บางครั้งเราก็อาจจะลืมไปว่าธรรมชาติที่เราได้ใช้ประโยชน์ต้องการการเอาใจใส่ด้วยเหมือนกัน ถ้าเราใช้ประโยชน์จากมันมากเกินไปโดยไม่ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ก็หายไปได้และอาจจะไม่มีวันเอากลับมาได้ เราก็จะสังเกตว่าทุกวันนี้หลายๆหน่วยงานก็ได้เข้ามารณรงค์การสร้างสิ่งก่อสร้างหรือโครงการต่างๆให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเพื่อเกื้อกูลกัน โดยเฉพาะกระทรวงพลังงานของประเทศไทยนี่เอง
โครงการต่างๆที่คนเราใช้ประโยชน์จากธรรมชาติก็คือ โรงงานไฟฟ้า และเขื่อนนั่นเอง หรือจะเรียกสิ่งเหล่านี้พลังงานทดแทนที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อตัวเอง แล้วก็ยังมีการคิดค้นให้ไม่เบียดเบียนธรรมชาติลดปัญหามลพิษช่วยประหยัดพลังงานและช่วยประหยัดทรัพยากร พลังงานทดแทนก็อย่างเช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ หินน้ำมัน พลังงานหมุนเวียนอย่างเช่น แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ และไฮโดรเจน สิ่งเหล่านี้คือพลังงานที่สำคัญต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์มากๆ ดังนั้นเพื่อให้พลังงานเหล่านี้อยู่กับเราไปนานๆเราต้องใจใส่ดูแลมันด้วยนะคะ
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ปัญหามลพิษทำร้ายเศรษฐกิจได้อย่างไร ที่นี่
สร้างธุรกิจ 3 ประเภท ที่สมดุลกับธรรมชาติ
นักธุรกิจที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างจึงหันมาสนเรื่องนี้มากขึ้น และหน่วยงานก็ใส่ใจเรื่องนี้มากขึ้น ด้วยการพยายามรักษาพลังงานเหล่านี้ผ่านทางโครงการเหล่านี้ เช่น โครงการสร้างเขื่อน / โรงงานไฟฟ้าพลังงานน้ำ และบริษัทที่สนับสนุนเรื่องนี้คือ ซีเค พาวเวอร์ เราจะช่วยกันฟื้นฟูธรรมชาติได้อย่างไรบ้างมาดูกันค่ะเพราะเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการลงทุนที่มั่นคงด้วยถ้าเบียดเบียนธรรมชาติมากเกินไปการลงทุนของคุณก็อาจจะสูญเปล่าได้เมื่อได้รับการตรวจสอบ
สร้างธุรกิจ โครงการสร้างเขื่อน
เขื่อนสร้างขึ้นเพื่อ? เขื่อนที่สร้างปิดกั้นลำน้ำธรรมชาติระหว่างหุบเขา หรือเนินสูง เพื่อกักกั้นน้ำที่มีไหลมามากในฤดูฝนเก็บไว้ทางด้านเหนือเขื่อน ทำให้เกิดเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดต่างๆ เรียกว่า เขื่อนเก็บกักน้ำ น้ำที่เก็บกักไว้นี้ จะนำออกมาทางอาคารที่ตัวเขื่อนได้ทุกเวลา ที่ต้องการ โดยอาจระบายลงไปตามลำน้ำให้แก่เขื่อนทดน้ำที่สร้างอยู่ทางตอนล่าง หรืออาจส่งเข้าคลองส่งน้ำ สำหรับโครงการชลประทานที่มีคลองส่งน้ำรับน้ำจากเขื่อนเก็บกักนั้นโดยตรง เขื่อนเก็บกักน้ำจะต้องสร้างทางบริเวณด้านเหนือของ โครงการชลประทานเสมอ
ทำเลที่จะเหมาะสำหรับการสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ มักจะมีเนินสูง หรือเนินเขาสองข้างลำน้ำอยู่ ใกล้กันมากที่สุด ซึ่งขนาดความสูงของเขื่อนจะกำหนดตามปริมาตรของน้ำ ที่ต้องการจะเก็บกักไว้ โดยจะต้องพิจารณาให้ เหมาะสมกับปริมาณน้ำเฉลี่ยทั้งปีที่ไหลลงมาตามลำน้ำ รวมทั้งจำนวนน้ำ ที่พื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดในเขตโครงการชลประทาน นั้นจะต้องการใช้ในแต่ละปีด้วย เขื่อนเก็บกักน้ำที่สร้างกันโดยทั่วไป มีหลายประเภท หลายขนาดแตกต่างกัน
เขื่อนเก็บกักน้ำขนาดใหญ่บางแห่ง อาจจะให้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น การผลิตไฟฟ้า การชลประทาน การคมนาคม การบรรเทาอุทกภัย และการเพาะเลี้ยงปลา ในอ่างเก็บน้ำ เป็นต้น ซึ่งเรียกว่า เขื่อนอเนกประสงค์ ได้แก่ เขื่อนภูมิพล ที่จังหวัดตาก เขื่อนสิริกิติ์ ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ และ เขื่อนอุบลรัตน์ ที่จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น โครงการการสร้างเขื่อนนี้ช่วยให้เราได้เก็บความสมบูรณ์ของธรรมชาติเอาไว้ใช้ประโยชน์ได้ยาวนานมากขึ้นค่ะ
สร้างธุรกิจ โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ
โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำนั้นมันเป็นอย่างไร? เราได้ประโยชน์อย่างไร? การใช้ประโยชน์จากพลังงานน้ำนั้นมีมาตั้งแต่อดีต ทว่า สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าด้วยพลังน้ำนั้นมีการพัฒนาขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 สำหรับในประเทศไทยเองนั้น มีการใช้พลังงานน้ำในการผลิตไฟฟ้าอย่างจริงจัง
ในปี 2507 โดยการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่เขื่อนภูมิพล จ.ตาก การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนั้นมีข้อดีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่ปลดปล่อยมลพิษ มีความยืดหยุ่นในกระบวนการผลิตสูง และมีการ Startup โรงไฟฟ้าได้รวดเร็ว เขื่อนจึงถูกกำหนดให้เป็นจุดเริ่มต้นในกระบวนการกู้ระบบไฟฟ้า (Black Start) หากเกิดไฟฟ้าดับในวงกว้าง Blackout (Black Start คือ การเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าด้วยตัวเอง เพื่อนำพลังงานไฟฟ้าไปจ่ายให้โรงไฟฟ้าอื่นซึ่งไม่สามารถ Black Start ตัวเองได้ แล้วจึงค่อยทยอยจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบหลักของระบบจำหน่าย เพื่อส่งต่อไปยังผู้ใช้ไฟฟ้า การ Black Start เป็นขั้นตอนหนึ่งในแผนการนำระบบไฟฟ้ากลับคืนสู่ภาวะปกติ)
นอกจากนี้ การผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนนั้นจึงมักใช้จากพลังน้ำมาเสริมช่วงที่ความต้องการสูง (ช่วงพีค) โรงงานแบบนี้มี 3 แบบด้วยกันดังนี้คือ 1.โรงไฟฟ้าพลังน้ำจากอ่างเก็บน้ำ (Conventional) โรงไฟฟ้าประเภทนี้เป็นโรงไฟฟ้าที่น่าจะเห็นกันอย่างแพร่หลายมากที่สุด โดยมีหลักการทำงานคือ กักเก็บน้ำที่อ่างเก็บน้ำของเขื่อน และเมื่อมีความต้องการไฟฟ้าเกิดขึ้นก็จะปล่อยน้ำจากอ่างเก็บน้ำผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สำหรับลักษณะของโรงไฟฟ้าประเภทนี้จำเป็นต้องจะมีความสูงระหว่างอ่างเก็บน้ำ และท้ายน้ำ โรงไฟฟ้าประเภทนี้เน้นการชลประทานเป็นหลัก โดยมีคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ เป็นผู้กำหนดแผนการจัดสรรน้ำในแต่ละปี ขณะที่การผลิตไฟฟ้าเป็นจุดประสงค์รอง โรงไฟฟ้าประเภทนี้ในประเทศไทยมีหลายแห่ง เช่น เขื่อนภูมิพล จ.ตาก เขื่อนสิริกิต์ จ.อุตรดิตถ์ เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี 2.โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบน้ำไหลผ่านตลอดปี (Run-of-the-river) โรงไฟฟ้าประเภทนี้ไม่ได้มีการกักเก็บน้ำไว้ทางต้นน้ำ แต่ปล่อยให้น้ำไหลผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ดังนั้นเมื่อน้ำไหลผ่านก็จะผลิตไฟฟ้าได้ทันที ซึ่งหมายถึงว่า หากมีปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้มากเกินไปก็จะไม่สามารถกักเก็บไว้ได้ อาทิ เขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี 3.โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ (Pumped-Storage) การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำประเภทนี้เปรียบเสมือนได้กับเป็นแบตเตอรี่พลังน้ำ ซึ่งโดยหลักการการผลิตไฟฟ้านั้นเหมือนกับโรงไฟฟ้าจากอ่างเก็บน้ำ ทว่า เครื่องกำเนิดไฟฟ้าประเภทนี้จะสามารถสูบน้ำกลับขึ้นไปที่อ่างเก็บน้ำด้านบนได้ เพื่อปล่อยน้ำลงมาผลิตไฟฟ้าอีก วนแบบนี้เรื่อยไป โดยโรงไฟฟ้าในไทยที่มีระบบนี้ ได้แก่ โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา จ.นครราชสีมา ที่เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับทุกเครื่อง เขื่อนภูมิพล เครื่องที่ 8 และเขื่อนศรีนครินทร์ เครื่องที่ 4 -5 การที่หน่วยงานต่างรักษาประโยชน์ของธรรมชาติเอาไว้เป็นแบบอย่างต่อนักธุรกิจที่สนใจลทุนสร้างสิ่งก่อสร้างในสถานที่พื้นที่แหล่งธรรมชาติด้วยโดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยว การสร้างโรงแรม ร้านอาหารเป็นต้น ก็ไม่ควรทำลายธรรมชาติที่สวยงานนะคะ
ซีเค พาวเวอร์ กับการสร้างธุรกิจให้สมดุลกับธรรมชาติ
บริษัท ซีเค พาวเวอร์ เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจผลิต และจำหน่ายไฟฟ้า 3 ประเภท คือ โครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำ / โครงการไฟฟ้าระบบโคเจเนอเรชั่น / โครงการไฟฟ้าแสงอาทิตย์ เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ทำการลงทุนสร้างสิ่งที่รักษาสมดุลทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดีค่ะ ทั้งนี้ โครงการไฟฟ้าที่บริษัทเข้าลงทุนส่วนใหญ่ได้เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว
โดยมีโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ประกอบด้วย โครงการไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี (โครงการไซยะบุรี) ภายใต้การดำเนินงานของ XPCL เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าที่ผลิตได้ ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว ซึ่งคาดว่าจะเริ่ม เดินเครื่องเชิงพาณิชย์ได้ในช่วงปลายปี 2562 และโครงการไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ แบบติดตั้งบนหลังคาและพื้นดินของ BKC จำนวน 6 โครงการ เพื่อผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ให้กับผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้เริ่มทยอยก่อสร้างตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2561 และคาดว่าจะเริ่มทยอยขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้ครบทั้งหมดภายในปี 2562
การก่อสร้าง หรือการลงทุนธุรกิจให้เอื้อเฟื้อต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่นั้นๆ ต้องมีการวางแผน และการจัดการระบบอย่างดีไม่อย่างนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะทำให้มันมีความสมดุลกันได้ ซึ่งตอนนี้มีการเรียกธุรกิจแบบนี้ว่า ธุรกิจสีเขียว ก็คือธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรานั้นเอง
เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการผลิต ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมด้านต่างๆ การปล่อยของเสียที่เป็นกระบวนการผลิต น้ำเสีย กากของเสีย ปล่อยควัน เรื่องมลภาวะด้านเสียงดังเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด แสงไฟที่รบกวนก็ให้พอเหมาะต่างๆ เป็นการไม่ไปรบกวนบ้านเรือนประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ไม่ให้ได้รับความเดือดร้อน และยังเป็นการไม่ไปละเมิด หรือกระทำผิดต่างๆ กฎหมายสิ่งแวดล้อมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพราะอาจเป็นความผิดทั้งทางอาญาที่ทีโทษจำคุก รวมไปถึงรับความผิดในทางกฎหมายแพ่งอีก ต่อตัวผู้ประกอบธุรกิจให้ได้รับความผิดตามกฎหมายต่างๆ ที่กล่าวมา ทำให้เสียหายต่อธุรกิจที่ต้องหยุดชะงัก หรืออาจทำให้ต้องปิดกิจการเลยก็ว่าได้ ดังนั้นผู้ดำเนินธุรกิจต้องใส่ใจในกิจการธุรกิจของท่านให้เป็นพิเศษ เพื่อสิ่งแวดล้อมของเราคงอยู่ไปกับโลก และจะไม่ทำให้เกิดปัญหากระทบในภายหลัง ในทุกวันนี้จึงมีธุรกิจสีเขียวที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่เริ่มจะมีมากขึ้น ทำเกิดการแข่งขันเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจต่อผู้บริโภคที่ต้องการรักษาสิ่งแวดล้อม ที่เป็นเทรนด์ที่มาแรงในขณะนี้ของโลก ตลอดจนการให้ความสนใจเรื่องดังกล่าวของประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่มีทั้งหน่วยงานของรัฐบาล เอกชน และ NGO ที่คอยให้การสนับสนุน
โดยร่วมมือกัน จัดตั้งโครงการต่างๆ ที่รักษา และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งมีการประชุมในระดับโลก ภูมิภาค และประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจของชาติก็มีเรื่องการพัฒนาและการรักษาสิ่งแวดล้อม ลดความเสื่อมโทรมทางธรรมชาติ ป่าไม้ที่กำลังจะลดน้อยถอยลง เป็นผลให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดน้ำท่วมใหญ่เมือปลายปี พ.ศ.2554 ที่ประเทศไทยมีความเสียหาจากภัยพิบัติครั้งนั้นอย่างมาก ทั้งประชาชน บ้านเรือน ไร่นา สวนการเกษตรต่างๆ รวมทั้งสิ่งก่อสร้าง โรงงาน นิคมอุตสาหกรรมการผลิตที่มีขนาดใหญ่ของโลกที่มารวมอยู่ในประเทศไทยเรา
ส่วนใหญ่ก็เป็นของนักธุรกิจ นักลงทุนชาวต่างชาติ ที่เข้ามาลงทุนอุตสาหกรรมภายในประเทศไทย เพราะเหมาะที่จะเป็นฐานในการผลิตอุตสาหกรรมที่สำคัญ แล้วส่งไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก เนื่องจากประเทศมีทรัพยากรที่เป็นปัจจัยการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ และมีแรงงานที่มีฝีมืออย่างที่ประเทศอื่นๆ ไม่มีอย่างประเทศไทยเรา อีกทั้งประเทศไทยเป็นศูนย์เป็นสำคัญของกลุ่มประเทศอาเซียนรวมถึงประเทศในแถบทวีปเอเชียของเราด้วย ดังนั้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ จึงต้องจดทำเพื่อป้องกันภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นอีกด้วยค่ะ หากอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuck ได้ฟรี ที่ลิงก์ด้านล่าง
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 5 ธุรกิจยุคใหม่ ที่สนใจสิ่งแวดล้อมมากกว่ากำไร ที่นี่
Michale
แล้วแต่นักลงทุนก็ยังต้องคิดถึงกันทำงานที่สอดคล้องกับธรรมชาติ จริงๆธรรมชาติเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้คนใช้กันโดยที่ ไม่ได้คิดถึงว่าธรรมชาติจะสูญเสียไปมากขนาดไหน แต่บทความนี้ทำให้เราเห็นว่า เราสามารถที่จะทำให้ธุรกิจของเราคิดถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น โดยที่คนที่ออกมานำหน้าก็เป็นนักลงทุนหรือนักธุรกิจที่ทำงานครับ
สุทาวัน
เราเห็นด้วยนะบทความนี้อะ หลายคนคิดแต่จะลงทุนเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองและเพื่อเงินเท่านั้นแต่ลืมคิดไปว่าถ้าคุณสร้างธุรกิจที่ทำลายธรรมชาติจนหมดเราจะไม่เหลืออะไรกันเลย อย่างเช่นพวกสรา้งคอนโดสรา้งตึกแล้วทำลายสิ่งแวดล้อมอะเราว่าบางทีก็ต้องคิดดีๆบ้าง ที่ดินที่อื่นมากมายไม่น่าจะสร้างในที่ดินที่เป็นธรรมชาติมากเกินไปเดี๋ยวโลกเราก็ร้อนมากกว่านี้หรอก
น้ำฝน
เดี๋ยวนี้ถ้าเราทำธุรกิจออนไลน์หรือธุรกิจเล็กๆก็อาจจะไม่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ แต่ถ้าธุรกิจของเราทำแล้วจำเป็นต้องมีการเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ หรือพื้นที่อย่างเช่นมีโรงงาน ก็จำเป็นต้องคิดถึงเกี่ยวกับธรรมชาติด้วยเหมือนกัน บทความนี้ได้อธิบายว่า มีธุรกิจหรืองานบางอย่างที่อาจจะทำร้ายธรรมชาติได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อโลกใบนี้โดยตรง
ธนภัทร
นักธุรกิจกับความสมดุลทางธรรมชาติดูเหมือนมันจะคนละทางนะครับ แต่ผมเชื่อว่ามีนักธุรกิจหลายท่านที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติด้วย ถ้าหากเราทำให้ความสมดุลทางธรรมชาติเสียไปกว่าที่มันจะฟื้นคืนกลับมามันยากหรืออาจจะเป็นไปไม่ได้อีกก็ได้ ซึ่งมันจะเศร้ามากเลยนะครับ ดีครับที่มีบทความแบบนี้มาให้เราได้อ่านกันเป็นความรู้ในอีกแบบหนึ่งครับ
didanai
นี่เป็นเรื่องที่ถุกต้องที่เราสมควรทำแล้ว เพราะเมื่อเราดูดเอาทรัยยากรณ์ของโลกไปใช้ เพื่อกอบโกยเงินทองแล้ว ก็ถึงคราที่เราต้องจ่ายคืนให้กับสิ่งแวดล้อมด้วยเหมือนกัน เขาเรียก การย้อนคืนกลับให้ธรรมชาติ ถ้าหากไม่ทำแบบนี้แล้ว เชื่อได้เลยในไม่ช้าธรรมชาติจะเป็นฝ่ายเอา คืนพวกเราอย่างแน่นอน ถึงแม้การทำแบบนี้ต้องมีค่าใช้จ่ายที่มากแต่เชื่อเถอะมันคุ้มค่าจริงๆ
Danny
ทุกวันนี้คนหันมาสนใจธรรมชาติมากขึ้น ผมว่าธุรกิจที่เน้นเรื่องธรรมชาติจะน่าสนใจมากเป็นพิเศษเลยครับ และผมพึ่งมารู้ว่าธุรกิจใหญ่อย่างที่บอกมาในบทความนี้เขาก็สนใจธรรมชาติอยู่นะ แต่มันก็มีน้อยไง ธุรกิจใหญ่ๆส่วนมากเบียดเบียนธรรมชาติมากกว่า มันเลยไม่สมดุล อากาศก็เลยเสียไปหมดตอนนี้ น่าเสียดายครับ พูดจากใจคนรักธรรมชาติคนนึง
ทัพ
ก็กว่าจะรู้ตัวกันไงล่ะครับ กว่าจะรู้ว่าบริษัททั้งหลายโรงงานต่างๆสร้างความเสียหายให้กับระบบธรรมชาติขนาดไหนตอนนี้โลกของเราก็ร้อนจนแก้ไขไม่ได้แล้ว แต่ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลยครับ อย่างน้อยก็ขอให้คิดถึงลูกหลานรุ่นหลังๆที่จะต้องใช้โลกใบนี้กันต่อไปขอให้คิดถึงสักนิดการแบ่งกำไรมาเพื่อรักษาโลกของเราให้คงอยู่ มันคงไม่ไปกระทบกับกำไรของบริษัทเท่าไหร่หรอกครับ
ดีเจ🤯
เรื่องการรักษาธรรมชาติ ที่บริษัทใหญ่ทำกัน ที่ผมเห็นมากที่สุด ก็น่าจะเป็น ของ ปตท. กับของ SCG ครับ สองเจ้านี้ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมนะครับ สองเจ้านี้ช่วยดูแลป่าที่เสื่อมโทรม มีโครงการปลูกป่าจากสองเจ้านี่มากเลยนะครับ ส่วนของ SCG ก็มีการออกแบบสินค้าของเขา บางอย่างที่ไม่กระทบต่อสภาพแวดล้อมครับ ซึ่งได้รับความนิยมตอนนี้ด้วยนะครับ
ปลา
ถ้าเป็นนักธุรกิจแล้ว จำเป็นต้องคิดถึงเกี่ยวกับธุรกิจของตัวเองนะคะว่าดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมไหม เพราะถ้าเป็นธุรกิจที่ทำลายธรรมชาติ แน่นอนว่าจะมีการประท้วงหรือการต่อต้านเกิดขึ้นแน่ค่ะ ยิ่งเป็นอาชีพหรือธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของชุมชนโดยตรง จะเป็นปัญหาใหญ่แน่ๆค่ะ จำเป็นต้องคิดถึงเกี่ยวกับประชาชนและคนที่อยู่รอบข้างด้วยค่ะ
เดย์
@ปลา เหมือนในหนังเลยนะครับ ที่คนจนประท้วงเราไม่ยอมให้เปิดธุรกิจใหม่ในพื้นที่ของเขาเพราะนักธุรกิจหรือนายทุนต้องการเข้ามาทำลายธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม มันก็เป็นเรื่องจริง ที่เราเห็นในละครก็มาจากเรื่องจริงอยู่เหมือนกันนะ จริงแล้วถ้านักธุรกิจไม่ได้สนใจแต่ผลกำไรมากเกินไปสนใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้างตามที่บทความนี้บอกมาก็ดีนะครับ
-4Panom
"นักธุรกิจมีแผนสร้างธุรกิจให้สมดุลกับธรรมชาติได้อย่างไร?" น่าสนใจมากครับบทความนี้ คนที่ทำธุรกิจด้วยความที่เป็นธุรกิจเป็นอาชีพของเขา เขาก็ต้องทำให้มันดีทำแล้วได้เงิน แต่ในขณะเดียวกันถ้าสิ่งที่ทำลงไปมันสมดุลกับธรรมชาติดด้วยก็จะดีมากเลยครับ ตามที่บทความนี้ได้บอกมาคร่าวๆแล้ว นักธุรกิจท่านใดที่ใส่ใจเรื่องนี้ก็ขอบคุณมากครับ
พงษ์พัฒน์
อ่านบทความนี้แล้ว ผมคิดถึงสินเชื่อเจ้าหนึ่เลยครับ แต่น่าเสียดายผมเคยอ่านเจอแต่ก็ไม่ได้จำนะครับว่าเป็นสินเชื่อของเจ้าไหน สินเชื่อตัวนั้นถ้าเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ก็จะได้วงเงินที่ค่อนข้างสูงกว่าปกติด้วย คิดว่าคนที่อยากทพแบบที่บทความนี้บอกสามารถที่จะขอสินเชื่อแบบนั้นได้อย่างสบายๆเลยนะ
เต็มTem
ขอโทษนะครับ เรื่องการสร้างเขื่อนหรือสร้างโรงงานก็บไฟฟ้าเนี่ย สรุปว่ามันดีหรือไม่ดีเหรอครับ ต้องบอกก่อนนะว่าผมเองก็ไม่รู้ว่าจะเข้าใจอะไรถูกหรือผิดอะนะครับ ก็เคยเห็นข่าวเรื่องการต่อต้านการสร้างเขื่อนหรือโรงเก็บไฟฟ้าน่ะครับ เลยอยากรู้ว่ามันยังไงกันแน่ ไม่ได้จะเข้าข้างใครหรือไม่เข้าข้างใครนะ ผมแค่อยากรู้เฉยๆครับ
/โรนี่rony/
เพิ่งได้มารู้จักกับโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำแบบจริงจังก็จาอบทความนี้ล่ะครับ เคยได้ยินข่างหรือรู้คร่าวๆมาบ้างแหละ แต่ผมไม่รู้ว่าโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำจะมีถึง 3 แบบ คือ โรงไฟฟ้าพลังน้ำจากอ่างเก็บน้ำ โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบน้ำไหลผ่านตลอดปี และโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ อ่านแล้วได้ความรู้ใหม่ๆดีแม้บ้านจะอยู่ไกลเขื่อนก็ตาม ขอบคุณครับ
%5Dechtad
ธรรมชาติเป็นสิ่งที่เราทุกคนควรดูแลและรักษานะครับ จริงอยู่ที่หลายคนมองว่าคนที่ทำธุรกิจต่างๆต้องคอยดูว่าจะทำลายธรรมชาติบริเวณที่ไปสร้างหรือทำธุรกิจของตัวเองหรือเปล่า ถ้าเจอเจ้าของโครงการที่เอาใจใส่ในธรรมชาติก็ถือว่าดีไปครับ แต่จริงๆแล้วผู้คนที่อยู่ในบริเวณนั้นก็ต้องช่วยกันรักษาธรรมชาติและสภาพแวดล้อมด้วยนะครับ