ผมแน่ใจว่าเพื่อนๆ ทุกคนที่มีรถต้องรู้จัก พ.ร.บ. อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถจักรยานยนต์ แต่หัวเรื่องในวันนี้มันเป็นคำถามว่า ไอตัว พ.ร.บ. เนี้ยมันมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ อ่ะแต่สำหรับเพื่อนๆที่ยังไม่มีรถแล้วไม่รู้จัก พ.ร.บ. แล้วอยากศึกษาหาความรู้ก็สามารถอ่านบทความนี้ได้นะครับ มาเรามารู้จัก พ.ร.บ. ไปพร้อมกันสำหรับใครที่รู้อยู่แล้วก็ถือว่าเป็นการทบทวนความรู้ที่มีล่ะกันนะครับ พ.ร.บ. นั้น ย่อมาจากคำว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งก็มีชื่อเรียกที่หลากหลาย บางคนก็เรียก พ.ร.บ. ว่า ประกันภัย พ.ร.บ. หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และแน่นอนชื่อก็มีบอกอยู่ว่าคือประกันภัยคุ้มครอง ก็แปลว่า พ.ร.บ.

นั้นจะมีประโยชน์ในกรณีเกิดอุบัติเหตุนั้นเอง เมื่อเราทำประกันทั่วไปนั้นแหละครับ แต่ต่างกันตรงที่ประกันทั่วไปนั้นเราสมัครใจที่จะทำ แต่ไอ พ.ร.บ. เนี่ยมันเป็นภาคบังคับ ถ้าใครที่ไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. หรือ พ.ร.บ. ขาดนะเตรียมตัวได้เลย เวลาเจอด่านรับใบสั่งเสียค่าปรับแน่นอนครับ ซึ่งประโยชน์หรือการคุ้มครองของ พ.ร.บ. เนี่ยก็จะเป็นได้ 2 กรณี คือ กรณีความคุ้มครองแบบไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด และอีกกรณี คือ กรณีความคุ้มครองหลังจากรอพิสูจน์ความจริง ส่วนรายละเอียดของแต่ละกรณีจะเป็นยังไงให้ไปดูต่อที่หัวข้อถัดไปได้เลยครับ

ให้ความคุ้มครองแบบไม่ต้องมีการพิสูจน์ความผิด

ให้ความคุ้มครองแบบไม่ต้องมีการพิสูจน์ความผิด

การคุ้มครองแบบไม่ต้องมีการพิสูจน์ความผิด คือ เมื่อเกิดอุบัติเหตุไม่ว่าเราจะไปชนเขาเขาจะมาชนเราเราจะผิดหรือคู่กรณีจะผิดจะอะไรก็แล้วแต่ เมื่อนำตัวเราส่งไปที่โรงพยาบาล พ.ร.บ. ก็จะทำการคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น โดยจะจ่ายตามความจริงโดยที่มีวงเงินการคุ้มครองอยู่ที่ 30,000 บาท/คน แต่ถ้าเกิดกรณีที่เสียชีวิต พิการ หรือ ทุพพลภาพถาวร จะได้วงเงินอยู่ที่ 35,000 บาท/คน

โดยที่แต่ละโรงพยาบาลก็จะมีแผนกการดูแลการแจ้งเคลม พ.ร.บ. โดยวิธีการแจ้งเคลม พ.ร.บ. ก็สามารถที่จะแจ้งได้ตามทะเบียนรถของเราได้เลย ซี่งเราจะต้องแจ้งความลงบันทึกประจำวัน เพื่อเคลมค่ารักษาภายใน 180 วัน นับจากวันที่เกิดเหตุ หรือก็คือ ประมาณ 6 เดือน แต่ถ้าหากมีคำถามหรือสงัยอะเพิ่มเติม สามารถ ที่จะโทรถามบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ สายด่วน 1791 หรือโทร 02-1009191

ให้ความคุ้มครองหลังจากพิสูจน์หลักฐานแล้ว

ให้ความคุ้มครองหลังจากพิสูจน์หลักฐานแล้ว

กรณีให้ความคุ้มครองหลังจากพิสูจน์หลักฐานแล้ว อ่ะอย่างเพิ่งตกใจและสับสนมันคือออฟชั่นเสริมของ พ.ร.บ คือหลังจากเราผ่านกรณีแรกไปแล้วที่เราจะได้รับการคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นตามความจริงแล้ว วงเงิน 30,000 บาทต่อคน และ 35,000 บาทต่อคน ถ้าเกิดเสียชีวิต พิการ ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด เสียแขน เสียขา เสียมือ นิ้ว พ.ร.บ ก็จะคุ้มครองเพิ่มขึ้นอีก หลังจากที่พิสูจน์แล้วว่าเรานั้นเป็นฝ่ายที่ถูกหลังจากเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งจะเป็นการช่วยเราจ่ายเพิ่มจากค่าเสียหายส่วนเกินต่างๆ โดยมีเงื่อน

ดังนี้ โดยจะเป็นการช่วยรักษาพยาบาลที่จ่ายตามจริงเหมือนเดิมแต่จากวงเงิน 30,000 บาทต่อคนจะเปลี่ยนเป็น 80,000 บาทต่อคน และถ้ากรณีเสียชีวิต ก็มีเงินค่าทำศพให้ถึง 300,000 บาท และถ้าสูญเสียอวัยยวะราคาก็จะตามนี้ คือ นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป ชดเชยให้ 200,000 สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน แขนขาด ขาขาด มือขาด เท้าขาด ชดเชย 250,000 บาท สูญเสียอวัยวะถึง 2 ส่วน ชดเชย 300,000 บาท

ทั้งหมดนี้คือประโยชน์ที่จะได้รับในการทำประกันภัยภาคบังคับของทั้ง พ.ร.บ. รถยนต์ และ พ.ร.บ. จักรยานยนต์ และนอกจากค่ารักษาพยาบาลเบื้อต้นและค่าชดเชย หากพิสูจน์แล้วเราเป็นฝ่ายถูก ยังมีค่าชดเชยรายวันให้อีกวันละ 200 ถ้าเราต้องมีการนอนโรงพยาบาล เป็นผู้ป่วยภายใน (IPD) สูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท หรือ ประมาณ 20 วัน  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นค่าชดเชยรายวันจะถูกจ่ายในกรณีที่พิสูจน์แล้วว่าเราเป็นฝ่ายถูกเท่านั้นแต่ถ้าเป็นฝ่ายผิดก็รับไปแค่การคุ้มครองในกรณีแรกที่คุ้มครองทันทีโดยไม่ต้องรอพิสูจน์

เอกสารที่ต้องใช้เพื่อเบิกเคลมความคุ้มครอง

เอกสารที่ต้องใช้เพื่อเบิกเคลมความคุ้มครอง

หลังจากที่รู้ไปแล้วว่า พ.ร.บ. นั้นมีประโยชน์อย่างไร และคุ้มครองเรายังไง ในกรณีอะไรขนาดไหนแล้ว สิ่งต่อไปอีกอย่างที่จำเป็นต้องรู้ถ้าหากอยากที่จะทำการเคลมประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากยานพาหนะได้ ก็คือ เอกสารที่ใช้ในการเคลมความคุ้มครอง โดยที่เอกสารและหลักฐานทที่จะใช้เคลมประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากยานพาหนะ เบื้องต้นกับทาง บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด มีดังนี้ :

1.สำเนาบัตรประชาชน พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง 2.สำเนาใบขับขี่ พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง 3.สำเนาทะเบียนรถ 4.สำเนาทะเบียนบ้านของทั้งสองฝ่ายทั้งทางฝ่ายเราและฝ่ายคู่กรณี 5.หน้าตาราง พ.ร.บ. รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ 6.บันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ และ เอกสารเพิ่มเติม

ในกรณีที่ได้รับาดเจ็บ

1.ใบเสร็จค่ารักษพยาบาล 2.ใบรับรองแพทย์

กรณีที่เสียชีวิต

1.สำเนามรณบัตร 2.สำเนาบัตรประชาชนของทายาทในกรณีที่ผู้ประสบภัยเสียชีวิต 3.ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล (ถ้ามี)

หลังจากที่ได้เตรียมเอกสารครบเรียบร้อยแล้วทำการยื่นเอกสารของเคลมเสร็จ เราก็จะได้รับเงินชดเชยตามที่บอกไปทั้งหมดในหัวข้อท่ผ่านมา ภายใน 7 วัน ทำการ

สรุป

สรุป

เป็นยังไงกันบ้าง คนจะรู้จัก พ.ร.บ. และใช้เป็นกันแล้วใช่ไหมล่ะครับ เรามาสรุปกันให้เข้าใจง่ายๆเลย พ.ร.บ. คือประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่ง เป็นภาคบังคับ เมื่อซื้อรถก็จะมี พ.ร.บ. ติดมาด้วยเลย และเราก็ต้องทำการต่อทุกๆปีถ้าไม่ต่อก็ผิดกฏหมายโดนใบสั่ง และการคุ้มครองของ พ.ร.บ.ก็มี 2 กรณี คือ คุ้มครองเบื้องต้น และ การคุ้มครองที่พิเศษ และวงเงินคุ้มครองมากว่าการคุ้มครองเบื้องต้นและมีเงินค่าชดเชยและเงินชดเชยรายวันให้คือการคุ้มครองแบบที่รอการพิสูจน์แล้วว่าเรานั้นเป็นฝ่ายที่ถูกต้อง แต่ถ้าให้ดีก็ขออยากให้ได้ใช้เลยนะครับไอ พ.ร.บ. เพราะถ้าได้ใช้แปลว่าเรานั้นเกิดอุบัติเหตุ อย่างไงใช้รถใช้ถนนก็ควรระมัดระวังให้ดีนะครับ