สำหรับมือใหม่ที่กำลังคิดจะลงทุนนั้นจะต้องมีการวางแผนอย่างดีก่อน เช่น เรื่องเงิน ซึ่งเราจะต้องเก็บเงินเพื่อจะมีเงินลงทุนแต่มันใช้เวลานานพอสมควร ไม่เพียงแค่มีเงินเท่านั้น เราจะต้องรู้จักตัวเองด้วย  และจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจรับมือเพราะการลงทุนนั้นก็เสี่ยงเช่นกัน เราจะต้องรับมือเรื่องนี้ด้วย ยิ่งถ้าเรามือใหม่จะต้องรู้อีกหลายอย่าง เราจะต้องมีเทคนิคดีๆ แล้วเราจะเริ่มเรียนจากอะไรก่อน เรียนรู้จักตัวเองนั่นเอง ให้เรามาดูด้วยกันว่าจะต้องรู้อะไรบ้าง และเรารู้เราควรวางแผนทำตามแผนอย่างไรต่อไป เพื่อให้การลงทุนมือใหมอย่างเราประสบความสำเร็จ ให้เราดูด้วยกันดังต่อไปนี้

รู้จักตัวเองก่อนลงทุน

รู้จักตัวเองก่อนลงทุน

ให้เรารู้จักตัวเองโดยการตอบคำถาม 5 คำถามต่อไปนี้ด้วยกัน:

1.สภาพการณ์เงินของฉันเป็นอย่างไร?

หลายคนอยากลงทุน แต่หลงลืมสำรวจ สถานภาพทางการเงินของตัวเองว่าเป็นอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณภาระค่าใช้จ่าย ว่ามีสัดส่วนเป็นเท่าใดของรายได้ การเปรียบเทียบว่าตัวเองมีทรัพย์สินหรือหนี้สินมากกว่ากัน มีสภาพคล่องทางการเงินมากน้อยแค่ไหน หากเราคิดแค่ว่า ต้องการลงทุนเพื่อคาดหวังผลตอบแทน โดยไม่หันกลับมามองสถานภาพทางการเงินที่เป็นอยู่ การลงทุนซึ่งมีความเสี่ยง อาจสร้างภาระหนี้สินให้เราโดยไม่รู้ตัวก็ได้นั่นเอง

2.แบ่งแยกเงินทุนได้ไหม?

นักลงทุนมือใหม่มักรีบร้อนอยากลงทุนเพื่อสร้างผลกำไร แต่ก่อนที่เราจะหยิบเงินทุนก้อนหนึ่งๆ ออกมาลงทุน ต้องไตร่ตรองให้ดีด้วยว่า เงินก้อนนี้ คือ เงินทั้งหมดที่เรามีอยู่หรือเปล่า หรือเป็นเงินก้อนที่เราแบ่งแยกออกมาสำหรับลงทุนโดยเฉพาะ ถ้าใครยังไม่ได้แบ่งแยกเงินลงทุนออกมา คุณก็ควรทำเสียก่อนตัดสินใจลงทุน เพื่อเงินทุนที่คุณมีอยู่จะไม่สูญสลายไปทั้งหมดเมื่อการลงทุนกำลังเผชิญความเสี่ยง เรียกง่าย ๆ ว่า เงินเก็บ กับเงินสำหรับลงทุนควรแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน

3. พร้อมลงทุนรึเปล่า?

เงินทุน ซึ่งแบ่งออกมาแล้วว่า ต้องการใช้ลงทุน มีความพร้อมแค่ไหน เป็นเงินเย็นหรือไม่ นี่คือคำถามสำคัญ คำว่า เงินเย็น หมายถึง เงินที่ไม่มีต้นทุนและเป็นเงินที่ไม่มีภาระเงินที่มีคุณสมบัติทั้งสองข้อนี้ ถือเป็นเงินที่เหมาะสมแก่การลงทุน ดังนั้น ก่อนนำเงินในมือไปลงทุน เราต้องเคลียร์กับตัวเองให้แน่ชัดว่า ภายในระยะเวลา 5 ปี เราไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนก้อนนี้เลยจริง ๆ

4. ฉันยอมรับความเสี่ยงได้มากแค่ไหน?

ความเสี่ยงจากการลงทุนคือ การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกิดขึ้นแล้วส่งผลให้อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจริง เบี่ยงเบนไปจากอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังไว้ ความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งที่ตีคู่มากับการลงทุนเสมอ เป็นเรื่องสำคัญที่นักลงทุนต้องยอมรับและรับมือให้ได้พอๆ กับการคาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุน เนื่องจากการลงทุนแต่ละประเภทมีความเสี่ยงมากน้อยแตกต่างกันออกไป ทุกครั้งที่ตัดสินใจลงทุน จึงเท่ากับว่าเราเตรียมใจยอมรับความเสี่ยงที่จะตามมาด้วย ดังนั้น เราควรรู้ใจตัวเองเสียก่อนว่า ยอมรับความเสี่ยงในการลงทุนได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าการลงทุนกับอะไรสักอย่างมีความเสี่ยงมากเกินกว่าเราจะรับมือไหว เราอาจเปลี่ยนไปลงทุนประเภทอื่นที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าแทนไหม หรือถ้าหากว่ายอมรับความเสี่ยงไม่ได้เลย คงต้องพิจารณาการลงทุนใหม่ตั้งแต่ต้นนั่นเอง 
## 5. รู้อะไรเกี่ยวกับการลงทุนบ้าง?

การลงทุนอย่างชาญฉลาด คือการรู้จักศึกษาเรื่องการลงทุน ก่อนตัดสินใจลงทุน หากเปรียบการลงทุนเป็นขุมทรัพย์ นักลงทุนก็คือนักล่าสมบัติ ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาแผนที่ เส้นทาง ด่านอันตราย เงื่อนไขต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจออกไปตามหาสมบัติเสมอ เราจึงต้องตอบตัวเองก่อนว่า เรามีความรู้เกี่ยวกับการลงทุนมากน้อยแค่ไหน หรือรู้จักการลงทุนประเภทใดมาแล้วบ้าง ถ้ายังไม่มีความรู้ใดใดเลย เราก็ควรศึกษาพิจารณาข้อดี-ข้อด้อยเกี่ยวกับการลงทุนแต่ละประเภทให้รอบคอบ ยิ่งรู้มากก็ยิ่งดี รู้แล้ววิเคราะห์และตัดสินใจว่า เราจะนำเงินทุนในมือไปใช้ลงทุนอย่างชาญฉลาดกับอะไร?และได้อย่างไร?

รู้จักเลือกลงทุน

รู้จักเลือกลงทุน

เมื่อเรารู้จักตัวเอง เราก็ต้องรู้จักเลือกลงทุนนี่คือขั้นตอนต่อไปของการลงทุนเพราะทุกวันนี้นอกจาก เงินฝากธนาคาร ที่เราคุ้นเคยกันดีแล้ว ยังมีทางเลือกลงทุนให้เลือกมากมาย แต่เพื่อไม่ให้ปวดเศียรเวียนเกล้าจนเกินไปเราอาจไม่ต้องทำความรู้จักกับทางเลือกทั้งหมดในตอนนี้  แต่เพื่อให้แน่ใจว่าทางเลือกที่เราจะลงทุนนั้น เหมาะกับเป้าหมายและข้อจำกัดในการลงทุนของเราจริงๆ เราอาจต้องเข้าใจถึงคุณสมบัติเฉพาะตัว ความเสี่ยงและผลตอบแทนตลอดจนข้อดีข้อเสียของทางเลือกต่างๆ อย่างลึกซึ้ง ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่จะช่วยให้เราจัดสรรเงินลงทุนได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้นั่นเอง

รู้จักวิเคราะห์ปัจจัยและมีเทคนิค

รู้จักวิเคราะห์ปัจจัยและมีเทคนิค

การวิเคราะห์ปัจจัยและมีเทคนิค ไม่ว่าจะลงทุนในสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์อะไรก็ตาม เราควรเข้าใจในปัจจัยพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ลงทุนนั้น เพราะราคาของสินทรัพย์ทุกชนิดย่อมเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามปัจจัยที่มากระทบ ซึ่งเราสามารถใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานมากำหนดกรอบการลงทุนให้แคบลง โดยเริ่มจากวิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจ ลงมาสู่อุตสาหกรรม และท้ายที่สุดก็จะสามารถเลือกสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ที่ควรลงทุนได้ หลังจากค้นพบสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ที่น่าสนใจลงทุนแล้ว ก็ต้องนำราคาตลาดของสินทรัพย์ดังกล่าว มาเปรียบเทียบกับมูลค่าที่แท้จริง ของสินทรัพย์นั้น เพื่อดูว่า ราคาสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น หรือราคาต่ำ เหมาะสมที่จะลงทุน และใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ ปัจจัยเทคนิค เป็นตัวช่วยกำหนดจุดซื้อ-จุดขาย เพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการลงทุนนั่นเอง

รู้จักสร้างพอร์ตและจัดทำนโยบายลงทุน

รู้จักสร้างพอร์ตและจัดทำนโยบายลงทุน

ต่อไปเราต้องมารู้จัก การสร้างพอร์ตลงทุนที่เหมาะกับตนเอง ซึ่งพอร์ตการลงทุนที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นต้องมีพอร์ตลงทุนแค่พอร์ตเดียว แต่อาจมีหลายพอร์ตตามวัตถุประสงค์ของการลงทุนของเงินก้อนนั้น ซึ่งสัดส่วน การลงทุนในแต่ละพอร์ตอาจแตกต่างกันไปตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และระดับอัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง

เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย การลงทุนนั้นๆ หลังจากหาแนวทางการจัดพอร์ตในแบบที่ “ชอบ” และ “ใช่” ได้แล้ว เราก็ต้องเลือกหลักทรัพย์รายตัว มาเข้าพอร์ต ตามสัดส่วนของสินทรัพย์แต่ละประเภทที่กำหนดไว้ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์สถานการณ์โดยรวมของตลาด และข้อมูลเกี่ยวกับ สินทรัพย์ลงทุนนั้นๆ เป็นรายตัว เพื่อพิจารณาว่าจะเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ตัวใดและเมื่อมีแนวทางการจัดสรรเงินลงทุนที่แน่นอนแล้ว และจะต้องเขียนคัมภีร์การลงทุนหรือ นโยบายการลงทุน ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร สำหรับใช้เป็นกรอบในการตัดสินใจลงทุนด้วย ซึ่งเราควรปรับปรุงนโยบายการลงทุนให้เป็นปัจจุบันเสมอ

ทำตามแผนการลงทุนอย่างไร?

ทำตามแผนการลงทุนอย่างไร?

มี 5 ขั้นตอนดังนี้:

1.

  • ติดต่อกับบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อขอเปิดบัญชีขายหุ้นผ่านเจ้าหน้าที่การตลาดหรือผ่านอินเตอร์เน็ต (บนเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์)
  • บัญชีเงินสด (Cash Account)
ลงทุนก่อน จ่ายเงินทีหลัง
  • บัญชีแคชบาลานซ์ (Cash Balance)
จะซื้อต้องมีเงิน จะขายต้องมีหลักทรัพย์
  • บัญชีมาร์จิน (Margin Account) หรือเครกิตบาลานซ์ (Credit Balance)
มีเงินส่วนหนึ่ง กู้เพื่อซื้อหลักทรัพย์อีกส่วนหนึ่ง

2.

  • กรอกใบคำขอเปิดบัญชีพร้อมหลักฐานที่ใช้ในการเปิดบัญชีส่งให้หลักทรัพย์และรอพิจารณาประมาณ 1 - 2 สัปดาห์
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน

3.

เมื่อได้รับอนุมัติเปิดบัญชีแล้ว จะได้รับเลขที่บัญชี และ/หรือ รหัสซื้อขาย (Pin Number) จากบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งต้องเก็บไว้เป็นความลับ

4.

กรณีลงทุนในกองทุนรวม ในการเปิดบัญชีครั้งแรก เราต้องติดต่อขอเปิดบัญชีกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แต่ละแห่ง หรือตัวแทนขายของ บลจ. แต่ในครั้งถัดไป หากจะทำรายการซื้อหรือขายคืนให้แก่ บลจ. หรือตัวแทนขาย อาจมีบริการที่อำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น เช่น การซื้อขายหน่วยลงทุนผ่านทางอินเตอร์เน็ต ทางตู้เอทีเอ็ม และทางระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่นั่นเอง

ติดตามแผนการลงทุนอยู่เสมอ

ติดตามแผนการลงทุนอยู่เสมอ

มี 5 เรื่องที่ต้องติดตามอยู่เสมอดังนี้

1.สำรวจเป้าหมาย และวิเคราะห์ความต้องการ

ผู้ให้บริการจะสอบถามข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวกับด้านการเงินของเรา ไม่ว่าจะเรื่องเป้าหมายที่เราอยากได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงต่างๆ ก็เพื่อที่จะช่วยให้เป้าหมายระยะยาวของเราไปถึงได้ และเพื่อออกแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเรามากที่สุดนั่นเอง

2. กำหนดสัดส่วนการลงทุน

จัดสรรเงินลงทุน หรือ Asset Allocation ให้กับเราทันที โดยขั้นตอนนี้เป็นการออกแบบสัดส่วนในการแบ่งเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กองทุนตราสารหนี้ กองทุนหุ้น กองทุนอสังหา ฯ กองทุนทองคำ กองทุนต่างประเทศ หรือสินทรัพย์อื่นๆ ในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อที่จะได้รองรับเป้าหมายและความเสี่ยงของเราได้นั่นเอง การลงทุนแบบ Asset Allocation จะช่วยลดความเสี่ยงได้อย่างดีมาก เนื่องจากราคาของสินทรัพย์หลายๆ สินทรัพย์นั้น บางครั้งไม่ได้เคลื่อนไหวไปในทางเดียวกัน ก็จะทำให้ความเสี่ยงจากการลงทุนลดลงไปครับ เช่น กองทุนหุ้นที่เราถือมีการปรับตัวสูงขึ้น แต่ว่ากองทุนอสังหาฯ ที่เราถือกลับปรับตัวลดลง ซึ่งถ้าหากเราลงทุนแต่กองทุนอสังหาฯ เพียงอย่างเดียว เราอาจจะขาดทุนมากก็ได้

3. เลือกลงทุนตามเป้าหมาย

ในขั้นตอนนี้ ทางผู้ให้บริการจะทำการคัดเลือกกองทุนอย่างมีหลักการให้กับเราเพื่อลงทุนนั่นเอง โดยที่ทางผู้ให้บริการจะดูตั้งแต่ผลตอบแทนย้อนหลัง ความสม่ำเสมอของผลการดำเนินงาน ระดับความเสี่ยง ค่าธรรมเนียม กลยุทธ์และภาพรวมนโยบายของกองทุน เพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่าเม็ดเงินที่เราลงทุนไปนั้น จะไม่มีความเสี่ยงเกินกว่าที่เราจะรับได้ ได้กองทุนที่เหมาะกับเราจริงๆ และจะนำไปสู่เป้าหมายการลงทุนที่ตั้งใจไว้นั่นเอง

4. ติดตามและปรับกลยุทธ์

เมื่อเป้าหมายชัด มีการจัดสรรเงินลงทุนอย่างถูกต้อง รวมถึงได้กองทุนที่ดีแล้ว การติดตามให้การลงทุนของเราเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ถือเป็นกลยุทธ์การลงทุนเพื่อรักษาระดับความเสี่ยงไม่ให้สูงมากขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าเราจะได้กองทุน หรือสินทรัพย์ลงทุนที่ดี เหมาะกับทุกสถานการณ์อยู่เสมอ อะไรที่ไม่ดี เราไม่เอาไว้ อะไรที่ดีเราก็จะลงทุนต่อเนื่องไป

5.รายงานทุกสถานะการลงทุน

โดยเราสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารการลงทุน และสถานะและความเคลื่อนไหวการลงทุนในพอร์ตของเราผ่านรายงานที่ส่งจากผู้ให้บริการได้ตลอดเวลา ทั้งหมดนี้เพื่อให้เราได้มั่นใจว่าการลงทุนของเรายังเป็นไปตามเป้าหมายอยู่ และถ้าหากไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จะได้มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้อย่างทันท่วงทีได้นั่นเอง

สรุป: มือใหม่จะประสบความสำเร็จได้จะต้องรู้และทำอะไรก่อนลงทุน?

สรุป: มือใหม่จะประสบความสำเร็จได้จะต้องรู้และทำอะไรก่อนลงทุน?

มือใหม่จะต้องประสบความสำเร็จได้แน่นอนถ้าหากเราทำตามทุกขั้นตอน ไม่ง่ายและก็ไม่เกินความสามารถของเราในการลงทุน เพราะการลงทุนนั้นจะต้องมีการวางแผนและเตรียมอย่างดีเพื่อจะเป็นไปตามเป้าหมายนั่นเอง