การบริหารเงินสำหรับคู่รักที่วางแผนจะแต่งงาน บทความนี้อาจจะช่วยให้คุณวางแผนทางการเงินได้ดีขึ้น เพราะมีหลายคู่ที่ไปกันไม่รอด ซึ่งสาเหตุไม่ได้เกิดจากปัญหาเรื่องการปรับตัวเข้าหากันไม่ได้ แต่กลับเกิดจากปัญหาการจัดการการเงินภายในครอบครัวไม่ลงตัว เพราะไม่ได้วางแผนหรือตกลงร่วมกันก่อนจะใช้ชีวิตคู่นั่นเอง ซึ่งการวางแผนการเงินหลังแต่งงานก็สำคัญมากเช่นกัน ยิ่งครอบครัวที่วางแผนจะมีลูกยิ่งต้องวางแผนอย่างมากเลย เพราะต้องมีค่าใช้จ่ายเยอะมาก ซึ่งถ้าจัดการไม่ดีก็จะทำให้ชีวิตคู่แย่ได้ ซึ่งบทความนี้มีถึง 4 วิธี ที่จะช่วยแนะนำครับ

วิธีบริหารเงินแบบที่ 1 ทุกอย่างหารครึ่ง กระเป๋าใครกระเป๋ามัน

วิธีบริหารเงินแบบที่ 1 ทุกอย่างหารครึ่ง กระเป๋าใครกระเป๋ามัน

การบริหารเงินของชีวิตคู่แบบแยกกระเป๋าพูดง่ายๆ ก็คือ การที่สามีหรือภรรยาใช้จ่ายเงินกันแบบแยกกระเป๋า หรือมีกองกลางไว้ ซึ่งก็คือการกันเงินของแต่ละคนไว้ส่วนหนึ่งสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายกองกลาง ซึ่งวิธีนี้จะใช้ได้ผลดีกับคู่ที่ต่างฝ่ายต่างทำงาน ช่วยกันเก็บเงิน ช่วยกันสร้างครอบครัว รวมถึงคู่ที่มีความแตกต่างในด้านรสนิยมการใช้เงินมากๆ ด้วย ข้อดี คือ

1.หลีกเลี่ยงความรู้สึกไม่เท่าเทียมกัน หลังจากที่หักเงินของทั้งสองคนไว้เป็นค่าใช้จ่ายกองกลางแล้ว การแยกกระเป๋ากันใช้จ่ายสำหรับเงินในส่วนที่เหลือจะช่วยให้แต่ละฝ่ายรู้สึกว่ามีความเท่าเทียมกันมากขึ้น ทำให้ไม่มีใครรู้สึกว่าต้องถูกจำกัดหรือควบคุมการใช้เงินมากจนเกินไปนัก เพราะตามธรรมดาแล้ว ฝ่ายที่มีอำนาจก็มักจะต้องการควบคุม ดูแล และจัดการเงินทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้อีกฝ่ายรู้สึกไม่เท่าเทียมและไม่พอใจได้

2.ลดความขัดแย้งด้านนิสัยการใช้เงินที่แตกต่าง ซึ่งนิสัยการใช้จ่ายเงินของแต่ละคนล้วนแตกต่างกันออกไป เราแต่ละคนต่างก็คุ้นชินกับการใช้เงินอย่างอิสระตามสไตล์และความชอบของตัวเองมานานก่อนที่จะตัดสินใจแต่งงานใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ซึ่งบางครั้งอาจเกิดความขัดแย้ง ไม่เห็นด้วยที่อีกฝ่ายนำเงินส่วนรวมไปช้อปปิ้ง หรือ ซื้อของใช้ส่วนตัวที่อีกฝ่ายมองว่าเกินความจำเป็น แต่หากยังเหลือเงินส่วนตัวไว้ใช้จ่ายในเรื่องที่แต่ละคนชอบบ้าง เช่น ดูหนัง ท่องเที่ยว โดยไม่ต้องผ่านการอนุมัติจากอีกฝ่ายทุกครั้ง ก็เป็นเรื่องที่ดีเลยครับ

3.ช่วยรักษาวินัยทางการเงินของทั้งสองฝ่าย ข้อนี้สำคัญมากครับ เพราะการใช้เงินแบบแยกกระเป๋าจะทำให้ทั้งสองฝ่ายมีวินัยทางการเงินมากกว่า เพราะรู้ข้อจำกัดวงเงินที่ตัวเองสามารถใช้ได้ในแต่ละเดือน ต่างจากการใช้เงินแบบกระเป๋ารวมที่แต่ละฝ่ายอาจใช้เงินโดยไม่ระวัง เพราะคิดว่าใช้ไปก่อน ยังไงก็ยังมีเงินของอีกฝ่ายสำรองจ่ายอยู่ ซึ่งหากทั้งคิดแบบนี้อาจจะทำให้เกิดหนี้ได้ครับ

วิธีบริหารเงินแบบที่ 2 หาได้เท่าไหร่ ใช้จ่ายกระเป๋าเดียวกัน

วิธีบริหารเงินแบบที่ 2 หาได้เท่าไหร่ ใช้จ่ายกระเป๋าเดียวกัน

เริ่มจากจัดทำประมาณการรายจ่ายของครอบครัวในแต่ละเดือน ว่าจะมีค่าใช้จ่ายส่วนกลางอะไรบ้าง เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถยนต์ ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อที่จะกำหนด ว่าใครจะต้องออกค่าใช้จ่ายอย่างไร และเปิดบัญชีกองกลางขึ้นมาเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ วิธีนี้เหมาะกับคู่สามีภรรยาที่อาจจะทำธุรกิจร่วมกัน เพราะจะได้เรื่องความเชื่อมั่นในทั้งในเรื่องธุรกิจและภายในครอบครัว แม้การบริหารเงินแบบนี้จะหมดปัญหาเรื่องการบริหารค่าใช้จ่ายภายในบ้าน เพราะทุกอย่างใช้เงินกองกลาง แต่ก็ต้องระวังปัญหาในระยะยาว

วิธีบริหารเงินแบบที่ 3 มีมากจ่ายมาก มีน้อยค่อยๆจ่าย

วิธีบริหารเงินแบบที่ 3 มีมากจ่ายมาก มีน้อยค่อยๆจ่าย

บางครอบครัวสามีหรือภรรยาอาจมีรายได้ต่างกัน เช่น สามีอาจจะมีรายได้หลักแสนบาทต่อเดือน ขณะที่ภรรยามีรายได้ประมาณ 25,000 บาท ความเหลื่อมล้ำทางการเงินภายในครอบครัวจึงเกิดขึ้นแล้ว แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหา ถ้าเราเลือกใช้วิธีการบริหารเงินที่ถูกต้อง ซึ่งแบบที่ 3 นี้ น่าจะเหมาะกับครอบครัวประเภทนี้ และยังรวมไปถึงครอบครัวที่ภรรยาไม่ได้ทำงานเป็นแม่บ้าน อยู่บ้านเลี้ยงลูก รายจ่ายทั้งหมดก็จะเป็นหน้าที่สามี

ซึ่งในปัจจุบันมีครอบครัวจำนวนไม่น้อยใช้วิธีนี้นะครับ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะคุยหรือตกลงกันตั้งแต่ก่อนแต่งงานแล้วว่า คนมีรายได้มากก็รับผิดชอบค่าใช้จ่ายหลักๆ ไป เช่น ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าเทอมลูก คนมีรายได้น้อยกว่า ก็รับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายในบ้าน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร การทำแบบนี้ก็จะช่วยให้ชีวิตลงตัวและไม่เกิดปัญหาตามมาทีหลังครับ

วิธีบริหารเงินแบบที่ 4 แบ่งเงินกองกลาง 50% ใช้ส่วนตัว 50%

วิธีบริหารเงินแบบที่ 4 แบ่งเงินกองกลาง 50% ใช้ส่วนตัว 50%

หลังจากที่เริ่มประมาณรายจ่ายของครอบครัวแล้ว ว่าค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนจะมีจะมีค่าใช้จ่ายส่วนกลางอะไรบ้าง เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ฯ คู่แต่งงานอาจสร้างบัญชีร่วมกันขึ้นมา 1 บัญชี เป็นบัญชีกลางร่วมกัน จะทำให้คู่แต่งงานสบายใจมากขึ้น โดยเงินในบัญชีกองกลางนี้อาจมาจากการแบ่งสัดส่วนตามรายได้ของแต่ละฝ่าย 50% เข้าบัญชีกองกลางในแต่ละเดือน ส่วนที่เหลืออีก 50% ของเงินเดือน ถือเป็นเงินส่วนตัวที่สามารถใช้จ่ายได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องเกรงใจว่าจะทำให้อีกฝ่ายไม่สบายใจ

นอกจากนั้นการทำบัญชีเงินออมและเงินสำรองฉุกเฉินการสำรองเงินถือเป็นหลักประกันให้ครอบครัวในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินไม่คาดฟัน เช่น ตกงาน เจ็บป่วย อุบัติเหตุ คู่สามีภรรยาสามารถนำเงินส่วนนี้มาใช้ในได้ในกรณีฉุกเฉิน ฉะนั้นบัญชีธนาคารนี้ควรเป็นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ที่มีสภาพคล่องตัวสูงสามารถถอนเงินมาใช้ได้ใน 1-2 วัน ซึ่งหากไม่มีกรณีต้องใช้เงินฉุกเฉินเงินส่วนนี้ก็จะกลายเป็นเงินออมเพื่อเป้าหมาย ที่คู่แต่งงานอาจจะต้องมาคิดต่อว่าจะต้องออมเงินวิธีไหนถึงจะได้ผลดีที่สุด อาจจะซื้อพันธบัตรรัฐบาล หุ้น หรือฝากประจำ ซึ่งแต่ละคู่คงต้องคุยกันให้เข้าใจก่อนว่าควรออมแบบไหนถึงจะสบายใจทั้งคู่

สรุป

สรุป

วิธีไหนดีที่สุด วิธีที่ 1 ครับ เพราะในปัจจุบันหลายคู่จะช่วยกันทำงาน ส่วนใหญ่ใช้วิธีการบริหารเงินภายในครอบครัวแบบนี้ จะเริ่มมาจากตั้งแต่ตอนคบกันเป็นแฟน ต่างคนต่างทำงาน ต่างมีรายได้เป็นของตัวเอง อย่างเช่นเวลาออกไปทานอาหารนอกบ้าน ค่าอาหารมาก็หารครึ่งแบ่งกันจ่าย หรือถ้าไปเดินซื้อของ ฝ่ายผู้หญิงอยากได้เครื่องสำอางหรือเสื้อผ้าก็จ่ายเอง ผู้ชายก็เช่นกันถ้าอยากได้รองเท้าหรือซื้อเกมส์ก็ต้องซื้อเอง แต่วิธีนี้อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดสำหรับบางคน แต่ก็สามารถนำไปปรับใช้ได้ เพื่อชีวิตคู่จะได้ไม่มีปัญหาด้านการเงินครับ