ายไปจะได้รับคืนหรือไม่อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณสมัครเป็นผู้ประกันตนทางเลือกที่1 หรือทางเลือกที่ 2 นั่นเองค่ะ)

เมื่องานอาชีพมีการปรับเปลี่ยนอาจจะได้บ้างเสียบ้างจากประกันสังคมต้องทำใจ

เมื่องานอาชีพมีการปรับเปลี่ยนอาจจะได้บ้างเสียบ้างจากประกันสังคมต้องทำใจ

เมื่องานอาชีพปรับเปลี่ยนสิ่งที่ต้องคำนึงถึงด้วยคือการจัดการเรื่องของประกันสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนความคุ้มครองที่จะได้รับซึ่งเรื่องที่บทความวันนี้นำมาบอกก็เกี่ยวกับมาตรา 40 เป็นส่วนใหญ่ว่าจะต้องยกเลิกดีหรือไม่ถ้ายกเลิกแล้วจะได้รับเงินคืนไหม? สรุปได้ว่าสามารถยกเลิกได้เมื่อมีการเปลี่ยนไปทำงานประจำและทำประกันสังคมแบบอื่นแทนเช่น มาตรา 33 หรือมาตรา 39 แต่เมื่อพิจารณาแล้วการไม่ยกเลิกมาตรา 40 ก็ดีกว่าเพราะจะได้รับสิทธิประโยชน์อย่างต่อเนื่องไม่ต้องสมัครใหม่ ส่วนเรื่องของเงินสมทบจากการยกเลิกประกันสังคมมาตรา 40 ก็จะได้รับเงินคืนเฉพาะผู้ที่จ่ายเงินสมทบทางเลือกที่ 2 เท่านั้นค่ะ

เรื่องของประกันสังคมนั้นมีรายละเอียดที่ต้องศึกษาให้ดีว่าคุณเองมีสิทธิ์ที่จะทำประกันสังคมมาตราไหนและรูปแบบไหนเพื่อจะได้รับผลประโยชน์ถูกต้องบางครั้งอาจจะต้องเสียผลประโยชน์ไปบ้างเมื่อมีการปรับเปลี่ยนอาชีพการงานและรายได้ก็ต้องทำใจหน่อยเพราะเมื่อเสียไปก็ได้ความคุ้มครองจากส่วนอื่นมาทดแทนกันไปค่ะ