เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) (นายประเวช องอาจสิทธิกุล) กล่าวว่า ในปัจจุบันรถที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกมีจำนวนทั้งสิ้นกว่า 35 ล้านคัน ทำให้พวกมิจฉาชีพอาศัยเป็นแหล่งหารายได้ด้วยการหาข้อมูลการทำประกันภัยรถภาคสมัครใจ ที่ใกล้หมดอายุ เพื่อติดต่อเจ้าของรถแล้วหลอกขายกรมธรรม์ประกันภัยรถด้วยการยื่นข้อเสนอจูงใจ อย่างเช่น การลดเบี้ยประกันภัย ในขณะที่มีการความคุ้มครองเพิ่มขึ้น เป็นต้น

คำแนะนำจากสำนักงาน คปภ. แนะนำให้เจ้าของรถยนต์เวลาต้องการจะสมัครประกัน ให้ทำการตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียด เช่น การสอบถามถึง ชื่อ-นามสกุล เลขที่ของใบอณุญาตตัวแทนและนายหน้าขายประกัน พร้อมกับชื่อบริษัทที่เขามาเป็นนายหน้า เพื่อที่เราจะสามารถรวจสอบได้ และทำการเปรียบเทียบข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องราคาเบี้ยประกันของหลายๆบริษัท และบริษัทเดิมที่เราเคยสมัครเอาไว้ด้วย รวมไปถึงเงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยด้วย และถ้าเกิดสงสัยในตัวแทนประกันเราจะต้องสามารถสอบถามบริษัทที่เราจะทำประกันได้ และเมื่อตกลงกันเรียบร้อยเวลาจ่ายเบี้ยประกันจะต้องขอใบเสร็จรับเงินทุกครั้ง ห้ามลืม และเมื่อได้รับเล่มกรมธรรม์ประกันภัยเรียบร้อย แนะนำว่าให้ติดต่อกลับไปยังบริษัทที่รับประกันภัย เพื่อเป็นการยืนยัน

คำแนะนำเพิ่มเติมจาก เลขาธิการ คปภ. ถ้าเป็นเจ้าของรถยนต์แล้วได้รับการติดต่อจากตัวแทนหรือนายหน้าขายประกันให้ทำการพิจารณาอย่างรอบคอบ ตามคำแนะนำข้างบน และไม่ควรที่จะปล่อยให้ถึงวันที่ใกล้จะหมดอายุกรมธรรม์แล้วถึงค่อยต่อและแนะนำให้ติดต่อทำประกันภัยรถกับบริษัทที่ทำอยู่ก่อนหน้าจะดีที่สุดไม่ควรเปลี่ยนถ้าไม่ได้มีปัญหาอะไร ส่วนสำหรับเจ้าของรถที่ทำ พ.ร.บ. และคิดจะทำประกันภาคสมัครใจเพิ่มเติมควรที่จะทำบริษัทเดียวกันกับที่ทำ พ.ร.บ. เพราะถ้ามีการเกิดอุบัติเหตุ การเครมค่าสินไหมทดแทนจะสะดวก รวดเร็ว และลดขั้นตอนในการติดต่อบริษัทประกันภัย และให้ตรวจสอบวันหมดอายุขอกรมธรรม์ด้วย จะทำให้ได้รับความคุ้มครองจากระบบประกันภัยตลอดเวลา

รูปแบบใบอนุญาตในปัจจุบัน

รูปแบบใบอนุญาตในปัจจุบัน

สำนักงาน คปภ. ปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบใบอนุญาตตัวแทนและนายหน้าให้มีขนาดมาตรฐาน พกพาสดวก โดยจะแยกเป็น 4 สี ตามประเภทของธุรกิจประกัน ดังนี้ สีเขียวเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนประกันชีวิต,  สีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนวินาศภัย,  สีม่วงเป็นสัญญาลักษณ์นายหน้าประกันชีวิต,  และสีน้ำเงินเป็นสัญญาลักษณ์นายหน้าวินาศภัย

เลขาธิการ คปภ. (นางจันทรา บูรณฤกษ์) เปิดเผยว่า ตามที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่จะกระทำการเป็นตัวแทน หรือนายหน้าต้องได้รับใบอนุญาติจากนายทะเบียนและต้องแสดงใบอนุญาตทุกครั้ง ที่มีการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันภัย หรือ รับเบี้ยประกันภัยในนามบริษัทนั้น และอย่างที่บอกในปัจจุบัน คปภ. ได้พัฒนาให้ใบอนุญาตมีขนาดที่ได้มาตรฐาน สะดวกต่อการพกพา และยังรวมไปถึงการที่ทำให้สังคมสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบพฤติกรรมของผู้เป็นเจ้าของใบอนุญาตนั้น ๆ อันจะส่งผลต่อการยกระดับมาตรฐานจรรยาบรรณให้สูงขึ้นอีกด้วย โดยวิธีการสังเกตคือใบอนุญาตจะมีแถบสีอยู่ที่ด้านบนเพื่อแสดงว่าเป็นตัวแทน หรือนายหน้าประกันภัยประเภทไหน

และเลขาธการ คปภ. (นางจันทรา บูรณฤกษ์) ยังบอกอีกว่า  เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของประชาชนให้ได้รับข้อมูลที่ควบถ้วน ถูกต้องจากการซื้อประกันภัยจากตัวแทนและนายหน้าประกันภัยที่มีคุณภาพ ประชาชนที่จะทำการซื้อประกันภัยจะต้องตรวจสอบด้วยว่า เป็นตัวแทนและนายหน้าประกันภัยได้รับใบอนุญาตถูกต้องหรือไม่ โดยวิธีการตรวจสอบคือให้ตรวจสอบที่สถานะใบอนุญาตที่จะต้องต่ออายุใบอนุญาตครั้งต่อไป เป็นครั้งที่เท่าไร เพื่อเตรียมตัวเข้ารับการอบรมให้สอดคล้องกับประกาศสำนักงาน คปภ. และสามารถที่จะตรวจสอบสถานะตัวแทนและนายหน้าประกันภัยได้จากทางเว็บไซต์ของสำนักงาน (คปภ.)    www.oic.or.th  หรือที่สายด่วนประกันภัย 1186

และปัจจุบันมีกฏหมายฉบับใหม่กำหนดว่า ผู้ที่ต้องการเป็นตัวแทนประกันภัย นอกจากต้องยื่นขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนแล้ว ยังต้องผ่านหลังสูตรการอบรมจากสำนักงาน คปภ. หรือหน่วยงานที่ คปภ. เห็นชอบก่อน จึงจะสามารถขอรับหรือต่อใบอนุญาตได้ เป็นการยกระดับวิชาชีพตัวแทนนายหน้าให้เป็นมืออาชีพ

คปภ. มีหลักสูตรการอบรม 3 ข้อ

คปภ. มีหลักสูตรการอบรม 3 ข้อ

โดยหลักสูตรที่ใช้ในการอบรมที่สำนักงาน คปภ. ประกาศกำหนดเน้นหลักใหญ่ 3 ข้อด้วยกัน:

1.ความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิต ประกันวินาศภัย 2.ความรู้เกี่ยวกับข้อกฏหมาย แนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง 3.จรรยาบรรณสำหรับอาชีพ ตัวแทน นายหน้าประกันภัย ซึ่งจะเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่ตัวแทนและนายหน้าควรที่จะรู้

คปภ. มี 5 หลักสูตรเพื่ออบรมประกันวินาศภัย

คปภ. มี 5 หลักสูตรเพื่ออบรมประกันวินาศภัย

หลักสูตรการอรมขอรับและต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนและนายหน้าประกันวินาศภัย มี 5 หลักสูตร ดังนี้

1.ขอรับใบอนุญาต 6 ชั่วโมง 2.ขอต่ออายุใบอนุญาตครั้งที่ 1 (ต่ออายุ 1 ปี) 6 ชั่วโมง 3.ขอต่ออายุใบอนุญาตครั้งที่ 2 (ต่ออายุ 1 ปี) 6 ชั่วโมง 4.ขอต่ออายุใบอนุญาตครั้งที่ 3 (ต่ออายุ 5 ปีครั้งแรก) 11 ชั่วโมง 5.ขอต่ออายุใบอนุญาตครั้งที่ 4 เป็นต้นไป 30 ชั่วโมง

คปภ. มี 4 หลักสูตรเพื่ออบรมการต่อใบอนุญาตประกันชีวิต

คปภ. มี 4 หลักสูตรเพื่ออบรมการต่อใบอนุญาตประกันชีวิต

หลักสูตรการอบรมขอต่อใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต มี 4 หลักสูตร ดังนี้

1.ขอต่ออายุใบอนุญาตครั้งที่ 1 (ต่ออายุ 1 ปี) 10 ชั่วโมง 2.ขอต่ออายุใบอนุญาตครั้งที่ 2 (ต่ออายุ 1 ปี) 10 ชั่วโมง 3.ขอต่ออายุใบอนุญาตครั้งที่ 3 (ต่ออายุ 5 ปีครั้งแรก) 10 ชั่วโมง 4.ขอต่ออายุใบอนุญาตครั้งที่ 4 เป็นต้นไป 50 ชั่วโมง

สถาบันอื่นๆนอกจาก คปภ. ที่มีหลักสูตรอบรมใบอนุญาตมี 15 แห่ง

สถาบันอื่นๆนอกจาก คปภ. ที่มีหลักสูตรอบรมใบอนุญาตมี 15 แห่ง

ในส่วนของสถาบันที่จัดหลักสูตรอบรม นอกจากสำนักงานคปภ. แล้วในส่วนประกันชีวิตมี 15 แห่งได้แก่:

1.บ. อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จก.(เอไอเอ) 2.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเปิดอบรมทั้งตัวแทน และนายหน้าประกันชีวิต 3.สถาบันประกันภัยไทย เปิดอบรมทั้งตัวแทน และนายหน้าประกันชีวิต 4.บ.กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จก. 5.บ. แอ๊ดวานซ์ไลฟ์ แอสชัวรันส์ จก. 6.บมจ.อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันชีวิตจำกัด (เอเอซีพี) 7.บ.เอซ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ จก. 8.บมจ.แมนูไลฟ์ประกันชีวิต (ประเทศไทย) 9.สมาคมประกันชีวิตไทย 10.บ.เมืองไทนประกันชีวิต จก.เปิดอบรมทั้งตัวแทนและนายหน้าประกันชีวิต 11.บ.ไอเอ็นจีประกันชีวิต จก. 12.บ.ไทยประกันชีวิต จก. 13.บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต ซึ่งเปิดอบรมทั้งตัวแทน และนายหน้าประกันชีวิต 14.บมจ.พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) 15.สมาคมนายหน้าประกันภัยไทยที่เปิดอบรมสำหรับนายหน้าประกันชีวิต

สถาบันที่มีการอบรมประกันวินาศภัยมี 9 แห่ง

สถาบันที่มีการอบรมประกันวินาศภัยมี 9 แห่ง

ในส่วนวินาศภัยก็มี 9 แห่งด้วยกัน ที่เปิดอบรม ซึ่งประกอบด้วย

1.บจ.มิตรแท้ประกันภัย 2.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3.สถาบันประกันภัยไทย 4.บจ.ทีอาร์ เทรนนิ่ง แอนค์คอนซัลติ้ง 5.บจ.วิริยะประกันภัย 6.บจ.เอซไอเอ็นเอ โอเวอร์ซีส์ อินชัวรันซ์ 7.บจ.อาคเนย์ประกันภัย 8.มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ 9.สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย

สรุป

สรุป

ถ้าหากมีการติดต่อมาจากนายหน้าขายประกันภัยหรือตัวแทนประกันภัย แล้วทำการตรวจสอบใบอนุญาตอะไรทุกอย่างตามคำแนะนำไปแล้ว อีกวิธีที่ดีที่สุดที่จะสามารถตรวจสอบได้ ก็คือ เข้าไปตรวจสอบผ่านระบบออนไลน์ทางเว็บไชต์ ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัย (คปภ.) www.oic.or.th