ใครทราบบ้างคะ ว่ามีประกันภัยอยู่แผนนึงที่บอกได้เลยว่าเกือบจะคุ้มครองครบแบบ everything around the world เลยทีเดียว ซึ่งก็คือ ประกันภัยทรัพย์สิน นี่ล่ะค่ะ

โดยประกันภัยทรัพย์สินตัวนี้จะให้ความคุ้มครองรวมๆ ทั้งในเรื่องภัยพิบัติ ไฟไหม้ น้ำท่วม พายุ ภัยจากยานพาหนะ ภัยอากาศยาน รวมถึงภัยจราจล แต่ความคุ้มครองส่วนอื่นล่ะยังมีอะไรอีก?! ประกันภัยทรัพย์สินมีความเป็นมาอย่างไร ทรัพย์สินแบบไหนที่สามารถเอาประกันภัยได้.. ประกันประเภทนี้เหมาะกับใคร.. มีข้อยกเว้นตรงไหนรึป่าว? บทความนี้ จะพามาหาคำตอบกันค่ะ!

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกัน ที่นี่

ความเป็นมาของ ประกันภัยทรัพย์สิน

https://img.moneyduck.com/article_attachment/1661763085-female-real-estate-agent-holding-keys-buying-property-purchase-concept.jpg

แรกทีเดียว การ ประกันภัยทรัพย์สิน ในด้านการค้าหรืออุตสาหกรรมจะเป็นการเอาประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย แต่มีส่วนขยายในเรื่องความคุ้มครองในภัยพิเศษเพิ่มเติม เช่น น้ำท่วม หรือลมพายุที่อาจส่งผลกระทบต่อกิจการ ห้างร้าน หรือและธุรกิจอุตสาหกรรม

ต่อมา เมื่อธุรกิจการค้ามีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นและมีความสลับซับซ้อน จึงได้มีการค้นคิดหาประเภทของกรมธรรม์ประกันภัยที่พร้อมจะให้ความดูแล และคุ้มครองได้มากกว่ากรมธรรม์อัคคีภัยแบบเดิมๆ

จึงได้เริ่มมีการนำ ประกันความเสี่ยงภัยทุกชนิดของทรัพย์สินทางการค้าหรืออุตสาหกรรม (Industrial All Risks Insurance Policy / ABI Form) ซึ่งเป็นที่นิยมในต่างประเทศเข้ามาใช้ในบ้านเรา และสมาคมประกันวินาศภัยฯ ก็ได้มาเปลี่ยนเป็นชื่อ ‘ประกันความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน’ ที่ถูกใช้กันในวงกว้างตอนนี้ค่ะ

ทรัพย์สิน ที่สามารถเอา ประกันภัยทรัพย์สิน ได้

หากเรารู้จักประกันอัคคีภัยแบบเดิมๆ คงคิดว่าน่าจะคล้ายคลึงโดยไม่น้อยกับประกันภัยทรัพย์สินโดยตรง แต่ความจริงแล้วทรัพย์สินที่สามารถทำประกันชนิดนี้ได้ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

สิ่งปลูกสร้าง

แต่ไม่รวมรากฐาน เช่น บ้านเดี่ยว ห้องชุดในแฟลต อาคารชุด คอนโดมิเนียม ทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด อาคารที่อยู่อาศัย อาคารย่อย หรือ โรงรถ กำแพง รั้ว ประตู เป็นต้น

ทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้าง

รวมถึงทรัพย์สินอื่นๆ เพื่อการอยู่อาศัยของผู้เอาประกันภัย เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องตกแต่ง เครื่องใช้ภายในบ้าน เครื่องดนตรี เครื่องครัว หรือ เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น

ความคุ้มครองและข้อยกเว้น

ในส่วนของความคุ้มครอง แม้จะไม่ได้กำหนดสาเหตุของความเสียหายที่จะได้รับความคุ้มครองในโดยละเอียด แต่จะมีการระบุเรื่องเวลาที่เกิดความเสียหาย แล้วทางบริษัทประกันภัยจะทำการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้สำหรับทรัพย์สินที่เอาประกันภัย ซึ่งได้รับความเสียหายจากสาเหตุใดๆ ที่มิได้ระบุข้อยกเว้นไว้ในกรมธรรม์

โดยบริษัทฯ จะชดใช้ตามจำนวนที่เสียหายจริง หรืออาจซ่อมแซม/เปลี่ยนให้ใหม่ เมื่ออยู่ในกรณีต่อไปนี้..

  • เกิดอุบัติเหตุ
  • เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัย
  • สาเหตุของความเสียหายนั้นไม่อยู่ในข้อยกเว้นของกรมธรรม์ประกันภัย

ส่วนข้อยกเว้นในกรมธรรม์ ประกันภัยทรัพย์สิน ก็จะมีข้อสังเกตุอยู่ 2 ข้อหลักๆ คือ

  • สาเหตุของความเสียหายที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง เช่น การออกแบบที่ผิดพลาด การเสื่อมสภาพ การแตกร้าวของตัวอาคาร การผุกร่อนจากเป็นสนิท การโดนฉ้อโกง หรือการลักทรัพย์ที่ไม่มีร่องรอยถูกงัดแงะ
  • เป็นทรัพย์สินที่ไม่ได้รับความคุ้มครองอยู่แล้ว เช่น เงิน ทอง พันธบัตร อัญมณี โบราณวัตถุ เอกสารต้นฉบับ ทรัพย์สินที่อยู่ในระหว่างการขนส่ง ทรัพย์สินที่อยู่ในกระบวนการผลิต หรือสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง รื้อถอนและตั้งระบบ

โดยอาจจะมีการพิจารณาจากองค์ประกอบอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น สถานที่ตั้ง ประเภทธุรกิจ กระบวนการผลิต อุปกรณ์ดับเพลิง และประสบการณ์ของผู้ประกอบการร่วมด้วย

สรุปแล้ว ประกันภัยทรัพย์สินสามารถช่วยให้ความคุ้มครองในมูลค่าของทรัพย์สินได้จริงค่ะ จึงเป็นทางออกที่ผู้ประกอบการหลายแห่ง หรือเจ้าของบ้าน อาคาร ห้องชุด อาจกำลังมองหาเพราะครอบครองสินทรัพย์ที่สามารถเอาประกันภัยได้ เช่น ตัวอาคาร โรงงานอุตสาหกรรม เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องจักร เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ แม้กระทั่งสินค้าสำเร็จรูป หรือวัตถุดิบที่ใช้ประกอบธุรกิจค่ะ

แต่จะต้องมีมูลค่าไม่เกินที่ได้ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ เช่น นายกอไก่ ทำประกันภัยทรัพย์สินที่ระบุไว้ว่าจะคุ้มครองความเสียหายของเฟอร์นิเจอร์ในอาคารสำนักงานสูงสุด 5 แสนบาท หากเกิดกรณีเพลิงไหม้แล้วมีการประเมินความเสียหายออกมาที่จำนวน 1 แสนบาท เงินชดเชยที่เขาจะได้รับจากบริษัทฯ ก็คือจำนวน 1 แสนบาทไม่ใช่ 5 แสนบาท เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันภัยทรัพย์สิน ที่นี่

ซึ่งความคุ้มครองสูงสุดที่ได้รับจากประกันภัยทรัพย์สินตรงนี้ ก็อาจแตกต่างกันไปตามรูปแบบของ “ภัย” ที่เกิดขึ้นด้วย ดังนั้น ผู้ทำประกันก็จะต้องศึกษารายละเอียดในกรมธรรม์ให้ดีก่อนตัดสินใจกันด้วยหรือปรึกษา** ผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuck ได้ฟรี ที่ลิงก์ด้านล่าง**